BEST PRACTICE
การถอดบทเรียนความสำเร็จในการฝึกอาชีพประชาชน สู่การเป็นวิทยากรสอนอาชีพ
นางสาวกนกอร กุลประเสริฐ
จากผู้เรียนพัฒนาสู่การเป็นวิทยากรสอนอาชีพ
จัดทำโดย
นางสาวสมคิด วุฒิศาสตร์
กศน.ตำบลพนมสารคาม
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพนมสารคาม
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
BEST PRACTICE
เรื่อง นางสาวกนกอร กุลประเสริฐ จากผู้เรียนพัฒนาสู่การเป็นวิทยากรสอนอาชีพ
ความเป็นมาของโครงการ
จากนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ภารกิจต่อเนื่อง การศึกษาต่อเนื่อง 1. จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทำในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมคหกรรม และอาชีพเฉพาะทาง หรือการบริการ รวมถึงการเน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีหนึ่งอาชีพเด่น หนึ่งศูนย์ฝึกอาชีพ รวมทั้งให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โครงการศูนย์ฝักอาชีพชุมชน เป็นโครงการการศึกษาต่อเนื่องที่มีการจัดเงินงบประมาณมาสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้เป้าหมาย จำนวน 15 คนกศน.ตำบลบางตีนเป็ดจึงได้นำการฝึกอาชีพต่างๆ ไปจัดดำเนินการสอนอาชีพที่ประชาชนมีความสนใจ เช่น การสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก นอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนในการฝึกอาชีพระยะสั้นรูปแบบกลุ่มสนใจอีกหลายหลักสูตร เช่น การทำสบู่สมุนไพร การตกแต่งหมวกแฟนซี การเย็บถุงผ้าลดโลกร้อน การทำผ้ามัดย้อม การทำพวงมาลัยกุญแจ เป็นต้น จากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการต่างๆนั้น ประชาชนก็ให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมในทุกครั้งที่มีการจัดโครงการ จึงทำให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ เกิดความสามัคคีในกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ และก็มีแนวคิดรวมกันว่าน่าจะจัดตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อหารรายได้เสริมให้กับครอบครัวและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
นางสาวกนกอร กุลประเสริฐ เป็นประชาชน หมู่ที่ ๓ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมโครงการสานตะกร้าเส้นพลาสติก มีความเข้าใจในการสานตะกร้าและสามารถสอนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่เข้าใจในการสานได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ยอมรับของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนั้น จึงทำให้ทุกคนเกิดความคิดในการพัฒนารูปแบบ และเรียนอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น ตะกร้าเชือกมัดฟาง การปักริบบิ้น เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบและตกแต่งผลิตภัณฑ์ โดยนางสาวกนกอร กุลประเสริฐ เริ่มจากการสอนแบบต่างๆ และพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ให้กับกลุ่ม และเป็นวิทยากรให้กับกศน.อำเภออื่น เช่น กศน.อำเภอราชสาส์น กศน.อำเภอสนามชัยเขต กศน.อำเภอแปลงยาว นอกจากการสานตะกร้าเส้นพลาสติกแล้วก็ยังหาอาชีพใหม่ๆ มาเพิ่มความรู้ให้กับกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มสามารถทำอาชีพที่มีสินค้าที่หลากหลาย และรับเป็นวิทยากรให้กับพื้นที่ใกล้เคียง จึงทำให้นางสาวกนกอร กุลประเสริฐ ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับความรู้จากการฝึกอาชีพจาก กศน.ตำบลพนมสารคาม เป็นผู้ที่มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลอื่นได้ด้วยความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว
ขั้นตอนการคำเนินงานจัดกลุ่มอาชีพ
1. การรวมกลุ่มผู้เรียน คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการอาชีพเดียวกัน ได้กลุ่มผู้เรียนที่ต้องการเรียนและมีความสนใจการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก
2. ประสานสถานที่เรียน และรับสมัครผู้เรียน
3. ขออนุมัติหลักสูตร
4. แต่งตั้งวิทยากร
5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
6. การวัดและประเมินผลผู้เรียนโดยดูจากชิ้นงาน
7. การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก
2. การคัดเลือกเส้นพลาสติก สีที่ชอบ
3. การบรรยายและสาธิตการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติกลวดลายต่างๆ
4. การคัดเลือกผู้เรียนที่มีผลงานดีเด่นของกลุ่ม ผลงานได้รับการยอมรับจากสมาชิกกลุ่มของกลุ่มตะกร้าสานจากเส้น พลาสติกมีความคิดเห็นรวมกันว่าจะจัดกลุ่มขึ้นโดยให้นางสาวกนกอร กุลประเสริฐ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและเข้าใจในวิธีการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติกเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการขายและการตลาดด้วยปัจจุบันตะกร้าสานเส้นพลาสติก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อขายในชุมชน
5. การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ได้รับการพัฒนาต่อยอดในการทำกระเป๋าสานเส้นพลาสติกเดคูพาด การต่อยอดการทำซับกระเป๋าสานเส้นพลาสติก การทำสบู่ฝังลาย การทำกระเป๋าย้อมคราม การทำผ้ามัดย้อม การทำผ้าบาติก การทำตะกร้าด้วยเชือกมัดฟาง
6. การเผยแพร่องค์ความรู้นางสาวกนกอร กุลประเสริฐ ได้รับความรู้จาก วิทยากรที่มาให้ความรู้เรื่องการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก ที่ กศน.ตำบลพนมสารคาม ตำบลบ้านซ่อง จัดโครงการ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากวิทยากร ไปถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดี เช่นได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้กับ กศน.อำเภอราชสาส์น กศน.อำเภอสนามชัยเขต กศน.อำเภอแปลงยาว เรื่องการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก เป็นวิทยากรการสอนการกรุผ้า
7. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
1. ครู
- นางสาวสมคิด วุฒิศาสตร์ ครู กศน.ตำบลพนมสารคาม ให้ความสนใจในการฝึกอาชีพกับประชาชนในตำบลหาวิชาที่ประชาชนมีความสนใจ และอาชีพที่หลากหลายที่สามารถนำมาสร้างรายได้ให้กับประชาชนในขุมชนที่สนใจในการหาอาชีพเพิ่มเติม
2. วิทยากร
- นางสาวกนกอร กุลประเสริฐ เป็นวิทยากรที่มาสอนการสานตะกร้าจากเส้นพลาสติกที่ กศน.ตำบลพนมสารคาม เห็นความสามรถในการสอนและวิธีการคิดที่จะมาพัฒนาเป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดีเหมาะกับยุคสมัยของงานHand made
3. ภาคีเครือข่าย
4. หนังสือเชิญการเป็นวิทยากรโครงการต่างๆ
5. ช่องทางการติดต่อไปเป็นวิทยากร LINE Fagebook Website
6. การสร้างเพจ
- เข้าร่วม OOcc กศน.ตำบลพนมสารคาม
-
เข้าชม : 438 |