[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก
 หลักสูตรการศึกษาสำหรับคนพิการ

คนพิการเป็นทรัพยากรบุคคลของสังคม หากได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้อง ย่อมมีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพที่จะประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเอง และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข รวมทั้งการช่วยสร้างสรรค์สังคมได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป 

                การส่งเสริมพัฒนาคนพิการได้เต็มศักยภาพ ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ตังแต่การค้นพบความพิการ การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การให้การศึกษา การพัฒนาทักษะสังคม และการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ 

 

                การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถคนพิการให้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หรือแรกพบความพิการให้การศึกษาอบรมให้รู้จักสิทธิ และหนาที่ในฐานะพลเมืองดี มีอาชีพ มีงานทำ สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม ช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ 

                การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มุ่งเน้นโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยยึดหลักการศึกษาเพื่อปวงชนที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรม 43 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสอทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจัดไอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ” ประกอบกับมาตรา 30 วรรค 3 บัญญัติไว้ว่า การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคลจะกระทำมิได้” นั่นหมายถึงว่าประชาชนคนไทยทกคนมีสิทธิเสมอกันทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะยากดีมีจน หรือสภาพร่างกายพิกลพิการ โดยรัฐต้องจัดสื่อ สิ่งอำนวย ความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษาให้ มาตรา 55 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า บุคคลพิการ หรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก อันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงเป็นการรวมพลังระหว่างหน่วยงานทั้งภารรัฐ ภาคเอกชน องค์กร ชุมชน องค์กรคนพิการ ผู้ปกครองคนพิการ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด              การประสานความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกระบบและครบวงจร จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมพัฒนาระบบการทำงานร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

นโยบายการศึกษาพิเศษสำหรับคนพิการ 

1.  ด้านการบริการ ให้ผู้พิการได้เรียนตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ โดยเน้นให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ให้โอกาสเด็กพิการ ได้เรียนทั้งด้านภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในหลักสูตรสายสามัญและให้ฝึกวิชาชีพเพิ่มเติมไปด้วย เพื่อให้คนพิการสามารถพัฒนาตนเองให้เพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ 

2.  ด้านโอกาสทางการศึกษา ให้ผู้พิการมีโอกาสได้รับการศึกษาทัดเทียมกับเด็กปกติ และให้คนพิการหญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในโอกาสทางการศึกษา 

3.  ด้านการจัดการศึกษา ต้องจัดให้คนพิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน โดยขยายการบริการทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน เน้นการร่วมและการจัดให้สอดคล้องกับประเภทและระดับของความพิการ 

4.  ด้านการรับนักเรียน ปรับ กฎ ระเบียบให้เอื้อต่อการรับเด็กพิการทุกคน และให้รับตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการ โดยรัฐควรเพิ่มบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ให้ทั่วถึงทั้งในเขตเมืองและชนบท ต้องทำทะเบียนเพื่อรับรองความพิการที่ต้องได้รับการช่วยเหลือตามกฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาของคนพิการ 

5.  ด้านหลักสูตร ต้องพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับประเภทและระดับของผู้พิการ โดยให้เด็กเป็นหลักในกระบวนการเรียนรู้เรียนด้วยตนเองจากการฝึกปฏิบัติ ให้เด็กพิการทุกประเภทสามารถสื่อความหมายและปรับพฤติกรรมให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข 

6.  ด้านบริหารการศึกษา ให้มีคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ เป็นหน่วยประสานงานกลาง และกำกับการบริหาร โดยประสานกับกรมและจังหวัด และระดมความร่วมมือจากสถานศึกษา และสถานพยาบาลมาร่วมกันจัดและต้องสำรวจจำนวนผู้พิการให้ตรงความเป็นจริงรวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจถึงการบริการทาง การศึกษา และฝึกอบรมพ่อแม่ให้รู้จักดูแลลูกพิการตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ

7.  ด้านทรัพยากร ให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรและวิชาการแก่สถานศึกษาที่จัดการศึกษาเพื่อคนพิการ และให้ภาคเอกชน ชุมชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาเพื่อให้การดำเนินงานมีคุณภาพ ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ โดยจะพิจารณาให้หน่วยงานการศึกษาเพื่อคนพิการ ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นองค์การมหาชนในอนาคต หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ 

8.  ด้านบุคลากร ให้สถาบันอุดมศึกษาปรับปรุงการผลิตครูการศึกษาพิเศษให้พอเพียงและมีคุณ ภาพ และให้มีรายวิชาการศึกษาพิเศษในหลักสูตรการฝึกหัดครู นอกจากนี้ พัฒนาครูประจำการให้มีเทคนิคการสอนที่ทันสมัย ตามหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 

9.  ด้านการประเมินคุณภาพ จัดให้มีเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสำหรับการศึกษาเพื่อคนพิการโดยเฉพาะ และมีระบบประเมินคุณภาพผู้สอนผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีคณะกรรมการร่วมประเมิน ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรคนพิการและผู้ปกครอง

10.  ด้านการส่งเสริมเอกชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชน และองค์กรเอกชนที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกระดับ ทุกระบบ และทุกรูปแบบ โดยรัฐให้การสนับสนุน          ด้านงบประมาณและบุคลากร ให้เท่าเทียมกับการจัดการศึกษาของรัฐ 

รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 

                การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มีทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ซึ่งพอสรุปรูปแบบสำคัญ ๆ ได้ดังนี้ 

6.1    การเรียนร่วม 

6.2    โรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ 

6.3    การจัดในครอบครัว 

6.4    การจัดโดยชุมชน 

6.5    การจัดในสถานพยาบาล 

6.6    การจัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ 

6.7    การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 

การจำแนกความพิการเพื่อจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 

การจัดการเรียนการสอนแก่เด็กพิการหรือผู้ที่มีความบกพร่อง ย่อมแตกต่างกันไปตามความพากรหรือความบกพร่องของแต่ละประเภท จึงจำเป็นต้องมีการจำแนกความพิการหรือความบกพร่องให้ชัดเจน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องตามความต้องการจำเป็นและศักยภาพของคนพิการ ให้บังเกิดในการพัฒนาอย่างแท้จริง  กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดประเภทความพิการไว้ 9 ประเภท ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2543 : 27-30)

1. บุคคลที่บกพร่องทางการมองเห็น 

2. บุคคลที่บกพร่องทางการได้ยิน 

3. บุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา 

4. บุคคลที่บกพร่องทางกายหรือสุขภาพ 

5.  บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 

6. บุคคลที่บกพร่องทางการพูดและภาษา 

7. บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 

8. บุคคลออทิสติก 

9. บุคคลพิการซ้ำซ้อน



เข้าชม : 717
 

กศน.ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120
โทรศัพท์ 087-5848755  E-mail :nongnae@gmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin