[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
   กลับหน้าหลัก

โครงสร้างหลักสูตร พุทธศักราช ๒๕๕๑

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑

ระดับ ประถมศึกษา
ของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า

     จากทิศทางการจัดศึกษาของสถานศึกษา และโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา   หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑  ระดับประถมศึกษา  ที่กำหนด   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า  ได้กำหนดหลักสูตร เพื่อดำเนินการจัดการศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้

ที่

สาระการเรียนรู้

จำนวนหน่วยกิต

ระดับประถมศึกษา

รายวิชาบังคับ

รายวิชาเลือกบังคับ

รายวิชาเลือกเสรี

ทักษะการเรียนรู้

๕ หน่วยกิต

-

ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนเรียนรู้รายบุคคลให้แก่ผู้เรียนรายบุคคล

ความรู้พื้นฐาน

๑๒ หน่วยกิต

-

การประกอบอาชีพ

๘ หน่วยกิต

-

ทักษะการดำเนินชีวิต

๕ หน่วยกิต

-

การพัฒนาสังคม

๖ หน่วยกิต

 -

 

รวม

๓๖ หน่วยกิต

๔ หน่วยกิต

๘ หน่วยกิต

8 หน่วยกิต

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

๒๐๐  ชั่วโมง

 

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า

     จากทิศทางการจัดศึกษาของสถานศึกษา และโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา   หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่กำหนด   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า  ได้กำหนดหลักสูตร เพื่อดำเนินการจัดการศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้

ที่

สาระการเรียนรู้

จำนวนหน่วยกิต

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

รายวิชาบังคับ

รายวิชาเลือกบังคับ

รายวิชาเลือกเสรี

ทักษะการเรียนรู้

๕ หน่วยกิต

-

ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนเรียนรู้รายบุคคลให้แก่ผู้เรียนรายบุคคล

ความรู้พื้นฐาน

๑๖ หน่วยกิต

-

การประกอบอาชีพ

๘ หน่วยกิต

-

ทักษะการดำเนินชีวิต

๕ หน่วยกิต

-

การพัฒนาสังคม

๖ หน่วยกิต

 -

 

รวม

๔๐ หน่วยกิต

๖ หน่วยกิต

๑๐ หน่วยกิต

๕๖ หน่วยกิต

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

๒๐๐  ชั่วโมง

 

 

 

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า

     จากทิศทางการจัดศึกษาของสถานศึกษา และโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา   หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่กำหนด   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางคล้า  ได้กำหนดหลักสูตร เพื่อดำเนินการจัดการศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้

ที่

สาระการเรียนรู้

จำนวนหน่วยกิต

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

รายวิชาบังคับ

รายวิชาเลือกบังคับ

รายวิชาเลือกเสรี

ทักษะการเรียนรู้

๕ หน่วยกิต

-

ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนเรียนรู้รายบุคคลให้แก่ผู้เรียนรายบุคคล

ความรู้พื้นฐาน

๒๐ หน่วยกิต

-

การประกอบอาชีพ

๘ หน่วยกิต

-

ทักษะการดำเนินชีวิต

๕ หน่วยกิต

-

การพัฒนาสังคม

๖ หน่วยกิต

 -

 

รวม

๔๔ หน่วยกิต

๖ หน่วยกิต

๒๖ หน่วยกิต

๗๖ หน่วยกิต

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

๒๐๐  ชั่วโมง

หมายเหตุ  การจัดการเรียนรู้ในแต่ละระดับ  สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการทำ

โครงงาน จำนวนอย่างน้อย  ๓ หน่วยกิต

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

        สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา

ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  ๒๕๕๑  ประกอบด้วยสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

๑. สาระทักษะการเรียนรู้   ประกอบด้วย ๕ มาตรฐาน ดังนี้

     มาตรฐานที่  ๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจ  ทักษะ  และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

     มาตรฐานที่  ๑.๒ มีความรู้ความเข้าใจ  ทักษะ  และเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้

     มาตรฐานที่  ๑.๓ มีความรู้ความเข้าใจ  ทักษะ  และเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้

     มาตรฐานที่  ๑.๔ มีความรู้ความเข้าใจ  ทักษะ  และเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น

     มาตรฐานที่  ๑.๕ มีความรู้ความเข้าใจ  ทักษะ  และเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

๒.สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย ๔ มาตรฐาน ดังนี้

     มาตรฐานที่ ๒.๑ มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร

     มาตรฐานที่ ๒.๒ มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๓. สาระการประกอบอาชีพ  ประกอบด้วย ๔ มาตรฐาน ดังนี้

     มาตรฐานที่ ๓.๑ มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทางและตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง

     มาตรฐานที่ ๓.๒ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในอาชีพที่ตัดสินใจเลือก

     มาตรฐานที่ ๓.๓ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรม

     มาตรฐานที่ ๓.๔ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง

๔. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน ดังนี้

     มาตรฐานที่ ๔.๑ มีความรู้  ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

     มาตรฐานที่  ๔.๒ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

     มาตรฐานที่ ๔.๓ มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและสุนทรียภาพ

๕. สาระการพัฒนาสังคม   ประกอบด้วย ๔ มาตรฐาน  ดังนี้

มาตรฐานที่ ๕.๑ มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

     มาตรฐานที่ ๕.๒  มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรมประเพณี   เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

     มาตรฐานที่ ๕.๓  ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะเพื่อความสงบสุขของสังคม

     มาตรฐานที่ ๕.๔  มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

หมายเหตุ    สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐานตามมาตรฐานที่ ๒.๑  มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ
พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร  ภาษาในมาตรฐานนี้ หมายถึง ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศพื้นฐาน

การวัดผลและประเมินผล

 ๑ .คะแนนวัดผลกลางภาค ๖๐ คะแนน (ตามประกาศสัดส่วนคะแนนเก็บ กศน.อำเภอบางคล้า)

 ๒. คะแนนสอบวัดผลปลายภาค  (๔๐  คะแนน)

. เกณฑ์การประเมินคุณธรรม (๑๐๐ คะแนน)

. เกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (๒๐๐ ชั่วโมง)

การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

         กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียน และเป็นเงื่อนไขสำคัญตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง ครอบครัวและการพัฒนาชุมชนสังคม โดยในทุกระดับการศึกษาต้องเรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ชั่วโมง

 

ลักษะกิจกรรม

         กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต มี  ๒  ลักษณะประกอบด้วย

๑.     ภาคทฤษฎี เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขอบข่ายเนื้อหาตามที่กำหนด จำนวน ๒๐ ชั่วโมง ในแต่ละระดับเรียกว่า กพช. ๑

๒.     ภาคปฏิบัติ จำนวน ๑๘๐ ชั่วโมง มี ๒ ประเภท ได้แก่

๑.     กิจกรรมการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่มีขอบข่ายเนื้อหาการทำกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง และครอบครัวเรียกว่า กพช. ๒

๒.     กิจกรรมการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ ที่มีขอบข่ายเนื้อหาการทำกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน และสังคมเรียกว่า กพช.๓

 

แนวปฏิบัติ

๑.     การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตภาคทฤษฎี กพช. ๑ สถานศึกษาต้องกำหนดให้ผู้เรียนลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับครูในภาคเรียนแรก โดยครูอาจจัดการเรียนรู้เป็นกิจกรรมเฉพาะหรือสอดแทรกทุกครั้งในเวลาพบกลุ่มจนครบเนื้อหา ๒๐ ชั่วโมง

๒.     การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตภาคปฏิบัติ จะทำได้ต่อเมื่อผู้เรียนได้ผ่าน กพช. ๑ แล้วจำนวนชั่วโมงของเนื้อหา กพช.  ๒ – ๓  สถานศึกษากำหนดได้ตามความเหมาะสม แต่รวมแล้วไม่น้อยกว่า  ๑๘๐  ชั่วโมง

ขอบข่ายเนื้อหากิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น ๒ ส่วนประกอบด้วย การจัดกิจกรรมภาคทฤษฎีและการจัดกิจกรรรมภาคปฏิบัติ

๑.     การจัดกิจกรรมภาคทฤษฎี (กพช.๑)  ๒๐ ชั่วโมง มีขอบข่ายเนื้อหา ดังนี้

๑.     โครงสร้างและผลประโยชน์ของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

๒.     กระบวนการกลุ่มในการคิดและการแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหา

๓.     กระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต

๔.     คุณธรรมและจริยธรรม

๕.     แนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัว

๖.     แนวทางการพัฒนาชุมชนสังคม

๗.     แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและงานการศึกษาตามอัธยาศัย

๘.     การวางแผนและประโยชน์ของการวางแผน

๙.     การเขียนโครงการภาคปฏิบัติ

๒.     การจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ ๑๘๐ ชั่วโมง แบ่งเป็น ๒ ประเภท โดยมีขอบข่ายเนื้อหาดังนี้

๑.     กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง และครอบครัว โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน เช่น

๑.               สุขภาพกาย/จิต

๒.               คุณธรรม จริยธรรม

๓.               เศรษฐกิจพอเพียง

๔.               การพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ

๕.               ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์และทรัพย์สิน

๖.               ยาเสพติด ฯลฯ

 

-        กิจกรรมการเรียนรู้ละที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน และสังคม (กพช.๓) โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น

๑.               การพัฒนาชุมชนและสังคม

๒.               การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๓.               ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี

๔.               ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้

๕.               ประชาธิปไตย

๖.               การสนับสนุนส่งเสริมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ตัวอย่างโครงการเช่น

-        ลดโลกร้อนด้วยมือเรา

-        อนุรักษ์รักวัฒนธรรม

-        คลังสมองร่วมพัฒนาชุมชน

-        เรียนรู้ประชาธิปไตยใส่ใจรักษาสิทธิ

-        อาสาสมัครทำความดีด้วยหัวใจ

-        อาสาสมัคร กศน.  ฯลฯ

ขั้นตอนดำเนินการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

๑.     ผู้เรียนลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.๑)ในภาคเรียนแรก เพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจในภาคทฤษฎี โดยครูผู้รับผิดชอบผู้เรียนทำกิจกรรมจะเป็นผู้ให้ความรู้ คำแนะนำเพิ่มเติม และให้แนวทางทำกิจกรรมในภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ทีกำหนด

๒.     ผู้เรียนต้องเขียนและเสนอโครงการภาคปฏิบัติ (กพช.๒,กพช.๓)ตามแบบที่กำหนดโดยมีครูที่รับผิดชอบเป็นที่ปรึกษา

๓.     เมื่อได้รับอนุมัติโครางการแล้ว ผู้เรียนต้องประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานเกี่ยวข้อง ก่อนลงมือทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

๔.     สถานศึกษาจะแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินโครงการ ตามเกณฑ์ที่กำหนด

๕.     ผู้เรียนปฏิบัติการตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยอยู่ในการกำกับ ดูแลของครูที่ปรึกษาโครางการตามข้อ ๒

๖.     คณะกรรมการประเมินโครงการ ติดตามผลการดำเนินงานตามเกณฑ์กำหนด

๗.     ผู้เรียนจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการส่งสถานศึกษาเมื่อโครงการสิ้นสุดลงแล้ว

 

การประเมินผลสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

การประเมินผลความสำเร็จของโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้วนั้นให้พิจารณาว่า

๑.     โครงการสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดว่าไว้ในโครงการกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

๒.     ผลงานที่สำเร็จเป็นไปตามรายละเอียดการประเมินผลการปฏิบัติโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

การกำหนดจำนวนชั่วโมงและการพิจารณาให้ความเห็นชอบการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตภาคปฏิบัติ

          การกำหนดจำนวนชั่วโมงและการพิจารณาให้ความเห็นชอบการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตภาคปฏิบัติ ให้สถานศึกษาพิจารณาตามประเด็น ดังต่อไปนี้

๑.     กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและครอบครัว ประกอบด้วย

๑.     ประโยชน์ที่ตนเองได้รับ

๒.     ประโยชน์ที่ครอบครัวได้รับ

๓.     ระดับความยากง่ายในการปฏิบัติ งานต้องใช้ความคิด กำลังงานรวมทั้งที่มีขั้นตอนในการดำเนินงานที่ซับซ้อน

๔.     การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว

๕.     ความเหมาะสมในการใช้เวลาในการปฏิบัติ งานตามโครงการ

๖.     ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ

๗.     ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

๒.     กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ประกอบด้วย

๑.     ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมจะได้รับหรือเป็นบริการที่ช่วยส่งเสริมมาตรฐาน หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และอื่นๆ ที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ

๒.     การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่จัดแล้วคนในชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ทั้งด้านความคิด แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

๓.     ระดับความยากง่ายในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด กำลังแรงงาน รวมทั้งมีขั้นตอนในการดำเนินงานที่ซับซ้อน

๔.     การใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานในการช่วยกันคิด การประสานงาน การแบ่งงาน และความรับผิดชอบ ทำให้เกิดความสามัคคีเสียสละ จิตบริการ และตามวิถีประชาธิปไตย

๕.     การใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับกิจกรรมโครงการที่นำเสนอ

๖.     ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่นบุคลากร วัสดุ งบประมาณและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นไปอย่างประหยัด และประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

๗.     มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติแล้วทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน

 

การประเมินผล

        การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตร ซึ่งผู้เรียนทุกคนจะผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีวิธีการประเมิน ดังนี้

๑.     การประเมินผลการเรียนรู้ภาคทฤษฎี ผู้รับผิดชอบดำเนินการประเมินผล การเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ภาคทฤษฎีตามแบบประเมินที่กำหนด

๒.     การประเมินผลโครงการภาคปฏิบัติดำเนินการ ดังนี้

๑.     การประเมินผลการจัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและครอบครัว (กพช.๒) คณะกรรมการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติโครงการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จะพิจารณาประเมินผลโครงการตามตาราง ดังต่อไปนี้

๒.     การประเมินผลการจัดทำโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม (กพช. ๓)

 

เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.)

๑.     ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติกิจกรรมภาคปฏิบัติ รวมไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ชั่วโมง

๒.     โครงการภาคปฏิบัติต้องบรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีชิ้นงานและเอกสารรายงานแสดง

โครงงาน

คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ให้มากขึ้นโดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอนมีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

 

ประเภทโครงการ

แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทได้แก่

๑.     โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้ทักษะ และเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ

๒.     โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ มาบูรณาการเป็นโครงงานและปฏิบัติสามารถแบ่งได้ ๔ รูปแบบ ตามวัตถุประสงค์

๑.     โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล

๒.     โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้าทดลอง

๓.     โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาผลงาน

๔.     โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น

 

๑.     โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล

เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู ในรูปแบบที่เหมาะสม ข้อมูลที่ได้จะนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงาน ส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าว อาจมีผู้จัดทำขึ้นแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการจัดทำใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ศึกษาโครงงาน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก เช่น

-การสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

-การสำรวจงานบริการและสถานประกอบการในท้องถิ่น

 

 

๒.     โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้าทดลอง

เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยศึกษาหลักการและออกแบบการค้นคว้า ในรูปแบบการทดลองเพื่อยืนยันหลักการ ทฤษฎี เพื่อศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น

-        การปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี

-        การทำขนมอบชนิดต่างๆ

-        การควบคุมการเจริญเติบโตของต้นไม้ประเภทเถา

-        การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญพืช

๓.     โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดใหม่ๆ

เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ หรือหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยคิด หรือคิดขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ จากเนื้อหาวิชาการ หลักการ ทฤษฎีต่างๆ นำมาปรับปรุงพัฒนา ให้สอดคล้องมีความชัดเจน มีผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งต้องผ่านการพิสูจน์มีหลักการและเชื่อถือได้ เช่น

-        การใช้สมุนไพรในการปราบศัตรูพืช

-        การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการถนอมอาหาร และปรุงอาหาร

-        เกษตรแบบผสมผสาน

-        เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา

๔.     โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น

เป็นโครงงานทีมีวัตถุประสงค์ คือการนำความรู้ทฤษฎี หลักการ มาประยุกต์ใช้ โดยการประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆเพื่อประโยชน์ต่างๆ หรืออาจเป็นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ขึ้นมาใหม่หรือปรับปรุงของเดิม ให้ดีขึ้นใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น เช่น

-        การประดิษฐ์เครื่องควบคุมการรดน้ำ

-        การประดิษฐ์เครื่องรับวิทยุ

-        การประดิษฐ์ของชำร่วย
-        การออกแบบเสื้อผ้า 



เข้าชม : 451
 
กศน.ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 
โทรศัพท์ 089-7725100    E-mail :Jeeranuch.3078@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin