[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
   กลับหน้าหลัก

ประวัติกศน.ตำบลบางคา

 

 

ตำบลบางคา

1.ประวัติความเป็นมาของชุมชน

ตำบลบางคาเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอราชสาส์น มีพื้นที่ทั้งหมด  22,875 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 21,591 ไร่ ครัวเรือน  เกษตรกรประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร  เช่น  ทำนา  ทำสวน     เลี้ยงสัตว์น้ำ  สภาพแวดล้อมและสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  เช่น  มีการเปลี่ยนจากพื้นที่ทำนา ทำสวน  มาเป็นการเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้น   มีประชากรไปทำงานโรงงานมากขึ้น

ลักษณะทางกายภาพ

ประวัติความเป็นมา

ตั้งขึ้นในราวปี พ..2327 หรือประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว สภาพเดิมของหมู่บ้านเป็นป่ามีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก ส่วนที่เรียกว่าบ้านบางคาเพราะในช่วงเวลาต่อมาหลังจากมีชาวบ้านจากบางคล้า แปดริ้ว และชาวเขมรเข้ามาบุกเบิกทำเป็นทุ่งนาที่ทำกิน จนสภาพป่าหมดไปกลายเป็นที่ราบลุ่ม และทำการสร้างวัดในที่ซึ่งปกคลุมไปด้วยหญ้าคาอันเป็นที่รกร้าง ชาวบ้านร่วมแรงกันถากถางจนสามารถสร้างวัดได้แล้วเสร็จและเรียกชื่อวัดกับบริเวณแถบนี้ว่าบางหญ้าคาครั้นต่อมาคำเรียกได้กร่อนลงจนเหลือเพียง   บางคา 

ตำบลบางคาแบ่งการปกครองออกเป็น  6  หมู่บ้าน    คือ

หมู่ที่ 1  บ้านไผ่ขวาง

หมู่ที่ 2  บ้านราชสาส์น

หมู่ที่ 3  บ้านบางคา

หมู่ที่ 4  บ้านเตาอิฐ

หมู่ที่ 5  บ้านดอนทอง

หมู่ที่ 6  บ้านจระเข้ตาย

ที่ตั้งและอาณาเขตของตำบล

ตำบลบางคา  ตั้งอยู่ตอนกลางของอำเภอราชสาส์น  ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอพนมสารคามประมาณ   13  กิโลเมตร  มีคลองท่าลาดผ่านตอนใต้ของตำบล  ซึ่งใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแนวตำบลกับตำบลเมืองใหม่มีพื้นที่รวมประมาณ 22.875 ไร่

ทิศเหนือ                 ติดต่อกับตำบลดงน้อย  อำเภอราชสาส์น

ทิศใต้                     ติดต่อกับตำบลเมืองใหม่  อำเภอราชสาส์น

ทิศตะวันออก           ติดต่อกับตำบลพนมสารคาม  ตำบลหนองยาว   อำเภอพนมสารคาม

ทิศตะวันตก             ติดต่อตำบลหัวไทร  ตำบลปากน้ำ  อำเภอบางคล้า

ข้อมูลทางกายภาพ

จำนวนประชากรและครัวเรือน   ข้อมูลจากการสำรวจ  จปฐ. ปี2551 ประชากรอาศัยอยู่จริง 

- จำนวนประชากรทั้งหมด                                  1,347    คน

                                    ชาย                                                          686    คน

                                    หญิง                                                        661    คน

- จำนวนครัวเรือนทั้งหมด                                      411    ครัวเรือน

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มติดคลองท่าลาด ตอนบนมีความสูงจาก ระดับน้ำทะเล7,9,10,12,14 เมตร  นับจากที่ราบติดคลองท่าลาดไปทางเหนือของตำบลพื้นที่สูงที่สุดในเขตหมู่ที่ 2 และ     ต่ำที่สุดอยู่ในหมู่ที่ 4 ได้รับน้ำจากคลองท่าลาดซึ่งไหลมาจากตอนกลางของ อ.พนมสารคามต่อเนื่องจากคลองสียัด  ทิศทางการไหลของน้ำจากตะวันออกเฉียงใต้มาทางตะวันตกเฉียงเหนือ  จากคลองสียัดผ่านคลองท่าลาดไปบรรจบแม่น้ำ

บางปะกงที่ อ.บางคล้า  (คลองท่าลาดที่เกิดจากคลองสาขา คือคลองสียัดและคลองระบบ มีต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอสนามชัยเขต

พื้นที่ป่า

ตำบลบางคา ไม่มีพื้นที่ป่า และไม่มีพื้นที่สาธารณะที่ใช้ปลูกป่า แต่ได้มีการปลูกต้นยูคาลิปตัส  เพื่อทดลองในพื้นที่นา จำนวน 80 ไร่ และได้มีการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และตามแนวพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

แหล่งน้ำและปริมาณน้ำในรอบปี เกษตรกรใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและเพื่อการเกษตร ในพื้นที่ตำบลบางคานั้น อาศัยน้ำฝนและน้ำจากคลองภายในตำบล โดยมีแหล่งน้ำที่สำคัญ

1. คลองท่าลาด                     ใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ 1,2,3,4 และ 6

2. คลองจระเข้ตาย                ใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ 4,6

3. คลองทิว                          ใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ 4

4. คลองไผ่กลึง                    ใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ 5

5. คลองตะเคียน                   ใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ 1

6. หนองสาหร่าย                  ใช้ประโยชน์ในหมู่ที่ 2,4,5

ปริมาณในรอบปี

เกษตรกรใช้นำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรตลอดปี

ปริมาณน้ำฝน

ตำบลบางคา มีฝนตกตามฤดูกาล ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม โดยมีฝนตกชุกมากที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม และฝนตกน้อยที่สุดเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

                        มีปริมาณน้ำฝนตลอดปี    เฉลี่ย 1,200 ลูกบาศก์เมตร

                        จำนวนฝนตกตลอดปี                   120  วัน

สภาพภูมิอากาศ

โดยทั่วไปมีฝนตกตามฤดูกาล ได้รับอิทธิพลจากภูมิอากาศแบบในเมืองร้อยเฉพาะฤดูหรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนฤดูหนาว ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

สรุปสภาพภูมิอากาศของตำบลบางคา แบบในภาพรวมของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นภูมิอากาศแบบซาวันนา

 ( Savannah Climate) ลักษณะเด่นคือเป็นอากาศแบบแห้งแล้งชัดเจนในฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือน เมษายน และอากาศร้อนชื้น ในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนในรอบ 3 ปี เฉลี่ย100.1 มิลลิเมตร

สภาพดินฟ้าอากาศแบ่งเป็น 3 ฤดู

                                    ฤดูร้อน              เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม พฤษภาคม

                                    ฤดูฝน                เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน พฤศจิกายน

                                    ฤดูหนาว            เริ่มตั้งแต่เดือน ธันวาคม กุมภาพันธ์

อุณหภูมิสูงสุด 35 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 22.3 องศาเซลเซียส ปานกลางเฉลี่ย 27.7 องศาเซลเซียสอุณหภูมิ ตำบลบางคา มีอุณหภูมิอากาศ ประมาณ 25-35c และมีความชื้นสัมพัทธ์ ประมาณ 0.5 เหมือนจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกทั่ว ๆ ไป

ความเหมาะสมของดินและคุณภาพดิน

สภาพดินทั่วไปของตำบลเป็นดินชุดที่  10, 9  คือชุดรังสิต  และชุดมหาโพธิ์  ดินชุดมหาโพธิ์อยู่ทางตอนเหนือคลองท่าลาด และโดยสภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม น้ำทะเลเคยขึ้นถึง  เกิดจากตะกอนของน้ำจืดและน้ำกร่อยมีฤทธิ์เป็นกรด  ชั้นบนของดินจะเป็นสีเทาเข้มถึงดำมีจุดประสีน้ำตาล  ชั้นล่างจะมีสีน้ำตาลปนเทาเข้มมีจุดประสีแดงอ่อน, สีแดงปนเหลืองและสีเหลือง  มีลักษณะเป็นดินเหนียว มีการระบายน้ำเลว  ความสามารถในการให้น้ำซึมผ่านช้า  การไหลบ่าของน้ำหน้าผิวดินช้า  และหน้าดินเปรี้ยวปากกลางมีความเป็นกรดเป็นต่างประมาณ  4.1 - 4.7

เส้นทางคมนาคมในตำบล

ตำบลบางคา    มีเส้นทางการคมนาคมที่เป็นเส้นหลัก คือ ใช้ติดต่อระหว่างหมู่บ้านและภายในตำบล  ส่วนใหญ่ใช้การเดินทางรถจักยานยนต์, รถยนต์   (ไม่มีรถประจำทางผ่าน) 

-  ถนนลาดยางสายพนมสารคาม ราชสาส์น  หมายเลข 3444  เป็นถนนลาดยางเชื่อมระหว่างทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3245  ผ่านที่ว่าการอำเภอราชสาส์นถึงตำบลดงน้อย  กับทางหลวงจังหวัดหมายเลข  3347

-  ถนนลาดยาง ฉช 3028 สายบ้านปากคลองท่าลาด ราชสาส์น  ผ่านหมู่ที่  1, 2, 5

-  ถนนลาดยาง  เชื่อมระหว่างตำบลบางคากับตำบลปากน้ำ  เข้าทางมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ (บางคล้า  เขตอำเภอบางคล้าการเดินทางติดต่อกับอำเภอจำนวน  2 สาย  ไม่มีรถโดยสารประจำทาง

-  ส่วนการเดินทางน้ำนั้นมีคลองท่าลาด  แต่ปัจจุบันประชาชนนิยมใช้การคมนาคมทางบก

นอกนั้นเป็นถนนลาดยาง  คอนกรีต  ลูกรัง  ภายในหมู่บ้าน

บริการการศึกษา

ประชาชนในตำบลบางคา ปัจจุบันได้รับการศึกษาภาคบังคับและได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่มีโรงเรียนระดับมัธยมและใกล้อำเภอพนมสารคาม สามารถเดินทางไปศึกษาในอำเภอพนมสารคามหรือในจังหวัดได้ เพราะการคมนาคมสะดวกและไม่ไกล

 

                 มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา  2 แห่ง  และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา  1  แห่ง

 

ลำดับที่

ชื่อโรงเรียน

ที่ตั้งหมู่ที่

จำนวนครู

จำนวนนักเรียน

1

2

4

โรงเรียนวัดจระเข้ตาย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดจระเข้ตาย

โรงเรียนราชสาส์นวิทยา

6

3

2

7

1

15

163

23

199

 

สาธารณูปโภค

1.  แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

                        -  ประปาหมู่บ้าน 3 แห่ง

                        -  บ่อน้ำตื้นส่วนตัว 86 แห่ง,บ่อน้ำตื้นสาธารณะ 17 แห่ง

                        -  บ่อบาดาลส่วนตัว 5 แห่ง,บ่อน้ำบาดาลสาธารณะ 6 แห่ง

2.   การใช้ไฟฟ้า

หมู่บ้านในพื้นที่มีไฟฟ้าใช้ครบทั้ง 6 หมู่บ้าน แต่ยังไม่ครบทุกหลังคาเรือน จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 99.90

3.  การโทรคมนาคม

                        -  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชนรับอนุญาต          1          แห่ง

                        -  ชุมสายโทรศัพท์           3          แห่ง

                        -  โทรศัพท์ประจำบ้าน     283       ครัวเรือน

                        -  โทรศัพท์สาธารณะ       3          แห่ง

การสาธารณสุข

-  มีสถานีอนามัย 1 แห่ง ได้แก่สถานีอนามัยตำบลบางคา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2

-  มีกองทุนยาและเวชภัณฑ์ยาอยู่ที่ หมู่ที่ 4 โรคที่พบมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้แก่ โรคไข้หวัด รองลงมา ได้แก่ โรคเกี่ยวกับสุขภาพปาก เหงือก และฟัน และโรงทางเดินอาหาร

-  ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 6 แห่ง

-  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

สถานที่บริการ/แหล่งท่องเที่ยว/สถานที่สำคัญ

-  วัดเตาอิฐ

-  วัดจระเข้ตาย

-  โรงเรียนประถมศึกษา  1  แห่ง คือ โรงเรียนวัดจระเข้ตาย (พินิจค้าประชาสรรค์)

-  โรงเรียนมัธยมศึกษา  1  แห่ง คือ โรงเรียนราชสาส์นวิทยา

-  ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจระเข้ตาย  1  แห่ง

-  สถานีอนามัยประจำตำบล  1  แห่ง

-  สถานีตำรวจ  1  แห่ง

-  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชนรับอนุญาต  1  แห่ง

-  สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  1  แห่ง

-  ประปาหมู่บ้าน  2  แห่ง

-  ปั๊มน้ำมัน  2   แห่ง

-  โรงสีขนาดเล็กจำนวน  4   แห่ง

-  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 4  แห่ง

ศาสนา ประเพณี  วัฒนธรรม

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  และประชาชนในตำบลบางคาส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน จึงมีประเพณีไทยและจีนปะปนกัน เช่น

-  ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ (ตักบาตรทำบุญ)

-  ประเพณีวันตรุษจีน (กราบไหว้เจ้า,บรรพบุรุษ)

-  ประเพณีสงกรานต์ (รดน้ำ-ดำหัว,สรงน้ำพระ)

-  ประเพณีบวชนาค,ขึ้นบ้านใหม่

-  ประเพณีสารทจีน,สารทไทย

-  ประเพณีลอยกระทง

-  ประเพณีทอดกฐิน,ผ้าป่า

-  ประเพณีทำขวัญข้าว (ทำในระยะข้าวออกรวง)

กลุ่ม/องค์กรชุมชนในหมู่บ้าน

- กลุ่มพัฒนาสตรีตำบลบางคา           

- กองทุนหมู่บ้าน  6  กองทุน

- ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนตำบลบางคา

- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ม.3 ,4  และ 5

- กลุ่มอาสาพัฒนาชุมชน   จำนวน    24  คน

- กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน  จำนวน    18  คน

 



เข้าชม : 1450
 
ศกร.ตำบลบางคา  อำเภอราชสาส์น  จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์     E-mail : Bangkha.99@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin