[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
   กลับหน้าหลัก

  1.ความหมายการวางแผนเพื่อคนพิการ

จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี   พ.ศ. 2525 ไม่ได้บอก ความหมาย
ของคำว่าวางแผน  คำนี้โดยตรง   แต่จะให้ความหมายของคำแต่ละคำดังนี้   วาง หมายถึง 
กำหนด, ตั้ง    แผน   หมายถึงสิ่งที่กำหนด  คือ   เป็นแนวดำเนินการ  ดังนั้น หากแปลความ
หมายรวม ๆ กัน คงจะหมายถึง การกำหนดสิ่งที่จะยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินงาน

               ศาสตราจารย์   มาลัย หุวะนันทน์ กล่าวไว้ในหนังสือเรื่องวัตถุประสงค์นโยบาย 
และแผนว่า  การวางแผน คือ กระบวนการขั้นหนึ่งในการบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงตาม
วัตถุประสงค์ และนโยบายที่กำหนดไว้แผนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทางวิทยาการ   
และการวินิจฉัยเหตุการณ์ในอนาคต   แล้วกำหนดวิธีการโดยถูกต้องและมีเหตุผล   เพื่อให้

การดำเนินงานตามแผนเป็นไปโดยเรียบร้อยสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
               ศาสตราจารย์สมพงศ์   เกษมสิน   สรุปถึงเรื่องการวางแผนว่า เป็นเรื่องของการ
วินิจฉัย   เพื่อเลือกกำหนดวิธีปฏิบัติงานที่เห็นว่าดีที่สุด       โดยพิจารณาจากข้อมูล ข่าวสาร
และกรณีแวดล้อมต่างๆ การวางแผนเป็นการใช้จินตนาการคาดคะเนวิธีการเพื่อเลือกแนว
ทางที่ดีที่สุด           เพื่อกำหนดเป้าหมายและวางโครงการในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุ
ประสงค์ที่กำหนดไว้

               Scott, B.W.   เขียนไว้ใน   Long Range Planning in American Industry ว่า 
การวางแผน คือ กระบวนการวิเคราะห์   ซึ่งรวมถึงการประเมินอนาคตและพิจารณากำหนด
วัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนาสภาวะแวดล้อมของอนาคต การพัฒนาทางเลือกเพื่อดำเนินการ
ให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ และการเลือกแนวดำเนินการระหว่างทางเลือกทั้งหลาย
               Earnest Dale  เขียนในหนังสือ ชื่อ     Management Theory and Practice  
ว่า การวางแผน หมายถึง   การที่องค์การได้ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายไว้   แล้วมีการ
ดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการซึ่งตัดสินแล้วว่าดีที่สุด
               Russell L. Ackoff  กล่าวไว้ใน  A  Concept of Corporate Planning ว่า  การ
วางแผนคือ การกำหนดรูปแบบของอนาคตที่ต้องการ      แล้วกำหนดแนวทางปฏิบัติที่มี
ประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น

               โดยสรุป การวางแผน  เป็นการนำข้อมูล   (สารสนเทศ)  ในอดีต  ปัจจุบัน และ
แนวโน้ม (Trends)    มาคิดวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีการที่ดี    และเหมาะสมที่สุด     เพื่อการ
ดำเนินการสำหรับอนาคตโดยการพิจารณาวัตถุประสงค์   เป้าหมาย  ทรัพยากรที่พอมี  
รวมทั้งปัญหาที่มี หรือ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

2.กระบวนการวางแผนและองค์ประกอบของโครงการ

   กระบวนการวางแผนโดยทั่วๆ ไป จะประกอบด้วยขั้นตอนที่ สำคัญๆ ดังนี้
               2.1 การเตรียมการ     จะเป็นการกำหนดวิธีการวางแผน กำหนด  โครงสร้าง 

                     และกลไกการทำงาน รวบรวมข้อมูลที่จำเป็น    กำหนดวัตถุประสงค์ของ
                     การพัฒนา การศึกษา
              2.2 การวางแผน    เป็นขั้นตอนที่สำคัญ   ซึ่งนักวางแผนจะต้อง
                    คำนึงถึงกิจกรรมหลัก ๆ  ของขั้นตอนนี้ครอบคลุมถึง    

                       arrow-t3.gif (221 bytes)   การศึกษาวินิจฉัยสถานการณ์ต่างๆ 
                       
arrow-t3.gif (221 bytes)   การกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคต
                       
arrow-t3.gif (221 bytes) การประมาณการวงเงินค่าใช้จ่าย
                       
arrow-t3.gif (221 bytes) การกำหนดเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญ
                       
arrow-t3.gif (221 bytes) ทดสอบแนวทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
               2.3 การจัดทำแผน    เป็นการเตรียมเอกสารแผนที่ระบุการทำงานเพื่อให้เป็น

                      ไปตามเป้าหมายและนโยบาย     เพื่อให้หน่วยงานหรือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ
                       พิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้ฝ่ายปฏิบัตินำไปจัดทำแผน
                       ละเอียดต่อไป
               2.4 การจัดทำรายละเอียดของแผน      เนื่องจากการจัดทำแผนไม่ไดระบุราย

                      ละเอียดไว้ พอที่จะนำไปปฏิบัติได้   หลังจากที่มีการอนุมัติแผนแล้ว หน่วยงาน
                      ที่รับผิดชอบจำเป็นต้องจัดทำรายละเอียดเป็นแผนงานโครงการ      ตลอดจน
                      พื้นที่ปฏิบัติการต่อไป
               2.5 การนำแผนไปปฏิบัติ    ได้แก่การจัดทำแผนประจำปี    เพื่อประกอบในการ

                       ของบประมาณและแผนปฏิบัติการประจำปีหลังจากที่ได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว 
                       ซึ่งหมายถึงการบริหารและการจัดการนั่นอง
               2.6 การติดตามประเมินผลและปรับปรุงแผน     เมื่อมีการนำแผนไปปฏิบัติแล้ว

                       จะต้องมีการติดตาม ประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน และรวบรวม
                       ข้อมูลสำหรับปรับปรุงหรือเตรียมการวางแผนในวงจรหรือกระบวนการรอบต่อไป

            

องค์ประกอบของโครงการ
               เมื่อมีการวางแผนงาน   เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการแล้ว    ก็จะมีการกำหนด
โครงการ  เพื่อรองรับแผนงานดังกล่าว  ดังนั้น โครงการจึงเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนา
ซึ่งช่วยให้เห็นภาพ  และทิศทางการพัฒนา ขอบเขตของการพัฒนาที่สามารถติดตามและประเมิน
ได้  โครงการต่างๆ    จะเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม  หรือดำเนินการให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทา หรือ ลด   หรือขจัดปัญหา   และตอบสนองความต้องการในการพัฒนา
สำหรับปัจจุบัน และอนาคต
               องค์ประกอบพื้นฐานในโครงการแต่ละโครงการนั้นควรจะมีดังนี้
                        1. ชื่อแผนงาน    เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลาย

                            โครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทางเดียวกัน   เพื่อแก้ไขปัญหา หรือ
                            สนองวัตถุประสงค์หลัก     ที่กำหนดไว้
                        2. ชื่อโครงการ      ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม  มีความหมายชัดเจน 

                            และเรียกเหมือนเดิมทุกครั้ง จนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ
                        3. หลักการและเหตุผล    ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่ต้อง

                            มีโครงการนี้
                       4. วัตถุประสงค์  เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมี

                           ความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น  วัตถุประสงค์นี้จะต้องมีความชัดเจน ปฏิบัติได้
                           สามารถวัดและประเมินผลได้
                       5. เป้าหมาย  เป็นการระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด  โดยพยายาม แสดงให้ปรากฏ

                           เป็นรูปตัวเลข หรือจำนวนที่จะทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
                       6. วิธีดำเนินการ  งานหรือภารกิจที่จะต้องดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุ

                           ประสงค์ในระยะเตรียมโครงการจะต้องควบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้วนำมา
                           จัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือ พร้อมๆกัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ
                           จนถึงขั้นสุดท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์
                       7. ระยะเวลาการดำเนินโครงการ     จะระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจน

                           เสร็จสิ้นโครงการ
                      8. งบประมาณ   เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนก

                          รายการค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน
                      9. ผู้รับผิดชอบโครงการ  หมายถึง  หน่วยงานระดับ  กอง กรม หรือ เอกชน
                     10. พื้นที่ดำเนินการ  ซึ่งอาจจะมีระบุไว้ได้มากกว่า 1  พื้นที่ ในจังหวัด  อำเภอ

                           หรือหน่วยงานใด เป็นต้น
                     11. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อสนับสนุนและประสานงาน
                     12. การประเมินผล จะระบุแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไร  ใน

                          ระยะเวลาใด  และใช้วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม
                     13. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้ว  หากไม่มีอุปสรรค

                           ปัญหาใด ๆ  สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นคืออะไร  และผลกระทบควรจะเป็นประการใด

3.แนวคิดในการวางแผนการศึกษาสำหรับคนพิการการวางแผนของศาสตร์ต่างๆ   โดยทั่วไป     มักจะมีกระบวนการหรือขั้นตอนในการ

ดำเนินการที่สำคัญ ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว   ซึ่งจะไม่แตกต่างกันมากนัก    แต่จะมีที่แตกต่างกัน
บ้างในส่วนที่เป็นปลีกย่อย       ที่จะต้องดำเนินการวางแผนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะ
ของศาสตร์นั้นๆ สำหรับในด้านการศึกษา โดยเฉพาะการวางแผนเพื่อจัดการศึกษาสำหรับคน
พิการนั้น   จะมีรูปแบบบางประการที่ควรจะแตกต่างจากการจัดการ   ศึกษาของคนปกติ   เนื่อง
จากสภาพความพร้อมทางด้านร่างกาย   จิตใจ  และสติปัญญา ที่แตกต่างกัน      ผู้ที่ดำเนินการ
วางแผนเพื่อจัดการศึกษาสำหรับคนพิการได้ดีที่สุดนั้น ก็คงจะต้องเป็นคนพิการหรือผู้รู้ที่ปฏิบัติ
งานเกี่ยวข้องกับคนพิการโดยตรง   ที่จะต้องร่วมกันวางแผนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับ
การจัดการศึกษา

แนวคิดบางประการที่จะนำเสนอเพื่อประกอบในการวางแผนจัดการศึกษาให้คน
พิการนี้ น่าจะเป็นส่วนที่จะช่วยเสริมให้การวางแผนดังกล่าวมีความรัดกุมและครอบคลุมมาก
ยิ่งขึ้น  ดังนี้
                3.1     การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ   ควรจะจัดควบคู่กับการฟื้นฟูสมรรถภาพ

ของคนพิการด้วย   เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของคนพิการ ให้มีความพร้อม และความ
สามารถ        ในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ดังนั้น     นอกจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการศึกษาโดยตรง   ซึ่งประกอบด้วยครู/อาจารย์   เป็นส่วนใหญ่แล้ว   จะมีบุคลากรอื่นๆ    
ที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้อง อันประกอบด้วย พยาบาลประจำโรงเรียน แพทย์   นักกายภาพ
บำบัด นักกายอุปกรณ์เสริมและเทียม   นักจิตวิทยา ที่ปรึกษาด้านอาชีพ เป็นต้น บุคลากรกลุ่ม
หลังที่กล่าวมานี้ จะช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยตรง   ซึ่งการจัดการศึกษาสำหรับ
คนพิการจะต้องประสานสัมพันธ์กับบุคลากรเหล่านี้อย่างใกล้ชิด
              3.2 การทำวิจัยเกี่ยวกับคนพิการของประเทศไทยในขณะนี้ยังมีค่อนข้างน้อยและไม่

แพร่หลายเท่าที่ควร   ดังนั้น   เป็นสาเหตุหนึ่งของการขาดข้อมูลที่สำคัญในการวางแผนจัดการ
ศึกษา     สำหรับคนพิการให้ได้ประโยชน์สูงสุด       หากจะนำผลการวิจัยเกี่ยวกับคนพิการของ
ต่างประเทศมาใช้ในการวางแผนของเรา ก็คงจะไม่เหมาะสมกับคนพิการในประเทศไทย ใน
หลาย ๆ ประการด้วยกัน   ดังนั้น     การสนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับความพิการของคนไทย   
จึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนอย่างเป็นรูปธรรม
              3.3 ความพิการที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางการศึกษาของเด็กนักเรียนนั้น     จะมี

ด้วยกันหลายประเภทด้วยกัน   เช่น ความพิการด้านสติปัญญา    ด้านการพูด    ด้านการได้ยิน    
ด้านการมองเห็น     ด้านร่างกาย และสุขภาพเป็นต้น    ความพิการในแต่ละประเภท     มีความ
ต้องการที่จะได้รับการสนับสนุนและจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน    ดังนั้น   การวางแผนเพื่อจัด
การศึกษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้คนพิการนั้นจะต้องวางแผนให้ครอบคลุมกับความพิการ
ในทุกประเภทด้วย
            3.4 สื่อและอุปกรณ์ช่วยในการเรียนรู้ของคนพิการ   เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเร่งด่วน

ที่จะต้องพัฒนาและจัดหาให้เพียงพอสำหรับการเรียนการสอน     เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะช่วย
เสริมการเรียนรู้ของคนพิการเป็นอย่างมาก       และในขณะนี้สื่อประเภทโทรทัศน        วิทยุ 
คอมพิวเตอร์   ระบบ Multi-Media และระบบเครือข่าย Internet     ได้เข้ามามีบทบาทช่วยใน
การเรียนรู้ของคนพิการได้เป็นอย่างดีได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย          แต่สิ่งที่จะต้อง
พัฒนาควบคู่กับการนำสื่อเหล่านั้นมาใช้นั้นก็คือ การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับช่วยการเรียน
การสอนคนพิการผ่านสื่อดังกล่าว เช่น  โปรแกรม CAI  และ Talking book ฯลฯ ซึ่งในขณะนี้
ยังมีไม่แพร่หลาย    ไม่ครอบคลุมในทุกประเภทความพิการ    ไม่ครบถ้วนตามสาขาวิชา และ
ระดับการศึกษา  
               3.5   การแนะแนวอาชีพและการหางานให้คนพิการทำหลังจากสำเร็จการศึกษา

นั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สถานศึกษาจะต้องให้ความสำคัญ     ครูแนะแนวของสถานศึกษาจะต้อง
ประสานสัมพันธ์กับสถานประกอบการและตลาดแรงงานในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด   เพื่อติดต่อ
ประสานงานช่วยการมีงานทำของคนพิการ   ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยการมีงาน
ทำของคนพิการนั้นคือ        ความชัดเจนของกฎหมายที่จะให้สิทธิประโยชน์และบังคับสถาน
ประกอบให้รับคนพิการเข้าปฏิบัติงานตามสัดส่วนของคนงานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมาย 
เหล่านี้จะต้องมีความชัดเจนและมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด
               3.6      การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการให้คนพิการ   เช่น   ทางลาดสำหรับ

รถเข็น    ลิฟต์และห้องน้ำสำหรับคนพิการ   รถโดยสารและที่ขึ้นรถโดยสารรวมทั้งเสียงบอก
สถานที่ขึ้นลงรถ เป็นต้น     สิ่งเหล่านี้ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและ
เอกชนจัดทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นในหน่วยงาน โดยเฉพาะสถานศึกษาที่จัดให้เด็กพิการเรียนร่วม
กับเด็กปกติซึ่งในขณะนี้มีสถานศึกษาประเภทนี้มากขึ้น การจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สถาน
ศึกษาเหล่านี้   ได้จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ เป็นสิ่งที่ควรได้รับการสนับสนุน
เป็นอย่างยิ่ง
                3.7 ศูนย์นันทนาการสำหรับคนพิการและคนไม่พิการควรมีการจัดตั้งให้กระจาย

ในทุกชุมชน   เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการและผู้คนในชุมชนได้พบปะสังสรรค์   แลกเปลี่ยน
ความรู้ ช่วยเหลือและแก้ปัญหาของกันและกันได้เป็นอย่างด ี  และการวางแผนเพื่อจัดการ
ศึกษาให้คนพิการนั้นควรจะดำเนินการให้ครอบคลุมทั่วถึงทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

4.ข้อเสนอเพื่อพิจารณา
   ข้อเสนอเพื่อพิจารณาที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของ
คนพิการและคนปกติ ที่ได้จากการจัดทำประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปัจจุบัน    ซึ่งจัดโดยกระทรวงศึกษาธิการและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของ
คนพิการนั้น มีข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนเป็นอย่างมาก     ข้อมูล
ดังกล่าวนี้มีเป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นการทำประชาพิจารณ์ได้จัดทำทั่วประเทศมากกว่า   
200  ครั้งด้วยกัน   ซึ่งจะขอสรุปนำเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
คนพิการ ดังนี้
                     4.1   เด็กพิการ ควรได้รับสิทธิเท่าเทียมและเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ
                     4.2 นักเรียนหูหนวก ควรได้รับสิทธิ ดังต่อไปนี้
                            
arrow-t1.gif (221 bytes)  มีคนช่วยจดคำบรรยาย
                            
arrow-t1.gif (221 bytes)   ได้รับเครื่องช่วยในการฟัง
                            
arrow-t1.gif (221 bytes)   ได้นั่งแถวหน้าเพื่ออ่านปากครูได้
                            
arrow-t1.gif (221 bytes)   ได้ดูภาษามือจากทีวีการศึกษา
                            
arrow-t1.gif (221 bytes)    มีผู้ช่วยสอนพิเศษ
                            
arrow-t1.gif (221 bytes)  ได้รับการศึกษาขั้นสูงสุด
                     4.3   ควรให้ผู้ปกครอง บิดามารดาของเด็กพิการ   หรือเด็กที่มีความสามารถ

พิเศษจัดการศึกษาสำหรับบุตรของตนได้     โดยได้รับการสนับสนุนสงเคราะห์จากรัฐใน
กรณีครอบครัวนั้น ๆ ขาดแคลนทุนทรัพย์
                    4.4   ควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ   สำหรับการศึกษาคนพิการ การ      

พัฒนาครูสอนคนพิการ   การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และสื่อสำหรับการศึกษาของคน
พิการ
                   4.5   ควรให้สิทธิ   และส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาแก่คนพิการ ซึ่งเป็นผู้ด้อย

โอกาส   ซึ่งอยู่ในชนบทให้ทัดเทียมกับคนพิการที่อยู่ในเมือง
                   4.6 คนพิการควรได้รับสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐาน   12 ปี   เช่นเดียวกับบุคคล

ทั่วไป
                   4.7 ควรจัดการศึกษาให้คนพิการโดยคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อ

การจัดการเรียนการสอนและศักยภาพของผู้เรียน
                   4.8 สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเพื่อคนพิการควร   ได้รับการพิจารณา

จัดสรรงบประมาณเป็นการพิเศษความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่นำเสนอนี้เป็นเพียงส่วน
หนึ่งจากที่ได้รับในการจัดทำประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั่วประเทศ   
จากความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเหล่านี้   น่าจะมีส่วนช่วยให้วิสัยทัศน์   ของนักวางแผนการ
ศึกษาเพื่อคนพิการมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
               โดยสรุป  การจัดการศึกษา   เพื่อคนพิการในปัจจุบันนี้     เป็นเรื่องสำคัญและ จำเป็นซึ่งได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมาก    การพัฒนาการศึกษาเพื่อคนพิการจะ เริ่มมีการพัฒนาเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแล้วในขณะนี้  และพร้อมที่ จะประกาศเป็นกฎหมายได้ทันที หลังจากที่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการไว้ชัดเจนมากใน  หมวด 2   เรื่อง สิทธิ และหน้าที่ทางการศึกษา มาตราที่ 10  มีกล่าวดังนี้                "การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา    อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้  หรือมีร่างกายพิการ  หรือทุพพลภาพ  หรือบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส    ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ     การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง  ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ  โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก   สื่อ   บริการ    และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา  ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง"                การวางแผนและการจัดทำโครงการเพื่อจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ     มีความ สำคัญมาก และเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน และมีข้อจำกัดมากกว่าการวางแผนการศึกษา โดยทั่วๆ ไป        การศึกษาจะต้องช่วยให้คนพิการสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด    สังคมจะต้องเปลี่ยนแนวความคิดและมุมมองที่รับรู้ในอดีตว่าคนพิการ เป็นคนที่มีความทุกข์ จะต้องได้รับการช่วยเหลือตลอดเวลานั้น    เรื่องเหล่านี้ได้เปลี่ยนไป แล้ว  สังคมจะต้องมีมุมมองสำหรับคนพิการใหม่ว่า  คนพิการเป็นผู้ที่มีความสามารถพัฒนา ศักยภาพของตัวเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคม  และสังคมควรจะชื่นชมในการพัฒนาศักยภาพ ของเขาด้วย    ดังนั้น   หากสังคม   รัฐบาล  มูลนิธิ  และเอกชน สนับสนุน รวมทั้งเปิดโอกาส ทางการศึกษา การฝึกฝนอบรม ให้อย่างจริงจัง  ผู้พิการดังกล่าวก็จะสามารถช่วยเหลือส่วน 
 


เข้าชม : 409