[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก


การศึกษานอกระบบ
ถอดบทเรียนความสำเร็จการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การใช้ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนการติดตามผู้เรียนเข้าสอบ 100%

พุธ ที่ 27 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2562

 









ถอดบทเรียนความสำเร็จการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้

การใช้ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนการติดตามผู้เรียนเข้าสอบ 100%

ความเป็นมา

              การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการให้ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนด้านต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย  พลาด  และขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผลการเรียน  ผ่านการเรียนรู้แบบเรียนรู้ด้วยตนเอง การพบกลุ่ม การเรียบแบบชั้นเรียน และการจัดการศึกษาทางไกล

      กศน.อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา มอบหมายให้ กศน.ตำบลวังตะเคียน จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับ

นักศึกษาในตำบลวังตะเคียน โดยปัจจุบันมีนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น  จำนวน 30 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  จำนวน 24 คน รวมทั้งสิ้น 54 คน โดยมีนางสาวศิริญญา  สุขเจริญ เป็นครู กศน.ตำบลวังตะเคียน และจากสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีเข้าสู่สังคมอย่างกว้างขวาง ปัจจัยภายนอกเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา กศน.ตำบลวังตะเคียนเพิ่มมากขึ้น สภาพปัญหาที่พบ นักศึกษา กศน.สมัครเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก แต่ร้อยละอัตราการจบคิดเป็นจำนวนน้อย นักศึกษาส่วนหนึ่ง ไปเรียนสม่ำเสมอ ทำงานส่งตลอด แต่ไม่ไปสอบ นักศึกษาส่วนหนึ่งลงทะเบียนเรียน ไปเรียนบ้างไม่ไปเรียนบ้าง แล้วไม่ไปสอบ นักศึกษาบางคนลงทะเบียนเรียนแล้วไม่ไปเรียนเลย ทั้งสามประเด็นนั้น ประเด็นแรกจะมีข้อสังเกตว่าเป็นเพราะอะไรนักศึกษาที่ไปเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทำงานส่งตลอด แต่ไม่ไปสอบ นักศึกษาส่วนหนึ่งติดงานประจำของตน    

                ดังนั้น กศน.ตำบลวังตะเคียนจึงได้นำระบบดูแลติดตามช่วยเหลือนักศึกษา มาใช้ในการแก้ปัญหา กศน.ตำบลวังตะเคียน   เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือ ติดตามนักศึกษาอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน  โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา   ผู้ปกครอง  ชุมชน  เพื่อน มีวิธีการในการทำงาน  การดูแลช่วยเหลือ   นักศึกษาเป็นการส่งเสริมพัฒนา  ป้องกันและแก้ไขปัญหาให้นักศึกษา  เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง  มีทักษะในการดำรงชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อยู่เสมอ  รูปแบบวิธีการที่หลากหลาย  ในการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม  มุ่งเสริมสร้างเจตคติ คุณค่าชีวิต  ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์  ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จัก และเข้าใจตัวเอง  สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

 

 

 

ขั้นตอนการดำเนินงานการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

1.    การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล  โดยการทำข้อมูลวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล และการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล 

ด้วยความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนที่มีพื้นฐาน

ความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกัน หล่อหลอมให้เกิด พฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้นการรู้จักข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวผู้เรียนจึงเป็น สิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ครูที่ปรึกษามีความเข้าใจผู้เรียนมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการคัดกรอง ผู้เรียน เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การป้องกันและแก้ไขปัญหาของผู้เรียนได้อย่างถูกทาง ซึ่งเป็นข้อมูล เชิงประจักษ์มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดาโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาผู้เรียน ซึ่งจะให้ไม่เกิดข้อผิดพลาด ต่อการช่วยเหลือผู้เรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด


 

2.    การคัดกรองผู้เรียน

                   การคัดกรองผู้เรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวผู้เรียน เพื่อการจัดกลุ่มผู้เรียน อาจนิยามกลุ่ม ได้ 4 กลุ่ม คือ

1.       กลุ่มปกติ คือ ผู้เรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติซึ่งควรได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันและการส่งเสริมพัฒนา

2.    กลุ่มเสี่ยง คือ ผู้เรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยง ต้องให้การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาตามแต่กรณี

3.    กลุ่มมีปัญหา คือ ผู้เรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มมีปัญหา ต้องช่วยเหลือและแก้ปัญหา

4.    กลุ่มพิเศษ คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ

การจัดกลุ่มผู้เรียนนี้ เพื่อหาวิธีการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่าง ถูกต้อง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับปัญหาของผู้เรียนยิ่งขึ้น และมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา เพราะ มีข้อมูลของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งหากครูที่ปรึกษาไม่ได้คัดกรองผู้เรียนเพื่อการจัดกลุ่มแล้ว ความชัดเจน ในเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาของผู้เรียนจะมีน้อยลง มีผลต่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือ ซึ่งบางกรณีจำเป็น ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน

 

3.    การป้องกันและแก้ไขปัญหา

              ในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ครูควรให้ความเอาใจใส่กับผู้เรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่สำหรับผู้เรียน กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหานั้น จำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาวิธีการช่วยเหลือทั้งการป้องกัน และการแก้ไขปัญหา โดยไม่ปล่อยปละละเลยผู้เรียนจนกลายเป็นปัญหาของสังคม การสร้างภูมิคุ้มกัน การป้องกันและ แก้ไขปัญหาของผู้เรียน จึงเป็นภาระงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าอย่างมากในการพัฒนาให้ผู้เรียนเติบโตเป็นบุคคลที่มี คุณภาพของสังคมต่อไป การป้องกันและการแก้ไขปัญหาให้กับผู้เรียนนั้นมีหลายเทคนิค วิธีการ แต่สิ่งดำเนินการมีอย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. การให้คำปรึกษาติดตามและช่วยเหลือ 2. การใช้ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.    การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียน

              การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียนกลุ่มปกติหรือกลุ่ม เสี่ยง/มีปัญหา กลุ่มความสามารถพิเศษ ให้มีคุณภาพมากขึ้น ได้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการอยู่ร่วมกันในสังคม เกิดการเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อนทั้งในตำบลและต่างตำบล มีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากการเรียนรู้ในการทำกิจกรรม มีความภาคภูมิใจในตนเองในด้าน ต่าง ๆ การส่งเสริมพัฒนาดำเนินการดังนี้

1.       การติดตามผู้เรียนทางช่องทางต่าง ๆ เช่น Facebook Line โทรศัพท์ เพื่อน

 

 

 

 

 

 

2.       การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

-          โครงการสอนเสริมภาษาอังกฤษ

-          โครงการสนุกจัดเต็มกับสะเต็มศึกษา

-          โครงการโครงการค่ายจิตอาสาเยาวชนคนรุ่นใหม่เทิดไท้องค์ราชัน

-          โครงการโครงการสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาโครงงานสู่การประกวด

-          โครงการโครงการกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

-          โครงการอบรมให้ความรู้ เดินตามรอยพ่อ กศน.พอเพียง

68457488_1304968089662813_8405345745250549760_n

 

 

 

 

 

 

จุดเด่นของกิจกรรม

1.       การเก็บข้อมูลรายบุคคลของนักศึกษา กศน.ตำบลวังตะเคียน เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวผู้เรียนความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตของแต่ละคน

2.       การคัดกรองผู้เรียนช่วยให้สามารถแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้เหมาะสมที่จะทำงานร่วมกัน

 

 

 

 

 

 

3.       การสร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศที่ดีกับนักศึกษา เน้นความใกล้ชิดความเอาใจใส่ระหว่างครูและผู้เรียนในทุก ๆ เรื่อง การช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนช่วยเพื่อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.       การติดตามผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆช่องทาง เช่น Facebook line การกระตุ้นผู้เรียนในเรื่องต่าง ๆเช่น การมาเรียน การสอบวัดผล การส่งงาน การทำกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนอยู่สม่ำเสมอ

 

 

 

 

 

5.       การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้พบปะเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันในสังคม เกิดการเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อนทั้งในตำบลและต่างตำบล มีความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

 

 

 

 

 

6.       การติดตามผู้เรียน ติดตามพูดคุยกันในกลุ่ม Line อย่างสม่ำเสมอรวมทั้ง Line ส่วนตัวสำหรับผู้เรียนบางคนที่ต้องให้คำปรึกษา

 

 

 

 

จุดด้อยของกิจกรรม

ผู้เรียนบางส่วนที่ทำงานไม่มีเวลามาเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมตามที่กำหนดได้ กลุ่มผู้เรียนเหล่านี้จะไม่ค่อย

ได้พบปะกับกลุ่มเพื่อนในตำบลมากนัก ซึ่งบางคนไม่มีเพื่อนเลย ครูต้องติดตามอยู่เสมอ โดยการส่งงานต่าง ๆ ทาง line หรือ Facebook  

 

แนวทางการนำไปประยุกต์ใช้หรือพัฒนาต่อยอดให้เหมาะสม

          พัฒนาหาวิธีการต่าง ๆ ในการดูแลผู้เรียนอยู่เสมอ เนื่องจากผู้เรียนในแต่ละภาคเรียนมีความแตกต่างกันใน ครูต้องเรียนรู้ผู้เรียนที่เข้ามาใหม่อยู่เสมอ ใช้หลักจิตวิทยาในการเรียนรู้ เพราะผู้เรียนที่เข้ามาใหม่จะไม่ค่อยกล้าแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นมากนัก ครูต้องหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเดิมและผู้เรียนที่เข้ามาใหม่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดความสามัคคีกันภายในตำบล และครูควรจัดกิจกรรมการสอน  สื่อการสอนที่น่าใจ

 

ผลที่ได้รับ

1.       ร้อยละการเข้าสอบของนักศึกษา กศน.ตำบลวังตะเคียนในทุก ๆภาคเรียนอยู่ในระดับ ร้อยละ 90 ขึ้นไป และเทอมที่ผ่านมาเข้าสอบอยู่ในระดับ ร้อยละ 100  

2.       ผู้เรียนเกิดความรัก ความสามัคคีกันในตำบล เข้าร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ

3.       ผู้สอนมีข้อมูลรายบุคคลของนักศึกษาในทุกภาคเรียน

 


เข้าชม : 1171

การศึกษานอกระบบ 5 อันดับล่าสุด

      (Best Practice) ถอดบทเรียนความสำเร็จการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การใช้ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนการติดตามผู้เรียนเข้าสอบร้อยละ 90 ขึ้นไป ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 24 / มี.ค. / 2567
      Best Practice โครงงานเพื่อพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 11 / ก.ย. / 2565
      ฺBest Practice เรื่อง ผู้เรียนที่เป็นต้นแบบที่ดีในการนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการอบรมในแหล่งเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ 11 / ก.ย. / 2564
      ถอดบทเรียนความสำเร็จการส่งเสริมให้ผู้เรียน มีความรู้ มีคุณธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ดี 15 / ก.ย. / 2563
      ถอดบทเรียนความสำเร็จการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การใช้ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนการติดตามผู้เรียนเข้าสอบ 100% 27 / พ.ย. / 2562


กศน.ตำบลวังตะเคียน  อำเภอเมือง  จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์  :  086-8426002    E-mail  : yaying_song@hotmail.co.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin