ดำเนินการที่สำคัญ ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่จะมีที่แตกต่างกัน
บ้างในส่วนที่เป็นปลีกย่อย ที่จะต้องดำเนินการวางแผนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะ
ของศาสตร์นั้นๆ สำหรับในด้านการศึกษา โดยเฉพาะการวางแผนเพื่อจัดการศึกษาสำหรับคน
พิการนั้น จะมีรูปแบบบางประการที่ควรจะแตกต่างจากการจัดการ ศึกษาของคนปกติ เนื่อง
จากสภาพความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ที่แตกต่างกัน ผู้ที่ดำเนินการ
วางแผนเพื่อจัดการศึกษาสำหรับคนพิการได้ดีที่สุดนั้น ก็คงจะต้องเป็นคนพิการหรือผู้รู้ที่ปฏิบัติ
งานเกี่ยวข้องกับคนพิการโดยตรง ที่จะต้องร่วมกันวางแผนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับ
การจัดการศึกษา
แนวคิดบางประการที่จะนำเสนอเพื่อประกอบในการวางแผนจัดการศึกษาให้คน
พิการนี้ น่าจะเป็นส่วนที่จะช่วยเสริมให้การวางแผนดังกล่าวมีความรัดกุมและครอบคลุมมาก
ยิ่งขึ้น ดังนี้
3.1 การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ควรจะจัดควบคู่กับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ของคนพิการด้วย เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของคนพิการ ให้มีความพร้อม และความ
สามารถ ในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น นอกจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการศึกษาโดยตรง ซึ่งประกอบด้วยครู/อาจารย์ เป็นส่วนใหญ่แล้ว จะมีบุคลากรอื่นๆ
ที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้อง อันประกอบด้วย พยาบาลประจำโรงเรียน แพทย์ นักกายภาพ
บำบัด นักกายอุปกรณ์เสริมและเทียม นักจิตวิทยา ที่ปรึกษาด้านอาชีพ เป็นต้น บุคลากรกลุ่ม
หลังที่กล่าวมานี้ จะช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยตรง ซึ่งการจัดการศึกษาสำหรับ
คนพิการจะต้องประสานสัมพันธ์กับบุคลากรเหล่านี้อย่างใกล้ชิด
3.2 การทำวิจัยเกี่ยวกับคนพิการของประเทศไทยในขณะนี้ยังมีค่อนข้างน้อยและไม่
แพร่หลายเท่าที่ควร ดังนั้น เป็นสาเหตุหนึ่งของการขาดข้อมูลที่สำคัญในการวางแผนจัดการ
ศึกษา สำหรับคนพิการให้ได้ประโยชน์สูงสุด หากจะนำผลการวิจัยเกี่ยวกับคนพิการของ
ต่างประเทศมาใช้ในการวางแผนของเรา ก็คงจะไม่เหมาะสมกับคนพิการในประเทศไทย ใน
หลาย ๆ ประการด้วยกัน ดังนั้น การสนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับความพิการของคนไทย
จึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนอย่างเป็นรูปธรรม
3.3 ความพิการที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางการศึกษาของเด็กนักเรียนนั้น จะมี
ด้วยกันหลายประเภทด้วยกัน เช่น ความพิการด้านสติปัญญา ด้านการพูด ด้านการได้ยิน
ด้านการมองเห็น ด้านร่างกาย และสุขภาพเป็นต้น ความพิการในแต่ละประเภท มีความ
ต้องการที่จะได้รับการสนับสนุนและจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การวางแผนเพื่อจัด
การศึกษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้คนพิการนั้นจะต้องวางแผนให้ครอบคลุมกับความพิการ
ในทุกประเภทด้วย
3.4 สื่อและอุปกรณ์ช่วยในการเรียนรู้ของคนพิการ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
ที่จะต้องพัฒนาและจัดหาให้เพียงพอสำหรับการเรียนการสอน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะช่วย
เสริมการเรียนรู้ของคนพิการเป็นอย่างมาก และในขณะนี้สื่อประเภทโทรทัศน วิทยุ
คอมพิวเตอร์ ระบบ Multi-Media และระบบเครือข่าย Internet ได้เข้ามามีบทบาทช่วยใน
การเรียนรู้ของคนพิการได้เป็นอย่างดีได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่สิ่งที่จะต้อง
พัฒนาควบคู่กับการนำสื่อเหล่านั้นมาใช้นั้นก็คือ การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับช่วยการเรียน
การสอนคนพิการผ่านสื่อดังกล่าว เช่น โปรแกรม CAI และ Talking book ฯลฯ ซึ่งในขณะนี้
ยังมีไม่แพร่หลาย ไม่ครอบคลุมในทุกประเภทความพิการ ไม่ครบถ้วนตามสาขาวิชา และ
ระดับการศึกษา
3.5 การแนะแนวอาชีพและการหางานให้คนพิการทำหลังจากสำเร็จการศึกษา
นั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สถานศึกษาจะต้องให้ความสำคัญ ครูแนะแนวของสถานศึกษาจะต้อง
ประสานสัมพันธ์กับสถานประกอบการและตลาดแรงงานในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด เพื่อติดต่อ
ประสานงานช่วยการมีงานทำของคนพิการ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยการมีงาน
ทำของคนพิการนั้นคือ ความชัดเจนของกฎหมายที่จะให้สิทธิประโยชน์และบังคับสถาน
ประกอบให้รับคนพิการเข้าปฏิบัติงานตามสัดส่วนของคนงานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมาย
เหล่านี้จะต้องมีความชัดเจนและมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด
3.6 การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการให้คนพิการ เช่น ทางลาดสำหรับ
รถเข็น ลิฟต์และห้องน้ำสำหรับคนพิการ รถโดยสารและที่ขึ้นรถโดยสารรวมทั้งเสียงบอก
สถานที่ขึ้นลงรถ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและ
เอกชนจัดทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นในหน่วยงาน โดยเฉพาะสถานศึกษาที่จัดให้เด็กพิการเรียนร่วม
กับเด็กปกติซึ่งในขณะนี้มีสถานศึกษาประเภทนี้มากขึ้น การจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สถาน
ศึกษาเหล่านี้ ได้จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ เป็นสิ่งที่ควรได้รับการสนับสนุน
เป็นอย่างยิ่ง
3.7 ศูนย์นันทนาการสำหรับคนพิการและคนไม่พิการควรมีการจัดตั้งให้กระจาย
ในทุกชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการและผู้คนในชุมชนได้พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยน
ความรู้ ช่วยเหลือและแก้ปัญหาของกันและกันได้เป็นอย่างด ี และการวางแผนเพื่อจัดการ
ศึกษาให้คนพิการนั้นควรจะดำเนินการให้ครอบคลุมทั่วถึงทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
4.ข้อเสนอเพื่อพิจารณา
ข้อเสนอเพื่อพิจารณาที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของ
คนพิการและคนปกติ ที่ได้จากการจัดทำประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปัจจุบัน ซึ่งจัดโดยกระทรวงศึกษาธิการและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของ
คนพิการนั้น มีข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนเป็นอย่างมาก ข้อมูล
ดังกล่าวนี้มีเป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นการทำประชาพิจารณ์ได้จัดทำทั่วประเทศมากกว่า
200 ครั้งด้วยกัน ซึ่งจะขอสรุปนำเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
คนพิการ ดังนี้
4.1 เด็กพิการ ควรได้รับสิทธิเท่าเทียมและเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ
4.2 นักเรียนหูหนวก ควรได้รับสิทธิ ดังต่อไปนี้
มีคนช่วยจดคำบรรยาย
ได้รับเครื่องช่วยในการฟัง
ได้นั่งแถวหน้าเพื่ออ่านปากครูได้
ได้ดูภาษามือจากทีวีการศึกษา
มีผู้ช่วยสอนพิเศษ
ได้รับการศึกษาขั้นสูงสุด
4.3 ควรให้ผู้ปกครอง บิดามารดาของเด็กพิการ หรือเด็กที่มีความสามารถ
พิเศษจัดการศึกษาสำหรับบุตรของตนได้ โดยได้รับการสนับสนุนสงเคราะห์จากรัฐใน
กรณีครอบครัวนั้น ๆ ขาดแคลนทุนทรัพย์
4.4 ควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สำหรับการศึกษาคนพิการ การ
พัฒนาครูสอนคนพิการ การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และสื่อสำหรับการศึกษาของคน
พิการ
4.5 ควรให้สิทธิ และส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาแก่คนพิการ ซึ่งเป็นผู้ด้อย
โอกาส ซึ่งอยู่ในชนบทให้ทัดเทียมกับคนพิการที่อยู่ในเมือง
4.6 คนพิการควรได้รับสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เช่นเดียวกับบุคคล
ทั่วไป
4.7 ควรจัดการศึกษาให้คนพิการโดยคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อ
การจัดการเรียนการสอนและศักยภาพของผู้เรียน
4.8 สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเพื่อคนพิการควร ได้รับการพิจารณา
จัดสรรงบประมาณเป็นการพิเศษความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่นำเสนอนี้เป็นเพียงส่วน
หนึ่งจากที่ได้รับในการจัดทำประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั่วประเทศ
จากความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านี้ น่าจะมีส่วนช่วยให้วิสัยทัศน์ ของนักวางแผนการ
ศึกษาเพื่อคนพิการมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยสรุป การจัดการศึกษา เพื่อคนพิการในปัจจุบันนี้ เป็นเรื่องสำคัญและ จำเป็นซึ่งได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมาก การพัฒนาการศึกษาเพื่อคนพิการจะ เริ่มมีการพัฒนาเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแล้วในขณะนี้ และพร้อมที่ จะประกาศเป็นกฎหมายได้ทันที หลังจากที่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการไว้ชัดเจนมากใน หมวด 2 เรื่อง สิทธิ และหน้าที่ทางการศึกษา มาตราที่ 10 มีกล่าวดังนี้ "การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง" การวางแผนและการจัดทำโครงการเพื่อจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มีความ สำคัญมาก และเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน และมีข้อจำกัดมากกว่าการวางแผนการศึกษา โดยทั่วๆ ไป การศึกษาจะต้องช่วยให้คนพิการสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด สังคมจะต้องเปลี่ยนแนวความคิดและมุมมองที่รับรู้ในอดีตว่าคนพิการ เป็นคนที่มีความทุกข์ จะต้องได้รับการช่วยเหลือตลอดเวลานั้น เรื่องเหล่านี้ได้เปลี่ยนไป แล้ว สังคมจะต้องมีมุมมองสำหรับคนพิการใหม่ว่า คนพิการเป็นผู้ที่มีความสามารถพัฒนา ศักยภาพของตัวเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคม และสังคมควรจะชื่นชมในการพัฒนาศักยภาพ ของเขาด้วย ดังนั้น หากสังคม รัฐบาล มูลนิธิ และเอกชน สนับสนุน รวมทั้งเปิดโอกาส ทางการศึกษา การฝึกฝนอบรม ให้อย่างจริงจัง ผู้พิการดังกล่าวก็จะสามารถช่วยเหลือส่วน