[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก


การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต และการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา คิดเป็น โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน

การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ  คือ

1.  ระดับประถมศึกษา

2.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

3.  ระดับมะยมศึกษาตอนปลาย

โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน  ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนทั้งนี้ ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน

การลงทะเบียนเรียนรายวิชา

1. ระดับประถมศึกษา  ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต

 

2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 17 หน่วยกิต

3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 23 หน่วยกิต

 

    เป็นการวัดผลและประเมินผลการเรียนหมวดวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในด้านความรู้ ทักษะการเรียนรู้ คุณธรรมและจริยธรรม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยแบ่งการประเมินเป็น 3 ระยะ คือ

       1. การวัดผลและประเมินผลก่อนเรียน เป็นการประเมินพื้นฐานของนักศึกษาให้ได้ข้อมูลไปจัดกลุ่มนักศึกษา เตรียมความพร้อม และเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ แก่นักศึกษา ทำได้ 2 แบบ คือ

(1) แบบเป็นทางการ ด้วยการสอบข้อเขียน หรือปฏิบัติ  หรือกรอกข้อมูล

(2) แบบไม่เป็นทางการ เช่น สัมภาษณ์ สอบถาม พูดคุย

       2. การวัดผลและประเมินผลระหว่างเรียน เป็นการวัดและประเมินผลด้านความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมของนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง และหลากหลาย ควบคู่ไปกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยกำหนดคะแนนระหว่างภาคเรียน 60 % คะแนนปลายภาคเรียน 40%

        ที่มาของคะแนนระหว่างภาคเรียน  ได้จาก

      (1)  การมาพบกลุ่ม-การมาเรียนของนักศึกษา-การมีส่วนร่วม

               (2) จากรายงาน-ผลงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

               (3) การทดสอบย่อย

               (4) โครงงาน มีคะแนน 3 ส่วนคือ

เอกสารโครงงาน

ผลงาน-ชิ้นงาน

-  การรายงานผลการทำรายงานเป็นระยะ

3.  การวัดผลและประเมินผลปลายภาคเรียน และการตัดสินผลการเรียน

        เป็นการวัดผลเพื่อตัดสินผลการเรียน โดยใช้ข้อสอบและตารางสอบที่ กศน.กำหนด นักศึกษาจะต้องสอบได้ 50% ของคะแนนสอบปลายภาค นำผลการเรียนระหว่างภาคมารวมกับคะแนนปลายภาคได้ 50 คะแนนขึ้นไป ถือว่าสอบผ่าน ในกรณีที่สอบปลายภาคได้ไม่ถึง 50% ถึงแม้จะนำผลการเรียนระหว่างภาคมารวมกันแล้วคะแนนเกินกว่า 50คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน 

 

ตัวอย่าง   

1) คะแนนระหว่างภาค 38 คะแนน สอบปลายภาคได้ 20 คะแนน รวม 58 คะแนน ถือว่าสอบผ่าน

2) คะแนนระหว่างภาค 50 คะแนน สอบปลายภาคได้ 17 คะแนน รวม 67 คะแนน ถือว่าสอบไม่ผ่าน

 หมายเหตุ  สำหรับวิธีเรียนทางไกล กำหนดให้มีการวัดผลประเมินผลเพียงครั้งเดียว เฉพาะการวัดผลปลายภาคเท่านั้น โดยไม่มีคะแนนระหว่างภาค ผู้เรียนต้องสอบได้ 50%ของคะแนนรวมทั้งหมด   ถึงจะถือว่าสอบผ่าน

 





เข้าชม : 812
 

กศน.ตำบลบางเกลือ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

โทรศัพท์ 064-5208031  E-mail :nfeeast_bangkluea@dei.ac.th

 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin