[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
             

 

 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : อาหารเพื่อสุขภาพ
หัวข้อเรื่อง : โรคยอดฮิตคนติดมือถือ

พุธ ที่ 7 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2558

คะแนน vote : 219  

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมานับว่าเป็นยุคทองของสมาร์ทโฟนที่แข่งขันกันออกรุ่นใหม่ นวัตกรรมใหม่ ดึงดูดใจผู้บริโภคกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาการใช้งานให้ตอบรับความต้องการของผู้ที่นิยมใช้ชีวิตอยู่กับมือถือให้เป็น All in one มากที่สุด คือแค่มีมือถือเครื่องเดียวคุณก็สามารถนั่งทำงานจากที่ไหนก็ได้อย่างสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทราบถึงพิษภัยที่มาจากพฤติกรรมการติดจอที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของคุณไว้ด้วย

โรคติดโทรศัพท์มือถือนั้นมืชื่อเรียกในภาษาการแพทย์ว่า “โนโมโฟเบีย” ถือเป็นโรคสมัยใหม่ ที่ YouGov ซึ่งเป็นองค์การวิจัยของสหราชอาณาจักร บัญญัติศัพท์คำนี้ออกมาเรียกใช้ โดยการนำคำว่า no-mobile-phone มารวมกับคำว่า phobia ซึ่งหมายถึงโรคกลัวในทางจิตเวช จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวล เป็นความกลัวที่มากกว่าความกลัวทั่วๆ ไป
คนที่ เป็นโรคโนโมโฟเบีย จะมีอาการเครียด คลื่นไส้ ตัวสั่น เป็นอาการเกิดจากความหวาดกลัวในการขาดโทรศัพท์มือถือ ไม่มีโทรศัพท์อยู่ติดกับตัว รวมไปถึงความเครียดเมื่ออยู่ในจุดอับสัญญาณ ความกังวลเมื่อเเบตเตอรี่หมด กลัวที่จะไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับใครได้

การ บ่งบอกสัญญาณของโรคติดมือถือ เช่น หมกมุ่นอยู่กับการเช็คมือถือตลอดเวลา กังวลไปว่ามือถือจะหายคอยตรวจเช็คดูตลอด ต้องวางมือถือไว้ในจุดที่เอื้อมหยิบถึงได้ตลอดเวลา ใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือมากว่าสนทนากับคนรอบข้าง ก่อนทานอาหารต้องถ่ายรูปเพื่อโพสลงโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค โพสรูปและความรู้สึกลงในสื่อออนไลน์ตลอดเวลา วันละหลายครั้ง และทีนี้มาดูผลกระทบต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายกันบ้าง

อาการปวดเมื่อย
อาการปวดเมื่อย คอ บ่า ไหล่ ถือเป็นอาการลำดับแรกๆ ที่เป็นผลมาจากการนั่งเกร็งในท่าเดิมๆ ยิ่งไปกว่านั้นเวลาที่เราเพ่งดูหน้าจอนั้น ท่าทางรายการของเราก็จะค่อยค้อมลง ตัวงอและงุ้ม ส่งผลให้ล้าไปทั้งคอและบ่า และอาจส่งผลไปถึงการปวดศีรษะ เพราะเลือดที่ไปเลี้ยงสมองนั้นต้องไหลผ่านกล้ามเนื้อส่วนบ่า ต้นคอ เมื่อเกิดอาการเกร็งจนกล้ามเนื้อบิด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกนัก เมื่อเป็นบ่อยครั้งเข้าจะทำให้รู้สึกปวดศีรษะได้ หากเกิดอาการนี้กับเด็กหรือวัยรุ่นจะส่งผลให้กระดูกหรือหมอนรองกระดูกเสื่อก่อนวันอันควรอีกด้วย
นอกจากปวดเมื่อยแล้วจากการนั่งหลังงุ้มแล้ว ยังส่งผลต่อโรคระบบทางเดินหายใจ เมื่อนั่งหลังงุ้มจะทำให้หายใจไม่สุดปอด หายใจสั้นและติดขัด ส่งผลต่อการขับของเสียหรือเชื้อโรคในทางเดินหายใจที่ถูกจำกัดลง

อาการตาเสื่อม
การจ้องหน้าจอนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาเกร็งตัว เมื่อมองแสงสีของภาพจากจอที่ฉูดฉาด เคลื่อนที่เร็ว ทำให้ประสาทตาล้า เกิดอาการตาแห้ง ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้บ่อยครั้งเข้าก็จะส่งผลให้ประสาทตาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

อาการนิ้วล็อก
การใช้มือถือจิ้มที่หน้าจอบ่อยๆ นานๆ อาจทำให้เป็นอาการนิ้วล็อก นิ้วชา ปวดข้อมือ อาจะถึงขั้นเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ ลักษณะอาการนิ้วล็อกให้สังเกตจาก จะเริ่มกำมือไม่ค่อยลง มือและนิ้วแข็ง กำแล้วเหยียดขึ้นไม่ได้ เมื่อตื่นนอนขึ้นมายิ่งรู้สึกมือแข็งมาก รู้สึกปวดเมื่อยมือและนิ้ว ให้สงสัยได้เลยว่าคุณกำลังเป็นโรคนิ้วล็อก ควรพบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป

อาการอ้วนและโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
การนั่งอยู่กับที่นานๆ ทำให้ร่างกายไม่เกิดการเผาผลาญ อาหารถูกพอกพูนเป็นไขมันสะสมโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ก้น และต้นขา เกิดการสะสมเซลลูไลท์ นอกจากจะทำให้อ้วนขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพของกระเพาะอาหาร อาหารย่อยยาก ท้องอืด ลำไส้อ่อนแรง เพราะไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวของลำไส้

ผู้ที่มีอาการดังกล่าว ทางการแพทย์ต้องใช้การรักษาแบบ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ซึ่งเป็นการรักษาที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่างๆ ทำโดยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลงความเชื่อเฉพาะตัวเเละกรอบความคิดเพื่อให้ผู้ป่วยเห็นปัญหาใน ปัจจุบัน เเละสามารถลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ เมื่อรับการรักษาจนหายดีเเล้ว จะรู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือให้ต้องมาคอยเป็นกังวล

หากคุณรู้ตัวว่าพึ่งเริ่มติดโทรศัพท์ ลองรักษาด้วยตัวเองก่อน เริ่มจากลองใช้ชีวิตโดยไม่ต้องมีมือถือ ใช้มือถือเฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น หากรู้สึกเหงา ให้เดินไปคุยกับใครสักคนใกล้ๆ แถวนั้น คุยกับคนในบ้าน คุยกับเพื่อนร่วมงาน ในช่วงวันหยุดลองไม่หยิบมือถือขึ้นมาเมื่อรู้สึกว่างให้หาอะไรทำอย่างอื่นทดแทน อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ปิดโทรศัพท์มือถือเมื่อเข้านอน แต่หากทำเเล้วรู้สึกว่าไม่สามารถอยู่ห่างจากมือถือได้ ควรปรึกษาจิตเเพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
เทคโนโลยีผูกพันและสำคัญกับชีวิตของคนเราในยุคนี้ตลอด 24 ชั่วโมง ต้องรู้จักฉลาดเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา เลือกใช้ให้พอประมาณ เพื่อรักษาร่างกายของเราให้คงอยู่กับเราต่อไปนานๆ



เข้าชม : 1906


อาหารเพื่อสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      โรคยอดฮิตคนติดมือถือ 7 / ต.ค. / 2558
      อาหารเพื่อสุขภาพ 2 / ม.ค. / 2557