เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความสุขภาพ
หัวข้อเรื่อง : โควิด-19’ ภูมิคุ้มกันสร้างได้ด้วยการยืดระยะเวลาระบาด

อาทิตย์ ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ.2563

คะแนน vote : 192  

 

ถ้าติดเชื้อ “โควิด-19” จริง อาการจะหนักหนาสาหัสแบบไหน อาการฉุกเฉินจาก “การป่วย” ทั่วไป กับ อาการฉุกเฉินจากการป่วยด้วยโรคโควิด-19 ต่างกันอย่างไร ลดความตระหนกด้วยการทำแบบประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โควิด-19 โดยโรงพยาบาลราชวิถี

ทำไมคนที่สงสัยใน ‘อาการ’ ว่าตัวเองจะป่วยด้วยโรค Covid-19 (โควิด-19) ไปตรวจแล้วพบว่าตนเองติดเชื้อจริง ขณะที่บางคนไปตรวจแต่พบว่าป่วยเป็นเพียงไข้หวัดปกติ คนส่วนมากได้ยินได้ฟังมาหลายทางจนเครียดและตระหนกไปตามๆ กัน เฝ้าแต่ถามตัวเอง “ฉันติดเชื้อหรือยัง” หมั่นทดสอบตัวเองด้วยการหายใจเข้าลึกๆ ว่าเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอกหรือยัง

หลายคนสงสัย มีอาการเป็นไข้ ต้องไปโรงพยาบาลทันทีหรือไม่ หรือต้องรอสังเกตอาการนานแค่ไหน รอนานไป..ถ้าติดเชื้อ Covid-19 จริง อาการจะหนักหนาสาหัสแบบไหน อาการฉุกเฉินทั่วไป กับ อาการฉุกเฉินจาก ‘การป่วย’ ด้วยโรค Covid-19 ต่างกันอย่างไร

‘กรุงเทพวันอาทิตย์’ มีโอกาสสัมภาษณ์เรื่องนี้กับ พญ.ณธิดา สุเมธโชติเมธา แพทย์ผู้ดูแลงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service-EMS) ศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี เมื่อครั้งรับเชิญ TK Park เป็นวิทยากรในกิจกรรม ‘Skill Alive: รู้สู้โรค’ เสริมความรู้ด้านสุขภาวะ สอนการป้องกันและรู้เท่าทันเชื้อไวรัสโควิด-19

158590276044

พญ.ณธิดา สุเมธโชติเมธา

พญ.ณธิดา ยังเป็นหัวหน้ากลุ่มงานลูกค้าสัมพันธ์และเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านสื่อสารองค์กร โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ Covid-19 ยังรับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Covid-19  ให้คนไข้ประเมินตนเองก่อนเข้าสู่โรงพยาบาล และวางระบบคนไข้เข้ามาใช้บริการคลินิกไข้หวัด

 

:: แบบประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Covid-19 ออนไลน์ ::

"ขณะนี้ระบบของโรงพยาบาลมีการออกแบบฟอร์มออนไลน์ให้ทุกคนเข้าไปประเมินด้วยตัวเองได้ เพื่อลดความตื่นตระหนก และลดการมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

ต้องบอกว่าตอนนี้โรงพยาบาลก็ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงที่คนไข้ที่ไม่ป่วยพอไปโรงพยาบาลก็อาจทำให้ตัวเองติดเชื้อได้ ถ้าตัวเองไม่ป่วยแล้วสงสัยว่าฉันต้องไปโรงพยาบาลแล้วหรือยัง คนไข้สามารถเข้าไปทำแบบประเมินความเสี่ยงออนไลน์ได้

ข้อเสนอแนะ(recommendation)ในนั้นจะบอกไว้เลยว่า ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มไม่มีอาการ ไม่ได้เข้าพื้นที่เสี่ยง มีโอกาสน้อยมากที่จะป่วย

ถ้าคุณมีอาการ คุณไม่ได้เข้าพื้นที่เสี่ยง คุณอาจไม่ได้ป่วยโรคโควิด-19 คุณอาจเป็นไข้หวัดอื่นๆ ทั่วไป ก็จะมีการแนะนำวิธีการดูแลเบื้องต้น

ในกรณีที่คุณเข้าพื้นที่เสี่ยง และคุณมีอาการ ก็จะมีการบอกว่าอาการแบบไหนที่คุณควรจะเข้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล

แต่โดยปกติคนไข้ทั่วไปที่ต้องการเข้ามาตรวจที่โรงพยาบาล ก็สามารถมาตรวจที่คลินิกไข้หวัดในเวลาได้ ช่วงนี้เราเปิดคลินิกให้แล้ว ทุกวัน ตั้งแต่แปดโมงเช้าจนถึงเที่ยงคืน แต่เราจะรับบัตรถึงแค่สี่โมงเย็น หลังสี่โมงเย็นไปแล้วจะเป็นคนไข้ฉุกเฉิน

คนไข้ที่ป่วยฉุกเฉินจริงๆ สามารถใช้ระบบบริการฉุกเฉินได้ตามปกติ โทร.1669 แต่ถ้าคนไข้เป็นกลุ่มเสี่ยง แนะนำว่าเวลาโทร.เข้า กรุณาบอกข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เตรียมการรับส่งคนไข้ให้ถูกต้อง และป้องกันอย่างเหมาะสม

ในแบบประเมินฯ เรามีคำแนะนำยาวไปถึงขั้นตอนขอเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลเราด้วย กรณีคนไข้อยู่จังหวัดอื่น หรือมีสิทธิ์บัตรที่ไหน ถ้าคนไข้เข้าไปทำแบบประเมินความเสี่ยงและอยู่ในกลุ่มจำเป็นต้องเข้ามาที่โรงพยาบาล ก็จะแนะนำว่า คนไข้เช็คสิทธิ์ตัวเองก่อนได้เลย มีลิงค์ของการเช็คสิทธิ์ที่คนไข้เช็คดูได้ ว่าตัวเองมีสิทธิ์บัตรที่ไหน ถ้าคนไข้ไปตามสิทธิ์ คนไข้จะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา"

     ------------------------------------------------

     -------------------------------------------------

:: อาการฉุกเฉินทั่วไปที่ต้องมาโรงพยาบาล ::

“คนไข้ที่เข้ามาแผนกฉุกเฉิน ปกติมีพยาบาลคัดกรองให้อยู่แล้ว ว่าเรียกภาวะฉุกเฉินหรือไม่

อาการฉุกเฉินที่เราทราบๆ กันอยู่ดีคือ หมดสติเฉียบพลัน หัวใจหยุดเต้น อาการหอบเหนื่อยมาก เหนื่อยอย่างไหนเรียกว่ามาก ปกติคนไข้ทั่วไปที่หอบเหนื่อยยังพูดได้เป็นประโยค ในระดับหอบเหนื่อยมากคือพูดไม่ได้เลย หรือพูดไม่เป็นคำ หรือซึม ปลุกไม่ตื่น หมดสติ ชัก

คนไข้ที่อยู่ในกลุ่มรองลงมา อาจจะหอบเหนื่อย แต่ยังไม่มากเท่าไร

ต้องยอมรับว่าถ้ามาโรงพยาบาลช่วงนี้ ถ้าเจอในช่วงเวลาที่คนไข้เข้ามารับบริการเยอะ ก็อาจจำเป็นต้องรอ แต่ห้องฉุกเฉินตอนนี้เปิด 24 ชั่วโมง สำคัญคือว่าถ้าคุณมีประวัติเสี่ยง ต้องบอกเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก”



เข้าชม : 1069


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      สรุปทุกเรื่อง “ไวรัสโคโรนา” หรือ “โควิด-19” คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร? 6 / เม.ย. / 2563
      อายุของ ‘โควิด-19’ บนพื้นผิวต่างๆ 5 / เม.ย. / 2563
      โควิด-19’ ภูมิคุ้มกันสร้างได้ด้วยการยืดระยะเวลาระบาด 5 / เม.ย. / 2563
      โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) 5 / เม.ย. / 2563
      โรคคอตีบ 6 / ก.พ. / 2558