1.ชื่อโครงการ/งาน/กิจกรรม
โครงงานทีละบาท
2.ชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
นายประเสริฐ พรหมเจริญ
นายอัฒฑ์ พรหมเจริญ
นางสาวณัฐวดี โชคภรณ์ประเสริฐ
3.หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ
กศน.อำเภอแปลงยาว
4.หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมนุษย์มีการดำรงชีวิตและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จากปัจจัยหลาย ด้านทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต จากปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้ ประชากรเกิดการเจ็บป่วยมากขึ้น การเจ็บป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อกลายเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวานซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ สำคัญ เนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง เกินไป ซึ่งโรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นในระยะยาวอาจมีผลในการทำลายหลอดเลือด และหากไม่ได้รับการรักษา อย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้าวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงของโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความผิดปกติอื่น ๆใน ร่างกายตามมา เนื่องจากภาวะนี้จะทำให้การทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายผิดปกติ โดยเฉพาะเซลล์ ประสาทหากมีน้ำตาลในเลือดที่มาก จะไปกระตุ้นการสร้างสารอนุมูลอิสระของออกซิเจน ทำให้เซลล์ ประสาทไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับภาวะนี้ได้ส่งผลให้เกิดการสะสมสารประกอบของน้ำตาลที่มี สารประกอบที่ผิดปกติ นอกจากนั้นสารที่จำเป็นต่อการเจริญของเซลล์ประสาทลดลงร่วมกับมีการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติ จึงทำให้เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้าตามมา อาการชานี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงที่จะ ได้รับอุบัติเหตุหรือทำให้เกิดบาดแผลที่เท้าเพิ่มขึ้น ถ้ามีอาการมากจนทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน เลือด ไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลายได้ เนื้อเยื่อดังกล่าวจะกลายเป็นเนื้อตาย
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้กลุ่มที่รับผิดชอบโครงงาน ได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่จิตอาสาสาธารณสุข จัดทำกะลาเพื่อสุขภาพเท้า โดยปรับเปลี่ยนแนวคิด ให้เป็น ทีละบาท โดยใช้วิธีการให้ผู้ป่วยเบาหวานช่วยหาวัสดุกะลาที่ใช้แล้วในชุมชนและ เรียนรู้วิธีการร่วมกัน ทำกะลานวดฝ่าเท้าที่ช่วยนวดกดกระตุ้นฝ่าเท้าช่วยบรรเทาอาการชา ปลายเท้าจากโรคเบาหวาน ปฏิบัติร่วมกับการรักษาด้วยยาและผู้ป่วยสามารถทำกะลานวดฝ่าเท้าตนเองใช้ที่บ้านได้ ซึ่งเป็นการบูรณาการภูมิปัญญาพื้นบ้านกับแนวทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ภายใต้ สโลแกน "ทีละบาท พิชิต เบาหวาน" ให้สอดคล้องกับการบริการด้านการดูแลเท้าของผู้ป่วย รวมถึงญาติของผู้ป่วยและผู้ที่สนใจได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
5.วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. พัฒนารูปแบบการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
2. ลดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
3. กดนวดกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้า
4. ปรับการทำงานของเส้นประสาทบริเวณเท้าให้ทำงานอย่างสมดุล
5. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น
6. นวดเท้าบนกระลา ช่วยให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกาย
7. ส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยครอบครัวและชุมชน เป็นการส่งเสริมการ ดูแลตนเอง การพึ่งตนเองของผู้ป่วยเบาหวานส่งผลให้เห็นคุณค่าของตนเอง ได้ดูแลสุขภาพ ตนเองและแบ่งเบาภาระของครอบครัว
6.วิธีดำเนินการ
6.1.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
6.2.วางแผนจัดทำโครงงานกะลาเพื่อสุขภาพเท้า
6.3.เตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ในการจัดทำ
6.4.ลงมือปฏิบัติจัดทำกะลานวดเท้าเพื่อสุขภาพ
ขั้นตอนการทำ
1.คัดเลือกกะลามะพราวขนาดพอดี ไมเล็กหรือใหญเกินไป เลือกเฉพาะดานที่มีตา (กะลาตัวผู)
2.นํากะลาที่คัดไวแลว มาลางทําความสะอาด นํากะลาที่ลางสะอาดแลวไปผึ่งแดดใหแหง จากนั้นนำมาขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบ
3.จากนั้นหาเหล็กกลมที่มีขนาดความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร มาตัดเพื่อเตรียมเชื่อมกับฐานเหยียบ
4.นำเหล็กกล่องมาประกบทำเป็นฐาน ด้านบนปูด้วยไม้แผ่น จากนั้นนำเหล็กกลมที่ทำไว้มาเชื่อมติดด้านหลังฐานเพื่อทำเป็นที่จับกันล้ม
5.นำกะลาที่ขัดไว้ มาวัดที่แผ่นไม้ลองเหยียบ จากนั้นเซาะร่อง พื่อนำกะลาใส่ลงไป ยึดด้วยกาวร้อนเพื่อเพื่อความแน่นหนา
6.เมื่อเสร็จแล้วจะเป็นชิ้นงานที่สวยงาม พร้อมใช้งาน
6.5.รายงานสรุปผลการจัดทำโครงงาน
7.ขอบข่ายการดำเนินงาน
-ผู้ป่วยเบาหวาน ใน หมู่ 11 บ้านหนองสาริกา ตำบลแปลงยาว
8.ระยะเวลาดำเนินงาน
-ระหว่างวันที่ 7-13 กุมภาพันธ์ 65
9.งบประมาณ
-ไม่มี
10.ตัวชี้วัดความสำเร็จ
- การขยายชิ้นงานไปตามชุมชนเพื่อนำไปช่วยส่งเสริมการ ดูแลตนเอง การพึ่งตนเองของผู้ป่วยเบาหวานส่งผลให้เห็นคุณค่าของตนเอง ได้ดูแลสุขภาพ ตนเองและแบ่งเบาภาระของครอบครัว
11.กรอบแนวทางการจัดการปัญหา/ความเสี่ยงของโครงการ
- การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ด้วยการน้อมนําปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ ประกอบกับ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิ ปัญญาไทยที่หลากหลายและเข้มแข็ง ทําให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันและ ความพร้อม ในการเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน
12.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ประยุกต์วัสดุที่มีในท้องถิ่น (กะลา) และราวไม้คู่มาใช้ในการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพ
ลดอาการชาที่เท้า และข้อเสื่อมเพื่อใช้บำบัดฟื้นฟูสุขภาพ ระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละวัน
เข้าชม : 305 |