เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : ความรู้เกี่ยวกับ IT
หัวข้อเรื่อง : ป้องกันภัยไข้เลือดอก

จันทร์ ที่ 16 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

คะแนน vote : 214  

 

อาการไข้เลือดออก ไข้เลือดออก การรักษาไข้เลือดออกและป้องกัน

โดย นภัส

ไข้เลือดออก โรคที่มาพร้อมกับฝนและน้ำขัง ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกปีนี้แล้วกว่า 2 หมื่นคน และพบผู้ป่วยร้อยละ 60 เสียชีวิต เป็นเด็กวัย 6-12 ปี มารู้จักกับไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออก การรักษาและป้องกันไข้เลือดออกกันค่ะ


อาการไข้เลือดออก, ไข้เลือดออก, โรคไข้เลือดออก, ป้องกันไข้เลือดออก, ไวรัสเดงกี, ยุงลาย, ยุง
รู้จักและรับมือไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เดงกี (Dengue) ซึ่งเชื้อไวรัสเดงกีนี้มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี 1, เดงกี 2, เดงกี 3, และเดงกี 4 โดยมีพาหะนำโรคคือยุงลาย ในบ้านเราจะพบผู้ป่วยไข้เลือดออกได้ตลอดทั้งปีแต่พบมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกบ่อยที่ทำให้เกิดน้ำขัง ซึ่งเอื้อต่อการขยายพันธุ์ของยุงลาย และไข้เลือดออกถือเป็นโรคระบาดประจำภูมิภาคของบ้านเรา
 

อาการไข้เลือดออก, ไข้เลือดออก, โรคไข้เลือดออก, ป้องกันไข้เลือดออก, ไวรัสเดงกี, ยุงลาย, ยุง
โรคไข้เลือดออก 3 ระยะ และวิธีสังเกตอาการไข้เลือดออก
แม้ว่าเด็กจะได้รับเชื้อไวรัสเดงกี แต่กว่า 85-90% จะไม่แสดงอาการไข้เลือดออก หากไม่ได้ตรวจเลือดเพื่อพิสูจน์ก็จะไม่รู้ว่าได้รับเชื้อไข้เลือดออกมาแล้ว อาจจะมี 10-15% ที่แสดงอาการไข้เลือดออกที่มีตั้งแต่รุนแรงน้อยไปถึงอาการไข้เลือดออกที่รุนแรงมาก ซึ่งระดับอาการไข้เลือดออกมี 3 ระยะด้วยกัน
 

1. อาการไข้เลือดออกระยะไข้สูง : อาการไข้เลือดออกระยะนี้ จะพบว่ามีอาการไข้สูงลอย คือ มีอาการไข้สูง ที่แม้กินยาลดไข้ หรือเช็ดตัวแล้วไข้ก็ยังไม่ลด จะเป็นประมาณ 2-7 วัน ซึ่งไม่เท่ากันในแต่ละราย และเนื้อตัวและใบหน้ามักจะแดงกว่าปกติ บางคนอาจมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ หรือมีผื่นขึ้น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เช่น มีจุด หรือมีเลือดกำเดาออก

อาการไข้เลือดออก, ไข้เลือดออก, โรคไข้เลือดออก, ป้องกันไข้เลือดออก, ไวรัสเดงกี, ยุงลาย, ยุง

2. อาการไข้เลือดออกระยะวิกฤติ : หลังจากที่มีอาการไข้เลือดออกระยะไข้สูงระยะหนึ่งแล้ว ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว และจะมีการรั่วของพลาสมา (Plasma) หรือน้ำเหลืองออกนอกเส้นเลือด ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งจะมีความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน ในกรณีที่รุนแรงจะมีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือดเป็นจำนวนมาก และถ้าให้สารน้ำโดยการกินหรือน้ำเกลือทางเส้นเลือดทดแทนไม่ทัน ผู้ป่วยจะเกิดการช็อกคือความดันโลหิตต่ำ แต่ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะสามารถผ่านอาการไข้เลือดออกระยะวิกฤตนี้ไปได้โดยปลอดภัย
 

3. อาการไข้เลือดออกระยะพักฟื้น : อาการไข้เลือดออกระยะนี้ เป็นระยะที่มีการดูดกลับของพลาสมาเข้าสู่กระแสเลือด และมีอาการโดยทั่วไปดีขึ้น โดยจะเจริญอาหารมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ที่มักจะไม่อยากกินอาหาร ชีพจรเต้นช้าลงจากช่วงระยะวิกฤตที่มักจะเต้นเร็วกว่าปกติ ในบางรายจะพบผื่นขึ้นตามร่างกาย ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เรียกว่าผื่นในระยะพักฟื้น และปัสสาวะจะออกมากขึ้น เมื่อเทียบกับอาการไข้เลือดออกระยะวิกฤติ ซึ่งถือว่ากำลังกลับสู่ภาวะปกติ คุณหมอจะหยุดการให้สารน้ำทางเส้นเลือด เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนจากภาวะน้ำเกินได้


การดูแลและรักษาไข้เลือดออกสำหรับเด็ก

สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้น ปัจจุบันไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการ

      • อาการไข้เลือดออกระยะที่ลูกมีไข้สูงลอย คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีการดูแลเช็ดตัว หรือให้กินยาลดไข้ (พาราเซตามอลเท่านั้น) ระวังอย่าให้มากเกินความจำเป็น เพราะการเป็นไข้เลือดออกนั้น มีภาวะตับอักเสบอยู่ ตับต้องทำงานหนักในการเม็ตตาโบริซึ่มยา อาจทำให้มีภาวะตับวาย หรือตับอักเสบรุนแรงได้ ถือเป็นระยะสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการ การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้การดูแลสุขภาพของลูกอย่างใกล้ชิด
      • เมื่อมีอาการไข้เลือดออก ห้ามกินยาแอสไพรินหรือยาในกลุ่มลดไข้สูง เนื่องจากมีผลทำให้เลือดออกง่ายขึ้นเพราะยากลุ่มนี้มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือดซึ่งเป็นกลไกสำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย ในบางรายอาจทำให้เกล็ดเลือดต่ำลง หรือทำงานผิดปกติ เลือดจะออกไม่หยุด และเสียชีวิตได้
      • ควรให้ลูกกินอาหารตามปกติและพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเลือกอาหารอ่อนๆ ที่ดูดซึมง่าย เช่น ข้าวต้ม นม น้ำหวาน น้ำผลไม้ เป็นต้น ถ้าลูกยังทานได้ดี วิ่งเล่นได้ ก็สามารถปฐมพยาบาลที่บ้านได้ แต่หากลูกกินไม่ได้ แล้วมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึมลง หรือมีอาการเลือดออกด้วย ก็ควรพาไปพบแพทย์โดยเร็ว

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

      • ควรจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดแหล่งเพาะพันธ์เจ้ายุงลายพาหะตัวร้าย โดยการขจัดแหล่งน้ำขังที่อาจจะมีอยู่ในบริเวณบ้าน เช่น แจกันดอกไม้ บ่อเลี้ยงปลา และยุงลายมักออกหากินในเวลากลางวัน
      • หากในบ้านมีพื้นที่น้ำขัง หรือมีการใช้สอยส่วนใดที่จำเป็นต้องมีน้ำ เช่น บ่อน้ำเล็กๆ ในสวน ควรใส่ผงยากำจัดยุงลายลงในน้ำเพื่อกำจัดยุงลายตั้งแต่เป็นลูกน้ำ
      • ฉีดพ้นยากันยุงหากสังเกตว่ามียุงมากผิดปกติ โดยเฉพาะฤดูฝนและฤดูหนาว
      • ควรติดตั้งมุ้งลวดที่ประตูหน้าต่าง และควรปิดประตูหน้าต่างทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงเข้าบ้าน
      • นอนในมุ้งเพื่อป้องกันยุงกัด
      • เมื่อต้องอยู่อยู่คาดว่าจะไปในสถานที่ที่มียุง ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีแขนขายาวและมีความหนาพอสมควรเพื่อป้องกันยุง หรือทายากันยุงป้องกัน

ด้วยวิธีง่ายๆ เหล่านี้ เราก็สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้แล้ว และหากสงสัยว่าลูกมีอาการไข้เลือดออก ควรไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

เอกสารเผยแพร่เรื่องไข้เลือดออกจาก กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข คลิกที่หัวข้อเพื่อ Download เอกสารในรูปแบบ PDF


 



เข้าชม : 1955


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      วิธีสื่อสารกับเด็กนักเรียนเกี่ยวกับ โรคไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) 6 / เม.ย. / 2563
      ประวัติวันพ่อ 12 / พ.ย. / 2558
      ัวันวิสาขบูชา 15 / พ.ค. / 2558
      ป้องกันภัยไข้เลือดอก 16 / ก.พ. / 2558
      นานาสาระเพื่อสุขภาพที่ดี 23 / ธ.ค. / 2557