[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
   กลับหน้าหลัก

การเรียนรู้เรื่องโครงงาน

คลิกที่นี่เพื่อ Download

 
               
 

ความหมายของโครงงาน

โครงงาน (Project Approach) คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทาการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ในการศึกษาหาคาตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนาและให้คาปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดาเนินงานตามแผน กำหนดขั้นตอนการดาเนินงานและการนาเสนอผลงาน ซึ่งอาจทาเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่ม โครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คาตอบให้ลึกซึ้ง หรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ
 

  หลักการทำโครงงาน

 เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

 ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้าเอง

 ลงมือปฏิบัติเอง

 นาเสนอโครงงานเอง

 ร่วมกำหนดแนวทางวัดผลและประเมินผล

จุดมุ่งหมายในการทำโครงงาน

 เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง

 เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น รู้จักทางานร่วมกับบุคคลอื่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรับผิดชอบฯ

 เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกทาโครงงานตามความสนใจ

ขั้นตอนการทำโครงงานการทำโครงงานมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

 

1. การคิดและการเลือกหัวเรื่อง  ผู้เรียนจะต้องคิด   และเลือกหัวเรื่องของโครงงานด้วยตนเองว่าอยากจะศึกษาอะไร ทำไมจึงอยากศึกษา   หัวเรื่องของโครงงานมักจะได้มาจากปัญหา   คำถามหรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของผู้เรียนเอง   หัวเรื่องของโครงงานควรเฉพาะเจาะจงและชัดเจน   เมื่อใครได้อ่านชื่อเรื่องแล้วควรเข้าใจและรู้เรื่องว่าโครงงานนี้ทำจากอะไร   การกำหนดหัวเรื่องของโครงงานนั้นมีแหล่งที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดและความสนใจหลายแหล่งด้วยกัน   เช่น จากการอ่านหนังสือ เอกสาร บทความ การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ   การฟังบรรยายทางวิชาการ การเข้าชมนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์   การสนทนากับบุคคลต่างๆ หรือจาการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว เป็นต้น นอกจากนี้   ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้

– ความเหมาะสมของระดับความรู้   ความสามารถของผู้เรียน
– วัสดุ อุปกรณ์   ที่ใช้
– งบประมาณ
– ระยะเวลา
– ความปลอดภัย
– แหล่งความรู้
 

 2.  การวางแผน

การวางแผนการทำโครงงาน   จะรวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า   เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรัดกุมและรอบคอบ ไม่สับสน   แล้วนำเสนอต่อผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไป

การเขียนเค้าโครงของโครงงาน   โดยทั่วไป เขียนเพื่อแสดงแนวคิด แผนงาน และขั้นตอนการทำโครงงาน   ซึ่งควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

๑) ชื่อโครงงาน   ควรเป็นข้อความที่กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรง
๒)   ชื่อผู้ทำโครงงาน
๓)   ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน

๔) หลักการและเหตุผลของโครงงาน   เป็นการอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานเรื่องนี้ มีความสำคัญอย่างไร   มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง   เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ไว้บ้างแล้ว   ถ้ามีได้ผลอย่างไร เรื่องที่ทำได้ขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร   หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล

๕) จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ควรมีความเฉพาะเจาะจง   และสามารถวัดได้ เป็นการบอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจนขึ้น

๖) สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) สมมติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้า   ซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้   การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุมีผลมีทฤษฎีหรือหลักการรองรับ และที่สำคัญ คือ   เป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางในการดำเนินการทดสอบได้   นอกจากนี้ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วย

๗) วิธีดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงาน จะต้องอธิบายว่า   จะออกแบบการทดลองอะไรอย่างไร   จะเก็บข้อมูลอะไรบ้างรวมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ มีอะไรบ้าง

๘) แผนปฏิบัติงาน   อธิบายเกี่ยวกับกำหนดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน

๙) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐)   เอกสารอ้างอิง

3. การดำเนินงาน

เมื่อที่ปรึกษาโครงงานให้ความเห็นชอบเค้าโครงของโครงงานแล้ว   ต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้   ผู้เรียนต้องพยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ   คำนึงถึงความประหยัดและปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการบันทึกข้อมูลต่างๆ   ว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร   พยายามบันทึกให้เป็นระเบียบและครบถ้วน

 4. การเขียนรายงาน

การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงาน   เป็นวิธีสื่อความหมายวิธีหนึ่งที่จะให้ผู้อื่นได้เข้าใจถึงแนวคิด   วิธีการดำเนินงาน ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ   ที่เกี่ยวกับโครงงานนั้น การเขียนโครงงานควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย   ชัดเจนและครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ ทั้งหมดของโครงงาน
5.  การนำเสนอผลงาน

การนำเสนอผลงาน   เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานและเข้าใจถึงผลงานนั้น   การนำเสนอผลงานอาจทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมต่อประเภทของโครงงาน   เนื้อหา เวลา ระดับของผู้เรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง   การเขียนรายงาน สถานการณ์จำลอง การสาธิต การจัดนิทรรศการ   ซึ่งอาจมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือการรายงานปากเปล่า การบรรยาย   สิ่งสำคัญคือ พยายามทำให้การแสดงผลงานนั้นดึงดูดความสนใจของผู้ชม มีความชัดเจน   เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องของเนื้อหา



เข้าชม : 950
 
กศน.ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 
โทรศัพท์ 089-7725100    E-mail :Jeeranuch.3078@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin