[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก

ประวัติตำบลพนมสารคาม

ข้อมูลทั่วไป

 

ประวัติความเป็นมา

ตำบลพนมสารคาม ชื่อเดิม คือ ตำบลท่าเกวียน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลพนมสารคาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เมื่อย้ายที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม มาตั้งที่ริมคลองท่าลาด ฝั่งตรงข้าววัดท่าเกวียน

ขอบเขตที่ตั้งละการปกครอง
ที่ตั้งและขนาด

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพนมสารคาม

ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม

ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอราชสาสน์

พื้นที่ของตำบลมีขนาดประมาณ ๑๐.๙๘ ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

 ตำบลพนมสารคาม มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม

สภาพเศรษฐกิจ

- เกษตรกรทั้งหมด ๒๑๒ ครอบครัว รายได้เฉลี่ย ๓๕,๐๐๐ บาท / ครอบครัว / ปี

- พื้นที่การเกษตรทั้งหมด ๕,๑๐๖ ไร่

- พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ผลผลิตเฉลี่ย ๕๐๐ ก.ก./ไร่

- ปัญหาดินเปรี้ยว แก้ไขโดยการใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน จัดตั้งศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน (ข้าวหอมมะลิ)

ขตการปกครอง ออกเป็นหมู่บ้านจำนวน ๓ หมู่บ้าน

หมู่ ๑ บ้านท่าเกวียน

หมู่บ้านท่าเกวียน เดิมเรียกว่า ท่าเกวียนเหตุที่เรียกเช่นนี้เนื่องจากบริเวณที่เป็นตลาดท่าเกวียนในปัจจุบันนี้แต่ก่อนเป็นป่าละเมาะเล็กๆริมคลองท่าลาด ตลอดแนวริมคลองส่วนใหญ่เป็นต้นไผ่ เฉพาะตรงบริเวณที่เป็นที่ตั้งตลาดท่าเกวียนเป็นป่าไผ่หย่อมๆ เป็นที่ลาดและราบริมคลอง ในขณะนั้นแรกๆ มีผู้อาศัยเพียง ๕-๖หลังคาเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่บนบกบ้างอาศัยแพอยู่ริมน้ำบ้าง หมู่บ้านเล็กๆนี้เป็นศูนย์รวมของเกวียนซึ่งเป็นพาหนะในสมัยนั้น ที่บรรทุกสินค้าจากท้องถิ่นต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อันได้แก่ ข้าวเปลือก พืชไร่ ของป่า เช่นไต้จุดไฟ น้ำมันยาง น้ำผึ้ง ฯลฯ จากโคกมอญ โคกปีบ ท่าประชุม ดงน้อย ฯลฯ ในแต่ละวันจะมีเกวียนบรรทุกสินค้ามาลงของที่ท่าเกวียนแห่งนี้นับเป็นร้อยๆเล่ม กล่าวกันว่าเสียงเกวียนที่มาจากทิศต่างๆดังอยู่ตลอดวันไม่ขาดสาย ซึ่งส่วนใหญ่จะออกจากบ้านบรรทุกสินค้ามาตั้งแต่เช้าก่อนสว่าง เมื่อขนถ่ายสินค้าทำการแลกเปลี่ยนเสร็จสรรพแล้ว ก็จะพักวัวควายเป็นเวลาพอสมควรจึงเริ่มออกเดินทางกลับบ้าน

ต่อมาประชากรเริ่มขยายมากขึ้นโดยมีพวกชาวจีนบ้าง ชาวลาวอพยพจากเวียงจันทน์บ้างทยอยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย ชาวจีนที่มาค้าขายทำมาหากินก็ตั้งถิ่นฐานร้านค้า ทำให้หมู่บ้านกลายเป็นตลาดมีสินค้ามากมายขยายวิวัฒนาการจากเดิมเป็นเพียงที่ลงของถ่ายสินค้า มาเป็นตลาดท่าเกวียนอันเป็นแหล่งชุมชนและย่านการค้าที่สำคัญของอำเภอพนมสารคามในปัจจุบัน

หมู่ ๒ บ้านเมืองกาย

บ้านเมืองกาย เป็นชื่อหมู่บ้านเก่าแก่ริมคลองท่าลาด ชาวบ้านดั้งเดิมอพยพมาจากเมืองพวน ประเทศลาว สมัยกบฎเจ้าอนุวงศ์ เมืองกาย เป็นชื่อดั้งเดิมจากเมืองพวน เมื่อมาตั้งหลักปักฐานก็นำชื่อเดิมมาเป็นชื่อหมู่บ้าน เพื่อเป็นการรำลึกถึงถิ่นฐานบ้านเดิม    

หมู่ ๓ บ้านเชียงใต้

ตั้งขึ้นเมื่อสมัยเวียงจันทน์แตก ประชาชนที่อพยพมาอยู่ที่นี่ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายลาวเวียงจันทน์ ชื่อของหมู่บ้านจึงใช้ชื่อเดิมที่มาจากเวียงจันทน์  ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะภูมิประเทศ

 ตำบลพนมสารคาม มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองท่าลาดเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญไหลผ่าน

 

พื้นที่

          ตำบลพนมสารคาม  มีพื้นที่ทั้งหมด  12,564 ไร่

          พื้นที่ทำนา  7,150 ไร่ 

          พื้นที่ทำไร่มันสำปะหลัง  76,928  ไร่ 

          พื้นที่ทำสวน  20,516  ไร่  (ทำสวนมะม่วง 13,976 ไร่,ยูคาลิปตัส  6,240  ไร่,ยางพารา  300  ไร่) 

          พื้นที่ทำการเกษตรผสมผสาน/ปลูกผัก,เกษตรทฤษฎีใหม่   520 ไร่   

  

 



เข้าชม : 2812
 


กศน.ตำบลพนมสารคาม  อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา  24120
โทรศัพท์ 094-4931150  E-mail : kids1999@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin