ประวัติ กศน.ตำบลปากน้ำ
ตามที่รัฐบาลปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒ – ๒๕๖๑) รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพในทุกระดับ และทุกประเภทการศึกษา ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ “ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” โดยเฉพาะได้ดำเนินการจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในทุกพื้นที่ เติมเต็มระบบการศึกษาให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงกระทรวงศึกษาธิการ จึงมอบนโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน. ตำบลขึ้นเป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลยุคใหม่ที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยในการดำเนินงานโดยการผลักดันงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งให้แก่ศูนย์การเรียนชุมชนหรือ กศน. ตำบล และได้มอบให้สำนักงาน กศน. เร่งรัดพัฒนาและเดินหน้าไปสู่ความเป็นศูนย์การเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของชุมชน เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศได้มีพลังแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่มีที่สิ้นสุดตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างแท้จริงสำนักงาน กศน. จึงได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนให้ กศน. ตำบล จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนและพัฒนา กศน.ตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน ส่งผลให้ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลปากน้ำ (เดิม) เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “กศน.ตำบลปากน้ำ” สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนวัดปากน้ำตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า โดยมีพิกัดที่ตั้งที่ X = ๑๓.๗๔๒๖๓๗ Y = ๑๐๑.๒๐๙๕๖๑ ปัจจุบัน มีนางสาวชุติมา จันทะ ดำรงตำแหน่ง ครูกศน.ตำบลปากน้ำ สภาพชุมชนโดยรอบของกศน.ตำบลปากน้ำ อยู่ใกล้กับสถานีดับเพลิงตำบลปากน้ำและอยู่ในบริเวณโรงเรียนวัดปากน้ำ วัดปากน้ำโจ้โล้ ฯลฯ มีร้านค้า บ้านเรือนประชาชน มีโรงพยาบาลประจำอำเภอ มีร้านสะดวกซื้อ
ปรัชญา คิดเป็นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิสัยทัศน์ กศน.ตำบลปากน้ำ มุ่งจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชาชนตามความเหมาะสม โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ(EEC) อย่างมีคุณภาพ
อัตลักษณ์ ความพอเพียง
เอกลักษณ์ พัฒนาคน พัฒนางาน สู่ความเป็นเลิศ
พันธกิจ
๑. จัดและส่งเสริมการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒. จัดการศึกษาต่อเนื่องให้ผู้เรียนมีอาชีพ มีงานทำ และมีทักษะชีวิตที่เหมาะสมทุกช่วงวัย
๓. จัดและส่งเสริมการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
๔. จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยที่มุ่งให้ผู้รับบริการเป็นผู้รักการอ่าน และใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๕. จัดและส่งเสริมประชาชนให้เป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
๖. จัดและส่งเสริมให้ประชาชนนำเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาตนเองและสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้า
๗. พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
๘. ส่งเสริม สนับสนุน ภาคีเครือข่าย ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๙. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
๑๐. จัดและส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑๑.ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
เข้าชม : 2070 |