เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความทั่วไป
หัวข้อเรื่อง : โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรค (heat stroke)

จันทร์ ที่ 18 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2558

คะแนน vote : 207  

โรคลมแดด หรือ ฮีต สโตรก (Heat stroke) หมายถึง สภาพที่ร่างกายมีปัญหาการอุดตันของการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอย่าง ฉับพลัน โรคนี้เรียกเป็นภาษาไทย ว่า โรคลมแดด ซึ่งจะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง และเสียชีวิตได้ อาการของโรคลมแดด ได้แก่ เกิดมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศรีษะ ตัวร้อนจัด เพ้อ หรือหมดสติ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดลง ช็อก ผิวหนังแห้งและร้อน ระดับความรู้สึกตัวลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว กระสับกระส่าย ส่งเสียงเอะอะโวยวาย หมดสติ เกร็ง ชัก เป็นปฏิกิริยาเนื่องจากระบบหรือกลไกการทำงานของร่างกายหลังเมื่อได้รับความ ร้อน ร่างกายจะมีการปรับตัวโดยส่งน้ำหรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ตับ และกล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคลมแดด ฮีทสโตรก(Heat stroke) อาการที่สำคัญ ได้แก่ ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปหล่อเลี้ยง จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ เกิดภาวะขาดน้ำ สัญญาณสำคัญของโรคลมแดด คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวจะร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ กระหายน้ำมาก ปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน แตกต่างจากอาการเพลียแดดหรือเป็นลมแดดทั่วไปที่จะพบมีเหงื่อออกด้วย หากพบผู้ป่วยที่เป็นโรคลมแดด จะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ ข้อมูลทางระบาดวิทยาของสหรัฐอเมริกา รายงานว่า มีการเสียชีวิตมากกว่า 300 รายต่อปี ส่วนข้อมูลในบ้านเรายังไม่มีการเก็บข้อมูลกันอย่างจริงจัง จึงไม่มีรายงานผู้ป่วยอย่างชัดเจน วิธีการรับมือหรือปรับสภาพร่างกายในช่วง ที่มีอากาศร้อน ที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยปกติควรดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรต่อวัน หากทำงานในที่ร่มควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว เพราะหากร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอากาศที่ร้อนสูงได้ เช่นเดียวกับคนที่ทำงานอยู่หน้าเตาเผา ต้องเผชิญกับความร้อนสูงตลอดเวลา จึงต้องได้รับน้ำเข้าไปในร่างกายเพื่อใช้เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส หากร่างกายได้รับน้ำปริมาณที่น้อย จะมีสีเหลืองเข้มมากขึ้น และปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ เป็นสัญญาณเตือนว่า ร่างกายต้องการน้ำมาช่วยปรับความสมดุลในร่างกาย การช่วยให้ร่างกายปรับสภาพสมดุลให้ อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง เช่น ด้วยการอาบน้ำ ไปอยู่ในห้องแอร์ เปิดพัดลม สวมเสื้อผ้าบางลง ลดกิจกรรมลง ก็อาจจะยังไม่เพียงพอ เนื่องจากสภาพสมดุลในระบบขับถ่ายปัสสาวะภายในร่างกายยังไม่ได้สมดุล การป้องกัน 1) หลีกเลี่ยงการที่ต้องเผชิญกับแดดหรืออากาศที่ร้อนจัด หากมีโรคประจำตัว หรือร่างกายไม่พร้อมดังที่กล่าวมาจ้างต้น หากต้องเผชิญควรมีเครื่องป้องกันแดด เช่น ร่ม หรืออยู่ในที่ร่ม สวมหมวก ทาครีมกันแดด 2) ในขณะที่อากาศร้อนมาก ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน (ประมาณ 6-8 แก้ว) หลีกเลียงอากาศร้อนชื้น ถ่ายเทไม่สะดวก 3) การออกกำลังกายในช่วงอากาศร้อนต้องรอให้อากาศลดระดับอุณหภูมิลงก่อน ไม่ควรโหมหนัก ต้องรู้จักใช้วิธีการ warming up และ warm down ร่างกาย 4) สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ง่าย และโปร่งเบาสบาย เช่น สวมใส่ผ้าฝ้าย เสื้อผ้าที่มีช่องระบายอากาศได้ ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดจนเกินไป 5) ต้องดูแลเด็กเล็ก คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ในช่วงที่อากาศร้อนนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องอาหารและน้ำ ต้องให้ได้รับอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการขาดนำในร่างกาย 6) หากอากาศร้อนมากก็ให้อาบน้ำปะแป้ง ทำตัวให้เย็นสบาย เปิดแอร์ หรือพัดลมเพื่อคลายร้อน งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่มีผลต่อการเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายให้สูงขึ้น เช่น ยาแอมเฟตามีน ยารักษาโรคบางชนิดที่ต้องใช้ยาเป็นประจำจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการ ปรับเปลี่ยนขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย 7) ให้สังเกตอาการความผิดปกติของร่างกาย บอกแก่คนใกล้ชิดเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ ได้แก่ เหงื่อออกมาก หน้าซีด ตะคริว อ่อนเพลีย มึนงง ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม ตัวร้อนจัดควรนึกถึงโรคนี้และรีบนำผู้ป่วยส่ง รพ.ทันที โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยต้องคำนึงว่าหากนำส่งถึงโรงพยาบาลได้เร็วที่สุดจะสามารถลดการสูญเสีย หรือการเสียชีวิตได้มากที่สุด 8) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากโรคลมแดด ให้นำผู้ที่มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จะต้องไม่นำผู้ป่วยเข้าสู่บริเวณที่มีอากาศเย็นจัดในทันที ต้องค่อยๆ ปรับลดอุณหภูมิร่างกายลง เช่น จัดให้มีอากาศถ่ายเทให้สะดวกขึ้น ถอดเสื้อผ้าออก พ่นละอองน้ำ พรมน้ำให้แก่ร่างกายของผู้ป่วย หรืออาจเอาถุงน้ำแข็งวางที่ซอกรักแร้และขาหนีบทั้งสองข้าง จนเมื่อร่างกายเข้าที่จนอาการเป็นปกติแล้วจึงจะนำเข้าสู่ห้องแอร์ได้ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อได้เข้าใจถึงวิธีการดูแลและป้องกันตนอย่างถูกวิธีนี้แล้ว จะช่วยทำให้ลดความเสี่ยงจากโรคลมแดดหรือ Heat Stroke ลงได้บ้าง ……………………………….

เข้าชม : 2624


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรค (heat stroke) 18 / พ.ค. / 2558
      เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การอ่าน” คือการเปิดประตูสู่โลกกว้าง 19 / ม.ค. / 2554
      เลี้ยงไก่ไข่ด้วยอีแวป...ทำไบโอแก๊สลดค่าใช้จ่าย 3 / ธ.ค. / 2551
      Concept คุณจะสร้างเวบเกี่ยวกับอะไร 4 / ก.พ. / 2551




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป