[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก


การศึกษานอกระบบ
Best Practice โครงงานเพื่อพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

อาทิตย์ ที่ 11 เดือน กันยายน พ.ศ.2565

 โครงงานเพื่อพัฒนาชุมชน


 

ความสำคัญของผลงาน

 

             กระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง

การจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้

นักศึกษามีความรู้ มีทักษะเฉพาะด้าน มีความชำนาญการและมีความรู้เท่าทันต่อกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคม กศน.อำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีการส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน สามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการครอบครัวและชุมชนอย่างสูงสุด เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการกลุ่ม และเรียนรู้ที่จะปรับตัวในสภาวะการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชาญฉลาด ยังมีนักศึกษาส่วนใหญ่ ที่ยังขาดทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ดังนั้น กศน.ตำบลวังตะเคียน จึงได้นนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ จากการค้นคว้าด้วยตัวเอง โดยมีครูช่วยแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักศึกษาแต่ละคนสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้หลากหลาย

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์

2. เพื่อฝึกทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะด้าน

              ชีวิตและอาชีพ

3. เพื่อปลูกฝังและพัฒนาทักษะความรู้ของนักศึกษา

4. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงงานเพื่อพัฒนาชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

กระบวนการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practiceขั้นตอนการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 3 ตอนได้แก่

 

ตอนที่ 1 การเตรียมการ

1. ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน เศรษฐกิจ สังคม ปัญหาและความต้องการ

2. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551

3. วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา

4. วิเคราะห์ตัวชี้วัดมาตรฐานรายวิชาโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้

5. วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคและความสามารถของผู้เรียน

6. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (project based learning)

 

ตอนที่ 2 กระบวนการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practice

 

ขั้นตอนการดำเนินงานตาม Flow Chart

1. ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา

2. วางแผนการดำเนินงาน เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ

3. ดำเนินการตามแผน จัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (project based learning) ในรายวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์ เน้นทักษะกระบวนการทำงาน การคิดวิเคราะห์ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เน้นการฝึก ปฏิบัติจริง กระบวนการกลุ่ม มีคุณธรรม รักการทำงานและมีความรับผิดชอบ

4. คัดเลือกนักศึกษาที่มีทักษะการปฏิบัติโครงงาน มีความรับผิดชอบและมีผลงานดีเด่นมา ฝึกปฏิบัติจนเกิด

    ความชำนาญ ตามขั้นตอนกระบวนการทำโครงงาน

5. กำหนดวิธีการ ขั้นตอนการปฏิบัติโครงงาน  หลักการสร้างชิ้นงาน ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีครูคอยแนะนำและ

    ประเมินผลงาน

6. ฝึกปฏิบัติงานโครงงานโดยมีครูคอยแนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลงานที่ดียิ่ง

7. วัดและประเมินผล เพื่อแก้ไขปรับปรุง พัฒนา

8. สรุป / รายงานผลงานที่ได้จากการปฏิบัติจริงไปขยายผลโดยการจัดนิทรรศการ เผยแพร่ และส่งเข้าร่วมประกวด 

 

 

 

 

 

 

 

ลำดับขั้นตอนการพัฒนา (Flow Chart) แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

 

 

 

ตอนที่ 3 ผลการปฏิบัติ ผลการพัฒนาหรือผลการใช้นวัตกรรมที่เป็น Best Practice

1.      นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80

2.      นักศึกษาได้ฝึกทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ

3.      นักศึกษานำความรู้และทักษะต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน สร้างผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน

4.      นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการทำงาน ฝึกความรับผิดชอบ มีวินัย และฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น

5.      นักศึกษาได้แสวงหาความรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ โดยศึกษาจากประสบการณ์ตรง

6.      นักศึกษานำความรู้ ทักษะต่าง ๆ ไปพัฒนาจนสามารถเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการ

 

บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned) (ระบุข้อสรุป ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะและข้อระมัดระวัง ที่เป็นแนวทางใน

การนำผลงานไปใช้/พัฒนาต่อ หรือดำเนินการให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นต่อไป)

1.      เพิ่มอัตราการเข้าเรียนรายวิชาโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และพัฒนา 

2.      ทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้

3.      นักศึกษามีความรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะในการดำเนินชีวิตต่อตนเองและชุมชน

4.      ผู้ปกครอง ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

5.      ค้นพบรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความหลากหลายของผู้เรียน

6.      ค้นพบแนวทางในการพัฒนาโครงงานสู่ชุมชน

7.      นำความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ Best Practice มาพัฒนาและปรับปรุง

          ให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

      8.  ค้นพบแนวทางการสร้างโมเดลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ Best Practice และเผยแพร่ให้สาธารณชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจัยความสำเร็จ

  1. กศน.อำเภอเมืองฉะเชิงเทราส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการทุกด้าน การจัดการเรียนรู้บูรณาการและจัดกิจกรรมในการพัฒนาครู และพัฒนานักศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  2. ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากนักศึกษา กศน.ตำบลวังตะเคียน
  3. ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายผู้ปกครอง ภูมิปัญญา ในการให้ข้อมูลช่วยเหลือเพื่อเข้าร่วม การประกวดโครงงาน
  4. ครูผู้สอนมีความมุ่งมั่นในการวิเคราะห์และออกแบบการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ Best Practice

           นักศึกษามีความมุ่งมั่น ความรับผิดชอบ และมีระเบียบวินัยในการฝึกทักษะ

  1. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร คณะครูในการให้คำปรึกษา แนะนำการดำเนินงาน และเป็นการบูรณาการความรู้ ความสามารถ รวมทั้งทักษะด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

-        รางวัลชนะเลิศการประกวดโครงงานด้านพลังงานทดแทน


เข้าชม : 779

การศึกษานอกระบบ 5 อันดับล่าสุด

      (Best Practice) ถอดบทเรียนความสำเร็จการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การใช้ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนการติดตามผู้เรียนเข้าสอบร้อยละ 90 ขึ้นไป ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 24 / มี.ค. / 2567
      Best Practice โครงงานเพื่อพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 11 / ก.ย. / 2565
      ฺBest Practice เรื่อง ผู้เรียนที่เป็นต้นแบบที่ดีในการนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการอบรมในแหล่งเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ 11 / ก.ย. / 2564
      ถอดบทเรียนความสำเร็จการส่งเสริมให้ผู้เรียน มีความรู้ มีคุณธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ดี 15 / ก.ย. / 2563
      ถอดบทเรียนความสำเร็จการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การใช้ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนการติดตามผู้เรียนเข้าสอบ 100% 27 / พ.ย. / 2562


กศน.ตำบลวังตะเคียน  อำเภอเมือง  จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์  :  086-8426002    E-mail  : yaying_song@hotmail.co.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin