1. ข้อมูลอำเภอ
1.1 สภาพทางกายภาพ
เดิมอำเภอคลองเขื่อน จัดตั้งเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2536 เป็นตำบลในอำเภอบางคล้า
ซึ่งมีเขตการปกครองทั้งหมด 17 ตำบล ต่อมาทางราชการเห็นว่าอำเภอบางคล้ามีพื้นที่กว้างขวางยากแก่การที่ประชาชนจะมาติดต่อกับทางราชการได้สะดวก และยากที่จะปกครองดูแลให้ทั่วถึง จึงได้แบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของอำเภอออกไป 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวสำโรง ตำบลแปลงยาว และตำบลวังน้ำเย็น ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแปลงยาว เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2521 ทำให้อำเภอบางคล้าเหลือเพียง 14 ตำบล 85 หมู่บ้าน
ต่อมาในปี พ.ศ.2536 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2536
เรื่อง แบ่งเขตพื้นที่อำเภอบางคล้า ตั้งเป็นกิ่งอำเภอคลองเขื่อน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2536 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2536 เพราะเนื่องจากที่อำเภอบางคล้า มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ท้องที่ตำบลอยู่ห่างไกลที่ว่าการอำเภอ เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติราชการดูแลทุกข์สุขของราษฎรได้ไม่ทั่วถึง เพราะเชื่อว่าสภาพท้องที่โดยทั่วไปจะเจริญก้าวหน้าในภาคหน้า และอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำบางปะกง ต้องข้ามเรือไปมาไม่สะดวก เพราะยังไม่มีสะพานข้ามเหมือนปัจจุบัน (สะพานกรมโยธาธิการ สร้าง พ.ศ.2537 อยู่หัววัดบางตลาด) หรือถ้าจะไปทางรถยนต์ต้องอ้อมเข้าไปแปดริ้วข้ามสะพานฉะเชิงเทราแล้วจึงวกกลับมาอำเภอบางคล้า
ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการปกครองและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ กระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 64 และ 65 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2547 จึงแบ่งท้องที่อำเภอบางคล้า ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง เรียกว่า“กิ่งอำเภอคลองเขื่อน”มีการปกครอง รวม5 ตำบล 30 หมู่บ้าน ภายหลังแยกเพิ่มตำบลคลองเขื่อนและตำบลบางตลาด ตำบลละ 1 หมู่บ้าน รวมเป็น 32 หมู่บ้าน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอคลองเขื่อน โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2550
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอคลองเขื่อนตั้งอยู่ เลขที่ 115/3 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24000 เบอร์โทรศัพท์ 038-509222 โทรสาร 038-509222
คำขวัญอำเภอคลองเขื่อน
เมืองทองคลองเขื่อน มาเยือนน่าอยู่ งามหรูเกาะลัด มะม่วงจัดหวานมัน
พืชพันธุ์มะพร้าวหอม แวดล้อมกุ้ง ปลา ทุ่งนาข้าวดี มีพระพิฆเนศองค์ใหญ่
1) ขนาดพื้นที่ 128 ตารางกิโลเมตร
2) ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
พิกัด X=13.790548 Y= 101.164073
อำเภอคลองเขื่อน ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 18 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขต
การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และ อำเภอบ้านสร้าง
จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอบางคล้า
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอบางคล้า และ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอเมืองฉะเชิงเทราและอำเภอบางน้ำเปรี้ยว
3) ลักษณะทางกายภาพ / สภาพภูมิประเทศ
อำเภอคลองเขื่อน มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนที่มากับน้ำ มีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่าน เนื้อที่ประมาณ 128 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,000 ไร่ เป็นพื้นดิน 63,087 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 78.9 เป็นพื้นที่น้ำ 16,913 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.1
ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่จึงมีอาชีพ ทำนา
ทำสวนแหล่งน้ำสำคัญคือ แม่น้ำบางปะกง
สภาพภูมิอากาศ
สภาพโดยทั่วไปของอำเภอคลองเขื่อน มีลมมรสุมพัดปกคลุมเกือบตลอดปี โดยแบ่งออกตามฤดูกาล ได้ 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน พฤษภาคม โดยมีลมตะวันออกและลมใต้พักปกคลุม มีอากาศร้อนอบอ้าว และอากาศร้อนจัดเป็นบางวัน อุณหภูมิเฉลี่ย 35-38 องสาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ย 200-300 มิลลิเมตร
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัด ปกคลุม ประกอบกับมีร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก ทำให้มีฝนตกฟ้าคะนอง มีปริมาณฝน เฉลี่ย 1000 -1200 มิลลิเมตร
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม อุณหภูมิเฉลี่ย 18 - 21 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ย 50 - 100 มิลลิเมตรปริมาณน้ำฝน เนื่องจากอำเภอคลองเขื่อนยังไม่มีสถานีวัดน้ำฝนจึงใช้สถิติปริมาณน้ำฝนของ จังหวัดฉะเชิงเทราโดยค่าเฉลี่ยปี 2550 เท่ากับ 1,200 มิลลิเมตร
4) ลักษณะการแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนท้องถิ่น
อำเภอคลองเขื่อน แบ่งเขตการปกครองตาม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457
จำนวน 5 ตำบล 32 หมู่บ้าน ดังนี้
1. ตำบลคลองเขื่อน มี 6 หมู่บ้าน
2. ตำบลบางโรง มี 7 หมู่บ้าน
3. ตำบลบางตลาด มี 7 หมู่บ้าน
4. ตำบลก้อนแก้ว มี 6 หมู่บ้าน
5. ตำบลบางเล่า มี 6 หมู่บ้าน
.
องค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง คือ
1.องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขื่อน
2.องค์การบริหารส่วนตำบลบางโรง
3.องค์การบริหารส่วนตำบลบางตลาด
4.องค์การบริหารส่วนตำบลก้อนแก้ว
5.องค์การบริหารส่วนตำบลบางเล่า
6) โครงสร้างพื้นฐาน
การไฟฟ้า
ประชาชนในพื้นที่ มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
มีการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะตามถนนสายต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรไปมีมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
|
การประปา
ระบบประปาให้บริการ 2 ระบบ ดังนี้
(1) ระบบประปาหมู่บ้าน (ของกรมโยธา) แหล่งน้ำใต้ดิน/บ่อบาดาล คือ หมู่ที่ 2-3 บ้านเกาะลัด และของ อบต. แหล่งน้ำใต้ดิน/บ่อบาดาล คือ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6
(2) ระบบประปาส่วนภูมิภาค หมู่ 1, 2,3,5,6, และหมู่ที่ 7 ตำบลบางตลาด ,ประปาหมู่บ้านสมอคล้อย หมู่ที่ 1 ตำบลบางโรง อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
7) การคมนาคมติดต่อสื่อสาร
ถนนสายหลัก,ถนนสายรองตำบลบางตลาดมีถนนทางหลวงที่ผ่านตำบลและภายในตำบล คือ
(1) ทางหลวงชนบท หมายเลข 3200 สายอำเภอคลองเขื่อน–อำเภอเมือง
(2) ทางหลวงชนบท หมายเลข 3121 สายอำเภอคลองเขื่อน – อำเภอบางคล้า
(3) ถนนชลประทาน สายตำบลบางขนาก–ตำบลบ้านใหม่อำเภอเมือง ระยะทาง 18 กม. (4) ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน 17 สาย
(5) ถนนดินลูกรังเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและตำบลใกล้เคียง 5 สาย
(6) ถนนหินคลุก จำนวน 46 สาย
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (สาขาย่อย) หมู่ที่ 1 ณ บ้านนายสัญญา เพ็ชรนวล จำนวน 1 แห่ง
จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคล บางตำบลมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้ทุกครัวเรือนที่ตำบลบางตลาด
มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 5 แห่ง
(สถานที่ตั้ง บริเวณวัดก้อนแก้ว, บริเวณร้านค้าชุมชน, บริเวณข้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลก้อนแก้ว, บริเวณก่อนทางเข้าวัดก้อนแก้ว และบริเวณเชิงสะพาน หมู่ 2)
8) หน่วยงานในชุมชน
1) โรงพยาบาลในเขตพื้นที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
- โรงพยาบาลคลองเขื่อน จำนวน 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 5 แห่ง
2) บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่งทุกสังกัดในเขตพื้นที่
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคลองเขื่อน (แพทย์) จำนวน 1 คน
3) สถานีตำรวจ 1 แห่ง
4) ธนาคาร 1 แห่ง
9) หน่วยธุรกิจ
1) โรงงานอุตสาหกรรม มีจำนวน.........-..........แห่ง ได้แก่
๒) โรงสีและลานตากข้าว มีจำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงสีข้าวชุมชนขนาดเล็ก หมู่ 5 ตำบลบางโรง
3) สถานีน้ำมัน ได้แก่
-ปั๊มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง (พื้นที่หมู่ 4) ตำบลก้อนแก้ว
2 แห่ง ตำบลคลองเขื่อน
-ปั๊มหลอด จำนวน 3 แห่ง (พื้นที่หมู่ 5) ตำบลก้อนแก้ว
หมู่ 1 บ้านสมอคล้อย ตำบลบางโรง
1.2 สภาพทางสังคม
ประชากร
ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอคลองเขื่อน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก รองลงมา ได้แก่
อาชีพ เลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ เลี้ยงปลา และกุ้งขาว รับจ้าง ค้าขาย ตามลำดับ โดยมีพื้นที่ทั้งอำเภอ 80,000 ไร่
1. จำนวนครัวเรือน /ประชากร
อำเภอคลองเขื่อน มีประชากรทั้งสิ้น 13,174 คน แยกเป็นชาย 6,412 คน หญิง 6,762 คน ประชากรสามารถแยกเป็นตำบลได้ ดังนี
ที่
|
ตำบล
|
จำนวนหมู่บ้าน
|
เนื้อที่ (ตร.กม)
|
จำนวนประชากร
|
จำนวนครัวเรือน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
1
|
คลองเขื่อน
|
6
|
35.12
|
1,727
|
1,837
|
3,564
|
1,162
|
2
|
ก้อนแก้ว
|
6
|
26.86
|
1,502
|
1,595
|
3,097
|
593
|
3
|
บางเล่า
|
6
|
19.49
|
952
|
1,043
|
1,995
|
553
|
4
|
บางโรง
|
7
|
31.56
|
1,121
|
1,150
|
2,271
|
623
|
5
|
บางตลาด
|
7
|
16.99
|
1110
|
1137
|
2,247
|
576
|
รวม
|
32
|
130.02
|
6,412
|
6,762
|
13,174
|
3,507
|
กลุ่มอายุ
ลำดับที่
|
ช่วงอายุ
|
ชาย (คน)
|
หญิง (คน)
|
รวม (คน)
|
1.
|
ต่ำกว่า 15 ปี
|
895
|
809
|
1,704
|
2.
|
15-39 ปี
|
2,307
|
2,236
|
4,427
|
3.
|
40-59 ปี
|
2,137
|
2,265
|
3,942
|
4.
|
60 ปีขึ้นไป
|
1,087
|
1,438
|
2,524
|
รวม
|
6,426
|
6,748
|
13,174
|
3) ศาสนา
ลำดับที่
|
ศาสนา
|
จำนวน (คน)
|
คิดเป็นร้อยละ
|
ศาสนสถาน (แห่ง)
|
1.
|
พุทธ
|
13,168
|
99.95
|
วัด 10 แห่ง
|
2.
|
คริสต์
|
6
|
0.05
|
โบสถ์ ไม่มี
|
3.
|
อิสลาม
|
-
|
-
|
มัสยิด ไม่มี
|
4.
|
อื่นๆ
|
-
|
|
|
|
|
|
|
|
4) ชาติพันธุ์
ลำดับที่
|
ชาติพันธุ์
|
จำนวน (คน)
|
คิดเป็นร้อยละ
|
1.
|
ไทย
|
13,173
|
99.99
|
2.
|
จีน
|
1
|
0.01
|
3.
|
รวม
|
13,174
|
-
|
5) ระดับการศึกษา
ลำดับที่
|
ระดับการศึกษา
|
จำนวน (คน)
|
ต้องการเรียน
|
ไม่ต้องการเรียน
|
หมายเหตุ
|
1.
|
ผู้ไม่รู้หนังสือ
|
9
|
|
|
|
2.
|
ก่อนประถม (อ่านออกเขียนได้)
|
|
|
|
|
3.
|
ประถมศึกษา
|
|
|
|
|
4.
|
มัธยมศึกษาตอนต้น
|
|
|
|
|
5.
|
มัธยมศึกษาตอนปลาย
|
|
|
|
|
6.
|
สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย
|
|
|
|
|
6) สถานศึกษา
- โรงเรียนระดับประถม มีจำนวน...9.......แห่ง ได้แก่
1
|
โรงเรียนวัดคลองเขื่อน
|
2
|
โรงเรียนวัดบ้านกล้วย
|
3
|
โรงเรียนโสภณประชาเทวารุทธารักษ์
|
4
|
โรงเรียนวัดก้อนแก้ว
|
5
|
โรงเรียนก้อนแก้วราษฎร์บำรุง
|
6
|
โรงเรียนวัดบางตลาด
|
7
|
โรงเรียนวัดคุ้งกร่าง
|
8
|
โรงเรียนวัดสามร่ม
|
9
|
ราษฎรนุกูล
|
- โรงเรียนระดับมัธยม มีจำนวน.....1...........แห่ง ได้แก่
& โรงเรียนก้อนแก้วพิทยาคม
- โรงเรียนระดับอาชีวศึกษา มีจำนวน.........-.........แห่ง ได้แก่
- มหาวิทยาลัย มีจำนวน..........-......แห่ง ได้แก่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน มีจำนวน 9 แห่ง ได้แก่
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดคลองเขื่อน
|
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดบ้านกล้วย
|
3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนโสภณประชา-เทวารุทธารักษ์
|
4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดบางโรง
|
5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดดอนสนาม
|
6.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดก้อนแก้ว
|
7.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนก้อนแก้วราษฎร์บำรุง
|
8.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนราษฎรนุกูล
|
9.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดบางตลาด
|
กศน.ตำบล มีจำนวน...........5...........แห่ง ได้แก่
1. กศน.ตำบลคลองเขื่อน
2. กศน.ตำบลบางเล่า
3. กศน.ตำบลบางตลาด
4. กศน.ตำบลบางโรง
5. กศน.ตำบลก้อนแก้ว
1.3 สภาพทางเศรษฐกิจ
1.) โครงสร้างฐานอาชีพของชุมชน
ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอคลองเขื่อน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก รองลงมาได้แก่
อาชีพ เลี้ยงสัตว์น้ำ ปลา และกุ้งขาว รับจ้าง ค้าขาย ตามลำดับ โดยมีพื้นที่ทั้งอำเภอ 80,000 ไร่ แบ่งเป็น
1. พื้นที่การเกษตร จำนวน 70,309 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 87.89 ของพื้นที่ทั้งหมดของอำเภอ
2. พื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 10,856 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.57 ของพื้นที่ทั้งหมดของอำเภอ
2.) ผลผลิตหรือสินค้า / บริการ ที่สำคัญของตำบล คือ ผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ข้าว
4.) รายได้เฉลี่ยของประชากร 30,000 บาท/คน/ปี
1.4. งานประเพณีท้องถิ่น
วัฒนธรรมและประเพณี
ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอคลองเขื่อน ร้อยละ 90.98 นับถือศาสนาพุทธ มีวัดทั้งหมด
10 แห่ง ได้แก่
1.วัดเทวารุทธาราม
|
ที่ตั้ง ตำบลคลองเขื่อน
|
2.วัดคลองเขื่อน
|
ที่ตั้ง ตำบลคลองเขื่อน
|
3.วัดบ้านกล้วย
|
ที่ตั้ง ตำบลบางโรง
|
4.วัดบางโรง
|
ที่ตั้ง ตำบลบางโรง
|
5.วัดดอนสนาม
|
ที่ตั้ง ตำบลบางโรง
|
6. วัดวังขอน
|
ที่ตั้ง ตำบลบางโรง
|
7. วัดคุ้งกร่าง
|
ที่ตั้ง ตำบลบางตลาด
|
8. วัดบางตลาด
|
ที่ตั้ง ตำบลบางตลาด
|
9. วัดสามร่ม
|
ที่ตั้ง ตำบลบางเล่า
|
10.วัดก้อนแก้ว
|
ที่ตั้ง ตำบลก้อนแก้ว
|
วัฒนธรรมและประเพณีของอำเภอคลองเขื่อน มีลักษณะเช่นเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ ประเพณีวันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ ช่วงเดือนเมษายน ประเพณีวันลอยกระทง ช่วงเดือน พฤศจิกายน งานบุญตามวันสำคัญของศาสนาพุทธ และมีประเพณีอนุรักษ์ท้องถิ่นที่สำคัญ คือ ทำบุญหลังบ้านช่วงหลังฤดูการทำนา จัดขึ้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านคลองเขื่อน ตำบลคลองเขื่อน
1.5 ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
1) ด้านการรู้หนังสือ
2) ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สายสามัญ และ ปวช.) ไม่มี
3) ด้านอาชีพ
4) ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต
5) ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน
6) ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7) ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย จากการสอบถามผู้ใช้บริการ ต้องการสื่อ ประเภทวารสาร
1. ข้อมูลสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองเขื่อน
ตั้งอยู่เลขที่..115/47 ม.2 .....ถนน..................ตำบล...คลองเขื่อน ........อำเภอคลองเขื่อน ....จังหวัด...ฉะเชิงเทรารหัสไปรษณีย์. 24000โทรศัพท์... 038 509 082 ..........โทรสาร.......038 509 249 .......e – Mail .….................website……………………สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองเขื่อน ประกาศจัดตั้งเป็นศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอคลองเขื่อน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองเขื่อน เดิมใช้ชื่อว่า ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอคลองเขื่อน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2536 ได้ประกาศจัดตั้ง ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน 789 แห่ง โดยมี นายปราโมทย์ สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนามในประกาศขณะนั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเรียกชื่อย่อว่า กศน. ส่วนกลางมีสำนักงาน กศน. รับผิดชอบในการบริหารจัดการ ระดับจังหวัดและ กทม. มีสำนักงาน กศน.จังหวัด และสำนักงาน กทม. บริหารจัดการ และในระดับอำเภอ มี กศน.อำเภอเป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัด ดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามมาตรา 17(2) กำหนดให้สำนักงาน กศน.จังหวัดทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัด (กระทรวงศึกษาธิการ 2551 : 32) ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอคลองเขื่อน จึงเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองเขื่อน ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ เลขที่ 115/47 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ และหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ทั้ง ๓ ระดับ เพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่ประชาชนผู้ด้อย / พลาด / ขาดโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา มีหัวหน้าศูนย์คนแรกชื่อ นายอามีน เฉลิมทรัพย์ และมีผู้อำนวยการคนปัจจุบัน คือ นายนครชัย โพธิ์ขาว
อาณาเขตที่ตั้งสถานศึกษา
ตั้งอยู่ในส่วนราชการอำเภอคลองเขื่อน มีพื้นที่ประมาณ 125 ตร.ม. ทิศตะวันตก ติดกับที่ว่าการอำเภอคลองเขื่อน ทิศตะวันออก ติดกับ สำนักงานเกษตรอำเภอคลองเขื่อน ทิศเหนือ สหกรณ์การเกษตรอำเภอคลองเขื่อน ทิศใต้ติดสถานีตำรวจภูธรอำเภอคลองเขื่อน
สภาพชุมชน
สภาพชุมชน เป็นชนบท ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร พื้นที่บริเวณโดยรอบประกอบอาชีพทางการเกษตร การทำนาข้าว บ้านเรือนตั้งอยู่กระจัดกระจาย
2.1 ข้อมูลด้านการบริหาร
ทำเนียบผู้บริหาร
ชื่อ
|
ตำแหน่ง
|
ระยะเวลา
|
นายอามีน เฉลิมทรัพย์
|
ผู้อำนวยการ ศบอ. คลองเขื่อน
|
24 มี.ค. 2537 – 30 ก.ย. 2542
|
นายลาภ พุ่มอยู่
|
ผู้อำนวยการ ศบอ. คลองเขื่อน
|
1 ต.ค. 2542 – 30 พ.ย. 2545
|
นางสาววรรณา กังศิริกุล
|
ผู้อำนวยการ ศบอ. คลองเขื่อน
|
1 ธ.ค. 2545 – 20 ส.ค. 2546
|
นางนาฏยา ทองเกิด
|
ผู้อำนวยการ ศบอ. คลองเขื่อน
|
21 ส.ค.2546 – 1 เม.ษ. 2550
|
นางสาวทองสุก ถาวรวงษ์
|
ผู้อำนวยการ ศบอ. คลองเขื่อน
|
25 ม.ค. 2551 - 29 ต.ค.2551
|
นายอนันต์ ตันไล้
|
รักษาการ ศบอ.คลองเขื่อน
|
1 พ.ย. 2551 – 18 ธ.ค.2552
|
นายสมหมาย มั่งคั่ง
|
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอคลองเขื่อน
|
21 ธ.ค. 2552 – 7 พ.ย. 2553
|
นางสาวทองสุก ถาวรวงษ์
|
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอคลองเขื่อน
|
9 พ.ย. 2553 – 30 พ.ย. 2554
|
นายสมชาย จันทราภิรมย์
|
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอคลองเขื่อน
|
1 ธ.ค. 2554 – 30 ก.ย.2556
|
นายนิทัศน์ ลักษณะ
|
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบางคล้า
รักษาการ ผอ. กศน.อำเภอคลองเขื่อน
|
1ต.ค.2556 - 15 ม.ค.2557
|
นายบรรลือศักดิ์ สิตตานนท์
|
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
รักษาการ ผอ. กศน.อำเภอคลองเขื่อน
|
15 ม.ค. 2557 – 7 มีนาคม 2557
|
นายนครชัย โพธิ์ขาว
|
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอคลองเขื่อน
|
14 มีนาคม 2557-ปัจจุบัน
|
เข้าชม : 5665 |