เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความสุขภาพ
หัวข้อเรื่อง : วิธีสื่อสารกับเด็กนักเรียนเกี่ยวกับ โรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)

อาทิตย์ ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ.2563

คะแนน vote : 178  

 ขณะที่ผู้คนทั่วโลกกำลังใช้ความระมัดระวังในการปกป้องตนเอง ครอบครัว และชุมชน จากโรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) การส่งเสริมให้เด็กได้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร น่าเชื่อถือ ไม่แบ่งแยก และเอื้อต่อการเรียนรู้ ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน    

สถานศึกษาและครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องนี้ การแบ่งปันข้อมูลที่ถูกต้องและข้อเท็จจริงบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโควิด-19 จะช่วยลดความกลัวและความกังวลของนักเรียน รวมทั้งเสริมความสามารถในการรับมือกับผลกระทบจากสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา    

ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะสำหรับครู ในการสื่อสารกับนักเรียนวัยต่าง ๆ (ก่อนวัยเรียน ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย) เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และเชื้อไวรัสอื่น ๆ ครูควรสนทนาหรือจัดกิจกรรมโดยพิจารณาถึงความต้องการเฉพาะของเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมถึงคำแนะนำที่เกี่ยวข้องทั้งจากโรงเรียนที่สอน หน่วยงานในท้องถิ่น และ/หรือหน่วยงานระดับประเทศ พร้อมทั้งนำข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น องค์การยูนิเซฟ และองค์การอนามัยโลก มาพิจารณาร่วมด้วยเสมอ

 

เด็กก่อนวัยเรียน

  • เน้นพฤติกรรมเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น การไอหรือจามลงบนข้อพับแขน และการล้างมือบ่อย ๆดูเพิ่มเติมสำหรับวิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่นี่ 
  • หนึ่งในวิธีปกป้องเด็กให้ปลอดภัยจากโรคไวรัสโคโรน่าและโรคอื่น ๆ คือส่งเสริมให้เด็กล้างมือบ่อย ๆเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที ไม่พูดคุยในลักษณะที่ทำให้เด็กรู้สึกหวาดกลัว เด็กอาจร้องเพลง หรือ เต้นเข้าจังหวะ เพื่อการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการล้างมือ ที่นี่
  • หาวิธีติดตามดูว่าเด็กล้างมืออย่างไร พร้อมทั้งให้รางวัลสำหรับการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยระยะเวลาที่เหมาะสม
  • นำหุ่นกระบอกหรือตุ๊กตามาสาธิตอาการของโรค (จาม ไอ มีไข้) และการปฏิบัติตัวเมื่อรู้สึกป่วย (เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ตัวร้อน หรือรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ) รวมทั้งวิธีปลอบโยนผู้ที่เจ็บป่วย (ฝึกให้มีความเห็นอกเห็นใจ และวิธีที่ปลอดภัยในการดูแลผู้อื่น)
  • เมื่อทำกิจกรรมล้อมวง จัดให้เด็กนั่งห่างกันโดยให้เด็กกางแขนออกหรือทำท่า ‘กระพือปีก’  ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนจะต้องเว้นระยะห่างพอที่จะไม่สัมผัสตัวเพื่อนคนข้าง ๆ
  • นักเรียนชั้นประถมศึกษา 
    • รับฟังความกังวลและตอบคำถามของเด็กด้วยเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัย โดยไม่ป้อนข้อมูลให้กับเด็กมากเกินไป นอกจากนี้ยังควรกระตุ้นให้พวกเขาแสดงความรู้สึกออกมา พร้อมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกต่าง ๆ ของพวกเขา และอธิบายว่าความรู้สึกเหล่านี้ล้วนเป็นปฏิกิริยาปกติทั่วไปในสถานการณ์ที่ไม่ปกติเช่นนี้
    • ย้ำว่ามีหลายสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เพื่อดูแลตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัย เช่น สอนเด็กให้รู้จักการรักษาระยะห่างทางสังคม (เช่น ยืนห่างจากเพื่อน หลีกเลี่ยงฝูงชน ไม่สัมผัสตัวผู้อื่นถ้าไม่จำเป็น) และเน้นเรื่องพฤติกรรมเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น การไอหรือจามลงบนข้อพับแขน และการล้างมือบ่อย ๆ ดูเพิ่มเติมสำหรับวิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่นี่
    • ช่วยให้เด็กเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการป้องกันและการควบคุมโรค โดยอาจใช้อุปกรณ์แสดงให้เห็นการแพร่กระจายของเชื้อโรค เช่น ใส่น้ำผสมสีลงในขวดสเปรย์แล้วฉีดพ่นลงบนกระดาษสีขาว จากนั้นให้เด็กสังเกตดูการกระจายตัวของละอองน้ำบนกระดาษ
    • สาธิตให้เด็กเห็นว่า เหตุใดจึงจำเป็นต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นเวลา 20 วินาที เริ่มด้วยการใส่กากเพชรจำนวนเล็กน้อยลงในมือเด็ก ให้เด็กล้างมือด้วยน้ำเปล่าแล้วสังเกตดูว่ามีกากเพชรตกค้างอยู่ในมือมากน้อยเพียงใด จากนั้นให้เด็กล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นเวลา 20 วินาทีแล้วดูว่ากากเพชรในมือหายไปได้อย่างไร
    • ให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อความที่บ่งบอกพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง และให้เสนอแนะพฤติกรรมที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ครูคนหนึ่งเป็นหวัดและไปโรงเรียน ครูผู้นี้จามโดยใช้มือปิดปากและจมูก จากนั้นก็จับมือทักทายเพื่อนร่วมงาน แล้วเช็ดมือด้วยผ้าเช็ดหน้าก่อนจะไปสอนหนังสือในห้องเรียน ครูทำสิ่งใดบ้างที่มีความเสี่ยง? และครูควรปฏิบัติเช่นไรจึงจะเหมาะสม?

      นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น     

      • รับฟังข้อวิตกกังวลและตอบคำถามของนักเรียน
      • เน้นว่ามีหลายสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เพื่อดูแลตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัย เช่น สอนเด็กให้รู้จักการรักษาระยะห่างทางสังคม โดยเฉพาะพฤติกรรมเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น การไอหรือจามลงบนข้อพับแขน และการล้างมือ ดูเพิ่มเติมสำหรับวิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่นี่
      • ย้ำเตือนให้นักเรียนแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเพื่อสุขอนามัยที่ดีกับคนในครอบครัว
      • ส่งเสริมให้นักเรียนเผชิญหน้าและป้องกันการตีตรา พูดคุยเกี่ยวกับปฏิกิริยาของผู้คนเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติที่พวกเขาอาจพบเจอ และอธิบายว่าปฏิกิริยาเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉิน กระตุ้นให้พวกเขาสื่อสารความรู้สึกออกมา พร้อมทั้งชี้แจงว่าความกลัวและการตีตราเป็นสิ่งที่ทำให้สถานการณ์ซึ่งยากลำบากอยู่แล้วแย่ลง คำพูดของคนเรานั้นมีความสำคัญ และการใช้คำที่ส่งเสริมให้มีการเหมารวมแบบผิด ๆ ต่อไปจะยิ่งทำให้ผู้คนไม่ได้ป้องกันตัวเองอย่างที่ควรทำ อ่านสิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติในการสนทนากับเด็กเรื่องไวรัสโคโรน่า
      • จัดตั้งหน่วยงานของนักเรียนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านสาธารณสุข
      • ผนวกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องของวิชาสุขศึกษาไว้ในวิชาอื่น ตัวอย่างเช่น วิชาวิทยาศาสตร์ อาจบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับเชื้อไวรัสต่าง ๆ การติดต่อของโรค และความสำคัญของการฉีดวัคซีน ส่วนวิชาสังคมศึกษา อาจเน้นเรื่องราวของโรคระบาดใหญ่ในประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการของนโยบายด้านสาธารณสุขและความปลอดภัย
      • สนับสนุนให้นักเรียนจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสังคม เช่น จัดทำประกาศและโปสเตอร์ติดในโรงเรียน
      • บทเรียนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเป็นนักคิดเชิงวิพากษ์ มีทักษะในการสื่อสารและเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าต่อสังคม และช่วยให้พวกเขาพัฒนาความสามารถในการแยกแยะข้อมูลผิด ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

      นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 

      • รับฟังข้อวิตกกังวลและตอบคำถามของนักเรียน
      • ย้ำเน้นว่ามีหลายสิ่งที่นักเรียนสามารถทำได้เพื่อดูแลตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัย เช่น สอนนักเรียนให้รู้จักการรักษาระยะห่างทางสังคม และเน้นเรื่องพฤติกรรมเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น การไอหรือจามลงบนข้อพับแขน และการล้างมือ ดูเพิ่มเติมสำหรับวิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่นี่ 
      • ส่งเสริมให้นักเรียนเผชิญหน้าและป้องกันการตีตรา พูดคุยเกี่ยวกับปฏิกิริยาของผู้คนเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติที่พวกเขาอาจพบเจอ และอธิบายว่าปฏิกิริยาเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉิน กระตุ้นให้พวกเขาสื่อสารความรู้สึกออกมา พร้อมทั้งชี้แจงว่าความกลัวและการตีตราเป็นสิ่งที่ทำให้สถานการณ์ซึ่งยากลำบากอยู่แล้วแย่ลง คำพูดของคนเรานั้นมีความสำคัญ และการใช้คำที่ส่งเสริมให้มีการเหมารวมแบบผิด ๆ ต่อไปจะยิ่งทำให้ผู้คนไม่ได้ป้องกันตัวเองอย่างที่ควรทำ อ่านสิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติในการสนทนากับเด็กเรื่องไวรัสโคโรน่า
      • ผนวกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องของวิชาสุขศึกษาไว้ในวิชาอื่น ตัวอย่างเช่น วิชาวิทยาศาสตร์ อาจบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับเชื้อไวรัสต่าง ๆ การติดต่อของโรค และความสำคัญของการฉีดวัคซีน ส่วนวิชาสังคมศึกษาอาจเน้นเรื่องราวของโรคระบาดใหญ่ในประวัติศาสตร์และผลกระทบ ตลอดจนศึกษาว่านโยบายสาธารณะช่วยส่งเสริมเรื่องความอดกลั้นและความสมานฉันท์ของผู้คนในสังคมอย่างไร
      • สนับสนุนให้นักเรียนจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสังคม ผ่านสื่อสังคม และการเผยแพร่ทางสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ท้องถิ่น
      • บทเรียนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเป็นนักคิดเชิงวิพากษ์ มีทักษะในการสื่อสารและเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าต่อสังคม และช่วยให้พวกเขาพัฒนาความสามารถในการแยกแยะข้อมูลผิด ๆ ได้ดียิ่งขึ้นงง
    •  


เข้าชม : 1090


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      อัพเดทสถานการณ์ \'โควิด-19\' จากไวรัสโคโรน่า (8 เมษายน 2563) 8 / เม.ย. / 2563
      วิธีสื่อสารกับเด็กนักเรียนเกี่ยวกับ โรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) 5 / เม.ย. / 2563
      สรุปทุกเรื่อง “ไวรัสโคโรนา” หรือ “โควิด-19” คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร? 5 / เม.ย. / 2563
      “กล้วยน้ำว้า” ประโยชน์อนันต์ 9 / มี.ค. / 2558
      กินต้านหวัด 23 / ธ.ค. / 2557