นางบานเย็น เข็มลาย
ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร "บ้านบึงตะเข้"
ประวัติหมู่บ้าน
เดิมพื้นที่หมู่ 14 ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ทำนาจำนวนมากและดินมีความอุดมสมบูรณ์ ลักษณะดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การปลูกข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ท้ายหมู่บ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของจระเข้ มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมที่แตกต่างจากคนไทยแท้ กลุ่มคนที่อยู่ในหมู่บ้านนี้เป็นคนลาวที่โดนกวาดต้อนจากแขวนลาวครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในจำนวนนี้ก็มีคนที่พอใจที่จะตั้งรกรากถิ่นฐานในบริเวณนี้ ทำให้เกิดชนกลุ่มลาวใน ปัจจุบัน
และยังคงมีประเพณีวัฒนธรรมสืบทอดกันมา เช่น ก่อนไถดะนาชาวนาจะทำพิธีขอขมาพระแม่ธรณี พร้อมลงมือไถดะ โดยใช้ผู้ชายบริสุทธิ์ไถ 3 รอบก่อน จากนั้นทำการคาดเพื่อทำให้พื้นที่เรียบ จากนั้นทำการหว่านข้าวเปลือกเมื่อข้าวอายุได้ 1 เดือนก็จะทำการตกกล้า จะทำการทำสัญลักษณ์โดยการสานตะกร้าวางไว้มุมทั้ง4 ด้านของผืนนาเพื่อนำอาหารมาถวายพระแม่โพสพในขณะที่ข้าวตั้งท้อง ต่อมาเมื่อข้าวเหลืองแล้วจะมีการถือแรงเกี่ยวข้าวหรือย่ำด้วยควายหรือตี จากนั้นก็นำข้าวเข้ายุ่งแล้วก่อนนำข้าวมากินต้องทำพิธีสู่ขวัญข้าวสู่ขวัญเกวียน และสู่ขวัญควายพร้อมขนมพื้นบ้านอาทิเช่น ต้มขาวต้มแดง
ในปัจจุบันสภาพพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีคนมาอาศัยอยู่มาจึงมีการบุกรุกป่ากลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นเมื่อมีพื้นที่เพาะปลูกมากการปลูกข้าวจึงมากตามไปด้วย เมื่อมีผลผลิตมากราคาข้าวก็ตกต่ำแต่มีค่าใช้จ่ายสูง ขณะนั้นเกษตรกรเองก็คำนึงถึงแต่เพียงการเพิ่มผลผลิตขณะเดียวกันก็ทำให้ต้นทุนสูงกอปรกับเกษตรกรเองยังไม่มีการรวมกลุ่มกันทำให้เกิดปัญหาจากการกดราคาของพ่อค้าคนกลางแหล่งเกษตรกรก็ยังไม่มีความรู้ในเรื่องการลดต้นทุนจึงเป็นสาเหตุให้มีการรวมตัวเพื่อช่วยกันระดมความคิดที่จะช่วยเหลือกันระดมทุนเพื่อการลดต้นทุนโดยการใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในการแปรรูปข้าวดังนั้นจึงเป็นที่มาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบึงตะเข้ซึ่งได้มีการนำผลผลิตข้าวเปลือกมารวมกันเพื่อสีข้าวโดยสีมือหมุนและตำด้วยครกกระเดื่องเพื่อให้ข้าวมีความอ่อนนุ่มน่ารับประทานโดยอาศัยสมาชิกของกลุ่มที่มีความสามารถในด้านการฝัดและกระทายข้าวแยกข้าวสารออกจาก แกลบ ปลาย ต่อมาก็นำข้าวสารที่เหลือจากการบริโภคมาจำหน่าย แจกจ่ายจนเป็นที่นิยมของผู้บริโภคกลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะออมเพื่อระดมทุนเพื่อใช้เป็นทุนไว้ใช้ในการดำเนินกิจกรรมให้ต่อเนื่อง
ปัญหาและเหตุผลในการจัดตั้งกลุ่ม
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบึงตะเข้ เป็นการรวมตัวกันของชาวนา จำนวน 13 คน จัดตั้งกลุ่ม สาเหตุเนื่องจากราคาข้าวเปลือกตกต่ำมากขายข้าวเปลือกหมดนาก็ยังไม่พอชำระหนี้ แต่ข้าวสารมีราคาคงเดิมไม่ตกต่ำเหมือราคาข้าวเปลือกชาวนาเหล่านี้จึงรวมตัวกันและได้ตั้งให้นางบานเย็น เข็มลาย เป็นแกนนำในการแปรรูป การทำกิจกรรมครั้งนี้สมาชิกได้นำข้าวเปลือกมาคนละ 10 ถัง ขายข้าวเปลือกส่วนหนึ่งเพื่อนำเงินมาซื้อครกกระเดื่องและสีมือหมุน 2 ตัว ทำการผลิตเป็นข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ โดยอาศัยโรงเรือนเลี้ยงไก่เก่า ผลผลิตครั้งแรกลูกค้ายังไม่สนใจ เพราะข้าวสารมีลักษณะสีขาวขุ่นไม่น่ารับประทาน แต่มีลูกค้ากลุ่ม
หนึ่งที่สนใจรักษาสุขภาพมองเห็นคุณประโยชน์ของข้าวสีขุ่น ซึ่งมีใยอาหารช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น โรคเหน็บชา โรคปากนกกระจอก โรคมะเร็งลำไส้ โรคเบาหวาน ฯลฯ ซึ่งในปีต่อมาก็มีลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งทำให้สมาชิกในกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ในปัจจุบันมีการจัดซื้อ โรงสีขนาด 2 ตัน มาทำผลิตภัณฑ์โดยมีสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหมุนเวียนกันมา สัปดาห์ละ 5- 10 คน โดยรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกและบุคคลภายนอก พร้อมทั้งจัดซื้อและขายพันธุ์ข้าวให้แก่สมาชิก
ประวัติกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบึงตะเข้
อดีต กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบึงตะเข้ มีสมาชิก จำนวน 13 คน และได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการผลิตเพื่อให้เพียงพอตามความต้องการของตลาด แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และคุณภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสามารถผลิตได้วันละ 100 กิโลกรัม
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบึงตะเข้ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 โดยเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรชาวนา ซึ่งประสบปัญหาข้าวเปลือกราคาถูก การถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง จึงได้ทำการแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มราคาของผลผลิต มีข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ โดยมีกรรมวิธีในการผลิตตามภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการตำด้วยครกกระเดื่อง และสีมือหมุน
ทุนของกลุ่มครั้งแรก
1. ภูมิปัญญาของสมาชิกในกระบวนการผลิตโดยใช้ครกกระเดื่องและสีมือหมุน
2. ข้าวเปลือก คนละ 10 ถัง
3. สมาชิก
วิสัยทัศน์
“กลุ่มมีมาตรฐานในด้านการบริหาร บัญชี ตลาด และการผลิต มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง”
พันธกิจ
1. มุ่งมั่นแก้ไขผลิตผลทางการเกษตรให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
2. พึ่งพาตนเองโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. นำชุมชนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ห่างไกลอบายมุก
4. มุ่งให้คนในชุมชนมีสุขภาพ ร่างกายและจิตใจ สมบูรณ์แข็งแรง
5. ส่งเสริมคนในชุมชนมีความรักสามัคคี รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
6. ส่งเสริมให้คนในชุมชนร่วมทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา
คำขวัญ
“ทำดี คิดเป็น มีหลักการ
กิจกรรมของกลุ่ม
1. จัดทำข้าวพันธุ์ให้กับสมาชิก
2. รับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกและเครือข่าย
3. รับสีข้าวเปลือกให้กับสมาชิกและชาวบ้านทั่วไป
4. จัดให้มีการออมทรัพย์และมีการถือหุ้นของสมาชิก
5. จำหน่ายข้าวสารหอมมะลิ