ความสำคัญของการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกวุฒิสภา (สว.) นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อคนไทยทุกคนที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมโดยการสมัครเข้ารับเลือก สว. เข้าไปทำหน้าที่ในสภาสูงเป็นตัวแทนของประชาชนคนไทย ในการตรากฎหมายเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ และคัดกรองบุคคลนักการเมืองหรือคนดีทำงานในองค์กรสำคัญต่างๆ ให้สามารถพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้
หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
- พิจารณาและกลั่นกรองกฎหมาย พิจารณาและกลั่นกรองพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
- ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งกระทู้ถาม เปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาหรือที่ประชุมรัฐสภา การตั้งกรรมาธิการ
- ให้คำแนะนำหรือความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น
คุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ภายใต้ของพรรคการเมืองใดๆ โดยมีคุณสมบัติดังนี้
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือก
- มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่าสิบปี ยกเว้น ผู้สมัครในกลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธ์ุ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น
- ผู้สมัครต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก
(ข) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า สองปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
(ค) ทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
(ง) เคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี
(จ) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า สองปีการศึกษา
ลักษณะต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภา
- ติดยาเสพติดให้โทษ
- เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
- เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ
- เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกต้ังไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
- วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
- ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
- เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกในระดับอำเภอ เว้นแต่ ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
- เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือ ต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือ หรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
- เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
- อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
- เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
- เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการเสนอ การแปรญัตติ หรือ การกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย
- เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
- เป็นข้าราชการ
- เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่ ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
- เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
- เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง เว้นแต่ ได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
- เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่ ได้พ้นจากการเป็นรัฐมนตรีมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
- เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรอืผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่ ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
- เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในคราวเดียวกัน หรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ
- เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้
ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2560 กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด จำนวน 200 คน ดำรงตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี เป็นได้วาระเดียว
สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกกันเอง ตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม จาก 20 กลุ่มอาชีพ ตามที่กฎหมายกำหนด จำนวน 200 คน
20 กลุ่มอาชีพ ผู้สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา
กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
- พระราชกฤษฏีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภามีผลใช้บังคับ
- กกต. ประกาศกำหนดวันและเวลารับสมัคร และวันเลือกระดับอำเภอ จังหวัดและประเทศ
(ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ)
- ผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอประกาศกำหนดสถานที่รับสมัคร
(วันถัดจากวันที่ กกต. ประกาศ)
- เปิดสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา โดยมีระยะเวลารับสมัคร 5 - 7 วัน
(ไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ)
- ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
(ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร)
- การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับอำเภอ
(ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร)
- การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับจังหวัด
(ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับอำเภอ)
- การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับประเทศ
(ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับจังหวัด)
- กกต. ประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
ขั้นตอนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
การสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา
ผู้ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา สามารถสมัครรับเลือกโดยยื่นใบสมัครด้วยตนเอง และมีสิทธิสมัครเพื่อเข้ารับเลือกในกลุ่มอาชีพได้เพียงกลุ่มเดียวอำเภอเดียว
ก่อนวันรับสมัคร
ผู้ประสงค์จะสมัครติดต่อขอรับเอกสารการสมัครจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยมีเอกสารดังนี้
-
- แบบใบสมัคร (สว.2)
- แบบข้อมูลแนะนำตัวผู้สมัคร (สว.3)
- แบบหนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทางานในกลุ่มที่สมัคร (สว.4)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบรับรองแพทย์
- รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ หรือภาพพิมพ์ ขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5 เซนติเมตร
- หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- หลักฐานซึ่งแสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งเกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก
- หลักฐานซึ่งแสดงว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
- หลักฐานซึ่งแสดงว่าทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
- หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
- หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
- หลักฐานอื่น ๆ เช่น
- หลักฐานการขอลาออก หรือการขออนุญาตให้ลาออกกรณีเป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ เป็นพนักงานหรือลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- เงินค่าธรรมเนียมการสมัคร 2,500 บาท
- สำเนาหลักฐานอื่นที่ผู้สมัครนำมาแสดงตนว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกและไม่เป็นบุคคลผู้ถูกจากัดสิทธิตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง
เอกสารประกอบการสมัครตาม (4) (5) (8) (9) และ (11) ให้ผู้สมัครเซ็นรับรองความถูกต้อง ทุกฉบับทุกหน้า
วันรับสมัคร
-
- ผู้ประสงค์จะสมัครในเขตอำเภอยื่นเอกสารหลักฐานการสมัครด้วยตนเองต่อผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอ โดยมีสิทธิสมัครได้เพียงกลุ่มเดียวและอำเภอเดียว
- ในระหว่างเวลาการรับสมัครจนสิ้นสุดระยะเวลาการรับสมัคร ห้ามมิให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยรายชื่อผู้สมัคร และจำนวนผู้สมัครในแต่ละกลุ่ม
กฎหมาย/แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง