[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก


Best Practice
Best Practice ศกร.ระดับตำบลวังตะเคียน เรื่อง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชนต้นแบบ ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยใช้ หลักสูตรอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของ สกร.

พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน กันยายน พ.ศ.2567

 แบบรายงาน Best Practice

 

1.ชื่อโครงการ/กิจกรรม  :  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชนต้นแบบ ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยใช้

                                หลักสูตรอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของ สกร.

 

2. หน่วยงาน/สถานศึกษา  :  ศกร.ระดับตำบลวังตะเคียน  ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา                

                                     สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

 

3. ผู้เสนอผลงาน  นางสาวศิริญญา  สุขเจริญ

 

๔. ความสอดคล้องกับนโยบาย ระบุนโยบายที่สอดคล้อง

นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ด้านที่ ๓ ด้านส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ตลอดชีวิตข้อที่ ๓.๕ จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพในชุมชน เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะใหม่ (New Skill เพิ่ม

สมรรถนะ (Upskill หรือทบทวนทักษะ (Reskill ให้แก่ประชาชน อาทิ อาชีพเกษตรกร อาชีพค้าขายอาชีพบริการ

ชุมชน อาชีพหัตถกรรม อาชีพอุตสาหกรรม ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ข่างประปา ช่างแอร์ ฯลฯ เพื่อเป็นเครื่องมือใน

การยกระดับทักษะความรู้ ช่วยประชาชนลตรายจ่ายในครัวเรือน สามารถประกอบเป็นอาชีพหลักหรือเป็นอาชีพ

เสริมให้แก่ครอบครัวได้ ข้อ ๓.๕ ส่งเสริมสนับสนุนสร้างโอกาสให้เกิด Soft Power เพื่อเปิดโอกาสในการต่อยอด

สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์ พื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม ภาษา และส่งเสริมภูมิ

ปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ด้านการท่องเที่ยว/งานเทศกาลประเพณีไทย ด้าน

ตนตรีและศิลปะ ต้านวรรณกรรม/หนังสือ ด้านสินค้าและบริการ (อาหารไทย ผ้าไทย เครื่องหอมและสมุนไพรไทย

ฯลฯ) รวมทั้งการใช้พื้นที่เป็นสถานที่เรียนรู้วัฒนธรรม ศิลปะ และประวัติศาสตร์สามารถดำเนินชีวิตได้เต็มตาม

ศักยภาพ

นโยบาย จุดเน้นการดำเนินงานสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี ๒๕๖๗

๑.๑ จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพ เป็นการเสริมสร้างทักษะใหม่ (New Skill! เพิ่มสมรรถนะ) (Upskill หรือ

ทบทวนทักษะ) (Reskill ให้แก่ประชาชน อาทิ ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างแอร์ การค้าขาย การเกษตร ฯลฯ )เพื่อเป็น

เครื่องมือในการช่วยประชาชนลดรายจ่ายในครัวเรือน และสร้างเป็นอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัวได้ การยกระดับ

ผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ที่เน้น"ส่งเสริมความรู้ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และมี

คุณภาพชีวิตที่ดี" ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาด ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

พัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเพิ่มของทางประชาสัมพันธ์และช่องทางการจำหน่าย

สอดคล้องกับการประกันคุณภาพ คุณภาพ มาตรฐานการศึกษาต่อเนื่อง มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

การศึกษาต่อเนื่อง ข้อ ๑.๑-๑.๓ มาตรฐานที่ ๒ คุณภาพจัดการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่อง ข้อที่ ๒.๑.๒.๕

 

 

 

 

 

 

 

. ความเป็นมาของโครงการ /กิจกรรม

          ตามนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ด้านที่ ๓ ด้านส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตข้อที่ ๓.๕ จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพในชุมชน เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะใหม่ (New Skill เพิ่มสมรรถนะ (Upskill หรือทบทวนทักษะ (Reskill ให้แก่ประชาชน ๓.๕ ส่งเสริมสนับสนุนสร้างโอกาสให้เกิด Soft Power เพื่อเปิดโอกาสในการต่อยอด สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์ พื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม ภาษา และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จัก    นโยบาย จุดเน้นการดำเนินงานสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี ๒๕๖๗ ๑.๑ จัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพ เป็นการเสริมสร้างทักษะใหม่ (New Skill! เพิ่มสมรรถนะ) (Upskill หรือทบทวนทักษะ) (Reskill ให้แก่ประชาชน อาทิ ช่างไฟฟ้า ช่างประปา

ช่างแอร์ การค้าขาย การเกษตร ฯลฯ )เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยประชาชนลดรายจ่ายในครัวเรือน และสร้างเป็นอาชีพเสริมให้แก่ครอบครัวได้ การยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ที่เน้น"ส่งเสริมความรู้ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี" ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาด ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเพิ่มของทางประชาสัมพันธ์และช่องทางการจำหน่ายจากนโยบายดังกล่าว โดยเน้นพัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนไปสู่ระดับ วิสาหกิจชุมชน พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และการฝึกอบรมที่เน้นการปฏิบัติการศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้ โลกอาชีพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ในอาชีพโดยตรง การฝึกประสบการณ์อาชีพจากการ ปฏิบัติจริงทั้งจากสถานที่ ด้วยเป็นผลจากการนำเอาบริบทในพื้นที่ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงปลาเป็นอาชีพหลัก ทำให้ประชาชนมีเวลาว่างจากอาชีพประจำ ศกร.ระดับตำบลวังตะเคียนได้นำยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ข้างต้นไปสู่การปฏิบัติและได้การจัดโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนการแปรรูปปลาและอาชีพต่าง ๆ ซึ่งต่อยอดจากอาชีพเดิมการทำปลาแดดเดียว เพิ่มอาชีพการทำปลาเส้นปรุงรส ข้าวเกรียบปลา น้ำพริกปลาสลิด ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างอาชีพ เสริมเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งเห็นว่ามีแนวปฏิบัติดีเด่น (Best Practice) เพื่อเป็นต้นแบบของการในการจัดการศึกษาอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประชาสัมพันธ์ แนวทางการดำเนินงานได้

๖. วัตถุประสงค์

           ๑.  เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สร้างรายได้โดยใช้หลักสูตรศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ของ สกร.

 ๒. เพื่อส่งเสริมให้มีการสาธิตขั้นตอนการดำเนินงาน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การจำหน่าย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

 ๓. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้

 

 

 

 

 

 

๗. ปัจจัยป้อน (Input)

         ๗.๑ ด้านนโนบายและจุดเน้น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ และสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา มีนโยบายและจุดเน้นที่ชัดเจน สถานศึกษาสามารถนำมาปฏิบัติได้จริงจนเกิดผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อนโยบายและจุดเน้นอย่างเป็นรูปธรรม

         ๗.๒ ด้านการบริหาร (วิชาการ/งบประมาณ/บุคลากร/บริหารทั่วไป) มีการกำหนดแผน และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรในสถานศึกษา นักศึกษา ภาคีเครือข่ายและผู้ที่มีส่วนร่วม มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน และส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

        ๗.๓ ด้านบริบทของสถานศึกษา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา มีบริบทพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง

       ๗.๔ ด้านความร่วมมือของบุคลากร บุคลากรของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา มีความสามัคคี ความร่วมมือในการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

       ๗.๕ ด้านเครือข่าย ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน การสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

       7.6 ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีองค์ความรู้รอบด้านอย่างแท้จริง มีการวางแผนการทำงาน การสร้างสรรค์ผลงานในอาชีพใหม่ๆ อยู่เสมอ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการจัดแสดงผลงานและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนเองกับหน่วยงานอื่น และเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานอื่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจัยเกื้อหนุน สู่ Best Practice

1. การนำองค์กร

         การกำหนด วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ระยะสั้นระยะยาว ค่านิยม การสื่อสาร การสร้างคุณค่าและการทำ

ให้เกิดความสมดุลของคุณค่าระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่ม รวมทั้งการทำให้เกิดการมุ่งเน้นของกลุ่มอาชีพในการปฏิบัติการต่าง ๆ ในการสร้างและรักษาให้กลุ่มอาชีพมีผลการดำเนินการที่ดีอย่างยั่งยืน โดยต้องอาศัยการมุ่งเน้นอนาคตและความมุ่งมั่นของสมาชิกในกลุ่ม ทั้งในเรื่องการปรับปรุงและนวัตกรรม รวมทั้งการสร้างจุดขายและพัฒนาคุณภาพผลผลิตสู่ตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ

๒. การกำกับดูแลตนเองที่ดี

          เป็นเรื่องของการจัดการเพื่อให้เกิดการควบคุม และการตรวจสอบ การดำเนินการของกลุ่มสมาชิก รวมทั้งความรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารของกลุ่ม ซึ่งการดำเนินการให้มั่นใจว่าการกำกับดูแลที่ดีมีประสิทธิผลจะมีความสำคัญต่อความเชื่อถือ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมโดยรวม ตลอดจนส่งผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานกลุ่มสมาชิก

๓. การทบทวนผลการปฏิบัติงาน

           มีขอบเขตครอบคลุมการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ของ สมาชิกกลุ่มจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงและ การสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์หลักของกลุ่ม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๔. งบประมาณ

            ได้รับงบประมาณในการจัดกิจกรรมจาก กศน. งบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์

๕. นโยบายของสถานศึกษา

              จากนโยบาย ของ สกร.อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา โดยเน้นพัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมอาชีพโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชน พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และการฝึกอบรมที่เน้นการปฏิบัติการศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้โลกอาชีพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ในอาชีพโดยตรง การฝึกประสบการณ์อาชีพจากการปฏิบัติจริงทั้งจากสถานที่ และการจัดนิทรรศการนอกสถานที่ประกอบการ

๖. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ

               จากการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะเคียน มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา พัฒนาสังคมและชุมชน ได้รับความร่วมมือในการสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ เพิ่มเติม

 

 

 

 

๘. ขั้นตอนการดำเนินการ

    ในการบริหารจัดการสถานศึกษาต้นแบบส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง มีขั้นตอนการดำเนินการด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) ดังนี้

                    Plan    :  การวางแผน

                    Do      :  การปฏิบัติ

                    Check :  การตรวจสอบประเมินผล

                    Act      :  การปรับปรุงพัฒนา

 

โดยมีการประชุมชี้แจง วางแผน ร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครูบุคลากร และเครือข่าย ในการขับเคลื่อนสถานศึกษาต้นแบบส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ด้วยวงจรเดมมิ่งสู่กิจกรรมการเรียนรู้


เข้าชม : 28

Best Practice 5 อันดับล่าสุด

      Best Practice ศกร.ระดับตำบลวังตะเคียน เรื่อง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชนต้นแบบ ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยใช้ หลักสูตรอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของ สกร. 26 / ก.ย. / 2567




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

กศน.ตำบลวังตะเคียน  อำเภอเมือง  จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์  :  086-8426002    E-mail  : yaying_song@hotmail.co.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin