สถานที่ |
รายละเอียด |
วัดเซนต์ปอล |
|
วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลบางตีนเป็ด อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นศาสนสถานของคริสตศาสนา นิกายโรมันคาทอลิค นับเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในบรรดาวัดคาทอลิค ทั้งหลายในประเทศไทย ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางปะกง แต่เดิมวัดเซนต์ปอล ยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกง ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง (ใกล้กับวัดแหลมใต้ในปัจจุบัน)
วัดเซนต์ปอล สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2383 โดยบาทหลวง อัลบรังค์ (ALBAND) ได้สร้างวัดชั่วคราวด้วยไม้ไผ่ ใช้เป็นที่ชุมนุมกลุ่มชาวคริสต์ ปี พ.ศ. 2401 บาทหลวงดาเนียล (DANIEL) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกและท่านได้สร้างวัดด้วยไม้จริงแทนหลังเดิมที่เป็นไม้ไผ่ ในปี พ.ศ. 2410 บาทหลวงอันตน ชมิตต์ ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ได้ปกครองดูแลวัดแปดริ้วและวัดใกล้เคียง ในสมัยนั้นวัดมีอำนาจมาก และมีอำนาจอย่างหนึ่งคือ" อาญาวัด" เมื่อปี พ.ศ. 2416 สร้างบ้านพักของสงฆ์และสร้างโบสถ์เซนต์ปอล และบ้านสำหรับเด็กกำพร้าอีก 1 หลัง ปี พ.ศ. 2467 บาทหลวงเฮนรี การิเอ ได้เป็นเจ้าอาวาส เป็นยุครุ่งเรืองของวัดเซลต์ปอล อีกยุคหนึ่ง มีปริมาณคริสต์ศาสนิกชน ในแปดริ้ว จำนวนมากขึ้น วัดเซนต์ปอลแปดริ้ว เป็นเหมือนวัดแม่ของวัดคริสต์ในจังหวัดอื่นๆ อีกหลายแห่ง ปีพ.ศ. 2488 ได้มีการแบ่งเขตสังฆมณฑลใหม่ โดยจัดให้วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว ขึ้นอยู่กับสังฆมณฑลจันทบุรี (เดิมอยู่สังฆมณฑลกรุงเทพ ) บาทหลวงเฮนรี การิเอ จึงมาสร้างวัดขึ้นใหม่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำบางปะกงคือ วัดเซนต์แอนโทนี ซึ่งจะอยู่ในเขต สังฆมณฑลกรุงเทพ ส่วนวัดเซนต์ปอลนั้น ทางสังฆมณฑลจันทบุรีได้แต่งตั้งบาทหลวงเศียร โชติพงศ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดเซนต์ปอล ต่อมาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2513ได้มีงานฉลอง ครบ 100 ปี และหาทุนทรัพย์เพื่อสร้างโบสถ์ใหม่แทนโบสถ์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรมมากแล้วโบสถ์หลังใหม่สร้างเสร็จเรียบร้อยและได้ทำพิธีเสก (ปลุกเสก) เมื่อ พ.ศ. 2515 ส่วนโบสถ์เก่าได้รื้อถอนเสียแต่กำแพงประตูหน้าโบสถ์ ไม่สามารถรื้อถอนได้ จึงเก็บรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็น
วัดเซนต์ปอล เป็นศูนย์กลางของชุมชนวัดเซนต์ปอล และเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาของคริสตชนในชุมชนวัดเซนต์ปอลและชุมชนใกล้เคียง
|
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฉะเชิงเทรา |
|
ตั้งอยู่ที่ถนนสวนสมเด็จฯ หน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ 90 ไร่ จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2523 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุ ครบ 80 พรรษา |
วัดจีน
ประชาสโมสร
(วัดเล่งฮกยี่) |
|
ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ เป็นเก๋งจีน ภายในวัดมีรูปปั้นขนาดใหญ่ของจตุโลกบาล และเทวรูปจีนอ้วยโห้ ซึ่งแต่งกายชุดนักรบ นอกจากนี้มีวิหารศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อาทิ วิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม วิหารว่องอ้วนตี่ วิหารตี่ซังอ๋อง และสระนทีสรรค์ เป็นต้น |
วัดอุภัย
ภาติการาม
(วัดซำปอกง) |
|
ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ เป็นวัดเก๋งจีน แต่พระพุทธรูปแบบไทย ซึ่งจำลองจากพระโตวัดพนัญเชิงและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระว่า “พระไตรรัตนนายก” และทรงพระราชทานเงินบำรุงวัด 200 บาท เมื่อคราวเสด็จทอดพระเนตร วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2450 |
ศาลหลักเมือง |
|
ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ มีเสาหลักเมืองยอดหัวเมือง และได้ก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2542 |
วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ |
|
ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ สร้างขึ้นเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ของฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2377 เดิมชื่อ "วัดเมือง" กรมหลวงรักษ์รณเรศร์ เป็นผู้ดำเนินการสร้างตามรับสั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดให้ใหม่ คือ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ |
ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า |
|
ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า หรือศาลารัฐบาลมณฑลปราจีน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2449 ตั้งอยู่ที่ถนนนิยมไทย เป็นอาคารชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เป็นที่ทำการมณฑลปราจีนบุรีเก่า ศาลารัฐบาลแห่งนี้มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองฉะเชิงเทราอย่างสม่ำเสมอ ได้ถูกไฟไหม้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 และได้ก่อสร้างขึ้นแทนที่เดิม |
กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา |
|
กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ ซึ่งก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 ก่อด้วยอิฐถือปูน มีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน กำแพงเมืองป้อมปราการนี้ นอกจากจะเป็นเครื่องแสดงขอบเขตเมืองอย่างชัดเจน เป็นครั้งแรกของเมืองฉะเชิงเทราในยุคโบราณแล้ว จากชัยชนะของไทยในสงครามอานามสนามยุทธ ยังเปรียบเสมือนประจักษ์พยานในบทบาทของฉะเชิงเทรา ในฐานะเมืองหน้าด่าน ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องรักษาเมืองหลวงของชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมืองแปดริ้วอีกด้วย |
ตลาดบ้านใหม่ |
|
ตลาดโบราณริมแม่น้ำบางปะกง อายุกว่า 100 ปี เสน่ห์ของของตลาดเรือนไม้เก่าแก่ และวิถีชีวิตที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย หลังจากนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธรที่วัดโสธรวรารามวรวิหารแล้ว ท่านสามารถเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตลาดบ้านใหม่ ซึ่งเป็นตลาดโบราณริมแม่น้ำ บางปะกง อายุกว่า 100 ปี ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ (ทางไปอำเภอบางน้ำเปรี้ยว) เดิม เคยเป็นแหล่งชุมชนชาวจีน ที่มีความคึกคัก มีการค้าขายสินค้าต่าง ๆ มากมาย ด้วยความมีเสน่ห์ของของตลาดเรือนไม้เก่าแก่ และวิถีชีวิตที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย ซึ่งกองถ่ายทำละคร และภาพยนต์ไทย นิยมมาถ่ายทำ ณ สถานที่แห่งนี้อยู่เป็นประจำ |