[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
กศน.อำเภอคลองเขื่อน
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความทั่วไป
หัวข้อเรื่อง : โรคกาฬหลังแอ่น

ศุกร์ ที่ 13 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558

คะแนน vote : 193  

 
โรคไข้กาฬหลังแอ่นคือโรคติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงผู้ป่วยบางคนที่ติดเชื้อชนิดนี้จะมีอาการที่รุนแรง และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า Neisseria meningitidis เชื้อตัวนี้แบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม แต่กลุ่มที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อยได้แก่ชนิด group B และ C สำหรับในประเทศไทย พบได้เฉลี่ย 20-50 รายต่อปี และจำนวนผู้ป่วยค่อนข้างคงที่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2554 ล่าสุด พบผู้ป่วยจำนวน 22 ราย เสียชีวิต 2 ราย เชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากชนิดย่อย B โดยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และเกิดประ ปรายตลอดปี ไม่มีการระบาดเฉพาะตามพื้นที่
 

ในคนปกติร้อยละ20 สามารถตรวจพบเชื้อนี้ในคอโดยที่ไม่มีอาการ แต่มีผู้ป่วยบางคนที่เชื้อนี้เข้ากระแสเลือด และทำให้เกิดโรค โดยมากจะเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และช่วงอายุ 15-24 ปี เป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงกับเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5-10 แม้ว่าจะให้การรักษาเต็มที่แล้วก็ตาม

การติดเชื้อมีได้ 2 ลักษณะคือ

  1. การติดเชื้อธรรมดา
  2. กรณีที่เชื้อแบ่งตัวอย่างช้าๆในกระแสเลือด เชื้อจะเดินทางเข้าไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ที่พบบ่อยคือ เยื่อหุ้มสมอง ที่พบได้เป็นส่วนน้อย คือ ข้อต่อต่างๆ และเยื่อหุ้มหัวใจ และทำให้เกิดรอยโรคที่บริเวณนั้นๆเช่น การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Meningitis อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 3
  3. กรณีที่เชื้อเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะเกิดอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Meningococcemia) และเชื้ออาจเข้าไปอยู่ที่เยื่อหุ้มสมองด้วย ทำให้เกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 50 กรณีที่เชื้อมีการแบ่งตัวในกระแสเลือดอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรง (Fulminant meningococcemia)

นอกจากเยื่อหุ้มสมองแล้วเชื้อนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคที่ ข้อ ปอดบวม

การติดต่อไข้กาฬหลังแอ่น

การติดเชื้อจะเกิดเฉพาะจากคนสู่คน ไม่มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคหรือเป็นแหล่งรังโรค การติดต่อเกิดโดยการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย หรือของผู้ที่เป็นพาหะ หรือการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งเหล่านี้แล้วนำมาสัมผัสกับเยื่อบุจมูก ตา หรือปากของเรา ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย หรืออาศัยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่นที่เกิดภาวะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะมีโอกาสติดเชื้อจากผู้ป่วยมากกว่า 400 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไปๆที่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

การติดต่อจะผ่านทาง

  • เยื่อเมือกในปาก จมูก เช่นการจูบปาก การเป่าปากและจมูก หรือใบหน้าใกล้ชิดกันเป็นเวลานาน
  • เสมหะหรือน้ำลายผู้ป่วย

เชื้อนี้จะติดต่อทางน้ำลาย หรือเสมหะ โดยการสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน จูบปากกัน หรือการผายปอดช่วยชีวิต

ระยะฝักตัวของโรค

  • ระยะฝักตัว (ระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการของโรค) ประมาณ3-4 วันโดยเฉลี่ย 1-10 วัน

ระยะติดต่อ

  • เชื้อนี้สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นตราบที่ยังพบเชื้อนี้อยู่ แต่หลังจากให้ยา 24 ชั่วโมงแล้วจะไม่ติดต่อ

อาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น

ผื่นเป็นจุดแดงเหมือนไข้เลือดออก มักพบมากตามแขนขา ทดสอบเอาแก้วกดบนผื่น ผื่นจะไม่จางหาย ฒฝ

ผื่นแดงเป็นปลื้น กดไม่จาง

ผื่นโรคไข้กาฬหลังแอ่นแดงเป็นปลื้น กดไม่จางผื่นจะมีขนาดใหญ่กว่าผื่นของไข้เลือดออก

ในรายที่รุนแรงผื่นจะรวมตัวกันเป็นปลื้นดังรูป รูปทั้งสองได้จากThe South Australian Department of Health



เข้าชม : 2205


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      ประวัติวันสงกรานต์ 8 / เม.ย. / 2559
      ประวัติวันแม่ 3 / ส.ค. / 2558
      พระราชประวัติสมเด็จพระเทพ 1 / เม.ย. / 2558
      โรคกาฬหลังแอ่น 13 / มี.ค. / 2558
      เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การอ่าน” คือการเปิดประตูสู่โลกกว้าง 19 / ม.ค. / 2554


 

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอคลองเขื่อน
115/47 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา โทรศัพท์ 0-3850-9082
โทรสาร 0-3850-9082  E-Mail : nfeeast_a_khlongkhuean@dei.ac.th

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี