เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความทั่วไป
หัวข้อเรื่อง : การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางบก

อังคาร ที่ 7 เดือน มกราคม พ.ศ.2557

คะแนน vote : 221  

 การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางบก

อุบัติเหตุในการจราจรทางบก สามารถป้องกันได้ดังต่อไปนี้

  1. ด้านบุคคล         2.  ด้านสิ่งแวดล้อม        3.  ด้านกฎหมาย

     การป้องกันด้านบุคคล  การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางบกด้านบุคคลนั้น ควรพิจารณาในเรื่องสุขภาพ การศึกษา และความปลอดภัยในการขับขี่ การโดยสาร และการเดินเท้า ซึ่งมีวิธีการป้องกันดังต่อไปนี้ 

   1. เรื่องสุขภาพ ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสารและผู้เดินเท้า ควรมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ และเป็นปกติอยู่เสมอ ทั้งในช่วงก่อนเดินทาง ขณะเดินทาง และหลังการเดินทาง สำหรับผู้ขับขี่รถ จะต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคของระบบการไหลเวียนโลหิตโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคคอพอกเป็นพิษ ไม่ควรขับรถ ผู้ขับขี่ต้องมีความสามารถในการได้ยินเสียงต่างๆ ชัดเจน หากสายตาสั้น ต้องสวมแว่นตลอดเวลาที่ขับรถ หากตาบอดสี ตาเหล่ หรือเห็นภาพซ้อนกัน ไม่ควรขับรถ นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอย่างแรง เช่น วัณโรค หรือโรคสันหลังแข็ง ไม่ควรขับรถในระหว่างเป็นโรค เมื่อโรคได้ทุเลาลง และไม่มีความผิดปกติ หรือพิการรุนแรง ก็อาจขับรถต่อไปได้ และผู้ที่พิการถูกตัดขาข้างหนึ่ง หรือนิ้วหายไปมากกว่า 3 นิ้ว ก็ไม่ควรขับรถเช่นเดียวกัน ส่วนสภาพทางจิตใจนั้น ผู้ขับขี่ควรคุมอารมณ์ และจิตใจไว้ได้ มีสติสัมปชัญญะเสมอ ในการขับรถ หากมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือมีความวิตกกังวลใจ ตื่นเต้น กระวนกระวายใจ มีอารมณ์เสียเกิดขึ้นบ่อยๆ มีความเครียด มีโรคทางจิต ทางประสาท ก็ไม่ควรขับรถ เพราะจะขาดสมาธิในการขับรถ และอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่าย  
      สำหรับผู้โดยสารยานพาหนะ และผู้เดินเท้า ก็ควรรักษาสุขภาพให้ดีทั้งทางกาย และจิตใจ เพราะหากมีความผิดปกติของร่างกาย และจิตใจ ก็จะทำให้ประสบอุบัติเหตุได้ง่าย เช่นเดียวกัน 

     2. การศึกษา การป้องกันอุบัติเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ การศึกษาหาความร ู้และการถ่ายทอด หรือให้ความรู้แก่ทุกคน ในเรื่องความปลอดภัยในการจราจร การจัดการเรียนการสอนสวัสดิศึกษา การอบรมมารยาทในการขับขี่ยวดยาน แก่ผู้ใช้ยวดยาน ผู้โดยสาร และผู้เดินเท้า การแนะนำประชาชน ผู้ใช้รถใช้ถนน ให้รู้จักระมัดระวังในการเดินทาง ขณะสภาพดินฟ้าอากาศผิดปกต ิสำหรับผู้ขับขี่รถจะต้องเรียนรู้ เรื่องเกี่ยวกับตัวรถ สภาพการใช้งาน เรียนรู้วิธีการขับขี่ เส้นทางการเดินทาง เรียนรู้มารยาท และกฎการจราจรด้วย 

     3. ความปลอดภัยในการขับขี่ยวดยานพาหนะ การขับขี่ยวดยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก หรือรถประจำทางก็ตาม ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัย ดังนี้ 
       3.1 ต้องได้รับใบอนุญาตขับรถก่อนการใช้รถ (ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ ต้องมีอายุ ไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์  ผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะต้องมีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ และผู้ขับขี่รถจักรยาน ต้องมีอายุ 13 ปีบริบูรณ)์ ซึ่งผ่านการทดสอบจากเจ้าหน้าที่ขนส่ง 
       3.2 การตรวจสภาพของรถทุกครั้งก่อนที่จะนำออกไปใช้ ควรตรวจสอบให้เรียบร้อย เช่น ปริมาณน้ำมัน ตรวจหม้อน้ำรั่ว หรือมีน้ำในหม้อน้ำให้เพียงพอ สายพาน น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก ยางรถ(อาจเก่าเกินไป กระด้าง หรือดอกยางหมด) เบรกของรถจักรยานทั้งล้อหน้าและล้อหลัง
       3.3 ควรวางแผนการขับรถ วางแผนการใช้เส้นทาง วางแผนขับรถอย่างสบายๆ ไม่รีบร้อน ตรวจสอบ หรือกำหนดล่วงหน้าถึงจุดจอดรถ จุดจอดพัก จุดเติมน้ำมัน หากต้องเดินทางระยะไกล หรือบริเวณทางด่วน 
       3.4 แต่งกายให้รัดกุม และใช้สีที่มองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะผู้ที่ขับขี่รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์ การขับรถไปในระยะทางไกลๆ หรือในเวลาค่ำคืน ควรสวมแว่นตาสำหรับขี่รถจักรยานยนต์ สวมเสื้อแขนยาว ผ้าหนาสีสะดุดตา สวมกางเกงขายาวผ้าหนา สวมถุงมือหนังสวมรองเท้าหุ้มข้อมีส้น 
       3.5 สวมใส่เครื่องป้องกันอันตราย เช่น สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่ หรือโดยสารรถยนต์ ขณะเกิดอุบัติเหตุผู้ที่ไม่สวมหมวกกันน็อค จะได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะมากกว่าผู้ที่สวมหมวกกันน็อคถึง 5 เท่า หรือตายจากการบาดเจ็บศีรษะมากกว่า 3 เท่า ส่วนการคาดเข็มขัดนิรภัยขณะเกิดอุบัติเหตุ จะช่วยลดการบาดเจ็บให้น้อยลง 1/3  เท่า และจะลดการตาย ให้น้อยลงถึง 4/5 เท่า นอกจากนั้น เข็มขัดนิรภัยยังช่วยยึดร่างกายของคนในรถไว้ ไม่กระเด็นออกจากรถด้วย ซึ่งหากมีการกระเด็นออกไปนอกรถ จะทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าที่จะอยู่ในรถถึง 5 เท่า
       3.6 ขับรถตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น ขับรถด้วยความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ขับรถตัดหน้ารถอื่นในระยะกระชั้นชิด ขับรถจักรยาน หรือรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด ไม่ขับรถล้ำแนวกลางถนน ไม่ฝ่าฝืนสัญญาณไฟ หรือสัญญาณจราจรต่างๆ    สำหรับรถจักรยานตามกฎจราจรกำหนด ให้ขับขี่ได้เพียง 1 คน เท่านั้น ไม่ควรบรรทุกผู้โดยสารซ้อนท้าย แต่สามารถบรรทุกของได้ไม่เกิน 30 กิโลกรัม 
      3.7 ขับรถความระมัดระวังเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเวลาออกรถ เวลาใช้ความเร็ว เวลาจะเลี้ยว เวลาจะแซง เวลาจะขึ้น หรือลงจากที่สูง เมื่อผ่านทางแยก หรือเมื่อเวลาจะจอดรถ นอกจากนั้น ควรเพิ่มความระมัดระวัง เป็นพิเศษเวลาฝนตก ถนนลื่น หรือบริเวณที่มีน้ำนอง สำหรับการขับขี่รถจักรยานยนต์ ไม่ควรบรรทุกผู้โดยสารซ้อนท้าย หรือบรรทุกของ เกินอัตราที่กำหนด และในการหยุดรถทุกครั้ง ต้องใช้เบรกเครื่องยนต์ เบรกหน้าและเบรกหลัง ส่วนเบรกหน้าไม่ควรเบรกให้ล้อตาย (Lock) จะทำให้รถเสียการทรงตัว อาจล้มได้ สำหรับเบรกเครื่องยนต์จะใช้เมื่อรถเอียงเข้าโค้ง
       3.8 ควรขับรถอย่างมีมารยาท มีน้ำใจ สุภาพ สุขุม และรู้จักให้อภัยเมื่อ มีการผิดพลาดเกิดขึ้น 
       3.9 ผู้ที่ขับขี่ยวดยานพาหนะไม่ควรใช้ยาเสพติดต่างๆ เช่น ยากระตุ้นประสาท ยาระงับประสาท หรือยากล่อมประสาท รวมทั้งไม่ควรดื่มสุราหรือของมึนเมาต่างๆ เมื่อจะขับรถ 
       3.10 ทุกครั้งที่ขับขี่ยานพาหนะ ผู้ขับขี่ต้องมีสติมั่นคง ไม่ตกใจง่าย สามารถควบคุมสติได้ดี   ซึ่งจะทำให้ตัดสินใจ และเลือกใช้วิธีแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าได้ถูกต้อง

   4. ความปลอดภัยในการโดยสารยานพาหนะ เพื่อความปลอดภัย ผู้โดยสารยานพาหนะทางบก ควรปฏิบัติดังนี้
     การโดยสารรถจักรยานยนต์พึงปฏิบัติดังนี้
          1. ควรขึ้นหรือลงจากรถด้วยความระมัดระวังและเมื่อรถจอดอยู่
          2. ควรแต่งกายให้รัดกุม ไม่เกะกะรุ่มร่าม เพราะอาจทำให้เสื้อผ้าเกาะเกี่ยวกับตัวรถ ขณะรถวิ่ง ทำให้เกิดอันตรายได้
          3. ควรสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อโดยสารรถจักรยานยนต์
          4. ควรนั่งช้อนท้ายผู้ขี่รถจักยานยนต์และนั่งคร่อมบนอาจที่จัดไว้สำหรับผู้โดยสาร
          5. วางเท้าไว้ที่พักเท้า ให้ปลายเท้าชี้ไปข้างหน้า
     การโดยสารรถยนต์นั่งหรือรถบรรทุก พึงปฏิบัติดังนี้
          1. ควรขึ้นหรือลงจากรถเมื่อรถหยุดเรียบร้อยแล้ว
          2. ควรรัดเข็มขัดนิรภัย(กรณีที่มี) ทุกครั้งเมื่อโดยสารรถ
          3. ขณะนั่งรถไม่ควรพูดคุย หรือชักถามผู้ขับรถตลอดเวลาที่ผู้ขับรถ กำลังขับรถอยู่
          4. ไม่ควรชะโงกหน้าหรือยื่นแขนออกไปนอกรถขณะที่รถกำลังวิ่งอยู่
          5. เมื่อลงจากรถแล้ว หากจะข้ามถนน ไม่ควรเดินออกมาทางหน้ารถที่ยังจอดอยู่ เพราะอาจทำให้ รถที่วิ่งแซงขึ้นมา วิ่งมาเฉี่ยวชนได้
     การโดยสารรถประจำทาง พึงปฏิบัติดังนี้ 
          1. ควรขึ้นหรือลงจากรถประจำทางเฉพาะป้ายจอดรถประจำทางเท่านั้น 
          2. ควรขึ้นลงเมื่อรถจอดสนิทแล้ว
          3. ควรให้คนโดยสำรองลงเสียก่อน จึงค่อยขึ้น 
          4. เมื่อขึ้นรถแล้วมีที่นั่ง ก็ควรนั่งให้เรียบร้อย 
          5. ไม่ควรยื่นส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายออกนอกตัวรถ 
          6. ไม่ควรคุยหรือซักถามผู้ขับรถขณะที่กำลังขับรถอยู่ 
          7. ไม่ควรห้อยโหนตัวออกนอกรถ 
          8. ไม่ควรนั่งบนขอบหน้าต่างรถ หลังคารถ หรือบนพนักพิงที่ไม่ปลอดภัย 
          9. เมื่อลงจากรถแล้วต้องการจะข้ามถนนไม่ควรเดินออกมาทางหน้ารถที่ยังจอดอยู่ 
เพราะรถที่กำลังวิ่งแซงขึ้นมา อาจมองไม่เห็น และวิ่งชนได้
    การโดยสารรถไฟ พึงปฏิบัติดังนี้ 
          1. ควรขึ้นหรือลงจากรถ เมื่อรถได้จอดเทียบชานชาลาเรียบร้อยแล้ว 
          2. ควรนั่งให้เรียบร้อยก่อนรถไฟจะออก 
          3. ขณะนั่งรถไฟ ไม่ควรชะโงก หรือยืนส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายออกไป โดยเฉพาะ เมื่อรถไฟแล่นผ่านสะพาน หรือถ้ำ 
          4. ไม่ควรขึ้นไปนั่งบนหลังคารถ และไม่ควรยืนหรือนั่งขวางประต ูหรือเดินเล่นไปมาระหว่างตู้รถไฟ

   5. ความปลอดภัยในการเดินทางเท้า ผู้เดินทางเท้า ควรปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยดังนี้ 
      1. การเดินถนน 
          1.1 ถนนที่มีทางเท้าให้เดินบนทางเข้า โดยเดินชิดด้านซ้ายมือ ไม่เดินใกล้ทางรถโดยหันหลังให้รถที่กำลังแล่นมา และก่อนที่จะก้าวเดินไปทางรถ ต้องมองซ้าย มองขวาทั้งสองด้านก่อนเสมอ 
          1.2 ถนนที่ไม่มีทางเท้า ให้เดินชิดริมทางขวาของถนน เดินให้สวนทางกับรถที่วิ่งเข้ามา และเดินเรียงเดี่ยวตามกันไป ไม่เดินคู่กัน 
          1.3 การเดินถนนในที่มืด ควรสวมเสื้อผ้าสีขาว และถือไฟฉายส่องติดมือไปด้วย 
          1.4 ไม่ควรเล่นเกาะกะบนทางเท้า 
          1.5 หากจูงเด็กให้เดินด้านใน และจับมือเด็กให้มั่น เพื่อป้องกันเด็กวิ่งออกไปทางรถ 
      2. การข้ามถนน เพื่อความปลอดภัยในการข้ามถนน ตรงช่องทางข้าม (ทางม้าลาย สะพานลอย หรืออุโมงค์) การข้ามถนนตรงช่องทาง ที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร และการข้ามถนน โดยไม่มีสัญญาณอะไรเลย ผู้ข้ามถนนควรปฏิบัติดังนี้ 
       2.1 การข้ามถนนตรงช่องทางข้าม 
           2.1.1 การข้ามถนนที่ทางม้าลาย ควรยืนรอบนทางเท้า หรือไหล่ทางเสียก่อน แล้วมองขวา มองซ้าย และมองดูรถอีกรอบหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่ารถอยู่ห่างทั้งสองข้าง แล้วจึงข้าม โดยเดินทางด้านซ้ายของทางม้าลาย และข้ามด้วยความรวดเร็ว สำหรับทางม้าลาย ที่มีเสาไฟเป็นรูปตุ๊กตาคนข้ามถนน ให้ยืนบนทางเท้า หรือไหล่ทางก่อน แล้วมองที่ตุ๊กตา รูปคน หากตุ๊กตาสีเขียว ก็ให้ข้ามถนนไปได้ แต่ต้องรอให้รถหยุดเสียก่อน ถ้าเป็นตุ๊กตาสีแดง ห้ามข้ามเด็ดขาด ในบางแห่ง อาจใช้สัญญาณเป็นตัวหนังสือบอกไว้ว่า “เตรียม” “หยุด” “ไปได้” หรือ มีเสียงเพลง เมื่อมีเสียงเพลงขึ้นมาแสดงว่าให้ข้ามได้
           2.1.2 การข้ามถนนที่สะพานลอย ในระยะ 100 เมตร ต้องเดินไปข้ามตามกฎจราจรที่กำหนดไว้ ควรเดินไปข้าม และระมัดระวังในการเดินขึ้น และลงสะพานลอย ไม่ควรเดินข้ามถนนใต้สะพานลอย 
           2.1.3 การข้ามถนนที่อุโมงค์ ให้เดินลงบันไดด้วยความระมัดระวัง และเดินลอดข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง แล้วขึ้นบันไดด้วยความระมัดระวัง 
   2.2 การข้ามถนนตรงช่องทางที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร 
           2.2.1 ให้ยืนรอบนทางเท้า หรือไหล่ทาง เมื่อรถหยุดติดไฟแดงแล้วจึงจะก้าวลง ข้างถนนสัญญาณไฟจราจรสีเขียว เป็นสัญญาณให้รถวิ่ง แค่สัญญาณไฟสีแดง เป็นสัญญาณให้รถหยุด จึงควรสังเกตสัญญาณไฟ ให้ดีก่อนข้ามถนน 
           2.2.2 ควรระวังที่ให้สัญญาณลูกศรบอกเลี้ยวซ้าย โดยต้องรอให้ลูกศรชี้ให้รถเลี้ยวซ้ายดับเสียก่อน จึงจะก้าวข้ามลงไปได้ 
           2.2.3 หากมีตำรวจจราจรยืนอยู่ที่ทางแยก ให้สังเกต และฟังเสียงนกหวีด ถ้าเสียงนกหวีด ยาวปิ๊ดหนึ่งครั้ง แสดงว่าให้รถหยุด หรือมีสัญญาณไฟแดง แต่ถ้าเสียงนกหวีดสั้นๆ 1-2 ครั้ง ดัง ปิ๊ด-ปิ๊ด แสดงว่าให้รถแล่นได้ หรือมีสัญญาณไฟเขียว 
   2.3 การข้ามถนนโดยไม่มีสัญญาณอะไรเลย 
           2.3.1 ก่อนข้ามถนนทุกครั้งต้องหยุดยืนที่ขอบถนน แล้วมองขวา-ซ้าย-ขวา ให้แน่ใจเสียก่อนว่า ไม่มีรถกำลังแล่นมา จึงรีบเดินข้ามถนนเป็นเส้นตรงไปโดยเร็ว 
           2.3.2 การข้ามถนนที่รถเดินทางเดียว ต้องหยุดดูให้แน่ใจก่อนว่า รถแล่นมาจากทางไหน แล้วจึงข้ามด้วยความระมัดระวัง 
           2.3.3 ถนนที่มีเกาะกลาง ให้ข้ามทีละครึ่งถนน โดยข้ามครั้งแรก ไปพักที่บนเกาะกลางถนนเสียก่อน แล้วจึงข้ามในครึ่งหลังต่อไป 
           2.3.4 อย่าข้ามถนนโดยออกจากที่กำบังตัว เช่น ออกจากซอกรถที่จอดอยู่ หรือออกจากท้ายรถ ประจำทาง หากเป็นเวลาค่ำคืน ควรหาที่ข้ามซึ่งมีแสงสว่าง และสวมเสื้อผ้าสีขาวให้ตัดกับความมืด



เข้าชม : 10639


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      สิมและภาพจิตรกรรม ณ วัดเตาเหล็ก อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 23 / เม.ย. / 2565
      ศาลหลักเมืองพนมสารคาม 23 / เม.ย. / 2565
      สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก 9 / เม.ย. / 2563
      รู้จักโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 6 / เม.ย. / 2563
      การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางบก 7 / ม.ค. / 2557