[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก

ใบความรู้โครงงาน


 การเรียนรู้แบบโครงงาน

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล

ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ

27เมษายน2560

1. ความสำคัญ

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการรู้หรือมีความสงสัยด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นวิธีเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม

การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้วิธีการหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน เช่น กระบวนการกลุ่ม การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การวิจัย ทั้งนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สนใจ โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้สอนจะส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ให้ได้ความรู้ที่สมบูรณ์จากความสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงการดังกล่าว

การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้การเรียนวิชาเลือกในแต่ละระดับ สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต(สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย,2553:17)

2. แนวคิด

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงตามหลักพัฒนาการคิดของบลูม(Bloom) ทั้ง 6 ขั้น คือ ความรู้ความจำ(Knowledge) ความเข้าใจ(Comprehension) การนำไปใช้(Application) การวิเคราะห์(Analysis) การสังเคราะห์(Synthesis) และการประเมินค่า (Evaluation) นอกจากนั้นยังเป็นการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญต่อผู้เรียนทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงาน โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

3. ความหมายของโครงงาน

โครงงาน หมายถึง แผนงานและกิจกรรมที่มีการกำหนดรูปแบบการทำงานอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานหรือผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตรและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้

4. ประเภทของโครงงาน

โครงงานแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1) ประเภทศึกษาทดลอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบทดลองหรือพิสูจน์ความจริงตามหลักวิชาการอย่างเป็นเหตุเป็นผลเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในสิ่งที่ต้องการรู้

2) ประเภทสำรวจข้อมูล เป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้น ๆ มาจำแนกเป็นหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนหรือพัฒนางานหรือปรับปรุงงาน

3) ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นการผลิตชิ้นงานใหม่และศึกษาคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประโยชน์และคุณค่าของชิ้นงานนั้น ๆ

4) ประเภทพัฒนาผลงาน เป็นการค้นคว้าหรือพัฒนาชิ้นงานให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นหรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

5. ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงาน

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงานมิได้อยู่ที่ผลผลิตหรือชิ้นงานที่ได้จากการทำโครงงาน แต่ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับคือกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า ทดลองและสรุปผลการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบโครงงาน ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ดังนี้

1) ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตามความถนัดและความสนใจ

2) ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเองหรือร่วมฝึกทักษะเป็นกลุ่ม

3) ผู้เรียนมีการทำงานเป็นระบบ

4) ผู้เรียนมีโอกาสในการพัฒนาความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์

5) ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทำงาน

6) ผลงานหรือชิ้นงานสามารถนำไปสู่การประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียนตามสภาพจริงได้

6. กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมี 3 ขั้นตอน คือ การเลือกโครงงาน การจัดทำโครงงาน และการเขียนรายงานโครงงาน

ขั้นตอนที่ 1 การเลือกโครงงาน

เป็นขั้นที่มีความสำคัญมาก ครูและผู้เรียนร่วมกันศึกษา สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ของรายวิชาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพปัญหาของชุมชน ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน นำมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจเลือกโครงงานและกำหนดหัวข้อโครงงาน โดยวิเคราะห์ 3 ด้านคือ

1)ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

2)ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

3) ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาการ

จากตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกโครงงาน ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกโครงงาน

โครงงานที่ 1. ……………………………………………………………………………………………

โครงงานที่ 2 ……………………………………………………………………………………………

โครงงานที่ 3 ……………………………………………………………………………………………

ที่

 

รายการ

 

 

 

โครงงานที่ 1

        คะแนน

โครงงานที่ 2

      คะแนน

โครงงานที่ 3

      คะแนน

4

3

2

1

4

3

2

1

4

3

2

1

1

ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

1.ความสนใจและความถนัด

2.ความรู้และประสบการณ์เดิม

3.ความพร้อมด้านงบประมาณ

4.ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์

5.ความพร้อมด้านแรงงาน

6.ความพร้อมด้านเวลา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2

ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

1.เป็นโครงงานที่มีประโยชน์

2.มีผู้ให้การสนับสนุน

3.มีแหล่งวัสดุอุปกรณ์

4.มีแหล่งวิทยาการหรือแหล่งเรียนรู้

5.มีสถานที่ทำกิจกรรมโครงงานที่เหมาะสม

3

ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาการ

1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงาน

2.ขั้นตอนในการปฏิบัติโครงงานสามารถปฏิบัติได้

 

                                    รวม

 

 

 

 

ขั้นตอนการเลือกทำโครงงาน

1.วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกโครงงาน จากข้อมูลทั้ง 3 ด้าน คือ1)ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง 2)ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และ 3) ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาการ จากตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกโครงงาน

โดยให้มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

4 คะแนน หมายถึง   ระดับดีมาก

3       คะแนน หมายถึง    ระดับดี

2    คะแนน หมายถึง    ระดับปานกลาง

1   คะแนน หมายถึง  ระดับน้อย

2. เมื่อได้คะแนนแต่ละข้อของแต่ละโครงงานแล้ว ให้รวมคะแนนแต่ละ โครงงาน โครงงานใดได้คะแนนมากที่สุด ก็ให้เลือกโครงงานนั้น

ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำโครงงาน เมื่อผู้เรียนเลือกโครงงานได้แล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนการจัดทำโครงงาน ซึ่งประกอบด้วย การเขียนโครงงาน การขออนุมัติโครงงาน และลงมือปฏิบัติงาน

                              2.1 การเขียนโครงงาน

1) ชื่อโครงงาน ควรเขียนสั้น ๆ กระชับ ชัดเจน และสามารถสื่อความหมายได้ว่า ทำอะไร เช่น โครงงานการทำโคมไฟจากไม้ไผ่
2) หลักการและเหตุผล หรือความสำคัญของโครงงาน ควรเขียนสภาพและความต้องการของตนเองและชุมชน ปัญหาที่เกิด วิธีการแก้ปัญหา สภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น และประโยชน์ที่จะได้รับ
3) วัตถุประสงค์ ควรเขียนแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเขียนวัตถุประสงค์ ถ้ามีหลายวัตถุประสงค์ ควรเขียนเป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ
4) เป้าหมาย ควรระบุให้ชัดเจนว่าผลงานที่ได้ คืออะไร มีปริมาณเท่าใดและคุณภาพเป็นอย่างไร
5) วิธีดำเนินงาน เขียนเป็นรายละเอียดขั้นตอนของการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงงาน โดยเขียนเป็นแผนปฏิบัติงาน ประกอบด้วย หัวข้อ กิจกรรม ระยะเวลา สถานที่ ทรัพยากร/ปัจจัย

                                     6) สถานที่ดำเนินโครงงาน
7) ระยะเวลาการดำเนินโครงงานกำหนดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดดำเนินโครงงาน
8) งบประมาณ จัดทำรายละเอียด รายจ่ายที่จะต้องใช้ในการทำโครงงานทั้งหมด ซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ เป็นต้น
9) การติดตามและประเมินผล ต้องมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงงานทุกระยะ คือก่อนดำเนินการโครงงาน ระหว่างดำเนินการโครงงาน และหลังดำเนินการโครงงาน เพื่อดูแลและควบคุมการทำโครงงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ จะต้องเขียนระบุถึงวิธีการ เครื่องมือ ระยะเวลา ในการติดตามและประเมินผล
10) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ให้ระบุถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงงานเป็นทั้งผลที่ได้รับโดยตรงและผลพลอยได้หรือผลกระทบจากโครงงานที่เป็นผลในด้านดีที่คาดว่าจะได้รับนั้นจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
11) ผู้รับผิดชอบโครงงาน ระบุผู้เรียนที่เป็นเจ้าของโครงงานอาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
12) ที่ปรึกษา ที่ปรึกษาในการทำโครงงานของผู้เรียน อาจเป็นครูผู้สอน วิทยากรสอนเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งผู้เรียนจะต้องประสานงานกับผู้ที่จะมาเป็นที่ปรึกษาก่อนที่จะนำชื่อมาเขียนไว้ในโครงงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

         ตัวอย่างแบบฟอร์มเขียนเสนอโครงงาน

1.      ชื่อโครงงาน ..........................................................................................................................

2.      หลักการและเหตุผล ...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

3.      วัตถุประสงค์ .................................................................................................................................................................................................................................................................................................

4.      เป้าหมาย ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................

5.      วิธีดำเนินการ

ที่

           กิจกรรม

                     ปฏิทินปฏิบัติงานโครงงาน

     เดือน

      เดือน

     เดือน

      เดือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.      สถานที่ดำเนินโครงงาน

.................................................................................................................................................

7.      ระยะเวลาดำเนินโครงงาน

.................................................................................................................................................

8.      งบประมาณในการดำเนินการ

..................................................................................................................................................

9.      การติดตามและประเมินผล

1)     ก่อนดำเนินการ ...............................................................................................

2)     ระหว่างดำเนินการ.............................................................................................

3)     เสร็จสิ้นการดำเนินการ.....................................................................................

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

.................................................................................................................................................

11.ผู้รับผิดชอบโครงงาน

1)      …………………………………………………………………………..

2)      …………………………………………………………………………..

3)      …………………………………………………………………………..

12.  ที่ปรึกษาโครงงาน

1)      ………………………………………………………………………….

2)      ………………………………………………………………………….

 

2.2) การขออนุมัติโครงงาน ผู้เรียนต้องเขียนโครงงานและแผนปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม กรณีเป็นกลุ่มจำนวนสมาชิกในกลุ่มต้องเหมาะสมกับขนาดของโครงงาน เสนอต่อผู้สอนเพื่อให้ความเห็นชอบเบื้องต้น แล้วเสนอต่อหัวหน้าสถานศึกษาเพื่ออนุมัติ

 

ตัวอย่างแบบวิเคราะห์โครงงาน

                                                           แบบวิเคราะห์โครงงาน

ชื่อโครงงาน ........................................

ชื่อนักศึกษา ...................... ระดับ................ภาคเรียนที่ ............ กศน.อำเภอ.................................

คำชี้แจง  ให้ครู กศน.พิจารณาแบบเสนอโครงงานของ นักศึกษาในแต่ละขั้นตอนของการเขียนเพื่อเสนอโครงงาน ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในช่อง”รายการ” และเขียนความคิดเห็นของท่าน  ลงในช่อง ” ความคิดเห็น”

                                               รายการ

                                  ความคิดเห็น

1.องค์ประกอบแบบเสนอโครงงาน มีครบ12 หัวข้อ หรือไม่ 

 

2.ชื่อโครงงาน เขียนกระชับชัดเจนและสามารถสื่อความหมายหรือไม่

 

 

3.หลักการและเหตุผลหรือความสำคัญของโครงงาน

- เขียนแสดงถึงสภาพและความต้องการของตนเองและชุมชน ปัญหาที่เกิด วิธีการแก้ปัญหา สภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น และประโยชน์ที่จะได้รับ หรือไม่

 

 

4.วัตถุประสงค์

- เขียนถึงความต้องการที่จะทำโครงงานชัดเจนหรือไม่

- การเขียนวัตถุประสงค์ ถ้ามีหลายวัตถุประสงค์ เขียนเป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญหรือไม่

 

 

 

5.เป้าหมาย

- ระบุว่าผลงานที่ได้ คืออะไร มีปริมาณเท่าใดและคุณภาพเป็นอย่างไรหรือไม่

- มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือไม่

- มีความชัดเจนของการกำหนดกลุ่มเป้าหมายหรือไม่

- มีการระบุขอบเขตพื้นที่ดำเนินการหรือไม่

- มีการระบุจำนวนหน่วยนับหรือไม่

- มีความเป็นไปได้หรือไม่

 

 

6.วิธีดำเนินการ

- มีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานชัดเจนหรือไม่

- การกำหนดเวลาปฏิบัติงานหรือไม่

- ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่

- ความสอดคล้องกับเป้าหมายหรือไม่

- ความเป็นไปได้หรือไม่

 

7. สถานที่ดำเนินโครงงาน มีความเหมาะสม

 

 8. ระยะเวลาการดำเนินโครงงาน

-                   ระบุ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดดำเนินโครงงาน

 

9. งบประมาณในการดำเนินโครงงาน

- ระบุรายละเอียด รายจ่ายที่จะต้องใช้ในการทำโครงงานทั้งหมด ซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เป็นต้น

 

10.การติดตามและประเมินผล

- ระบุการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงงานทุกระยะ คือก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ

- ระบุถึงวิธีการ เครื่องมือ ระยะเวลา ในการติดตามและประเมินผล

 

 

 11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

- ระบุถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงงานเป็นทั้งผลที่ได้รับโดยตรงหรือผลกระทบ

- ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับสอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรือไม่

 

12. ผู้รับผิดชอบโครงงาน

- ระบุผู้เรียนที่เป็นเจ้าของโครงงานชัดเจนอาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม

 

 

13. ที่ปรึกษา

- ระบุที่ปรึกษาในการทำโครงงานชัดเจนหรือไม่ เช่นเป็นครูผู้สอน วิทยากรสอนเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

2.3) ปฏิบัติงาน เมื่อผู้เรียนได้รับอนุมัติให้ทำโครงงานแล้ว ให้ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้จนสำเร็จได้ผลงาน/ชิ้นงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ในระหว่างปฏิบัติงานผู้เรียนจะต้องบันทึกผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงงานต่อผู้สอนตามข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และครูผู้สอนจะต้องลงลายมือชื่อและให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะไว้เป็นหลักฐาน ในแบบบันทึกผลการปฏิบัติงานโครงงาน

 

ตัวอย่างแบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

โครงงาน…………………

ที่

กิจกรรม

ผลการปฏิบัติงาน

ปัญหา/อุปสรรคและการแก้ไข

ครูรับทราบ วัน/เดือน/ปี

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของครู

           
           
           
           

 

 

ขั้นตอนที่ 3 การเขียนรายงานโครงงาน

การเขียนรายงานโครงงานมีองค์ประกอบ ดังนี้ที่      กิจกรรม ผลการปฏิบัติงาน          ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข     ครูรับทราบ วัน/เดือน/ปี ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของครู

          1) ส่วนนำ ประกอบด้วย ปก คำนำ และสารบัญ
2) ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย

2.1) หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงงาน

 2.2)วิธีดำเนินงาน

ตอนที่ 1 การเตรียมการ

- การศึกษาค้นคว้า จากเอกสาร แบบเรียน ตำรา แหล่ง เรียนรู้ การสำรวจชุมชน และผู้รู้ ฯลฯ

-การเตรียมวัสดุอุปกรณ์

- บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน รายละเอียดเกี่ยวกับ จำนวนผู้ปฏิบัติงาน ความรู้ความสามารถ การแบ่งบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

ตอนที่ 2 การดำเนินงานได้แก่ขั้นตอนการทำโครงงานแต่ละขั้นตอน และวิธีการตรวจสอบความถูกต้อง

ตอนที่ 3 งบประมาณ แสดงค่าใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรม และค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของโครงงาน

ตอนที่ 4 ผลการดำเนินงาน เขียนสรุปว่าผลงาน/ชิ้นงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นต่อผลงานหรือชิ้นงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อผู้ที่ต้องการทำโครงงานลักษณะนี้ต่อไป

3) ภาคผนวก

โครงงาน

7. การประเมินโครงงาน

แนวทางการประเมินโครงงานโดยกำหนดกรอบในการประเมินแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 เอกสารเสนอโครงงาน
ส่วนที่ 2 กระบวนการทำงาน
ส่วนที่ 3 ผลงาน/ชิ้นงานและเอกสารรายงานโครงงาน

มีรายละเอียดดังนี้

รายการประเมิน

คะแนนเต็ม(ร้อยละ)

ส่วนที่ 1 เอกสารเสนอโครงงานประเมินความชัดเจน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในประเด็นต่อไปนี้

1) ชื่อโครงงาน

2)หลักการและเหตุผล
3)วัตถุประสงค์
4)เป้าหมาย
5) วิธีดำเนินการ

6) สถานที่ดำเนินโครงงาน

7) ระยะเวลาดำเนินโครงงาน

8) งบประมาณ

9) การติดตามและประเมินผล
10) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

11) ผู้รับผิดชอบโครงงาน
12) ที่ปรึกษาโครงงาน

20%

ส่วนที่ 2 กระบวนการทำงาน

ประเมินความเหมาะสมและประสิทธิภาพ ในประเด็นต่อไปนี้

-การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด
-การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม(กรณีเป็นงานกลุ่ม

- การขอคำแนะนำและปรึกษาที่ปรึกษาโครงงาน

- การบันทึกผลการปฏิบัติงานโครงงาน
-การนำเสนอความก้าวหน้า
-การติดตามและประเมินผล

40%

ส่วนที่ 3 ผลงาน/ชิ้นงานและเอกสารรายงานโครงงานมีประเด็นในการประเมิน ดังนี้

1.ผลงาน/ชิ้นงาน
- เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- คุณภาพของผลงาน/ชิ้นงาน
- ประโยชน์

2. เอกสารรายงานโครงงาน
- ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
- ความถูกต้องตามหลักวิชาการ
-การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม

40%



 

ตัวอย่างแบบประเมินส่วนที่ 1เอกสารโครงงาน

แบบประเมินเอกสารโครงงาน

ชื่อโครงงาน ........................................

ชื่อนักศึกษา ...................... ระดับ................ภาคเรียนที่ ............ กศน.อำเภอ.................................

คำชี้แจง  ให้ครู กศน.พิจารณาเอกสารโครงงานของ นักศึกษาในแต่ละขั้นตอนของการเขียนเพื่อเสนอโครงงาน ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในช่อง”รายการ” และประเมินโดยให้คะแนนเป็นรายข้อ และคะแนนรวม

ซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้

4 คะแนน หมายถึง    การปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก

3 คะแนน หมายถึง    การปฏิบัติอยู่ในระดับดี

2 คะแนน หมายถึง     การปฏิบัติอยู่ในระดับพอใช้

 1 คะแนน หมายถึง     การปฏิบัติอยู่ในระดับต้องปรับปรุง

 

 

 

 

รายการ

 คะแนน                  

 

   4

   3

2

1

 

1.

องค์ประกอบแบบเสนอโครงงานมีครบ12 หัวข้อ

 

 

 

 

 

2.

ชื่อโครงงาน เขียนกระชับชัดเจนและสามารถสื่อความหมาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.



 

หลักการและเหตุผลหรือความสำคัญของโครงงาน

เขียนแสดงถึงสภาพและความต้องการของตนเองและชุมชน ปัญหาที่เกิด วิธีการแก้ปัญหา สภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น และประโยชน์ที่จะได้รับ

 

 

 

 

 

 

4.

 



 

 

วัตถุประสงค์ การเขียนวัตถุประสงค์เขียนชัดเจน วัตถุประสงค์ที่มีหลายวัตถุประสงค์ เขียนเป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ

 

 

 

 

 

5

เป้าหมาย

- ระบุว่าผลงานที่ได้ โดยระบุปริมาณและคุณภาพ

- ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

- ความชัดเจนของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

- การระบุขอบเขตพื้นที่ดำเนินการ

- การระบุจำนวนหน่วยนับ

- ความเป็นไปได้หรือ

 

 

 

 

 

6

วิธีดำเนินการ

- กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานชัดเจน

- กำหนดเวลาปฏิบัติงาน

- สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

- สอดคล้องกับเป้าหมาย

- มีความเป็นไปได้

 

 

 

 

 

 

 

7

สถานที่ดำเนินโครงงาน มีความเหมาะสม

 

 

 

 

 

 

 

8

 

ระยะเวลาการดำเนินโครงงาน  ระบุ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดดำเนินโครงงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

9

 

งบประมาณในการดำเนินโครงงานระบุรายละเอียด รายจ่ายที่จะต้องใช้ในการทำโครงงานทั้งหมด ซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10

การติดตามและประเมินผล

- ระบุการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงงานทุกระยะ คือก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ

- ระบุถึงวิธีการ เครื่องมือ ระยะเวลา ในการติดตามและประเมินผล

 

 

 

 

 

 

 

 

11

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

- ระบุถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงงานเป็นทั้งผลที่ได้รับโดยตรงหรือผลกระทบ

- ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับสอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด

 

 

 

 

 

 

12

ผู้รับผิดชอบโครงงานระบุผู้เรียนที่เป็นเจ้าของโครงงานชัดเจนอาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

13

 

ที่ปรึกษา ระบุที่ปรึกษาในการทำโครงงานชัดเจน เช่นครูผู้สอน วิทยากรสอนเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

 

 

 

 

 

                                                                 รวมคะแนน

 

 

                         

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

ตัวอย่างแบบประเมินส่วนที่ 2

กระบวนการทำงาน

ระดับการศึกษา ........................... ภาคเรียนที่ ......................

กศน. ตำบล.........................กศน.อำเภอ ......................................... กศน. จังหวัด..................................

ชื่อโครงงาน .........................................................................................................

ชื่อผู้ทำโครงงาน .........................................................................................................

คำชี้แจง ให้พิจารณากระบวนการทำงานโครงงาน ของผู้เรียน แล้วทำเครื่องหมาย   ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน ซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้

4 คะแนน หมายถึง   การปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก

3 คะแนน หมายถึง    การปฏิบัติอยู่ในระดับดี

2 คะแนน หมายถึง     การปฏิบัติอยู่ในระดับพอใช้

 1 คะแนน หมายถึง  การปฏิบัติอยู่ในระดับต้องปรับปรุง

ที่

                        รายการ

                       คะแนน

                 ข้อเสนอแนะ

 

4

 

3

 

 2

 

     1

1

การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด

 

 

 

 

 

2

การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม(กรณีเป็นงานกลุ่ม)

 

 

 

 

 

 

3

การขอคำแนะนำปรึกษาจากที่ปรึกษาโครงงาน

 

 

 

 

 

4

การบันทึกผลการปฏิบัติงานโครงงาน

 

 

 

 

 

5

การนำเสนอความก้าวหน้า

 

 

 

 

 

6

การติดตามและประเมินผล

 

 

 

 

 

                            รวม

 

 

 

 

 

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

 

 

 

ตัวอย่างแบบประเมินส่วนที่ 3

ผลงาน/ชิ้นงานโครงงาน

ระดับการศึกษา ........................... ภาคเรียนที่ ......................

กศน. ตำบล.........................กศน.อำเภอ .........................................

กศน. จังหวัด..................................

ชื่อโครงงาน .........................................................................................................

ชื่อผู้ทำโครงงาน ...................................................................................................

คำชี้แจง ให้พิจารณาผลงาน/ชิ้นงานโครงงานแล้วทำเครื่องหมาย   ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้

4 คะแนน หมายถึง   ผลงานอยู่ในระดับดีมาก

3 คะแนน หมายถึง   ผลงานอยู่ในระดับดี

2 คะแนน หมายถึง   ผลงานอยู่ในระดับพอใช้

 1 คะแนน หมายถึง   ผลงานอยู่ในระดับต้องปรับปรุง

 

ที่

                        รายการ

คะแนน

                 ข้อเสนอแนะ

 

4

 

3

 

   2

 

     1

1

เป็นไปตามวัตถุประสงค์กำหนด

 

 

 

 

 

2

เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

 

 

 

 

 

3

มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 

 

 

 

 

4

คุณภาพของผลงาน/ชิ้นงาน ความสมบูรณ์ ประณีต สวยงาม

 

 

 

 

 

5

นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

 

 

 

 

 

                            รวม

 

 

 

 

 

 

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

 

 

 

 

 

ตัวอย่างแบบประเมินส่วนที่  3 เอกสารรายงานโครงงาน

ระดับการศึกษา ........................... ภาคเรียนที่ ......................

กศน. ตำบล.........................กศน.อำเภอ .........................................

กศน. จังหวัด..................................

ชื่อโครงงาน .........................................................................................................

ชื่อผู้ทำโครงงาน .........................................................................................................

คำชี้แจง ให้พิจารณาคุณภาพเอกสารโครงงานโดยพิจารณา ดังนี้ 1)ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ2) ความถูกต้องตามหลักวิชาการ3)การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม) แล้วทำเครื่องหมาย   ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน

ซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้

4 คะแนน หมายถึง คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

3 คะแนน หมายถึง   คุณภาพอยู่ในระดับดี

2 คะแนน หมายถึง   คุณภาพอยู่ในระดับพอใช้

 1 คะแนน หมายถึง   คุณภาพอยู่ในระดับต้องปรับปรุง

 

ที่

                        รายการ

             คะแนน

                 ข้อเสนอแนะ

 

4

 

3

 

   2

 

   1

1

ส่วนนำ

 

 

 

 

 

1.ปก

 

 

 

 

 

2 คำนำ

 

 

 

 

 

 

3 สารบัญ

 

 

 

 

 

2

 ส่วนเนื้อหา

 

 

 

 

 

 

1 หลักการและเหตุผล

 

 

 

 

 

2 วัตถุประสงค์

 

 

 

 

 

3 เป้าหมาย

 

 

 

 

 

4 วิธีดำเนินการ

 

 

 

 

 

5 งบประมาณที่ใช้

 

 

 

 

 

6 ระยะเวลาดำเนินการ

 

 

 

 

 

7 การติดตามและประเมินผล

 

 

 

 

 

ผลการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

3

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

                            รวม

 

 

 

 

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

7. บทบาทของผู้เรียนในการเรียนโครงงาน

              การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้การจัดการเรียนการสอนวิชาเลือกแต่ละระดับการศึกษา จะต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต

                แต่ในทุกสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระการเรียนรู้ คือ 1) สาระทักษะการเรียนรู้ 2) สาระความรู้พื้นฐาน 3)สาระการประกอบอาชีพ 4) สาระทักษะการดำเนินชีวิต และ 5) สาระการพัฒนาสังคม  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการทำโครงงานได้  โดยเลือกทำโครงงานตามความสามารถอาจจะเป็นโครงงานขนาดเล็กใช้เวลาเรียนตั้งแต่ 3- 10 ชั่วโมง หรือโครงงานขนาดกลาง ใช้เวลาเรียน 10 ชั่วโมงขึ้นไป การทำโครงงานอาจทำเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่มก็ได้ โดยผู้เรียนดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำโครงงานดังนี้

1.      การศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาสาระในรายวิชาแล้ว อาจเลือกเนื้อหาที่

ต้องการนำมาพัฒนาตนเอง หรือต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ก็จะหาข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเลือกหัวข้อโครงงาน โดยศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หรืออาจใช้วิธีการสำรวจข้อมูล ศึกษาเอกสาร รวบรวมจากข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  แล้วจดบันทึกไว้ ขั้นตอนนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การแสวงหาความรู้ การรวบรวมข้อมูล จะทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง  และถ้าเป็นการทำงานโครงงานแบบเป็นกลุ่ม ก็จะเป็นการฝึกให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่นอีกด้วย

แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะศึกษาหาข้อมูลได้ เช่น

1)     สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิทยุ โทรทัศน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2)     สื่อบุคคล เช่น ผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรธรรมชาติ  ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการแพทย์ทางเลือก และ ด้านอาชีพต่าง ๆ เป็นต้น

3)     สื่อสถานที่ เช่น สถานประกอบการ โบราณสถาน  วิสาหกิจชุมชน ห้องสมุดประชน สถานที่จัดนิทรรศการต่าง ๆ

การศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ หากผู้เรียนสนใจหัวข้อใดให้บันทึกข้อมูลด้านต่าง ๆ ไว้ 2-3 เรื่อง เพื่อศึกษาอย่างละเอียด เช่น

1)     สภาพ/ปัญหา ของสิ่งที่ศึกษามีลักษณะอย่างไร เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัวและสังคมอย่างไร

2)     การศึกษาในข้อ 1) เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

3)     ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ มีอะไรบ้าง

4)     แนวโน้มของเรื่องที่ศึกษามีความเป็นไปได้หรือไม่

2.     วิเคราะห์ข้อมูลประกอบการตัดสินเลือกโครงงาน

เมื่อผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลและบันทึกข้อมูลแล้ว ให้นำข้อมูลที่บันทึกไว้มาพิจารณา

ร่วมกัน เพื่อตัดสินใจเลือกโครงงานตามหัวข้อที่กำหนด โดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 3 ด้าน ดังนี้

1)     ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง คือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับความพร้อมของตนเองในด้านความสนใจและ

ความถนัด ความรู้และประสบการณ์เดิม ความพร้อมด้านงบประมาณ ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ ความพร้อมด้านแรงงาน และความพร้อมด้านเวลา เป็นต้น

2)     ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมเช่น ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม  การสนับสนุนจาก

บุคคลหรือหน่วยงาน แหล่งวัสดุอุปกรณ์  แหล่งวิทยาการ  แหล่งเรียนรู้  และ สถานที่ทำกิจกรรมโครงงาน  เป็นต้น               

3)     ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาการ เช่น ความรู้ความเข้าใจ

เกี่ยวกับการทำโครงงาน และขั้นตอนในการปฏิบัติโครงงานการเลือกทำโครงงาน ควรเลือกโครงงานที่ผู้เรียนสนใจและถนัดเพราะจะช่วยทำให้การทำโครงงานประสบความสำเร็จ

3.     ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อเตรียมวางแผนการทำงานและเขียน

โครงงานผู้เรียนเลือกโครงงานได้แล้ว ก่อนจะวางแผนการทำงานและเขียนโครงงาน ผู้เรียนจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำโครงงานเพิ่มเติม เพื่อให้มีความรู้มากพอที่จะนำมาทำโครงงานได้ การศึกษาข้อมูลในขั้นนี้จะต้องศึกษาอย่างะเอียด ยิ่งหาข้อมูลมากเท่าไรก็จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้มากขึ้น และจะทำให้การวางแผนการทำงานชัดเจนและมีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำโครงงาน

4.     การวางแผนทำงาน/เขียนโครงงานผู้เรียนศึกษาข้อมูลจนเข้าใจ

5.     ชัดเจนและมีข้อมูลความรู้มากเพียงพอแล้ว  ให้ผู้เรียนนำข้อมูล

เหล่านั้นมาประกอบการเขียนโครงงาน ตามแบบการเขียนโครงงาน แล้วนำเสนอครูผู้สอน เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ และนำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติต่อไป

6.     ปฏิบัติงานตามโครงงานเมื่อได้รับอนุมัติให้ทำโครงงานเสร็จ

เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาศึกษาโครงงานอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานตามโครงงาน จะช่วยให้เข้าใจขั้นตอนการทำงานมากยิ่งขึ้นและสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง โครงงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด และมีคุณภาพ

                    การเตรียมทำโครงงานผู้เรียนต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างละเอียด ผู้เรียนต้องร่วมกันวางแผนพร้อมทั้งกำหนดเวลาที่จะต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนทุกขั้นตอน

                   ขณะปฏิบัติงานต้องบันทึกการทำงานและมีการตรวจสอบการทำงานทุกขั้นตอน และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานก็ประเมินการทำงานแต่ละขั้นตอนอีกครั้งหากขั้นตอนใดมีปัญหาข้อผิดพลาดจะได้แก้ไขปรับปรุงงานให้มีคุณภาพตามที่กำหนดไว้

7.     การประเมินโครงงานการประเมินโครงงาน เป็นการประเมิน

เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเสร็จสิ้นโครงงานว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงงานหรือไม่ มีขั้นตอนใดที่ต้องปรับปรุง การประเมินผลโครงงานแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1)     การประเมินก่อนดำเนินโครงงาน เป็นการตรวจสอบความ

พร้อมของปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานตามที่วางแผนไว้

2)     การประเมินระหว่างดำเนินโครงงาน เป็นการประเมินระหว่างที่

ดำเนินการปฏิบัติงานเพื่อทราบความก้าวหน้าและแนวโน้มขอโครงงานที่ทำอยู่ว่าจะประสบความสำเร็จเพียงใด มีอุปสรรคและปัญหาอะไรหรือไม่ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไข

3)     การประเมินเมื่อเสร็จสิ้นโครงงาน เป็นการประเมินเพื่อหาข้อ

สรุปว่าการปฏิบัติโครงงานประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด การประเมินผลในขั้นนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่นร่วมกันอภิปรายและสรุปผลการทำโครงงาน  ใช้แบบประเมินโครงงาน  นำเสนอผลงานโครงงานและร่วมกันแสดงความคิดเห็นเป็นต้น

8.     บทบาทของครูในการสอนโครงงาน

การจัดการเรียนการสอนโครงงานให้บรรลุผล ครูผู้สอนควรมีบทบาทดังนี้

1)     ศึกษาหลักสูตร

2)     การจัดทำแผนการสอน

3)     การสำรวจแหล่งทรัพยากร

4)     การเตรียมแหล่งข้อมูล

5)     การจัดเตรียมสื่อการสอน

6)     การประเมินผล 

 

 

1.      ศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับหลักการ

จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา  วิเคราะห์หลักสูตร เพื่อวางแผนการสอน

โดยจัดแบ่งเนื้อหา กำหนดเวลา กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดการวัดผลและประเมินผล พร้อมทั้งวิธีเรียนวิธีสอน ดังนี้

1)     เนื้อหาง่ายให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง

2)     เนื้อหายากครูเป็นผู้สอน

3)     เนื้อหายากมากให้เรียนโดยการสอนเสริม

4)     เนื้อหาที่ลึกซึ้ง ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการทำโครงงาน

2.     จัดทำแผนการสอน จัดทำแผนการสอนรายสัปดาห์ ใน 1 ภาคเรียน

18 สัปดาห์ โดยคำนึงถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ละแผนการสอน สื่อประกอบการสอน เช่นรายการโทรทัศน์ ETVการให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนจากครู สอนเสริม เรียนรู้จากการทำโครงงาน การเรียนจากภูมิปัญญา การเรียนจากแหล่งเรียนรู้ และการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง และการใช้เวลาการพบกลุ่ม

3.     สำรวจแหล่งทรัพยากร  เช่น แหล่งความรู้ในชุมชน สถานที่ในการ

ฝึกปฏิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับให้คำแนะนำคำปรึกษาแก่ผู้เรียน  เพราะในการจัดการเรียนการสอนที่กำหนดให้ผู้เรียนทำโครงงานนั้นเป็นการฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานที่ผู้เรียนที่สนใจ  ครูควรทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา คอยแนะนำแหล่งข้อมูล แหล่งศึกษาค้นคว้า ครูจะต้องคอยช่วยเหลือและประสานงานสถานที่ที่ผู้เรียนจะไปศึกษาหรือปฏิบัติงานโครงงาน ดังนั้นถ้าครูสำรวจแหล่งทรัพยากรเตรียมไว้ก่อนสอนก็จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนราบรื่น

4.     การเตรียมแหล่งข้อมูลเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

การศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลด้วยตนเองเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เรียนทุกคนควรได้รับการฝึกฝนเนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีภาระการงาน มีเวลาจำกัดในการศึกษาค้นคว้านอกเวลาเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ครูผู้สอนอาจช่วยรวบรวมสื่อต่าง ๆ เช่นเอกสารสิ่งพิมพ์ สื่อวีดิทัศน์ ตัวอย่างโครงงาน ไว้ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

5.     การจัดเตรียมสื่อการสอน เช่น ใบความรู้ ใบงาน  แบบทดสอบ ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ฯลฯ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอน

6.     การประเมินผล เป็นการตรวจสอบและวินิจฉัยการทำโครงงานของผู้เรียน เช่นการวางแผนปฏิบัติงานโครงงาน  การดำเนินโครงงาน และภายหลังจากการทำงานเสร็จแล้ว โดยประเมินในภาพรวบ การประเมินมี 3 ส่วน ดังนี้

1)     ประเมินส่วนที่ 1เอกสารโครงงาน

2) ประเมินส่วนที่ 2 กระบวนการทำงาน

3) ประเมินส่วนที่ 3 ผลงานโครงงาน

       3.1)  ผลงาน/ชิ้นงานโครงงาน

3.2) เอกสารรายงานโครงงาน

 

.........................................................................................................

 

เอกสารอ้างอิง

1. กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน,(2541).คู่มือการจัดทำโครงงาน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2530.กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

2. กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน,(2543).แนวทางการจัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบ:ผู้เรียนสำคัญที่สุด.กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

3. ทิศนา แขมมณี การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง          โมเดล cippaกรุงเทพฯ วารสารหลักสูตรและการสอนสัมพันธ์ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 3 ฉบับที่ 2. 2541

4. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย,(2553).แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:รังสีการพิมพ์.

 

 
               
 
 
 
 
 


เข้าชม : 3835
 


กศน.ตำบลพนมสารคาม  อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา  24120
โทรศัพท์ 094-4931150  E-mail : kids1999@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin