ประวัติตำบลบางตลาด
ตำบลบางตลาดนั้นเดิมเรียกว่า “ย่านตลาด” คงเนื่องมาแต่ในอดีตที่ดินแถบนี้มีชนหลายเชื้อชาติเข้ามาตั้งหลักแหล่งได้แก่ เขมร มอญ ลาว และชาวจีน ผลัดกันมีอำนาจ เช่น ชื่อฉะเชิงเทรามีเรียกเป็นภาษาเขมรว่า “สตรึงเตรง” หรือ “ทรึงเทรา” แปลว่า “คลองลึก” หรือ “คลองใหญ่” อันหมายถึง แม่น้ำบางปะกงนั่นเองมีศิลปะชาวลาว เกี่ยวกับรูปลักษณ์การสร้างพระพุทธรูปในเมืองฉะเชิงเทรา การมีเตาเผาอิฐของชาวมอญตาชายฝั่งบางปะกง การขุดคลองบางขนากของชาวมุสลิม และการที่ชาวจีนเข้ามาแสวงหาโชคค้าขาย มีท่าเรือ ศาลเจ้าโรงเจ และมีคำว่า “ก๋ง” ซึ่งลูกหลานเป็นชาวแปดริ้วไปแล้วนั้นทำให้เข้าใจได้ว่าย่านตลาดน่าจะเป็นแหล่งชุมชนค้าขายชุมชนหนึ่งตามริมแม่น้ำ บางปะกงในสมัยก่อน บริเวณหมู่ที่ 4,5,และ 6 ของบางตลาด จะมีชาวมอญอพยพมาตั้งเตาเผาอิฐอยู่ตามคุ้งน้ำที่มีดินแดงมีการเกณฑ์อิฐเพื่อสร้างกำแพงเมือง ทำการค้าขาย ทำโรงหีบอ้อยของคนจีน ขนาดก้อนอิฐกว้างคืบ ยาวฟุต
ปัจจุบันน้ำเซาะเตาเผาพังหมดแล้วจะมีเหลือให้เห็นก็แต่ว่าน้ำวนตามเตาเผาใหญ่ ๆ“ผ่านตลาด” และต่อมาใช้ว่า “บางตลาด” เพราะการเรียกชื่อบ้านหรือท้องถิ่นแถบนี้ใช้คำว่า “บาง” และเป็นชื่อของตำบลในที่สุดในสมัยรัชกาลที่3ทรงโปรดฯ ให้เจ้าพระยายมราช และเจ้าพระยามหาโยธา ออกมาเตรียมการตั้งเมืองฉะเชิงเทราใหม่โดยเตรียมอิฐเพื่อใช้ก่อสร้างป้อมและกำแพงเมืองและจากหลักฐานจดหมายเหตุพบว่าในปี พ.ศ.2378มีการเกณฑ์ไม้เสาและอิฐจำนวนมากและเกณฑ์แรงงานไพร่มาปรับพื้นที่ด้วยเพื่อสร้างเมืองใหม่
เข้าชม : 1321 |