วันสงกรานต์ 2559 ในปีนี้ตรงกับวันวันพุธที่ 13 เมษายน 2559 จันทรคติ จะตรงกับ วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนห้า (5) ปีวอก
วันนี้สกู๊ปเอ็มไทย จึงจะขอนำเสนอเรื่องราวที่น่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับ และประวัติวันสงกรานต์ มาฝากกัน
วันสงกรานต์ วันปีใหม่ไทย
ประวัติวันสงกรานต์
คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํ-กรานต” ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือย้ายขึ้น โดยมีนัยความหมายว่า การเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่นั้นเอง โดยเทศกาลสงกรานต์ นั้นเป็นประเพณีที่มีความเก่าแก่และคนไทยสืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กับประเพณีตรุษจีนกันเลยทีเดียว จึงได้มีการรวมเรียกกันว่า “ประเพณีตรุษสงกรานต์” ซึ่งแปลว่าการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั้นเอง
วันมหาสงกรานต์
ในสมัยโบราณ คนไทยถือว่า วันขึ้น 1 ต่ำ เดือนอ้าย ซึ่งจะตรงในช่วงเดือน พฤศจิกายนหรือธันวาคม ให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ จนต่อมาในสมัยยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นวันสากล คือ วันที่ 1 มกราคม แต่ถึงอย่างไร คนโบราณก็ยังคงคุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยร่วมด้วย
นางสงกรานต์ 2559 “มณฑาเทวี”
นางสงกรานต์ ในโบราณมีการกำหนดไว้ถึง 7 นางด้วยกัน ซึ่งแต่ละนางก็จะมีความหมาย คำทำนายที่แตกต่างกันออกไป โดยทั้ง 7 นางสงกานต์ จะประกอบไปด้วย
- นางทุงษะเทวี
- นางรากษเทวี
- นางโคราคเทวี
- นางกิริณีเทวี
- นางมณฑาเทวี
- นางกิมิทาเทวี
- นางมโหธรเทวี
สำหรับวันสงกรานต์ ปี 2559 นี้ นางสงกรานต์ ได้แก่ “มณฑาเทวี” โดย นางสงกรานต์นามว่า “มณฑาเทวี” ทรงพาหุรัด ทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย หัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม หัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) มาเหนือหลังคัสพะ (ลา) เป็นพาหนะ
สรงน้ำพระในวันสงกรานต์
กิจกรรมในวันสงกรานต์
ทำบุญตักบาตร วันมหาสงกรานต์ ประชาชนจะลุกขึ้นมาตอนเช้าเพื่อที่จะจัดเตรียมอาหาร ไปตักบาตรถวายพระ พอจัดเตรียมอาหารเสร็จก็จะ บรรจงลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามที่สวยงาม แล้วเอาวางเรียงลงในถาด เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตน เรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดสวยงามมิดชิดเหมาะแก่การไปวัดของชาวบ้าน
ก่อพระเจดีย์ทราย ใน สมัยก่อนทีเรื่องเล่าขานกันว่าทุกคนเมื่อเข้าวัดมาแล้วเวลาเดินออกจากวัดจะ มีเม็ดทรายติดเท้าออกไปด้วยเพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการเติมเต็มจึงมีการขนทราย เข้าวัดหรือการก่อพระเจดีย์ทรายนั้นเองแต่ถึงอย่างไรแล้วการก่อพระเจดีย์ ทรายก็เป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมกันทำเพราะตอน เย็นๆชาวบ้านก็จะพากันไปที่ท่าน้ำแล้วขนทรายกันมาคนละถังเพื่อนำทรายมาก่อ เป็นพระเจดีย์นั่นถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะให้ชาวบ้านมีความสามัคคี กรมเกลียวเพราะเมื่อขนทรายเข้าวัดแล้วทรายก็จะล้นวัดพระสงฆ์ก็จะนำทรายที่ ชาวบ้านขนมานำไปคืนสู่แม่น้ำดังเดิมเพราะไม่รู้จะเก็บไว้ทำอะไรเพราะฉะนั้น แล้วเวลาขนทรายเข้าวัดควรจะขนเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นพอเพราะจะสร้างความ ลำบากให้พระเณรในภายหลัง
สรงน้ำ รดน้ำ และเล่นน้ำ การ สรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปี ใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำ มาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์
ในวันสงกรานต์ของประเทศไทยในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
– สงกรานต์ภาคกลาง
13 เมษายน จะเรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” และถือเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติอีกด้วย
14 เมษายน จะเรียกว่า “วันเนา” และถือเป็นวันครอบครัว
15 เมษายน จะเรียกว่า “วันเถลิงศก” ถือว่าเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่
– สงกรานต์ภาคเหนือ
13 เมษายน จะเรียกว่า “วันสงขารล่อง” ความหมายว่า อายุสิ้นปีหมดไปอีกปี
14 เมษายน จะเรียกว่า “วันเน่า” วันที่ห้ามพูดคำหยาบคาย
15 เมษายน จะเรียกว่า “วันพญาวัน” ถือว่าเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่
– สงกรานต์ภาคใต้
13 เมษายน จะเรียกว่า “เจ้าเมืองเก่า” เชื่อกันว่าวันที่เทวดารักษาบ้านเมืองจะกลับบนสวรรค์
14 เมษายน จะเรียกว่า “วันว่าง” วันที่ปราศจากเทวดารักษาเมือง
15 เมษายน จะเรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” วันรับเทวดาองค์ใหม่เพื่อดูแลบ้านเมืองแทนองค์เดิม
เข้าชม : 1207
|