[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก
 โครงงาน (พิการ)

รายงาน

      ชื่องานวิจัย การศึกษาความแตกต่างของทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำของบ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นกับบ่อน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

คณะผู้วิจัย

นักศึกษาคนพิการ ตำบลหัวสำโรง

นายสมชาย  อึ้งไถ่

นางสาวกิ่งดาว  กองคำ

นายศุภชัย  โฉมศรี

นายบุญถึง  สุขสวัสดิ์

นายเกียรติศักดิ์  สุขสวัสดิ์

นายมณฑน  สุขสวัสดิ์

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโลกทั้งระบบ

กศน.ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว

งานวิจัยวิทยาศาสตร์

เรื่อง การศึกษาความแตกต่างของทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำของบ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นกับบ่อน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

ผู้จัดทำ  คนพิการตำบลหัวสำโรง

นายสมชาย  อึ้งไถ่

นางสาวกิ่งดาว  กองคำ

นายศุภชัย  โฉมศรี

นายบุญถึง  สุขสวัสดิ์

นายเกียรติศักดิ์  สุขสวัสดิ์

นายมณฑน  สุขสวัสดิ์

ครูที่ปรึกษา ครูหัสชัย  บุญถนอม

ที่ปรึกษางานวิจัย ครูวิภาณี  ศิริพิพัฒน์

สถานที่ศึกษา กศน.ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว

ปีการศึกษา 2/2562


บทคัดย่อ

 

        ปัจจุบันนี้มีอาชีพมากมายและอาชีพที่เกี่ยวกับเรื่องของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำมากที่สุดคืออาชีพประมงซึ่งอาชีพประมงนี้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์น้ำหรือการจับสัตว์น้ำซึ่งการวิจัยของกลุ่มข้าพเจ้าก็เกี่ยวกับการประมงอยู่เช่นกัน โดยกลุ่มของข้าพเจ้าจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับความแตกต่างของบ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น และ บ่อน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อที่จะศึกษาว่าบ่อน้ำทั้งสองชนิดนี้มีความเตกต่างกันอย่างไรและคำถามวิจัยที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยเรื่องนี้คือความแตกต่างของบ่อน้ำทั้งสองประเภทนี้ส่งผลต่อการอาศัยอยู่ของปลาหรือไม่ สามารถทำการทดลองได้โดยกลุ่มของข้าพเจ้าจะทำการทดลองโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เช่น เทอร์มอมิเตอร์ บีโอดี อินดิเคเตอร์ เพื่อให้ได้รู้ถึงความแตกต่างของบ่อน้ำทั้งสองปะเภทและจะทำการทดลองเลี้ยงปลาชนิดเดียวกันไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำของบ่อน้ำทั้งสองประเภทไว้ ระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ จากนั้นจะทำการบันทึกผลการทดลองและนำมาสรุปผลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนซึ่งผลที่ได้จากการทดลองนี้จะทำให้ได้คำตอบว่าปลาสามารถอาศัยอยู่ในน้ำของบ่อน้ำชนิดไหน


กิตติกรรมประกาศ

        งานวิจัยเรื่องนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่าน ท่านแรกคือ ครูหัสชัย  บุญถนอม เป็นทั้งครูที่ปรึกษาและที่ปรึกษางานวิจัย ช่วยในด้านของการให้ข้อมูลด้านความรู้มากมายและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองในงานวิจัยของกลุ่มข้าพเจ้า และผู้ปกครองของสมาชิกในกลุ่มทุกท่านที่ได้ให้คำแนะนำหรือคอยช่วยเหลือในการทำงานของกลุ่มข้าพเจ้าและเพื่อนๆทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มของข้าพเจ้าจนทำให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี


บทที่1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

        ปัจจุบันนี้โลกได้มีวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงมากมายจากถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ หากกล่าวถึงแหล่งน้ำในปัจจุบันกับอดีตย่อมมีความแตกต่างกันโดยในอดีตน้ำตามแหล่งธรรมชาติต่างๆสามารถใช้อุปโภค บริโภคได้โดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธี กระบวนการ เพื่อให้น้ำมีความบริสุทธิ์ สะอาดและปลอดภัยก่อนนำมาใช้ในการต่างๆ จากที่ได้กล่าวมาเห็นได้ว่าน้ำในสมัยก่อนมีสะอาดต่างกับปัจจุบันที่น้ำมีมลพิษสาเหตุที่ทำให้น้ำเกิดความเน่าเสียหรือมีมลพิษนั้นส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการกระทำของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งขยะลงในลำคลอง การปล่อยน้ำเน่าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การเลี้ยงปศุสัตว์ การใช้สารกำจัดแมลง ฯลฯ ล้วนมีผลต่อการทำให้น้ำเกิดความเน่าเสีย เป็นเหตุให้ทรัพยากรน้ำตามแหล่งน้ำในธรรมชาติเป็นมลพิษ เมื่อเป็นเช่นนี้บุคคลที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับประมง การเลี้ยงปลาส่วนใหญ่ใช้บ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นเลี้ยงปลาซึ่งน้ำที่ใช้คือ น้ำประปา โดยน้ำประปาเป็นน้ำที่สะอาดและบริสุทธิ์เนื่องจากได้ผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพหรือน้ำที่มีสะอาดและปลอดภัยต่อการนำไปใช้อุปโภคและบริโภค ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงต้องการทำการวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในบ่อมนุษย์สร้างขึ้นกับบ่อน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และมีคุณสมบัติในการเพาะเลี้ยงปลาได้หรือไม่ ซึ่งชนิดของปลาที่กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกใช้ในการวิจัยคือ ปลาหางนกยูง เนื่องจากปลาหางนกยูงเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็กเลี้ยงง่ายและขยายพันธุ์ง่ายจึงเหมาะกับทำงานวิจัย โดยในขั้นตอนแรกกลุ่มของข้าพเจ้าจะทำการทดลองเพื่อหาความแตกต่างของทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำทั้งสองประเภท หลังจากนั้นจะนำปลาที่ใช้ในการทำการวิจัยมาทดลองเลี้ยงในน้ำของแหล่งน้ำทั้งสองประเภทเพื่อนำมาหาคำตอบให้งานวิจัยและคำถามวิจัยของกลุ่มข้าพเจ้า และเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ทำอาชีพประมง

คำถามวิจัย

        ความแตกต่างของทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำของบ่อน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกับบ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นส่งผลต่อการอาศัยอยู่ของปลา หรือไม่ อย่างไร


สมมติฐานงานวิจัย        ความแตกต่างของทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำของบ่อน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกับบ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นมีผลต่อการอาศัยอยู่ของปลา ดังนั้นการอาศัยอยู่ของปลาในบ่อน้ำทั้งสองประเภทจึงมีผลที่แตกต่างกัน

วัตถุประสงค์งานวิจัย

        เพื่อทราบว่าความแตกต่างของทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำของบ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นกับบ่อน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติว่ามีผลต่อการอาศัยของปลาหรือไม่ อย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ประกอบอาชีพการประมง

ผลที่ได้รับจากการวิจัย

ความแตกต่างของทรัพยากรน้ำในบ่อน้ำทั้งสองประเภทที่มีผลต่อการอาศัยอยู่ของปลา โดยถ้าปลาสามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำประเภทหนึ่งแต่ไม่สามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำอีกประเภทหนึ่งได้ จะสามารถหาว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ประกอบอาชีพการประมง

ขอบเขตงานวิจัย

        พื้นที่ศึกษา 1.บ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นที่บ้านของ นายศุภชัย  โฉมศรี

                          2.บ่อน้ำที่เกิดขันตามธรรมชาติที่บ้านของ นางสาวกิ่งดาว  กองคำ

        ปัจจัยที่ต้องการตรวจวัด 1.ค่าph ของน้ำ

                                               2.ค่าอุณหภูมิของน้ำ

                                               3.ความบริสุทธิ์ของน้ำ (ความใส ความขุ่น)

                                               4.วัดออกซิเจนในน้ำ

                                               5.ทดสอบว่าปลาสามารถอยู่อาศัยในน้ำของบ่อน้ำประเภทใดได้

        ช่วงเวลาที่ทำงานวิจัย   1 สัปดาห์

        การวางแผนงานวิจัย   1.กำหนดหัวข้อหรือปัญหา

                                           2.ตั้งชื่องานวิจัย

                                          3.เขียนเค้าโครงงานวิจัย

                                          4.รวบรวมข้อมูล ทำการวิจัย

                                          5.สรุปผล



บทที่2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ปลาหางนกยูง ที่มา www.https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาหางนกยูง

ปลาหางนกยูง (อังกฤษGuppyชื่อวิทยาศาสตร์Poecilia reticulata) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน นิ้ว มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า

มีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้งพืชและสัตว์น้ำรวมถึงแมลงหรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วย

ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่างบัวเพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันก็สามารถให้ลูกได้แล้ว โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ เดือนขึ้นไป

ปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายรวมทั้งขนาดลำตัวให้แตกต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก มีหลายสายพันธุ์ เช่น "ทักซิโด้", "กร๊าซ", "คอบร้า", "โมเสก" , "หางดาบ", "นีออน" เป็นต้น

จากความเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้คนไทยเลี้ยงปลาหางนกยูงไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำในบ้านเพื่อกินลูกน้ำและยุงเพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง และในปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว มีการพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปปะปนกับปลาขนาดเล็กพื้นเมืองทั้งหลาย ซึ่งปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่พบนั้น จะมีลำตัวใส ไม่มีลวดลายทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการผสมภายในสายเลือดเดียวกัน

นอกจากนี้แล้ว ในทางวิชาการ จากการทดลองของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ ประเทศอังกฤษ ที่ได้ออกแบบสถานการณ์กระตุ้นระดับความเครียดของปลาหางนกยูงจากธรรมชาติในตรินิแดด

และโตเบโก เพื่อสังเกตพฤติกรรมของปลาแต่ละตัว พบว่า ปลาหางนกยูงมีพฤติกรรมที่หลากหลายในการรับมือกับความเครียด เช่น บางตัวพยายามจะที่จะหลบหนีออกมา, บางตัวก็สังเกตอย่างระมัดระวัง สรุปได้ว่า การเปบี่ยนแปลงพฤติกรรมของปลาหางนกยูงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ทุกตัวจะเคร่งเครียดขึ้นในสถานการณ์ที่เครียดมากขึ้น

เอกสารที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ปัญหาสาเหตุทั่วไปของการเกิดน้ำเน่าเสีย ที่มา www.http://ridceo.rid.go.th/buriram/waste_water_problem.html

น้ำเสียจะส่งผลกระทบเริ่มจากการมีกลิ่นเหม็น ทำให้เป็นโรคผิวหนัง เป็นตัวแพร่เชื้อโรคและพยาธิต่างๆ  ทำให้สัตว์น้ำและพืชน้ำตาย (ทำให้เพิ่มระดับปัญหาเพิ่มขึ้น)  มักเกิดจาก

 

                1.1 การปล่อยน้ำเสีย การทิ้งขยะ จากครัวเรือน ชุมชน สถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล โรงมหรสพ ฯลฯ  ทำให้น้ำมัน สารเคมี สารพิษ สารอินทรีย์  เชื้อโรค พยาธิ เป็นต้น ที่ไม่ได้รับการบำบัดหรือมีการจัดการกำจัดที่ถูกต้อง ถูกปล่อยหรือถูกชะล้างสู่แหล่งน้ำ

                1.2 สารเคมีจากการทำการเกษตรได้แก่ ปุ๋ย ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์  สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาจทำให้เกิดปัญหาโดยตรงถ้ามีปริมาณมาก หรือทางอ้อมทำให้พืชในน้ำเติบโดเร็วใช้ออกซิเจนในน้ำจนหมด หรือทำให้สัตว์น้ำพืชน้ำตาย

                1.3 ของเสีย น้ำเสีย สารเคมี สารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ไม่ผ่านกระบวนการบำบัดที่ถูกต้องสมบูรณ์ ส่งผลทำให้สัตว์น้ำ พืชน้ำตาย โดยสาเหตุดังกล่าวนี้ทำให้เกิดผลกระทบความเสียหายที่รุนแรงที่สุด

                1.4 ของเสีย มูล และน้ำล้างคอก จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มสุกร โค ไก่ ฯลฯ น้ำทิ้งจากฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฯลฯ ที่ไม่ผ่านกระบวนการบำบัดปล่อยสู่แหล่งน้ำ

 

                ปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นโดยตรงและเกิดผลรวดเร็วถ้ามีการทิ้งน้ำเสียที่ไม่ได้ผ่านการบำบัดที่สมบูรณ์ หรือทิ้งของเสีย ขยะมูลฝอย สารเคมี สารพิษ ลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง และจะเกิดขึ้นทางอ้อมแบบค่อยๆ ส่งผลกระทบ เกิดจากการการจัดการ ควบคุม บำบัด กำจัดไม่ดี สารพิษจะถูกชะล้างไปสู่แหล่งน้ำ หรือซึมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินช้า ๆ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง เรื่อง สาเหตุและผลกระทบ จากมลพิษทางน้ำ ที่มา https://www.lux.co.th/cpt_blog/cause-and-impact-of-water-pollution/

น้ำคือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของคนและสิ่งมีชีวิต

เป็นแหล่งกำเนิดของสัตว์น้ำและพืชหลากหลายชนิด นอกจากนั้นน้ำยังมีประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม มีประโยชน์สำหรับครัวเรือน ในการดื่มกิน ใช้ประกอบอาหาร หรือใช้ชำระล้างร่างกายและสิ่งสกปรกต่างๆ และน้ำยังทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่สิ่งมีชีวิต

คุณสมบัติของน้ำที่เป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมากที่สุดก็คือ น้ำบริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารพิษเจือปน

ในอดีตมนุษย์สามารถนำทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้ ต่างจากปัจจุบันที่เกิดปัญหาด้านคุณภาพของน้ำ หรือเกิดมลพิษทางน้ำจนไม่สามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

สาเหตุที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ

1.       เกิดจากน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน เช่น น้ำที่ใช้ซักฟอกทำความสะอาดซึ่งส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์ปะปนมากับน้ำทิ้งเหล่านั้นจนทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ

2.       น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหากโรงงานมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงในแหล่งน้ำทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่ายเพราะมีปริมาณมากและสารปนเปื้อนมีอัตราสูง

3.       น้ำเสียที่เกิดจากธรรมชาติ อาจเกิดจากการเน่าเสียเมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการไหลเวียนถ่ายเท

4.       เกิดจากพื้นที่ทำการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำยาปราบศัตรูพืชกันมากขึ้น จึงทำให้มีสารตกค้างอยู่ตามต้นพืชและพื้นผิวดิน เมื่อฝนตกและพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างลงสู่แม่น้ำลำคลองก็ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำขึ้นได้

ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางน้ำ

1.       กระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ เช่นน้ำเสียที่เกิดจากสารพิษอาจทำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตตายทันที ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากออกซิเจนในน้ำลดต่ำลง อาจทำลายพืชและสัตว์น้ำเล็กๆที่เป็นอาหารของปลา ทำให้ความอุดมสมบูรณ์หรือแหล่งอาหารของสัตว์น้ำลดลง

2.       เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด และท้องเสีย

3.       มีผลกระทบต่อการเพาะปลูก เพราะน้ำเสียที่มีความเป็นกรดและด่างไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตร

4.       มีผลต่อกระทบต่อทัศนียภาพ เพราะความสวยงามของแหล่งน้ำสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือจัดกิจกรรมทางน้ำเพื่อความบันเทิงได้

5.       ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ เช่น มีกลิ่นเหม็นจากน้ำเน่าเสีย

วิธีป้องกันปัญหามลพิษทางน้ำ

1.       ปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์น้ำ

2.       สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำ

3.       รณรงค์ให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ

4.       รณรงค์ให้ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในครัวเรือน

5.       ช่วยกันป้องกันน้ำเน่าเสีย ไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลหรือสารพิษลงในแหล่งน้ำ หรือท่อระบายน้ำ

ปัญหาน้ำเน่าเสียหรือการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก เยาวชน รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักถึงผลเสียและรับรู้การป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างถูกต้อง เป็นการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างถูกวิธีและได้ผลอย่างยั่งยืน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่อง คุณภาพน้ำ ที่มา https://research.rdi.ku.ac.th/forest/Search.aspx?keyword= คุณภาพน้ำ

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่ออนุรักษ์คลองบางใหญ่

ตำบลเทพกระษัตรี  กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี 

อำเภอถลาง  จังหวัดภูเก็ต

Development  of  training  programs  on  environmental  education  for   coservation  Khlong  Bang  Yai  district  Thepkrasattri .  Case  study  Municipality  Thepkrasattri,  Thalang,  Phuket.

 

นงลักษณ์  เทพณรงค์1  สายธาร  ทองพร้อม2  และสุกัญญา  วงศ์ธนะบูรณ์3

1สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

2ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

3กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

 

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาคุณภาพน้ำคลองบางใหญ่ 2) พัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรม สำหรับชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี  อำเภอถลาง  จังหวัดภูเก็ต  เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก  เจตคติ   และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำคลองบางใหญ่ 3) หาประสิทธิภาพของโปรแกรมการฝึกอบรมโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม

            การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้ทำตรวจสอบคุณภาพน้ำคลองบางใหญ่ 11             พารามิเตอร์ ได้แก่  ความเป็นกรด ด่าง  สี  อุณหภูมิ  ความโปร่งแสง  ความนำไฟฟ้า ของแข็งแขวนลอย  ออกซิเจนละลายน้ำ   ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์   แอมโมเนีย-ไนโตรเจน  ฟอสเฟต  และแบคทีเรีย

กลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด  ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ระยะทาง กิโลเมตร  จำนวน 3 สถานี ความถี่ 2 ครั้ง ในช่วงฤดูน้ำมาก (27 ตุลาคม 2553)  และช่วงฤดูน้ำน้อย ( 20 มกราคม 2554)   พบว่า คุณภาพน้ำแต่ละสถานีทั้ง 2 ฤดู มีความแตกต่างกัน ฟัง

อ่านออกเสียง

 

พจนานุกรม - ดูพจนานุกรมโดยละเอียด

ฟัง

อ่านออกเสียง

 

                 ผลการศึกษาคุณภาพน้ำคลองบางใหญ่ที่สำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน พ.ศ.2537   พบว่า ในฤดูน้ำน้อย  ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ มีค่าเท่ากับ 1.77  มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเทียบได้กับคุณภาพน้ำประเภทที่ 2 (คุณภาพน้ำสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการประมง)  และค่าแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 87,000 MPN/100 ml   ซึ่งเทียบได้กับคุณภาพน้ำประเภทที่ 3 (คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม  สามารถใช้เป็นประโยชน์เพื่อการเกษตร   เท่านั้น)

      อ่านออกเสียง

พจนานุกรม - ดูพจนานุกรมโดยละเอียด

พจนานุกรม - ดูพจนานุกรมโดยละเอียด

การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา ผลการจัดฝึกอบรมกับกลุ่มตัวอย่างชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี จำนวน  อำเภอถลาง  จำนวน 40 คน  จังหวัดภูเก็ต โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่ออนุรักษ์คลองบางใหญ่ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และ เจตคติ เพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (a = 0.05)  และผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโปรแกรมการฝึกอบรมเหมาะสมและพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด 

สรุปและอภิปรายผลการวิจัย 

                การศึกษาวิจัย เรื่องการพัฒนาโปรแกรมการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่ออนุรักษ์คลองบางใหญ่ตำบลเทพกระษัตรี  กรณีศึกษา  ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี  อำเภอถลาง  จังหวัดภูเก็ต  ได้แบ่งผลการศึกษาเป็น 2 ด้าน คือ ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา ซึ่งผลการศึกษาสามารถวิเคราะห์และอภิปรายดังนี้

            ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 

                        1.  ผลการสำรวจสภาพพื้นที่การใช้ประโยชน์ และแหล่งกำเนิดมลพิษ บริเวณริมคลองบางใหญ่  พบว่าสถานีที่ 1  จุดบริเวณต้นน้ำ  ยังไม่มีผลกระทบจากกิจกรรมใดๆ และจากด้านล่างสถานีที่ 1 จุดบริเวณต้นน้ำ ลงมาจนถึงสถานีที่ 3 จุดบริเวณปลายน้ำ  ส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์เป็น บ้านเรือน  อาคารห้องเช่า ร้านค้า  ร้านซักรีด  และกิจการต่างๆ  ซึ่งเป็นแหล่งปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม

                          2.       จากการศึกษาพารามิเตอร์คุณภาพน้ำคลองบางใหญ่ในแต่ละสถานี  พารามิเตอร์ที่มีความแตกต่างกันในฤดูน้ำมากและฤดูน้ำน้อย  ได้แก่ ค่าความเป็นกรดและด่าง  ค่าอุณหภูมิน้ำ  ความโปร่งแสง  และค่าความนำไฟฟ้า  ส่วนพารามิเตอร์ที่มีค่าใกล้เคียงกันทั้งในฤดูน้ำมากและฤดูน้ำน้อย  ได้แก่  สี  ปริมาณของแข็งแขวนลอย   ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO)  ค่าปริมาณสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD)   แอมโมเนีย-ไนโตรเจน  ค่าฟอสเฟต  และค่าแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด

                    3.  ผลการศึกษาเปรียบเทียบพารามิเตอร์คุณภาพน้ำคลองบางใหญ่เปรียบเทียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537)   พบว่า  ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) เฉลี่ยทั้งสาย  ในช่วงฤดูน้ำน้อย  เท่ากับ 1.77 มิลลิกรัมต่อลิตร  ซึ่งมีค่าได้กับคุณภาพน้ำประเภทที่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการประมง  และค่าแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) เฉลี่ยทั้งสายในช่วงฤดูน้ำมากและช่วงฤดูน้ำน้อย  เท่ากับ  10,300  และ 87,000  MPN/100 ml   ตามลำดับ เทียบได้กับคุณภาพน้ำประเภทที่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการเกษตร   

                           4. จากผลการศึกษาเปรียบเทียบพารามิเตอร์คุณภาพน้ำที่สำคัญตามเกณฑ์ค่ามาตรฐานแหล่งน้ำผิวดิน กับสภาพการใช้ประโยชน์และแหล่งกำเนิดมลพิษในแต่ละสถานี พบว่าคุณภาพน้ำเริ่มมีค่าลดลง เมื่อไหลผ่านแหล่งชุมชน พบเสื่อมโทรมมากที่สุด บริเวณสถานีที่ 3 บริเวณจุดปลายน้ำ เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนหนาแน่น ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำเมื่อเ                               ปรียบเทียบกับสภาพการใช้ประโยชน์และแหล่งกำเนิดมลพิษบริเวณริมคลองบางใหญ่  มีความสอดคล้องกัน เนื่องจากคุณภาพน้ำเริ่มลดลงและเสื่อมโทรม เมื่อไหลผ่านแหล่งชุมชน  จึงสรุปได้ว่าสภาพการใช้ประโยชน์ริมคลองจากชุมชนและสถานประกอบการต่างๆ ส่งผลให้เกิดน้ำเสียในคลองบางใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาคุณภาพน้ำคลองเปรมประชากร ของช่อทิพย์ เพี้ยนภักตร์ (2548 : 103–104) พบว่าคุณภาพน้ำคลองเปรมประชากรมีคุณภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินในฤดูน้ำน้อย   แสดงให้เห็นว่าบนผิวดินมีสิ่งสกปรกประเภทอินทรีย์สารอันเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของแหล่งชุมชน

ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา 

                     1.    ผลการประเมินความเหมาะสมและพึงพอใจ ในการพัฒนาโปรแกรมการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่ออนุรักษ์คลองบางใหญ่ตำบลเทพกระษัตรี  กรณีศึกษา  ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี  อำเภอถลาง  จังหวัดภูเก็ต  ของผู้เชี่ยวชาญ ผู้เข้ารับฝึกอบรมระดับเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างโ กลุ่ม อสม. จำนวน 10  คน มีความเห็นว่าการโปรแกรมการฝึกอบรมมีความเหมาะสม /พึงพอใจ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยของภาษิต   ชนะบุญ (2543) เรื่องการจัดการน้ำเสียชุมชนสำหรับคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ที่ว่า การกำหนดโครงร่างและหลักสูตรเนื้อหาวิธีการฝึกอบรม และองค์ประกอบโดยรวม มีความเหมาะสมและพึงพอใจ

                             2.  จากการประเมิน การพัฒนาโปรแกรมการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่ออนุรักษ์คลองบางใหญ่ตำบลเทพกระษัตรี  กรณีศึกษา  ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี  อำเภอถลาง  จังหวัดภูเก็ต เมื่อนำไปทดลองใช้กลุ่มเป้าหมาย พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และเจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำเพิ่มขึ้น   เนาวรัตน์ อินทรเดช (2546) เรื่องการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องการจัดการน้ำเสียในท้องถิ่น สำหรับผู้นำเยาชนอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี

                     4.    การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเรื่องการตรวจสอบคุณภาพน้ำและอนุรักษ์คลองหัวควนสำหรับนักเรียน ระดับช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 36  จังหวัดภูเก็ต  พบว่ามีความเหมาะสม/พึงพอใจ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ทั้งนี้เป็นผลมาจากมีการจัดทำและพัฒนาโปรแกรมอย่างเป็นระบบทั้งคู่มือสำหรับผู้จัดฝึกอบรม  ประกอบด้วย แผนการพัฒนากิจกรรมการเตรียมการสำหรับผู้จัดฝึกอบรม  กิจกรรมการฝึกอบรม แบบประเมินและแบบทดสอบ และคู่มือการฝึกอบรมสำหรับผู้เข้ารับฝึกอบรม/นักเรียน ประเด็นสำคัญคือ ให้ผู้เข้ารับฝึกอบรมได้รู้โดยการออกสำรวจและฝึกปฏิบัติจริง  มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของบัลด์วิน และวิลเลี่ยม (Baldwin;&William.1988 : 4-5)   อ้างในวัฒน   พัฒนภักดี ที่กล่าวว่าการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเป็นวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพและผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  และมีการให้คำแนะนำ  ช่วยเหลือ  อำนวยความสะดวก แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม  


บทที่3

การดำเนินงานวิจัย

จุดศึกษา 1.บ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นที่บ้านของ นายศุภชัย  โฉมศรี

               2.บ่อน้ำที่เกิดขันตามธรรมชาติที่บ้านของ นางสาวกิ่งดาว  กองคำ

วัสดุและอุปกรณ์ 1.เทอร์มอมิเตอร์

                            2.BOD

                            3.อินดิเคเตอร์

                            4.ภาชนะสีใส3ใบ

                            5.ปลาชนิดเดียวกัน2ตัว       

วิธีดำเนินการวิจัย

1.กำหนดหัวข้อ ปัญหา

           ร่วมกันกำหนดหัวข้อ ปัญหา ของกลุ่ม โดยในการกำหนดหัวข้อหรือปัญหานั้นต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับระบบนิเวศ ชีววิทยา ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ร่วมกันตั้งปัญหาเกี่ยวกับความแตกต่างของน้ำหรือทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำของบ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นกับบ่อน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติว่ามีผลต่อการอยู่อาศัยของปลาหรือไม่

2.ตั้งชื่องานวิจัย

          เมื่อร่วมกันกำหนดหัวข้อภายในกลุ่มแล้ว จากนั้นร่วมกันตั้งชื่องานวิจัย โดยในการตั้งงานวิจัยนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะชื่องานวิจัยจะสื่อถึงสิ่งที่เราได้วิจัยและยังเป็นที่ดึงดูดความสนใจอีกด้วยดังนั้นการตั้งชื่องานวิจัยจะต้องตั้งให้คลอบคลุมลาสอดคล้องกับสิ่งที่จะทำวิจัยและมีความน่าสนใจ

3.รวบรวมข้อมูล ทำการวิจัย

  3.1 หาความแตกต่างของน้ำในบ่อน้ำธรรมชาติกับบ่อน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนี้

  3.1.1 วัดอุณหภูมิของน้ำ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ คือ เทอร์มอมิเตอร์ เครื่องมือวัดอุณหภูมิ โดยนำเทอร์มอมิเตอร์ไปจุ่มในน้ำ รอจนปรอทในเทอร์มอมิเตอร์หยุดนิ่ง จากนั้นอ่านค่าโดยต้องดูในระดับสายตา บันทึกผล

  3.1.2 วัดค่า pH โดยอุปกรณ์ที่ใช้ คือ อินดิเคเตอร์ เครื่องมือวัดค่าความเป็นกรดและเบสทางวิทยาศาสตร์ โดยนำกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์นำไปจุ่มลงในน้ำ จากนั้นจะสังเกตได้ว่าสีของกระดาษเปลี่ยนไปหรืออาจไม่เปลี่ยนไป นำกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ที่จุ่มลงไปในน้ำนั้นมาเทียบสีและบันทึกค่าตัวเลขที่ได้จากการเทียบสี สามารถแบ่งตามเกณฑ์ได้โดย ถ้าตัวเลขอยู่ประมาณ 1-6คือ เป็นกรด , 7 คือเป็นกลาง,มากกว่า7 คือเป็นเบส บันทึกผล

 3.1.3

4.สรุปผล นำเสนองานวิจัย

       นำข้อมูลที่ได้รวบรวมมาจากข้อที่สามมาสรุปผล และทำออกมาในรูปแบบการนำเสนอ คือเขียนเป็นรายงาน และนำมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

 

 
 


เข้าชม : 1380
 
กศน.ตำบลหัวสำโรง   อำเภอแปลงยาว   จังหวัดฉะเชิงเทรา  24190
โทรศัพท์ 038-589592   อ.วิภาณี  ศิริพิพัฒน์  E-mail : nfeeast_huasamrong@dei.ac.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin