ประวัติ กศน.อำเภอบางคล้า
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศ จัดตั้งศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จำนวน ๑๒๕ แห่ง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๓๓ และกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ดำเนินการขออัตรากำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่เพื่อประจำศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ตลอดจนขอจัดตั้งงบประมาณสำหรับดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและจัดกิจกรรมตามภารกิจ แต่รัฐบาลในขณะนั้นยังไม่ได้อนุมัติอัตรากำลัง และงบประมาณของศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเป็นการเฉพาะ ดังนั้น ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม จึงมีการแต่งตั้งผู้ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ (ผปอ.) โดยมีภารกิจในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนทั่วไปในพื้นที่บริการของอำเภอนั้น ๆ ตลอดจนสร้างความเข้าใจในกิจกรรมของการศึกษานอกโรงเรียน รวมทั้งการเชิญชวนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้สมัครเข้าเรียนทั้งระบบสายสามัญและสายอาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมประชาชนให้มีการพัฒนาความรู้พื้นฐานและความรู้ด้านอาชีพที่ดี สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาระดับความเป็นอยู่อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ต่อมากระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายที่จะขยายการศึกษาภาคบังคับ เพื่อยกระดับความรู้ของประชาชนให้สอดคล้องกับความเจริญของประเทศ ตลอดจนเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศและข่าวสารข้อมูล จึงถือเป็นนโยบายเร่งด่วนในการที่จะให้การศึกษาแก่ประชาชน ทั้งในระบบและนอกระบบ กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้พิจารณาเห็นว่า ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่จบชั้นเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับแล้วไม่ได้เข้าศึกษาต่อ แต่ไปประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาค เป็นกลุ่มเป้าหมายที่กรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จะต้องจัดบริการการศึกษาเพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาอาชีพอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ กรมการศึกษานอกโรงเรียนจึงได้เปลี่ยนวิธีการ รูปแบบ และโครงสร้างของหน่วยงานในสังกัด ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศยกเลิกศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ แล้วประกาศจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ (ศบอ.) จำนวน ๗๘๙ แห่งทุกอำเภอทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ จนถึงวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๖ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปลี่ยนโครงสร้างใหม่ โดยปรับเปลี่ยนกรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเมื่อประกาศพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช ๒๕๕๑ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๕ ตอนที่ ๔๑ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๑ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ได้ปรับเปลี่ยนหน่วยงานใหม่เป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งผลให้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบางคล้า (เดิม) เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า ” สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการอำเภอบางคล้า มีสำนักงานเชื่อมติดกับห้องสมุดประชาชนอำเภอบางคล้า โดยมีพิกัดที่ตั้งที่ x = ๑๓.๗๒๘๐๕๙ Y = ๑๐๑.๒๐๘๕๕๔ ปัจจุบัน มีนางสุทิศา ซุ่นคง ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
สภาพชุมชนโดยรอบของสถานศึกษาอยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอบางคล้า หน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น สำนักงานเทศบาลตำบลบางคล้า ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบางคล้า สถานีตำรวจอำเภอบางคล้า สำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า ที่ทำการไปรษณีย์ โรงเรียน ฯลฯ มีร้านค้า แหล่งเรียนรู้ บ้านเรือนประชาชน และเป็นเส้นทางไหลผ่านของแม่น้ำบางประกง จึงเกิดเป็นตลาดน้ำบางคล้า เป็นแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนโดยทั่วไป
ปรัชญา คิดเป็นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิสัยทัศน์ กศน.อำเภอบางคล้า มุ่งจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชาชนตามความเหมาะสม โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ(EEC) อย่างมีคุณภาพ
อัตลักษณ์ ความพอเพียง
เอกลักษณ์ พัฒนาคน พัฒนางาน สู่ความเป็นเลิศ
พันธกิจ
๑. จัดและส่งเสริมการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒. จัดการศึกษาต่อเนื่องให้ผู้เรียนมีอาชีพ มีงานทำ และมีทักษะชีวิตที่เหมาะสมทุกช่วงวัย
๓. จัดและส่งเสริมการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
๔. จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยที่มุ่งให้ผู้รับบริการเป็นผู้รักการอ่าน และใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๕. จัดและส่งเสริมประชาชนให้เป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
๖. จัดและส่งเสริมให้ประชาชนนำเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาตนเองและสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้า
๗. พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
๘. ส่งเสริม สนับสนุน ภาคีเครือข่าย ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๙. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
๑๐. จัดและส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑๑.ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
เป้าประสงค์
๑. กลุ่มเป้าหมายได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพและทั่วถึง เป็นไปตามความต้องการและสอดคล้องกับสภาพปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย
๒. กลุ่มเป้าหมายได้รับการยกระดับคุณภาพ และเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
๓. กลุ่มเป้าหมายได้รับการสร้างและส่งเสริมให้เป็นผู้รักการอ่าน และใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต๔. กลุ่มเป้าหมายได้รับโอกาสในการเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม
๕. กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาชีวิตให้สอดคล้องกับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
๖. ชุมชนและภาคีเครือข่ายร่วมจัด ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๗. บุคลากรของสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
๘. สถานศึกษาพัฒนาสื่อและการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในรูปแบบที่หลายหลาย
๙. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล
กลยุทธ์
๑. ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
๒. พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความสามารถในใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
๓. ส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้กระบวนการคิดเป็นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔. พัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ทั้งภาครัฐและเอกชน
๕. ส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๖. ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบที่หลากหลาย
๗. พัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
๘. พัฒนาระบบคุณภาพการศึกษาโดยใช้วงจรการพัฒนาคุณภาพ (PDCA) เป็นหลักในการจัดการศึกษา
๒.๑ ข้อมูลด้านการบริหาร
ลำดับที่
|
ชื่อ - สกุล
|
ตำแหน่ง
|
ดำรงตำแหน่ง
|
รวมระยะเวลา
|
๑
|
นายลาภ พุ่มอยู่
|
หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
|
เริ่มก่อตั้ง - ปีพ.ศ.๒๕๓๗
|
๑ ปี
|
๒
|
นายกิตติ พัฒนวิวัฒน์
|
หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
|
ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๒
|
๔ ปี
|
๓
|
นายอามีน เฉลิมทรัพย์
|
หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
|
ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๒๕๔๔
|
๑ ปี
|
๔
|
นายวิโรจน์ สหพัฒนสมบัติ
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๗
|
๒ ปี
|
๕
|
นายสมศักดิ์ เรืองจิระอุไร
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๑
|
๓ ปี
|
๖
|
นายอนันต์ ตันไล้
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔
|
๒ ปี
|
๗
|
นางสาวทองสุก ถาวรวงษ์
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
ธ.ค.๒๕๕๔ – ก.ค.๒๕๕๕
|
๑ ปี
|
๘
|
นายอนันต์ ตันไล้ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอแปลงยาว
|
รักษาการผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
ส.ค.๒๕๕๕ – ส.ค.๒๕๕๖
|
๑ ปี
|
๙
|
นายนิทัศน์ ลักษณะ
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
ส.ค.๒๕๕๖ – ม.ค. ๒๕๕๗
|
๑ ปี
|
๑๐
|
นางบังอร ฝ่ายสัจจา
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอพนมสารคาม
|
รักษาการผู้อำนวยการ
สถานศึกษา
|
ม.ค. ๒๕๕๗ – เม.ย. ๒๕๕๗
|
๔ เดือน
|
๑๑
|
นางสุทิศา ซุ่นคง
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
เม.ย. ๒๕๕๗ – ต.ค. ๒๕๖๒
|
๕ ปี
|
๑๒
|
นางบังอร ฝ่ายสัจจา
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอพนมสารคาม
|
รักษาการผู้อำนวยการ
สถานศึกษา
|
ต.ค. ๒๕๖๒ – ธ.ค. ๒๕๖๒
|
๒ เดือน
|
๑๓
|
นางสาวยุพา จุลแฉ่ง
|
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
|
ม.ค. ๒๕๖๓ ถึงปัจจุบัน
|
๒ เดือน
|