ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต
โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)
2. สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน กศน. ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 3.8 เตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
สอดคล้องมาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียน ในการประเมินคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ
ตัวบางชี้ที่ 2.5 คุณภาพวิทยากรการศึกษาต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 คุณภาพของหลักสูตรและสื่อการศึกษาต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 คุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่อง
3. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันกลุ่มผู้สูงอายุ ถือเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนของผู้ประสบภาวะยากลำบากสูงกว่าวัยอื่นทั้งหมด ความยากจนเป็นปัจจัยแรก ที่นำมาสู่ภาวะดังกล่าว เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงาน ไม่มีหลักประกันทั้งในรูปแบบ เงินบำนาญ เงินออม และมีโอกาสจำกัดที่จะทำงานภาคแรงงานในระบบ เนื่องจากมีการศึกษาน้อย การขาดความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การมีจำนวนบุตรที่จะเป็นผู้ให้การเกื้อหนุนด้านการเงินลดลงเป็นลำดับ ประกอบกับ ความเสื่อมของสภาพร่างกายตามวัยและโรคภัยที่มากขึ้น ก่อให้เกิดภาวการณ์พึ่งพาที่สูงขึ้นและมีความต้องการการดูแลระยะยาวจากสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการยกย่องให้การดูแล สุขภาพจิต สุขภาพกายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
กอปรกับ สำนักงาน กศน. ได้มีแผนงาน เร่งรัดและผลักดันการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตเนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ และจำนวนผู้สูงอายุมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กศน.ตำบลคลองเขื่อน ได้เห็นถึงความสำคัญของผู้สูงอายุจึงเห็นควรที่จะต้องจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เพื่อเพื่อสร้างความตระหนักถึงการเตรียมพร้อมเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เพื่อให้ผู้สูงอายมีความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัย รวมทั้งเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชนและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี เพื่อเป็นรากฐานในการใช้ชีวิตประจำวันต่อไป
4. วัตถุประสงค์ของโครงการ :
4.1 เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัย รวมทั้งเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน
๔.๒ เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี
5. เป้าหมาย:
เชิงปริมาณ
ผู้สูงอายุตำบลคลองเขื่อน จำนวน 2๒ คน
เชิงคุณภาพ
ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีสุขภาพที่แข็งแรงและสุขภาพจิตที่ดี
ดูภาพเพิ่มเติม คลิกที่นี่
เข้าชม : 971 |