[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
 
   กลับหน้าหลัก

 

การจัดการศึกษานอกระบบ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

  หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้  ตามสาระการเรียนรู้ทั้ง  5 สาระ ที่เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน  ดังนี้
         1. มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละสาระการเรียนรู้เมื่อผู้เรียนเรียนจบหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 
         2. มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ  เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละสาระการเรียนรู้  เมื่อผู้เรียนเรียนจบในแต่ละระดับ  ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551 

5. เวลาเรียน

               ในแต่ละระดับใช้เวลาเรียน  4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียนทั้งนี้ ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน 

6. หน่วยกิต

            ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

7. โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

 

         สาระการเรียนรู้ จำนวนหน่วยกิต
ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
วิชาบังคับ วิชาเลือก วิชาบังคับ วิชาเลือก วิชาบังคับ วิชาเลือก
1. ทักษะการเรียนรู้

 

2. ความรู้พื้นฐาน

3. การประกอบอาชีพ

4. ทักษะการดำเนินชีวิต

 5. การพัฒนาสังคม

.

 5

 

12

 8

 5

 6

 
 5

 

16

 8

 5

 6

 
5

 

20

8

5

6

 
รวม 36  12 40 16 44 32
48 หน่วยกิต 56 หน่วยกิต 76 หน่วยกิต
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 200 ชั่วโมง 200 ชั่วโมง 200 ชั่วโมง 

หมายเหตุ วิชาเลือกในแต่ละระดับ สถานศึกษาต้องจัดให้กับผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย  3 หน่วยกิต

 

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย
1) สาระการเรียนรู้ 5  สาระคือ ทักษะการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน การประกอบอาชีพ ทักษะการดำเนินชีวิต และการพัฒนาสังคม
2) จำนวนหน่วยกิตในแต่ละระดับ ดังนี้            
      2.1) ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาบังคับ 36 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 12  หน่วยกิต
       2.2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาบังคับ 40 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต
       2.3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาบังคับ 44 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต
3) ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับละไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง

1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

1) สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน
มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้
มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้
มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น
มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

2)สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3) สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 3.1  มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ  มองเห็นช่องทางและตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ  และศักยภาพของตนเอง
มาตรฐานที่ 3.2  มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในอาชีพที่ตัดสินใจเลือก
มาตรฐานที่ 3.3  มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรม
มาตรฐานที่ 3.4  มีความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง

4) สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม 
มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริม  สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและสุนทรียภาพ        

5) สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์  เศรษฐศาสตร์  การเมือง  การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต 
มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าและสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม
มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว  ชุมชน/สังคม





เข้าชม : 4962
 
กศน.ตำบลคลองนา อำเภอเมือง  จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์  :  087-486-9167    E-mail  : 420st0005078@dei.ac.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin