สายพันธุ์และคนไทยนิยมนำมาปลูกกันมาก
วัตถุประงค์
1. เพื่อนำวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วมาเพิ่มมูลค่า
2. เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าของกล้วย
3. เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้เรียน และชุมชน
4 เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้
ประโยชน์ของกล้วย
กล้วยน้าว้า มี โปรตีน และมี กรดอะมิโน อาร์จินิน และ ฮีสติดิน ซึ่งมีความจาเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก แถมยังมีวิตามินที่จาเป็นต่อร่างกายอีกด้วย นั้นเป็นคุณค่าทางโภชนาการ คราวนี้เรามาดูกันว่า สรรพคุณทางยาของกล้วยน้าว้า มีอะไรกันบ้าง
1. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการเจ็บหน้าอกจากการไอแห้ง ทานวันละ 5-6 ผล จะช่วยให้
อาการระคายเคืองลดน้อยลงได้
2. ช่วยเรื่องกลิ่นปาก ทาให้ลดกลิ่นปากได้ดี วิธีรับประทานคือทานกล้วยน้าว้าหลังตื่นนอนทันทีแล้ว
ค่อยแปรงฟัน จะช่วยลดกลิ่นปากได้
3. ช่วยเป็นยาระบายแก้ท้องผูก หรือระบบขับถ่ายไม่ปกติ วิธีรับประทานคือ ทานกล้วยน้าว้าสุก 1-2
ผล ก่อนนอน และดื่มน้าตามมากๆ จะช่วยให้ถ่ายท้องได้ดีในวันรุ่งขึ้น
4. ช่วยแก้ท้องเดิน หรือ ท้องเสียได้ ในกล้วยน้าว้าจะมีสารเทนนิน ซึ่งสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรงได้โดยการน้า กล้วยน้าว้าดิบ หรือ กล้วยน้าว้าห่าม มาปอกเปลือกหั่นเป็น
5. ช่วยรักษาโรคกระเพาะได้ นากล้วยน้าว้าดิบมาปอกเปลือก แล้วนาเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ แตก
แดด 2 วัน ให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้าข้าว หรือน้าผึ้ง ทานก่อนอาหาร ครึ่งชม. หรือก่อนนอนทุกวัน
กิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอนสำคัญ
1. ผู้จัดทำและคณะได้ประชุมวางแผนการแปรรูปอาหาร
2. เลือกและศึกษาวัตถุดิบที่จะใช้ในการแปรรูปอาหารโดยคำนึงถึงที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น
3. คำนึงถึงการบริโภค และประโยชน์ที่จะได้รับ
4. คำนึงถึงสถานที่การผลิต และวัสดุอุปกรณ์
5. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
6. จัดเตรียมวัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูปและใช้ในการผลิต
7. เริ่มดาเนินการผลิตและแปรรูปอาหารจากกล้วย
8. ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุหีบห่อ
9. นำผลิตภัณฑ์ออกจ้าหน่าย
วิธีการศึกษา
1. ศึกษาจากวิทยากรในท้องถิ่น คือ นางอรวรรณ พุ่มโพธิ์ และ นางวรรณา เรืองปราชญ์
2. ศึกษาจากเอกสาร และคำแนะนำจากผู้รู้ครูที่ปรึกษา นางสาวนิภาพร นันทะสาร ครู กศน.ตำบลบางโรง สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองเขื่อน
3. ประเด็นการศึกษา
- การเลือกชนิดกล้วย อายุกล้วย
- ประโยชน์ของกล้วย
- การนำกล้วยมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ กล้วยกรอบ กล้วยนายพัน
กล้วยทองพับ กล้วยปิ้งไส้แตก กล้วยทองม้วน กล้วยบดผง
- การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุหีบห่อ
วัสดุเครื่องมือ / อุปกรณ์เครื่องปรุง
การทำกล้วยกรอบ
|
วัตถุดิบการปรุงรส
|
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
|
กล้วยดิบ (แก่จัด)
|
กระทะ
|
น้ำตาลทราย
|
กระชอน
|
น้ำมัน (ถุง)
|
ลวดเย็บกระดาษ
|
เนยมากาลีน (ขนาดใหญ่)
|
ตะหลิว
|
เกลือป่น
|
กล่องบรรจุภัณฑ์
|
เกลือเมิด
|
มีดปอกกล้วย (ขนาดเล็ก)
|
กระดาษปูโต๊ะจีนขาว
|
มีดไสกล้วย
|
ถุงจีบ ขนาด 6x9
|
กะละมัง
|
ถุงหิ้ว ขนาด 7x15
|
เตาแก๊ส
|
ขั้นตอนการทำ/แปรรูป กล้วยกรอบ
1. ตัดกล้วยดิบที่เตรียมไว้ออกเป็นผล
2. ปอกเปลือกกล้วยออกให้หมด
3. นำกล้วยที่ปอกแล้วไปแช่ / ล้างน้ำเกลือที่เตรียมไว้
4. นำกล้วยที่ล้างแล้วมาใส่ตะกร้าไว้ให้แห้งพอหมาดๆ
5. ฝานกล้วยที่ล้างแล้วใส่ตะกร้าผึ่งแดดพอหมาดๆ เพื่อเตรียมทอด
6. นำกล้วยไปทอดในน้ำมันที่เดือดได้ที่ โดยหยิบใส่ทีละชิ้นไม่ได้กล้วยติดกันแล้วทิ้งไว้สักครู่
7. คนกล้วยให้แยกออกเป็นแผ่นๆ แล้วทิ้งไว้สักพัก
8. กล้วยเริ่มสุก คนกล้วยอีกครั้ง
9. พอกล้วยสุกได้ที่ตักกล้วยทอดที่สุกแล้วน้ามาใส่ถาด/กระดาษปูโต๊ะจีนขาวที่เตรียมไว้
10. นำน้ำตาลทรายหรือเนยมาต้มเคี่ยวพอประมาณแล้ววางทิ้งไว้ให้เย็น
11. นำกล้วยที่ทอดแล้วมาคลุกกับน้ำตาลหรือเนยที่ต้มไว้
12. นำกล้วยที่คลุกกับน้ำตาลหรือเนยมาทอดอีกครั้งหนึ่งจนกว่าฟองอากาศในหม้อหมด
13. นำกระชอนมาตักไปวางใส่กระดาษปูโต๊ะจีนขาวที่เตรียมไว้อีกครั้งหนึ่งพอแห้งสนิท
14. นำมาบรรจุใส่ในกล่องบรรจุภัณฑ์หรือถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ตกแต่งให้สวยงามพร้อมจำหน่ายออกสู่ตลาด
การทำกล้วยนายพัน
|
วัตถุดิบการปรุงรส
|
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
|
แป้งสาลีอเนกประสงค์ 360 กรัม
|
กระทะ
|
มาการีน 125 กรัม
|
กระชอน
|
น้ำตาลทราย 50 กรัม
|
ตะหลิว
|
กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
|
กล่องบรรจุภัณฑ์
|
น้ำเปล่า 150 มิลลิลิตร
|
มีดปอกกล้วย (ขนาดเล็ก)
|
กล้วยเล็บมือนาง
|
กะละมัง
|
|
เตาแก๊ส
|
ขั้นตอนการทำ/แปรรูป กล้วยนายพัน
1. ผสมแป้งสาลีกับมาการีน คนให้เข้ากัน จากนั้นก็เติมน้ำตาลทรายและกลิ่นวานิลลา กวนให้เข้ากันอีกครั้ง
2. เติมน้ำเปล่าลงไปทีละน้อยแล้วนวดให้เนียน เติมน้ำเปล่าจนหมดแล้วนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
3. นำแป้งที่นวดเป็นแล้วมาคลึงให้บาง แล้วหั่นแป้งให้เป็นแนวยาว
4. ปอกเปลือกกล้วยออก เอากล้วยมาพันด้วยแป้ง พีนให้เป็นเกลียว
5. ตั้งกระทะใส่น้ำมันให้ท่วม รอจนน้ำมันร้อนแล้วนำกล้วยลงไปทอด ทอดจนแป้งเหลืองกรอบน่ารับประทาน
6. นำกล้วยทอดขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน เสิร์ฟคู่กับนมข้นหวานได้เลย
การทำกล้วยทองพัน/ทองม้วน
|
วัตถุดิบการปรุงรส
|
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
|
แป้งข้าวเจ้า 2 ½ ถ้วยตวง
|
เตาสำหรับทำทองพับโดยเฉพาะ
|
แป้งมัน 1 ช้อนโต๊ะ
|
เตาแก๊ส
|
มะพร้าวขูด 3 ขีด
|
มีดปลายแหลมสำหรับแคะพับ
|
กล้วยดิบตากแห้งบดผง
|
ไม่ท่อนกลมขนาดกลางสำหรับม้วน
|
น้ำตาลปีบ 2 ½ ขีด
|
กล่องบรรจุภัณฑ์
|
ไข่ไก่ 1 ฟอง
|
|
งาดำ 3 ช้อนโต๊ะ
|
|
น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันพืชสำหรับทาพิมพ์ทองม้วน
|
|
ขั้นตอนการทำ/แปรรูป กล้วยทองพัน/ทองม้วน
1. คั่นมะพร้าวโดยใช้นํ้าดอกมะลิ 1 ถ้วยตวง ให้ได้กะทิ 1 1/2 ถ้วยตวง
2. ละลายนํ้าตาลปีบกับกะทิให้เข้ากัน ตั้งไฟให้เดือด กรองเอาผงออก ทิ้งไว้ให้เย็น
3. ต่อยไข่ใส่ชาม ตีด้วยส้อมสักครู่ จึงผสมกับกะทิและน้ำตาลที่พักไว้ แล้วตักขึ้นผสม นวดไปกับแป้งมัน และแป้งข้าวเจ้าในอ่างผสมจนแป้งละลายไม่เป็นเม็ด จึงใส่งาดำคนให้เข้ากัน ติดเตาถ่านให้แดงทั่วกันแล้วจึงเอาขี้เถ้าโรยทับ เพื่อให้ไฟอ่อนสม่ำเสมอกัน วางพิมพ์ทองม้วนลงผิงให้ร้อน จึงใช้ลูกประคบจุ่มนํ้ามันทาพิมพ์ให้ทั่ว ตักขนมใส่พิมพ์ราวครึ่งช้อนโต๊ะ บีบพิมพ์ให้แน่นและปิ้งกลับไปมาจนเหลืองทั่วกันทั้งสองด้าน ใช้มีดแซะออกจากพิมพ์พับริมทั้ง 4 ด้านเข้าหากัน แล้วพับครึ่งอีกครั้งโดยเร็วก่อนที่ขนมจะแข็งตัว เมื่อเย็นแล้วเก็บใส่ขวดโหล อบด้วยควันเทียนให้หอม
การทำกล้วยปิ้งไส้แตก
|
วัตถุดิบการปรุงรส
|
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
|
กล้วยสุกห่าม
|
เตาสำหรับปิ้งกล้วย
|
ฝอยทอง
|
เตาแก๊ส
|
ลูกเกด
|
มีดปลายแหลมสำหรับปอกกล้วย/ผ่ากล้วย
|
สังขยา
|
กล่องบรรจุภัณฑ์
|
ข้าวโพด
|
|
น้ำเซื่อมกระทิใส่น้ำตาลปี๊บ
|
|
ขั้นตอนการทำ/แปรรูป กล้วยปิ้งไส้แตก
1. นำกล้วยสุกห่ามมาปอกเปลือกออกแล้วนำไปย่างพอสุกแล้วนำมาผ่าตรงกลาง
2. นำไส้ ฝอยทอง ลูกเกด สังขยา ข้าวโพด และน้ำเซื่อมกระทิใส่น้ำตาลปี๊บ มายัดไส้ตามต้องการ
3. นำมาใส่กล่องบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามพร้อมรับประทานและจัดจำหน่าย
ผลสำเร็จ
การดำเนินงาน การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่มีในพื้นที่ ทำให้สมาชิกภายในกลุ่มมีรายได้เสริมและเพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพเกษตรกรทางเดียว และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดความเข้าใจ ความสามัคคีกันภายในกลุ่มและคนอื่น ๆได้มองเห็นความสำคัญ และแต่เดิมส่งขายภายในหมู่บ้าน ขณะนี้ได้เป็นที่ยอมรับจากพนักงานทางโรงเรียนข้างเคียงได้รับสั่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก และได้จัดทำตราสัญลักษณ์เป็นสติ๊กเกอร์เป็นตราของหมู่บ้านกอไผ่ติดไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ และยังเผยแพร่การจำหน่ายผ่านทางอินเตอร์เน็ตออนไลน์ facebook fanpage ชื่อว่า “บ้านกอไผ่” และได้มีการเผยแพร่ช่องทาง page facebook และเว็บไซต์ของ กศน.ตำบลบางโรง