ผลงานดีเด่น
Best Practice
ชื่อ ผลงาน
ผู้เรียน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
สามารถนำความรู้ไปสร้างรายได้โดยการขายสินค้าบนเว็บเพจ
นางสาวพรรณี สำราญดี
ครู กศน.ตำบลคลองเขื่อน
กศน.ตำบลคลองเขื่อน
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองเขื่อน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำนำ
รายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ Best เรื่อง ผู้เรียนการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ สามารถนำความรู้ไปสร้างรายได้โดยการขายสินค้าบนเว็บเพจของ กศน.ตำบลคลองเขื่อน ที่ดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
กศน.ตำบลคลองเขื่อน จึงได้จัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้น เพื่อรายงานสภาพความสำเร็จ ในการดำเนินงานขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ทำให้โครงการนี้ดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
นางสาวพรรณี สำราญดี
ครู กศน.ตำบลคลองเขื่อน
Best Practice
1. ชื่อผลงาน ผู้เรียน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ สามารถนำความรู้ไปสร้างรายได้โดยการขายสินค้าบนเว็บเพจ
2. ชื่อเจ้าของผลงาน นางสาวพรรณี สำราญดี
3. แนวคิดและความเป็นมาของ Best Practice
ตามที่สำนักงาน กศน.ได้กำหนดทิศทางด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกช่วงวัย กศน.ช่วยประชาชน เช่น การจัดการเรียนวิชาชีพระยะสั้น (โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน) ให้กับประชาชนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน บริบทของพื้นที่ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ให้กับกลุ่มแม่บ้านและประชาชนทั่วไป และการพัฒนาทักษะชีวิตในการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Thailand 4.0) โดยได้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาต่อเนื่อง นโยบายข้อที่ ๑.๓ การศึกษาต่อเนื่องจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทางหรือการบริการ รวมถึงการเน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและ จุดเน้นด้านภารกิจต่อเนื่องศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีหนึ่งอาชีพเด่นต่อหนึ่งศูนย์ฝึกอาชีพ รวมทั้งให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
จากความสำคัญดังกล่าว ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองเขื่อน ซึ่งเป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดนโยบายให้ กศน.ตำบลทุกตำบลจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ซึ่งจากการที่กศน.ตำบลคลองเขื่อน ได้ดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนผู้สนใจ
4. วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพเสริม/ต่อยอดอาชีพเดิมได้
4.2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการประกอบอาชีพเสริม/ต่อยอดอาชีพเดิมได้
4.3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพเสริม/ต่อยอดอาชีพเดิมได้
5. กลุ่มเป้าหมายในการนำ Best Practice ไปใช้
- นางสาวอรพรรณ คลองภา ผู้เรียนเข้าอบรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
6. ขั้นตอนของการพัฒนา Best Practice
๑. จัดทำเวทีเพื่อสำรวจความต้องการด้านอาชีพของประชาชน โดยลงพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลคลองเขื่อน ซึ่งเป็นหมู่ที่มีกลุ่มทำขนม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ กศน.ได้จัดการศึกษาต่อเนื่องต่อยอดกลุ่มเดิม
๒. จัดทำโครงการ 1 อำเภอ 1 อาชีพ หลักสูตรแปรรูปกล้วย
3. ประสานงานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมาย โดย นางวรรณา เรืองปราชญ์ เป็นวิทยากร
4. ดำเนินกิจกรรม ดันนี้ การทำกล้วยเบกแตก ชาผงกล้วย ทองพับกล้วย ข้าวเกรียบกล้วย ผู้เรียนสารมารถนำไปถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในครอบครัว และเพื่อนบ้าน และสามารถนำมาทำเป็นรายได้เสริมได้
7. รายละเอียดของ Best Practice ( กิจกรรมการดำเนินงาน ขั้นตอนการนำไปใช้ )
นางสาวอรพรรณ คลองภา ผู้เรียนเข้าอบรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรการแปรรูปกล้วย ได้นำความรู้ที่ไดไปสร้างเป้นรายได้เสริม โดยการทำกล้วยเบกแตกหลากรส เช่น กล้วยเบกแตกรสใบเตย ชีส ปาปีกา เค็ม บาร์บีคิว ได้วางขายตามร้านค้าในอำเภอคลองเขื่อน และส่งขายในโรงงาน โดยจะแพ็คเป็นห่อ ๆละ 10 บาท และขายถุงละกิโล
ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าในพื้นที่ โดยสินค้าดังกล่าวทำสดใหม่ทุกวัน นอกจากนนี้ยังมีการขายในหน้าเพจเฟสบุ๊ค ที่ชื่อว่า กล้วยกรอบแก้วหลากรส เพื่อเพิ่มช่องทางในการขายมากขึ้น
8. ผลสำเร็จ
นางสาวอรพรรณ คลองภา สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการสร้างรายได้และยังมีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มช่องทางการขายสินค้าได้มากขึ้น
ôôôôôôôôôôôôôôôôôôôô
ภาพกิจกรรม
เข้าชม : 452 |