ประวัติกศน.ตำบลเสม็ดเหนือ
ประวัติตำบล
ตำบลเสม็ดเหนือได้ตั้งมานานแล้ว โดยเล่าสืบต่อกันมาจากผู้สูงอายุในหมู่บ้านว่าเดิม ตำบลเสม็ดเหนือนั้น มีต้นเสม็ดขึ้นเป็นจำนวนมากจนดูว่าเหมือนป่าเสม็ด จึงเรียกชื่อว่า ตำบลเสม็ดเหนือสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
|
|
๑.๑ ขนาดพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีคลองเล็กๆ หลายสาย ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่ขุดขึ้นมาโดยกรมชลประทาน เพื่อนำน้ำไปใช้ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรและอุปโภค บริโภค มีถนนสายหลักคือ สาย ๓๐๔ ฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี มีพื้นที่ ๑๑,๖๖๗ ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบางคล้า
๑.๒ ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
ตำบลเสม็ดเหนือ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอบางคล้า มีเนื้อที่ประมาณ ๒๒.๖๗ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๔,๑๖๘ ไร่ เป็นตำบลที่มีขนาดปานกลางโดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ ต.บางสวน และ ต.ท่าทองหลาง อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
ทิศใต้ ติดกับ ต.เสม็ดใต้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ท่าทองหลาง อ.บางคล้า และ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.เสม็ดใต้ และ ต.สาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
พิกัดจาก Google map ของตำบลและกศน.ตำบล)
พิกัดของตำบลเสม็ดเหนือ X = ๒๓.๗๖๒๐๖๒ Y = ๑๕๑.๒๑๙๗๗๗
พิกัด กศน.ตำบลเสม็ดเหนือ X = ๒๓.๗๔๒๖๓๑ Y = ๑๕๑.๒๐๙๕๖๖
๑.๓ ลักษณะทางกายภาพ
สภาพภูมิประเทศ
ตำบลเสม็ดเหนือ มีลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ในเขตที่ราบภาคกลางสภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม เกิดจากการทับถมของตะกอน มีคลองซอยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่ขุดขึ้นเพื่อรับน้ำจากแม่น้ำบางปะกงเข้าไปใช้ในการเกษตร การอุปโภค - บริโภค สภาพภูมิอากาศเป็นไปตามฤดูกาลลักษณะดังกล่าวเหมาะแก่การเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์และการประมง
๑.๔ ลักษณะการแบ่งเขตการปกครองของตำบล แบ่งเขตการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ชื่อผู้นำท้องถิ่น
|
ตำแหน่ง
|
เบอร์โทรศัพท์
|
๑.
|
เสม็ดเหนือ
|
นายเสน่ห์ ฤทธิขจร
|
ผู้ใหญ่บ้าน
|
๐๘๓-๑๑๙๙๙๑๒
|
๒.
|
หมู่ดร
|
นายสมาน ชัยเพ็ชร
|
ผู้ใหญ่บ้าน
|
๐๘๙-๕๔๔๔๑๔๗
|
๓.
|
สี่แยก
|
นายจำลอง ตัญญะสิทธิ์
|
ผู้ใหญ่บ้าน
|
๐๘๕-๑๐๘๐๕๘๕
|
๔.
|
หนองตัน
|
นายชูศักดิ์ ผดุงกุล
|
ผู้ใหญ่บ้าน
|
๐๘๑-๕๗๐๑๐๔๔
|
๕.
|
วังสะพาน
|
นางสาววาสนา สุขพราย
|
ผู้ใหญ่บ้าน
|
๐๘๙-๐๔๑๖๗๑๘
|
๖.
|
บางกระพ้อ
|
นายทรงชัย สุดประเสริฐ
|
กำนัน
|
๐๙๑-๒๔๒๘๒๕๒
|
๑.๕ ทรัพยากรธรรมชาติ
ลักษณะภูมิอากาศ โดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นอากาศร้อนชื้อ แบบมรสุมมี ๓ ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์
แหล่งน้ำ (คลองธรรมชาติ)
๑. คลองวังซุงเป็นคลองที่ใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ ๓,๕
๒. คลองท่าทองหลางเป็นคลองที่ใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ ๒,๓,๔,๖
๓. คลองเสม็ดเหนือใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ ๑,๔
๔. คลองชวดเสือปลาใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ ๕
๕. คลองบ้านหมู่ใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ ๖
๖. คลองบางคล้าใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ ๔,๖
๑.๖ โครงสร้างพื้นฐาน
การไฟฟ้า ตำบลเสม็ดเหนือมีไฟฟ้าใช้ครบทั้ง ๖ หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
การประปา ตำบลเสม็ดเหนือมีน้ำประปาใช้ในทุกครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
๑.๗ การคมนาคมติดต่อสื่อสาร
จากฉะเชิงเทรา ใช้ถนนทางหลวง สาย ๓๐๔ ฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี ระยะทางจากจังหวัดถึงตำบล ๑๕ กิโลเมตร จากอำเภอบางคล้าไปตำบลเสม็ดเหนือ ใช้ถนนสาย บางคล้า-แปลงยาว ระยะทาง ๑. ๕ กิโลเมตร จากอำเภอบางคล้าไปกศน.ตำบลเสม็ดเหนือ ใช้ถนนสาย บางคล้า-แปลงยาวถึงสี่แยกบางคล้า ระยะทาง ๖กิโลเมตร และต่อด้วย ใช้ถนนทางหลวง สาย ๓๐๔ ฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี ระยะทาง ๒.๗ กิโลเมตร ถึงทางเข้าวัดเสม็ดเหนือ และกศน.ตำบลเสม็ดเหนือ
๑.๘ หน่วยงานในชุมชน
ที่
|
ภาคีเครือข่าย
|
ที่อยู่
|
๑
|
องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดเหนือ
|
องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดเหนือ ต.เสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
|
๒
|
โรงเรียนวัดเสม็ดเหนือชิตประชาสรรค์
|
ตำบลเสม็ดเหนือ
|
๓
|
สถานีอนามัยตำบลเสม็ดเหนือ
|
ตำบลเสม็ดเหนือ
|
๑.๙ หน่วยธุรกิจ
๑.๙.๑ โรงสีข้าว ๒ แห่ง
๑.๙.๒ สถานีน้ำมัน ๔ แห่ง
๑.๙.๓ ปั้มแก๊ส ๒ แห่ง
๑.๙.๓ ร้านค้าทั่วไป ประมาณ ๓๐ แห่ง
๒. สภาพทางสังคม - ประชากร
๒.๑ จำนวนครัวเรือน,จำนวนประชากร
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร
|
จำนวนครัวเรือน
|
ชาย (คน)
|
หญิง (คน)
|
รวม (คน)
|
๑
|
เสม็ดเหนือ
|
๓๕๓
|
๔๐๕
|
๗๕๘
|
๓๗๑
|
๒
|
หมู่ดร
|
๖๗
|
๗๘
|
๑๔๕
|
๔๘
|
๓
|
สี่แยก
|
๑๓๙
|
๑๓๒
|
๒๗๑
|
๑๓๕
|
๔
|
หนองตัน
|
๑๘๕
|
๒๐๖
|
๓๙๑
|
๑๔๓
|
๕
|
วังสะพาน
|
๑๒๔
|
๑๕๒
|
๒๗๖
|
๙๒
|
๖
|
บางกระพ้อ
|
๒๘๑
|
๒๔๐
|
๕๒๑
|
๑๗๓
|
รวม
|
๒,๗๖๘
|
๒,๘๘๒
|
๔,๗๗๕
|
๑,๖๓๒
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
* ข้อมูล ณ.วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๗ อ้างอิงจาก เทศบาลตำบลเสม็ดเหนือ
๒.๒ กลุ่มอายุ
ช่วงอายุ
|
ชาย(คน)
|
หญิง(คน)
|
รวม (คน)
|
ต่ำกว่า ๑๕ ปี
|
๔๒๐
|
๕๘๒
|
๑,๐๒๕
|
๑๕-๓๙
|
๘๓๔
|
๑๐๐๒
|
๑,๘๓๖
|
๔๐-๕๙
|
๔๙๓
|
๕๐๙
|
๑,๐๐๒
|
๖๐ ขึ้นไป
|
๔๑๖
|
๔๙๖
|
๙๑๒
|
|
รวม
|
๔,๗๗๕
|
๒.๓ ศาสนา
ศาสนา
|
จำนวน(คน)
|
คิดเป็นร้อยละ
|
ศาสนาสถาน(แห่ง)
|
พุทธ
|
๔,๗๕๒
|
๙๙.๕๒
|
วัดเสม็ดเหนือ/วัดบางกะพ้อ /วัดศรีสุดาราม
|
คริสต์
|
๑๘
|
๐.๓๘
|
-
|
อิสลาม
|
๕
|
๐.๑๐
|
-
|
อื่นๆ
|
-
|
-
|
|
๒.๔ ชาติพันธุ์
ลำดับที่
|
ชาติพันธุ์
|
จำนวน (คน)
|
คิดเป็นร้อยละ
|
|
ไม่มี
|
-
|
-
|
๒.๕ระดับการศึกษา
ช่วงอายุ
|
ชาย(คน)
|
หญิง(คน)
|
รวม (คน)
|
ต่ำกว่า ๑๕ ปี
|
๔๒๐
|
๕๘๒
|
๑,๐๒๕
|
๑๕-๓๙
|
๘๓๔
|
๑๐๐๒
|
๑,๘๓๖
|
๔๐-๕๙
|
๔๙๓
|
๕๐๙
|
๑,๐๐๒
|
๖๐ ขึ้นไป
|
๔๑๖
|
๔๙๖
|
๙๑๒
|
|
รวม
|
๔,๗๗๕
|
๒.๗ สถานศึกษา ตำบลเสม็ดเหนือมีสถานศึกษาดังนี้
๒.๗.๑ สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต ๑ จำนวน ๓แห่งได้แก่
โรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ(ชิตประชาสรรค์) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลเสม็ดเหนือ เปิดสอนระดับอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนบ้านปลายคลอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลเสม็ดเหนือ เปิดสอนระดับอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ ๖
โรงเรียนศรีสุดาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลเสม็ดเหนือ เปิดสอนระดับอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ ๖
๒.๗.๒ ศูนย์การเรียนชุมชน 1 แห่ง
๒.๗.๓ วิทยาลัย (ใม่มี)
๒.๗.๔ มหาวิทยาลัย (ไม่มี)
๒.๘ บ้านหนังสืออัจฉริยะ
ลำดับที่
|
ที่ตั้ง
|
ชื่อเจ้าของบ้าน
|
๑.
|
รพ.สต.เสม็ดเหนือ ม.๑ ต.เสม็ดเหนือ อ.บางคล้า
|
นายอนุสรณ์ พุทธนิยม
|
๒.
|
ศาลาประชาคม ม.๖ ต.เสม็ดเหนือ อ.บางคล้า
|
นายสมศักดิ์ ปัญญศร
|
๒.๙ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่
|
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ความสามารถและประสบการณ์
|
ที่อยู่
|
๑
|
นางวิภา ประภาศิริ
|
การทำดอกไม้ดินและดอกไม้ผ้าใยบัว
|
บ้านเลขที่ ๒๙/๗ ม.๓ ต.เสม็ดเหนือ อ.บางคล้า
|
๒.๑๐แหล่งเรียนรู้อื่น
ลำดับที่
|
แหล่งเรียนรู้
|
ประเภทแหล่งเรียนรู้
|
ที่อยู่
|
๑.
|
วัดเสม็ดเหนือ
|
วัสดุและสถานที่
|
หมู่ที่ ๑บ้านเสม็ดเหนือ ต.เสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
|
๒.
|
ศูนย์สำรวจอุทกวิทยา
|
กิจกรรม
|
หมู่ที่ ๓ บ้านสี่แยก ต. เสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
|
๓.
|
ศูนย์การทำนาข้าวปลอดสารพิษ
|
กิจกรรม
|
หมู่ที่ ๔ บ้านหนองตัน ต.เสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
|
๓. สภาพทางเศรษฐกิจ
๓.๑ โครงสร้างฐานอาชีพของชุมชน
- อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนากุ้ง ทำสวนทำไร่ และเป็นลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม
- อาชีพเสริม ได้แก่ รับจ้างทั่วไป
๓.๒ ผลผลิตหรือสินค้า / บริการ ที่สำคัญของตำบลเสม็ดเหนือ ได้แก่ ข้าว ปลา มะม่วง กุ้ง
๓.๓ รายได้เฉลี่ยของประชากร ประมาณ ๑๓,๐๐๐ – ๒๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี
๔. งานประเพณีท้องถิ่น
เนื่องจากประชาชนในตำบลเสม็ดเหนือส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน จึงมีประเพณีต่าง ๆ ทั้งประเพณีไทยและจีนปะปนกัน เช่น
๔.๑ ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ (ตักบาตรทำบุญ)
๔.๒ ประเพณีวันตรุษจีน (กราบไหว้เจ้า , บรรพบุรุษ)
๔.๓ ประเพณีวันสงกรานต์ (รดน้ำ – ดำหัว , สรงน้ำพระ)
๔.๔ ประเพณีวันเข้าพรรษา – ออกพรรษา
๔.๕ ประเพณีบวชนาค , ขึ้นบ้านใหม่
๔.๖ ประเพณีสารทจีน , สารทไทย
๔.๗ ประเพณีลอยกระทง
๔.๘ ประเพณีทอดกฐิน , ผ้าป่า
๔.๙ ประเพณีทำขวัญข้าว (ทำในระยะข้าวออกรวง)
๔.๑๐ประเพณีลงแขก (ถือแรงเกี่ยวขาว , จับกุ้ง ,จับปลา)
๕. แหล่งวิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา
๕.๑ ประเภทบุคคล
๑. นางวิภา ประภาศิริ เป็นวิทยากร การทำดอกไม้ดิน/ดอกไม้ผ้าใยบัว
๕.๒ ประเภทสถานที่และองค์กร
๕.๒.๑ แหล่งเรียนรู้ วัดเสม็ดเหนือ โบราณสถาน หมู่ ๑ ตำบลเสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
๕.๒.๒ แหล่งเรียนรู้ ศูนย์อุทกวิทยา หมู่ ๓ ตำบลเสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
๕.๒.๒ แหล่งเรียนรู้ นาข้าวปลอดสารพิษ หมู่ ๔ ตำบลเสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
๖. ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
ที่
|
ปัญหา
|
สภาพปัญหา
|
ความต้องการ
|
๑.
|
ด้านการรู้หนังสือ
|
ประชาชนที่สูงอายุส่วนใหญ่เป็นผู้ลืมหนังสือ
|
ให้หน่วยราชการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสืออย่างต่อเนื่อง
|
๒.
|
ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
๑.มีนักเรียนที่ออกกลางคันจากการศึกษาในระบบโรงเรียน
๒.ประชาชนร้อยละ ๑๘.๓๔
จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและไม่ประสงค์จะศึกษาต่อเนื่องจากสูงวัย
|
ให้หน่วยราชการส่งเสริมสนับสนุน
๑.ให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ
๒. สนับสนุนทุนการศึกษาในชุมชน
๓. ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติม
๔. ให้มีการศึกษาตามอัธยาศัยที่หลากหลาย เช่น ฝึกอบรม, สัมมนา, ทัศนศึกษาดูงาน
|
๓.
|
ด้านอาชีพ
|
๑. ไม่มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้หลังจากการทำอาชีพหลัก
๒. มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
๓. การประกอบอาชีพไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
๔. ขาดทักษะการประกอบอาชีพ
๕. ขาดความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มผลผลิต
๖. ไม่สามารถเข้าฝึกอาชีพที่เป็นหลักสูตรต่อเนื่องได้ เนื่องจากเป็นลูกจ้างรายวัน
|
๑. ให้มีการส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้
๒.ให้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนรู้วิธีลดรายจ่าย
๓. ให้มีการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔. ให้มีแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
|
๔.
|
ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต
|
๑. ขาดการลด ละ เลิก อบายมุข
๒. สุขภาพอนามัยของคนในชุมชนไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น
๓. ขาดความรู้ความเข้าใจในการรวมกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
๔. ขาดการบริหารจัดการชีวิตที่ดี มีประสิทธิภาพ
๕. ขาดความรู้เรื่องกฎหมายในชีวิตประจำวัน
|
๑.ให้หน่วยราชการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยตามสุขบัญญัติ ๔ ประการ (ด้านอาหาร, อากาศ, อารมณ์, ออกกำลังกาย)
๒. ให้หน่วยราชการส่งเสริมความรู้เรื่องกฎหมายในชีวิตประจำวัน
๓. ให้หน่วยราชการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องการรวมกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม และการบริหารจัดการกลุ่มเชิงคุณภาพเพื่อดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
|
ที่
|
ปัญหา
|
สภาพปัญหา
|
ความต้องการ
|
๕.
|
ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน
|
๑. ชุมชนขาดความตระหนักในการใช้ทรัพยากรและพลังงานในชุมชน
๒. ชุมชนขาดความรู้ในเรื่องการลดขยะในชุมชน
|
๑. ให้มีการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
๒. ให้มีการให้ความรู้ในเรื่องการลดขยะในชุมชน
|
๖.
|
ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
ให้มีการอบรม ให้ความรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์
|
๗.
|
ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
|
ชุมชนขาดการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
|
ให้มีการส่งเสริม สนับสนุนเยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่มีความสำคัญและเป็นที่ยอมรับของบุคคลในท้องถิ่น
|
เข้าชม : 4332 |