[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 
   กลับหน้าหลัก

ประวัติตำบลบางเล่า

          ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) คนจีนจากเมืองจีนเข้ามาแสวงหาโชค ในระยะแรก ตั้งหลักแหล่งอยู่ในเขตเมืองฉะเชิงเทรา  และเมืองปราจีนบุรีบ้างก็เข้ามาเป็นกรรมกรในไร่อ้อย โรงหีบอ้อยมีการค้าขายมากขึ้นในปี พ.ศ. 2350 การก่อตัวของอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย ทำให้อ้อยกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏหลักฐานจากบันทึกเล่าเรื่องกรุงสยาม ของมงเซเฌอร์วปาลเลกัวซ์ กล่าวไว้ว่าทั้งจังหวัดเป็นที่ใหญ่ อุดมไปด้วยนาข้าว สวนผลไม้ และไร่อ้อย มีโรงหีบอ้อยไม่ต่ำกว่า 20 โรง ซึ่งเจ้าของเป็นคนจีนและหลักฐานร่างสารตรา กล่าวว่า พวกจีนก็ตั้งบ้านเรือนทำสวนใหญ่ไร่อ้อยชุกชุม
          ในปี พ.ศ. 2380 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา รับผิดชอบในการทำไร่อ้อยในพื้นที่  223  ไร่  เพื่อส่งเข้าโรงงานน้ำตาลของหลวง  และในปี พ.ศ. 2393 มีเอกสารระบุว่าเมืองฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ปลูกอ้อยอยู่  10,830  ไร่  จากหลักฐานสำเนาคำให้การจีนโป๊ว่าด้วยเรื่องอั้งยี่เมืองฉะเชิงเทรากำเริบ จะเห็นว่าคนจีนเป็นทั้งลูกจ้างในไร่อ้อย และเป็นเจ้าของโรงหีบอ้อย เป็นเจ้าของไร่อ้อย  แต่การที่ได้เป็นเจ้าของไร่อ้อยนั้น คงเนื่องมาจากคนจีนได้ภรรยาคนไทย แล้วทำไร่อ้อย ทำให้หญิงไทยที่เป็นภรรยาชาวจีนนั้นมีฐานะร่ำรวยขึ้น  สิ่งที่ตามมาก็คือ  การขุดคลองทดน้ำเข้าสวนอ้อย  การรับจ้างตีเหล็ก  เครื่องมือทำสวน และที่สำคัญ  คือ  มีทั้งคนลาวและคนเขมรเข้ามาอยู่เมืองไทย  สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงร่วมมือกับ ทัต บุญนาค ส่งสำเภาไปขายสินค้ายังต่างประเทศจนเมื่อใดที่พระราชบิดารังส่งหา เจ้าสัวย่อมหมายถึง กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์นั่นเอง
          เมษายน  พ.ศ. 2391  เป็นอีกวันหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในเมืองแปดริ้ว มีอั้งยี่อยู่ก๊กหนึ่ง ชื่อ ก๊กเสงทงในวันเกิดเหตุมีการแสดงงิ้วที่ศาลเจ้า ชาวจีนเหล่านี้ได้พากันไปดูงิ้วโดยอาศัยข้ามคลองจุกเฌอที่เช่าสะพานแห่งนั้น มีบ้านคนไทยซึ่งมีสุนัขดุ สุนัขได้ออกมาไล่กัดจนชาวจีนต้องพากันไล่ตีทำให้เจ้าของสุนัขโกรธ จึงเอาเลื่อยไปเลื่อยสะพานข้ามคลอง  ครั้นขากลับจากดูงิ้วชาวจีนเดินข้ามสะพานปรากฏว่าสะพานหักเกิดเป็นปากเสียง ถึงขั้นต่อยตีกัน เหตุการณ์ได้ทวีความรุนแรงลุกลามเป็นจลาจล  เพียงหลักจากนั้นไม่นานชาวจีนคนหนึ่งตั้งตนเป็น ตั้วเหี่ย” (หัวหน้าอั้งยี่) เข้าปล้นโรงหีบอ้อย ซึ่งเป็นชาวจีนด้วยกันครันพระยาวิเศษฤาไชย (บัว) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ได้ออกไปจับกุมก็เกิดการสู้รบกันขึ้น จนพระยาวิเศษฤาไชยสิ้นชีวิตในที่รบ  ไม่กี่วันต่อมาตั้วเหี่ยก็ก่อกบฏนำคณะอั้งยี่ยึดเมืองฉะเชิงเทรา เผาเมืองและตั้งกำลังมั่นในกำแพงป้อมปราการ ร้อนถึงกรุงเทพฯ ต้องส่งกองทัพหลวงออกมาปราบปรามอย่างเด็ดขาด มีพระยาพระคลัง  และเจ้าพระยาบดินทร์เดชาเป็นแม่ทัพจึงเอาชนะพวกอั้งยี่ได้  ในการรบครั้งนี้เกิดการฆ่าฟันกันตายนับพัน  จนมีผู้กล่าวกันว่าศพได้ลอยไปตามแม่น้ำบางปะกงจนน้ำในแม่น้ำแดงเป็นสีโลหิต นับเป็นเหตุการณ์นองเลือดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ข้างต้น จะเห็นว่าชาวจีนตั้งรกรากอยู่ตามริมแม่น้ำทั้งสองฝั่งยึดอาชีพปลูกอ้อย (มีโรงหีบอ้อยอยู่เหนือวัดสามร่มไปเล็กน้อย) และมามีส่วนเกี่ยวข้องกับตำบลบางเล่า  คือ  พวกอั้งยี่ ได้แผ่อิทธิพลเข้ามาถึงแถบนี้อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่  ใครไม่ยอมขึ้นด้วยก็ฆ่าทิ้งเสีย  จนเมื่อมามีการปราบปรามอย่างจริงจัง  ทำให้ต้องหนีแตกกระเจิงเอาตัวรอด แต่มีชาวจีนอยู่บ้านหนึ่งไม่มีปัญหากับบ้านเมืองชื่อ เอ่ง  แซ่เจ็ง  เป็นคนรูปร่างผอมบางแต่มีพักพวกอยู่มาก ทางการเห็นว่า เป็นผู้ที่พอไว้ใจได้และมีอิทธิพล สามารถปกครองพวกเดียวกันได้ จึงแต่งตั้งให้เป็นผู้นำมีบรรดาศักดิ์ เป็นขุนบางเล่าซึ่งเป็นชื่อเรียกตำบล และหมู่บ้านเป็นเวลาต่อมา



เข้าชม : 2034
 

กศน.ตำบลบางเล่า อำเภอคลองเขื่อน  จังหวัดฉะเชิงเทรา 
    โทรศัพท์ 038-509082 โทรสาร 038-509249 E-mail:424ed000004@dei.ac.th

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin