[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก
เครือข่ายที่ประสานกิจกรรมและจัดกิจกรรมทีวัด
 

วัดท่าเกวียน ตั้งอยู่เลขที่ ๔๑๕ ถนนพนมพัฒนา หมู่ ๑ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าอาวาส      พระครูศรีวุฒิกร (ณัฏฐวุฒิ) ป.ธ.๔

โทรศัพท์        -๓๘๘๓-๘๕๗๐

·  วัดหนองรี

 

วัดหนองรี ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๕ บ้านหนองรี ถนนพนม-ท่าลาด หมู่ ๑ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

เจ้าอาวาส      พระครูสังวรธรรมรักษ์ (สำรวย)

โทรศัพท์        -๓๘๕๕-๑๕๔๒

ศาสนสถาน

วัดเชียงใต้ (วัดศรีพรหม)

 

วัดเชียงใต้ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๗ บ้านเชียงใต้ ถนนพนมสารคาม-บางคล้า หมู่ ๓ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๗ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือจดถนนสายพนมสารคาม-บางคล้า ทิศใต้จดคลองท่าลาด ทิศตะวันออกจดที่สาธารณะ ทิศตะวันตกจดคูน้ำสาธารณะ วัดเชียงใต้ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ ประวัติของวัดทราบจากคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่า ชาวบ้านเชียงใต้ ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว ในสมัยที่พระยาจักรี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ และได้กวาดต้อนผู้คนมาด้วย เมื่อชาวบ้านได้ตั้งหมู่บ้านขึ้น จึงได้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นวัดประจำหมู่บ้าน และมีพระไม้ จำนวน ๒ องค์ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร

ปูชณียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น พระไม้พุทธศิลป์ทรงลาวที่นำมาจากประเทศลาว เมื่อคราวอพยพ ศาลเชื้อบ้าน

พระอุโบสถหลังเก่าสร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๗ เป็นสถาปัตยกรรมแบบลาว มีขนาดเล็กรูปทรงเตี้ยแจ้ มีหลังคาซ้อนลดหลั่นลงมา ๒ ชั้น ผนังก่ออิฐโบกปูนตลอด เจาะช่องแสงสว่างน้อย มีหน้าต่างด้านละ ๒ ช่อง ด้านหลังพระอุโบสถไม่มีประตู เดิมมีจิตกรรมฝาผนัง แต่ถูกฉาบปูนทับในคราวปฏิสังขรณ์ เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๔ แต่ยังพอมองเห็นภาพ ม้า ควาย และคน ซึ่งอาจจะเล่าเรื่องการอพยพของชาวลาวก็เป็นได้

เจ้าอาวาส      พระครูปภาภรธรรมโชติ

โทรศัพท์        ๐-๓๘๕๕-๒๑๐๐

วัดเตาเหล็ก

 

วัดเตาเหล็ก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๙ บ้านเตาเหล็ก หมู่ ๓ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๗๖ ตารางวา

วัดเตาเหล็ก ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ เดิมชื่อวัด ศรีธาตุ เริ่มสร้างเมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ ซึ่งนับว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในคุ้งน้ำท่าลาดและเป็นสถานที่ดื่มน้ำพระพิพัฒนสัตยา มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ชาวบ้านได้อพยพมาจากบ้านล้านช้าง ที่เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อตั้งบ้านเรือนเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้นพระพุทธรูป พระประธานประจำวัดก็ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์ ตอนที่อพยพมาตั้งหมู่บ้านซึ่งยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๙ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร

พระอุโบสถหลังเก่า สร้างโดยพระทสพลดลศรี เวียงวโรดม เป็นชาวเวียงในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ โดย นางสละ สมบูรณ์ทรัพย์ บริจาคเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท เหตุที่ต้องมีการบูรณะใหม่ เนื่องจากหลังคาที่เป็นสังกะสีแผ่นใหญ่เสียหายจึงต้องเปลี่ยนหลังคาเป็นสังกะสีแผ่นเล็ก แต่ก็ยังต้องเป็นสังกะสีเก่าเมื่อ พ.ศ ๒๓๖๗

ปูชนียวัตถุภายในวัดมีหลายจุด อาทิเช่น พระอุโบสถหลังเก่า, สิงห์บันไดหน้าพระอุโบสถ, จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ, กุฏิธรรมสังเวชของ พระอธิการสบู่ อิสโร ที่มรณภาพแล้ว ร่างกายไม่เน่าเปื่อย

เจ้าอาวาส      พระครูสถิตญาณคุณ (พิทักษ์)

โทรศัพท์        -๓๘๕๕-๒๐๙๙

วัดท่าเกวียน

 

วัดท่าเกวียน ตั้งอยู่เลขที่ ๔๑๕ ถนนพนมพัฒนา หมู่ ๑ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๒ งาน ๒๒ ตารางวา มีธรณีสงฆ์ จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ ๕๑ ไร่ ๑ งาน ๔๐ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๕๖๕๐ และ ๔๒๐๗ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๔๑ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น กุฏิสงฆ์จำนวน ๑๓ หลัง เป็นอาคารไม้ ๔ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ หลัง และตึก ๗ หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๓ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง สร้างด้วยไม้ ๒ หลัง

วัดท่าเกวียน ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ เกษตรกร รวมตัวกันสร้างวัดนี้ขึ้น เนื่องจากในสมัยนั้นชาวบ้านได้นำผลผลิตทางการเกษตรออกจากป่าโดยใช้เกวียนบรรทุกมาลงเรือเพื่อลำเลียงไปขายยังกรุงเทพมหานคร บริเวณที่สร้างวัดเป็นพื้นที่ราบ จึงเป็นที่พักเกวียน และในบางครั้ง ผลผลิตไม่สามารถขนลงเรือได้ทันก็ต้องนอนพักแรมในบริเวณนี้ เห็นว่าไม่สะดวกจึงคิดจะสร้างวัดขึ้นในขั้นแรกได้สร้างกุฏิ เสนาสนะต่างๆ ขึ้น เพื่อพระภิกษุสงฆ์มาอยู่จำพรรษาได้ และรวมกันพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นวัดสมบูรณ์ เรียกชื่อว่าวัดท่าเกวียนตามสถานที่ ชุมชนเกิดขึ้นภายหลังซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า ตลาดท่าเกวียน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๐ เมตร เปิดสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๕ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญเปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อพ.ศ. ๒๕๒๐

เจ้าอาวาส      พระครูศรีวุฒิกร (ณัฏฐวุฒิ) ป.ธ.๔

โทรศัพท์        -๓๘๘๓-๘๕๗๐

วัดมหาเจดีย์

 

ตั้งอยู่หมู่ ๓ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวบ้านเรียก วัดหลวงพ่อก้อย เดิมมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและวัตถุมงคลที่มีค่าที่ผู้อพยพจากลาวในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนำติดตัวมา ซึ่งประกอบด้วยพระพุทธรูปทองคำ พระบรมสารีริกธาตุและอัญมณีอีกจำนวนมาก จึงสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุวัตถุมีค่าดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าสิ่งของเหล่านั้นสูญหาย สาเหตุที่จะเป็นวัดสืบเนื่องมาจากเจ้าคุณอาญาน้อย เจ้าอาวาสวัดศรีธาตุ (วัดเตาเหล็ก) ในขณะนั้นเป็นผู้เคร่งในพระธรรมวินัย เห็นว่าวัดศรีธาตุขาดความสงบเนื่องจากใกล้หมู่บ้าน จึงมาสร้างกุฏิถือครองที่ลานดอนเจดีย์แห่งนี้ ชาวบ้านจึงมาช่วยกันสร้างกุฏิถวายท่านและเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดกุฏิครอง ต่อมาสมัยพระสมุห์ก้อย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลพนมและเป็นอุปัชฌาย์ได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็นวัดมหาเจดีย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ พระสมุห์ก้อยได้นำพระในอำเภอพนมสารคามมาเจริญพระพุทธมนต์และสวดคาถาปลาช่อน เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่มีหนอนระบาดกัดกินต้นกล้าในนา เกิดน้ำท่วมหนอนลอย ฝูงนกมาจิกกินหนอน ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่าหลวงพ่อก้อย เมื่อหลวงพ่อมรณภาพได้มีการสร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ และพระว่านจัมปาศักดิ์เป็นจำนวนมาก พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยังคงอยู่ที่วัดมหาเจดีย์จนทุกวันนี้ ส่วนพระว่านจัมปาศักดิ์ได้แจกจ่ายให้แก่ผู้บูรณะวัดไปจนหมดสิ้น ต่อมาเมื่อพระอุโบสถหลังเดิมชำรุดทรุดโทรมได้มีการสร้างพระอุโบสถในที่เดิม รูปแบบของพระอุโบสถเป็นแบบล้านช้าง เป็นสถาปัตยกรรมแบบลาว

เจ้าอาวาส      พระอธิการสว่าง สุขชาโต

โทรศัพท์        -๓๘๕๕-๑๖๙๘

วัดเมืองกาย

 

วัดเมืองกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๕๘ บ้านเมืองกาย ถนนพนมสารคาม-บางคล้า หมู่ ๒ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัดมีเนื้อที่ ๒๔ ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน วัดเมืองกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ สันนิษฐานว่าผู้สร้างวัด คือ ชาวเวียงจันทน์ ที่ได้อพยพมาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะพระอุโบสถหลังเก่า เดิมเป็นศิลปะทางเวียงจันทน์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ พุทธประวัติเวสสันดรชาดกและอดีตพระพุทธเจ้า จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถยังสอดแทรกภาพของวิถีชีวิตแต่เก่าก่อนอยู่ร่วมกับเรื่องราวในพระพุทธศาสนา อย่างกลมกลืน ถือว่าเป็นภาพบันทึกทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่สำคัญของพนมสารคาม ได้มีการปฏิสังขรณ์ถึง ๒ ครั้ง เดิมมีเนื้อที่เพียง ๒ ไร่เศษ ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ ๒๔ ไร่ โดยมีผู้มีจิตศรัทธา ถวายที่ดินเพิ่มเติมให้วัด

ปูชนียวัตถุมีหลายจุดเช่น ลายจำหลักไม้หน้าบันพระอุโบสถหลังเก่าทั้งด้านหน้าและด้านหลัง พระอุโบสถหลังเก่ามีจิตรกรรมฝาผนังรอบด้าน

เจ้าอาวาส      พระอธิการบูญจันทร์ ชุติธมโม

โทรศัพท์        -๓๘๘๓-๙๑๕๘

วัดเจริญสถาพร (ราชฮ้วง)

 

วัดราชฮ้วง ตั้งอยู่ที่บ้านราชฮ้วง หมู่ ๓ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๓๙ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือจดคลองท่าลาด ทิศใต้จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออก จดถนนราชสราญ ทิศตะวันออก จดคลองสาธารณะ วัดราชฮ้วง ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗

รายละเอียดที่น่ารู้เกี่ยวกับเสนาสนะภายในวัด อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช

เจ้าอาวาส      พระสังฒรักษ์บุญเหลือ

โทรศัพท์        -๓๘๘๓-๘๘๔๒

วัดหนองรี

 

วัดหนองรี ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๕ บ้านหนองรี ถนนพนม-ท่าลาด หมู่ ๑ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร มีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒๐ ตารางวา ธรณีสงฆ์ จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๑ ไร่

รายละเอียดที่น่ารู้เกี่ยวกับเสนาสนะภายในวัด

- พระอุโบสถ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

- ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นอาคารไม้ทรงไทย

- หอสวดมนต์ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นอาคารไม้ทรงไทย

- กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง เป็นอาคารไม้ ๓ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑ หลัง

- ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

เจ้าอาวาส      พระครูสังวรธรรมรักษ์ (สำรวย)

โทรศัพท์        -๓๘๕๕-๑๕๔๒



เข้าชม : 1741
 


กศน.ตำบลพนมสารคาม  อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา  24120
โทรศัพท์ 094-4931150  E-mail : kids1999@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin