การวางแผนการจัด
ทิศทางการดำเนินงานของ กศน.ตำบลท่าข้าม
ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2563 PLAN
PLAN ประชุมร่วมกับภาคีเครือข่าย /คณะทำงาน
DO วิเคราะห์ความสอดคล้องกับนโยบายต่างๆ/นำผลการวิเคราะห์มาทำแผนงาน/โครงการ
จัดทำโครงการ – แผนปฏิบัติการประจำปี /มอบหมายงาน/ดำเนินการตามแผนงาน
CHECK จัดทำแผนการนิเทศติดตามผล/จัดทำเครื่องมือประเมินโครงการ – เครื่องมือนิเทศ/ดำเนินการ
ติดตามผลประเมินผล/จัดทำรายงานผล
ACT วิเคราะห์ผลการประเมิน / นำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา
กศน.ตำบลท่าข้าม ไดใช้การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Analysis) ในการกำหนด จุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน กศน.ตำบลท่าข้ามรวมทั้งโอกาสและอุปสรรค จากสภาพแวดล้อมภายนอก กศน.ตำบลท่าข้าม อันเป็นปัจจัยต่อการจัดการศึกษา เพื่อนำผลไปใช้ในการกำหนด ทิศทางการดำเนินงานของกศน.ตำบลท่าข้าม ซึ่งผลที่ไดจากการประเมินสถานการณของ กศน.ตำบลท่าข้าม ดังนี้ ผลการวิเคราะห์ SWOT ของ กศน.ตำบลท่าข้าม ปีงบประมาณ 2563
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
จุดแข็งของ กศน.ตำบล (Strengths - S)
จุดแข็ง (Strengths - S)
- มีบริการ wi-if - มีการให้บริการหนังสือเรียน และหนังสือทั่วไป
- บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการกำหนดนโยบายและกิจกรรมในการทำงาน - กศน.ตำบลตั้งอยู่ในศูนย์กลางของชุมชน - มีบุคลากรอยู่ประจำกศน.ตำบล
- กศน.ตำบลท่าข้าม ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน มีความสะดวกในการคมนาคม ผู้เรียนและผู้รับบริการมีความสะดวกในการเดินทางและรับบริการ
ทางการศึกษา
- กศน.ตำบลท่าข้าม มีระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายและ ผู้นำชุมชน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
โอกาส ( Opportunities – O )
- มีภาคีเครือข่ายและหน่วยงานภาครัฐในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย เชน สำนักงานพัฒนาชุมชน เกษตรอำเภอ
- มีแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามรถถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนได
- โครงสร้างพื้นฐานในหมูบ้านตำบล และการคมนาคมสะดวกสบายต่อการเข้าถึง
- นโยบายของสำนักงาน กศน. ไดกำหนดให้มีการพัฒนา กศน.ตำบลให้ เป็นฐานการขับเคลื่อนการจัด
การศึกษา โดยเน้นการประสานเชื่อมโยงระหว่างชุมชนและภาคีเครือข่าย ในการจัดการศึกษารูปแบบ กศน.ตำบล 4 ศูนย ไดแก
(๑) ศูนยเรียนรูหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหมประจำตำบล
(๒) ศูนยส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล
(๓) ศูนยดิจิทัลชุมชน และ
(๔) ศูนยการศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสร้าง และกระจายโอกาสในการเรียนรู้ ตลอดชีวิตในชุมชน
อุปสรรค/ความเสี่ยง (Threats - T)
- นโยบายการจัดการศึกษานอกระบบ ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ หลักสูตร กศน. ๕๑
ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างยากและหลากหลาย ยากต่อการเรียนรูสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีวัยและพื้นฐานความรูที่แตกต่างกัน
- งบประมาณที่ไดรับการจัดสรรให้ใช้ในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง ไมสามารถบริการจัดการศึกษาไดสอดคลองกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ไดอย่างทั่วถึง
- ภาคีเครือข่ายและผู้นาชุมชน ขาดทักษะด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
เข้าชม : 2404 |