[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

  

 
   กลับหน้าหลัก

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติตำบลก้อนแก้ว

 
วัดก้อนแก้ว

1.1ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาของคำว่า “ก้อนแก้ว”บริเวณอันเป็นที่ซึ่งชาวบ้าน เรียกว่า “ก้อนแก้ว” คือ บริเวณด้านทิศตะวันตกของวัดก้อนแก้วปัจจุบัน  ในส่วนที่เป็นบ่อกุ้ง ของนายทวี  จันทกลัด  ซึ่งเป็นที่อ่างใหญ่ลักษณะกลมเป็นท้องกะทะ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เส้นกว่า  ลึกประมาณ 3  เมตร แต่ในส่วนก้นกะทะตรงกลางจะลึกพิเศษลงไปเหมือนแก้ว  กว้างประมาณ  3  เมตร ฤดูน้ำมีน้ำเต็มอ่าง มีปลาหมอ ปลาดุก  ปลาช่อน  ปลาชะโด  ปลาแมงฟู  วัดก้อนแก้วเคยขอเป็นเขตอภัยทาน  หน้าแล้งน้ำลดแต่ก็ไม่แห้งเดือน  3  เดือน  4  ยังมีน้ำขังให้ควายลงไปอาบเล่นได้  เด็ก ๆ  ชอบลงไปเล่นซ่อนแอบในก้นแก้วบางคนเรียกว่า  วังก้นแก้วพิกุลทอง ด้วยเป็นวังใหญ่ส่วนที่ลึกที่สุดเหมือนกับก้อนแก้ว
 
ประมาณปี พ.ศ. 2400  เศษ พระครูนันทศรีราจารย์ (หลวงพ่อเหลือ) ซึ่งเป็นเกจิกาจารย์ชื่อดังของจังหวัดฉะเชิงเทรา  สมัยดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก แต่ด้วยพื้นเพของท่านเป็นคนก้อนแก้ว  ด้วยเห็นว่าเป็นถิ่นเกิด  กับเป็นตำบลใหม่  ท่านจึงชักชวนชาวบ้านใกล้วังก้นแก้วนั้น (อำแดงขลิบ ยกที่ให้สร้างวัดปี พ.ศ. 2157  โดยได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดปี 2454)และเห็นว่าชื่อก้นแก้วฟังดูไม่เป็นมงคล  จึงตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดก้อนแก้ว” และเป็นชื่อของหมู่บ้านและตำบลในเวลาต่อมา1.1ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาของคำว่า “ก้อนแก้ว”บริเวณอันเป็นที่ซึ่งชาวบ้าน เรียกว่า “ก้อนแก้ว” คือ บริเวณด้านทิศตะวันตกของวัดก้อนแก้วปัจจุบัน  ในส่วนที่เป็นบ่อกุ้ง ของนายทวี  จันทกลัด  ซึ่งเป็นที่อ่างใหญ่ลักษณะกลมเป็นท้องกะทะ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เส้นกว่า  ลึกประมาณ 3  เมตร แต่ในส่วนก้นกะทะตรงกลางจะลึกพิเศษลงไปเหมือนแก้ว  กว้างประมาณ  3  เมตร ฤดูน้ำมีน้ำเต็มอ่าง มีปลาหมอ ปลาดุก  ปลาช่อน  ปลาชะโด  ปลาแมงฟู  วัดก้อนแก้วเคยขอเป็นเขตอภัยทาน  หน้าแล้งน้ำลดแต่ก็ไม่แห้งเดือน  3  เดือน  4  ยังมีน้ำขังให้ควายลงไปอาบเล่นได้  เด็ก ๆ  ชอบลงไปเล่นซ่อนแอบในก้นแก้วบางคนเรียกว่า  วังก้นแก้วพิกุลทอง ด้วยเป็นวังใหญ่ส่วนที่ลึกที่สุดเหมือนกับก้อนแก้ว

 

ประมาณปี พ.ศ. 2400  เศษ พระครูนันทศรีราจารย์ (หลวงพ่อเหลือ) ซึ่งเป็นเกจิกาจารย์ชื่อดังของจังหวัดฉะเชิงเทรา  สมัยดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก แต่ด้วยพื้นเพของท่านเป็นคนก้อนแก้ว  ด้วยเห็นว่าเป็นถิ่นเกิด  กับเป็นตำบลใหม่  ท่านจึงชักชวนชาวบ้านใกล้วังก้นแก้วนั้น (อำแดงขลิบ ยกที่ให้สร้างวัดปี พ.ศ. 2157  โดยได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดปี 2454)และเห็นว่าชื่อก้นแก้วฟังดูไม่เป็นมงคล  จึงตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดก้อนแก้ว” และเป็นชื่อของหมู่บ้านและตำบลในเวลาต่อมา


เข้าชม : 1739
 
กศน.ตำบลก้อนแก้ว อำเภอคลองเขื่อน  จังหวัดฉะเชิงเทรา 
โทรศัพท์ ๐๙๑-๔๒๓๕๖๐๙ โทรสาร -  E-mail : TUKKY-HJ@hotmail.com


Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin