[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
    
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์ กศน.ตำบลท่าทองหลาง อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
   กลับหน้าหลัก
ข่าวประชาสัมพันธ์
ถ้าติดเชื้อ “โควิด-19” จริง อาการจะหนักหนาสาหัสแบบไหน อาการฉุกเฉินจาก “การป่วย” ทั่วไป กับ อาการฉุกเ

อาทิตย์ ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ.2563


 :: อาการฉุกเฉินทั่วไปที่ต้องมาโรงพยาบาล ::

“คนไข้ที่เข้ามาแผนกฉุกเฉิน ปกติมีพยาบาลคัดกรองให้อยู่แล้ว ว่าเรียกภาวะฉุกเฉินหรือไม่

อาการฉุกเฉินที่เราทราบๆ กันอยู่ดีคือ หมดสติเฉียบพลัน หัวใจหยุดเต้น อาการหอบเหนื่อยมาก เหนื่อยอย่างไหนเรียกว่ามาก ปกติคนไข้ทั่วไปที่หอบเหนื่อยยังพูดได้เป็นประโยค ในระดับหอบเหนื่อยมากคือพูดไม่ได้เลย หรือพูดไม่เป็นคำ หรือซึม ปลุกไม่ตื่น หมดสติ ชัก

คนไข้ที่อยู่ในกลุ่มรองลงมา อาจจะหอบเหนื่อย แต่ยังไม่มากเท่าไร

ต้องยอมรับว่าถ้ามาโรงพยาบาลช่วงนี้ ถ้าเจอในช่วงเวลาที่คนไข้เข้ามารับบริการเยอะ ก็อาจจำเป็นต้องรอ แต่ห้องฉุกเฉินตอนนี้เปิด 24 ชั่วโมง สำคัญคือว่าถ้าคุณมีประวัติเสี่ยง ต้องบอกเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก”

:: อาการฉุกเฉินของโรค โควิด-19 ::

“คนไข้มีอาการหอบเหนื่อยมาก อาการหนักคือหอบจนเขียว แต่กว่าจะถึงจุดนี้ ต้องบอกก่อนว่า คนติดเชื้อ 80% ไม่มีอาการอะไรเลย เขาอาจจะป่วยเล็กน้อย ก็สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ แต่เป็นพาหะ

คนไข้ที่จะเข้าสู่ระบบถึงขนาดเป็นหนักถึงฉุกเฉินได้ มีอยู่แค่ 2-4% ตามสถิติตอนนี้ เพราะตัวเลขยังไม่นิ่ง

อย่าเพิ่งตกใจ ว่าทุกคนเป็นแล้วจะต้องมีอาการหนักระดับเหนื่อยมากจนเขียว เพียงแต่ว่าเราจะให้ทุกคนระมัดระวังตัวไว้ก่อน ถ้ามีอาการไข้สูง มีไอ เจ็บคอ และเริ่มมีอาการไอแบบเสมหะ หอบเหนื่อยมากขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องมาโรงพยาบาลและรับการรักษาด้วยการให้ยาตั้งแต่เบื้องต้น”

 

:: อาการต้องมีครบ ไข้สูง ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย ::

“อาจจะไม่ครบ บางคนไม่มีไข้เลย แต่ติดเชื้อ บางคนมีแค่ไอ แต่อาการส่วนใหญ่ของคนไข้ คือมีไข้ มีไอ

ถามว่าจะแยกออกจากโรคอื่นได้อย่างไร ก็แยกยาก คนนี้เป็นไข้โควิด-19 คนนี้เป็นไข้หวัดใหญ่ คนนี้เป็นไข้หวัดทั่วไป

แต่วิธีป้องกันตัว..ไม่แตกต่างกัน เมื่อเราป่วย เราต้องป้องกันไม่ให้ตัวเองรับเชื้อเพิ่มเติม หรือไปแพร่เชื้อให้คนอื่น

ต้องดูแลสุขภาพอนามัยให้ถูกต้อง กินอาหารให้ดีเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน สวมใส่เครื่องป้องกันเพื่อไม่ให้เสมหะหรือน้ำลายตนเองไปปะปนคนอื่น อย่าใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

คนอายุน้อยๆ หรือคนแข็งแรง มีโอกาสหายได้อย่างปกติ แต่ถ้าเป็นคนสูงอายุ มีโอกาสทำให้เขาป่วยหนักได้สูง

ดังนั้น เราไม่อยากให้เกิดการระบาดไปสู่ผู้อายุ ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในประชากรทั้งหมด

ในคนไข้ที่ได้รับการรักษาช้า อาจทำให้เขาแย่ลงเร็ว 

ดังนั้น ตราบใดที่ทรัพยากรทุกวันนี้ หมอ พยาบาล เตียงนอนในโรงพยาบาล ยังพอรับรักษาทุกคนอยู่ ทุกคนมีโอกาสหายหมด

แต่ถ้าเมื่อใดที่ระบาดเยอะๆ จนทรัพยากรในโรงพยาบาลไม่พอ จะทำให้คนที่ควรจะหาย..ไม่หาย

 

คำแนะนำในปัจจุบันคือ ทำอย่างไรไม่ให้ระบาด คือคุณต้องดูแลตัวเอง ถ้าติดแล้ว หรือยังไม่ติดก็ตาม แต่สงสัยว่าตัวเองเป็นพานะ ก็ต้องป้องกันไม่ให้ตัวเองแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ หมอกับพยาบาลจะได้มีพื้นที่สำหรับรักษาคนให้หาย"

 


เข้าชม : 240


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      ประกาศรับสมัครนักศึกษา ภาคเรียนที่ 1-2567 7 / มี.ค. / 2567
      ประชาสัมพันธ์รับสมัครนักศึกษา 2 66 20 / ก.ย. / 2566
      ประกาศ สอบปลายภาคเรียนที่ 1/2566 8 / ก.ย. / 2566
      สำนักงาน กศน. เปลี่ยน เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) 23 / พ.ค. / 2566
      ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง 10 / พ.ค. / 2566




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป



กศน.ตำบลท่าทองหลาง   อำเภอบางคล้า  จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์ 0804165398 E-mail : Ksn.Tatonglang010765@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin