[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
                             ในภาพอาจจะมี ข้อความ
 
   กลับหน้าหลัก
การเรียนรู้แบบโครงงาน

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล

ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ

27เมษายน2560

1. ความสำคัญ

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการรู้หรือมีความสงสัยด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นวิธีเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม

การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้วิธีการหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน เช่น กระบวนการกลุ่ม การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การวิจัย ทั้งนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สนใจ โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้สอนจะส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ให้ได้ความรู้ที่สมบูรณ์จากความสำคัญของการเรียนรู้แบบโครงการดังกล่าว

การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้การเรียนวิชาเลือกในแต่ละระดับ สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต(สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย,2553:17)

2. แนวคิด

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงตามหลักพัฒนาการคิดของบลูม(Bloom) ทั้ง 6 ขั้น คือ ความรู้ความจำ(Knowledge) ความเข้าใจ(Comprehension) การนำไปใช้(Application) การวิเคราะห์(Analysis) การสังเคราะห์(Synthesis) และการประเมินค่า (Evaluation) นอกจากนั้นยังเป็นการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญต่อผู้เรียนทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงาน โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

3. ความหมายของโครงงาน

โครงงาน หมายถึง แผนงานและกิจกรรมที่มีการกำหนดรูปแบบการทำงานอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานหรือผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตรและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้

4. ประเภทของโครงงาน

โครงงานแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1) ประเภทศึกษาทดลอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบทดลองหรือพิสูจน์ความจริงตามหลักวิชาการอย่างเป็นเหตุเป็นผลเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในสิ่งที่ต้องการรู้

2) ประเภทสำรวจข้อมูล เป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้น ๆ มาจำแนกเป็นหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนหรือพัฒนางานหรือปรับปรุงงาน

3) ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นการผลิตชิ้นงานใหม่และศึกษาคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประโยชน์และคุณค่าของชิ้นงานนั้น ๆ

4) ประเภทพัฒนาผลงาน เป็นการค้นคว้าหรือพัฒนาชิ้นงานให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นหรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

5. ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงาน

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงานมิได้อยู่ที่ผลผลิตหรือชิ้นงานที่ได้จากการทำโครงงาน แต่ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับคือกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า ทดลองและสรุปผลการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบโครงงาน ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ดังนี้

1) ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตามความถนัดและความสนใจ

2) ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเองหรือร่วมฝึกทักษะเป็นกลุ่ม

3) ผู้เรียนมีการทำงานเป็นระบบ

4) ผู้เรียนมีโอกาสในการพัฒนาความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์

5) ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทำงาน

6) ผลงานหรือชิ้นงานสามารถนำไปสู่การประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียนตามสภาพจริงได้

6. กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมี 3 ขั้นตอน คือ การเลือกโครงงาน การจัดทำโครงงาน และการเขียนรายงานโครงงาน

ขั้นตอนที่ 1 การเลือกโครงงาน

เป็นขั้นที่มีความสำคัญมาก ครูและผู้เรียนร่วมกันศึกษา สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ของรายวิชาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพปัญหาของชุมชน ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน นำมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจเลือกโครงงานและกำหนดหัวข้อโครงงาน โดยวิเคราะห์ ด้านคือ

1)ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

2)ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

3) ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาการ

จากตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกโครงงาน ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกโครงงาน

โครงงานที่ 1. ……………………………………………………………………………………………

โครงงานที่ 2 ……………………………………………………………………………………………

โครงงานที่ 3 ……………………………………………………………………………………………

ที่

 

รายการ

 

 

 

โครงงานที่ 1

        คะแนน

โครงงานที่ 2

      คะแนน

โครงงานที่ 3

      คะแนน

4

3

2

1

4

3

2

1

4

3

2

1

1

ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

1.ความสนใจและความถนัด

2.ความรู้และประสบการณ์เดิม

3.ความพร้อมด้านงบประมาณ

4.ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์

5.ความพร้อมด้านแรงงาน

6.ความพร้อมด้านเวลา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2

ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

1.เป็นโครงงานที่มีประโยชน์

2.มีผู้ให้การสนับสนุน

3.มีแหล่งวัสดุอุปกรณ์

4.มีแหล่งวิทยาการหรือแหล่งเรียนรู้

5.มีสถานที่ทำกิจกรรมโครงงานที่เหมาะสม

3

ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาการ

1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงาน

2.ขั้นตอนในการปฏิบัติโครงงานสามารถปฏิบัติได้

 

                                    รวม

 

 

 

 

ขั้นตอนการเลือกทำโครงงาน

1.วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกโครงงาน จากข้อมูลทั้ง ด้าน คือ1)ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง 2)ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และ 3) ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาการ จากตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเลือกโครงงาน

โดยให้มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

คะแนน หมายถึง   ระดับดีมาก

3       คะแนน หมายถึง    ระดับดี

2    คะแนน หมายถึง    ระดับปานกลาง

1   คะแนน หมายถึง  ระดับน้อย

2. เมื่อได้คะแนนแต่ละข้อของแต่ละโครงงานแล้ว ให้รวมคะแนนแต่ละ โครงงาน โครงงานใดได้คะแนนมากที่สุด ก็ให้เลือกโครงงานนั้น

ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำโครงงาน เมื่อผู้เรียนเลือกโครงงานได้แล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนการจัดทำโครงงาน ซึ่งประกอบด้วย การเขียนโครงงาน การขออนุมัติโครงงาน และลงมือปฏิบัติงาน

                              2.1 การเขียนโครงงาน

1) ชื่อโครงงาน ควรเขียนสั้น ๆ กระชับ ชัดเจน และสามารถสื่อความหมายได้ว่า ทำอะไร เช่น โครงงานการทำโคมไฟจากไม้ไผ่
2) หลักการและเหตุผล หรือความสำคัญของโครงงาน ควรเขียนสภาพและความต้องการของตนเองและชุมชน ปัญหาที่เกิด วิธีการแก้ปัญหา สภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น และประโยชน์ที่จะได้รับ
3) วัตถุประสงค์ ควรเขียนแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเขียนวัตถุประสงค์ ถ้ามีหลายวัตถุประสงค์ ควรเขียนเป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ
4) เป้าหมาย ควรระบุให้ชัดเจนว่าผลงานที่ได้ คืออะไร มีปริมาณเท่าใดและคุณภาพเป็นอย่างไร
5) วิธีดำเนินงาน เขียนเป็นรายละเอียดขั้นตอนของการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงงาน โดยเขียนเป็นแผนปฏิบัติงาน ประกอบด้วย หัวข้อ กิจกรรม ระยะเวลา สถานที่ ทรัพยากร/ปัจจัย

                                     6) สถานที่ดำเนินโครงงาน
7) ระยะเวลาการดำเนินโครงงานกำหนดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดดำเนินโครงงาน
8) งบประมาณ จัดทำรายละเอียด รายจ่ายที่จะต้องใช้ในการทำโครงงานทั้งหมด ซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ เป็นต้น
9) การติดตามและประเมินผล ต้องมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงงานทุกระยะ คือก่อนดำเนินการโครงงาน ระหว่างดำเนินการโครงงาน และหลังดำเนินการโครงงาน เพื่อดูแลและควบคุมการทำโครงงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ จะต้องเขียนระบุถึงวิธีการ เครื่องมือ ระยะเวลา ในการติดตามและประเมินผล
10) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ให้ระบุถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงงานเป็นทั้งผลที่ได้รับโดยตรงและผลพลอยได้หรือผลกระทบจากโครงงานที่เป็นผลในด้านดีที่คาดว่าจะได้รับนั้นจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
11) ผู้รับผิดชอบโครงงาน ระบุผู้เรียนที่เป็นเจ้าของโครงงานอาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
12) ที่ปรึกษา ที่ปรึกษาในการทำโครงงานของผู้เรียน อาจเป็นครูผู้สอน วิทยากรสอนเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งผู้เรียนจะต้องประสานงานกับผู้ที่จะมาเป็นที่ปรึกษาก่อนที่จะนำชื่อมาเขียนไว้ในโครงงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

         ตัวอย่างแบบฟอร์มเขียนเสนอโครงงาน

1.      ชื่อโครงงาน ..........................................................................................................................

2.      หลักการและเหตุผล ...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

3.      วัตถุประสงค์ .................................................................................................................................................................................................................................................................................................

4.      เป้าหมาย ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................

5.      วิธีดำเนินการ

ที่

           กิจกรรม

                     ปฏิทินปฏิบัติงานโครงงาน

     เดือน

      เดือน

     เดือน

      เดือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.      สถานที่ดำเนินโครงงาน

.................................................................................................................................................

7.      ระยะเวลาดำเนินโครงงาน

.................................................................................................................................................

8.      งบประมาณในการดำเนินการ

..................................................................................................................................................

9.      การติดตามและประเมินผล

1)     ก่อนดำเนินการ ...............................................................................................

2)     ระหว่างดำเนินการ.............................................................................................

3)     เสร็จสิ้นการดำเนินการ.....................................................................................

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

.................................................................................................................................................

11.ผู้รับผิดชอบโครงงาน

1)      …………………………………………………………………………..

2)      …………………………………………………………………………..

3)      …………………………………………………………………………..

12.  ที่ปรึกษาโครงงาน

1)      ………………………………………………………………………….

2)      ………………………………………………………………………….

 

2.2) การขออนุมัติโครงงาน ผู้เรียนต้องเขียนโครงงานและแผนปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม กรณีเป็นกลุ่มจำนวนสมาชิกในกลุ่มต้องเหมาะสมกับขนาดของโครงงาน เสนอต่อผู้สอนเพื่อให้ความเห็นชอบเบื้องต้น แล้วเสนอต่อหัวหน้าสถานศึกษาเพื่ออนุมัติ

 

ตัวอย่างแบบวิเคราะห์โครงงาน

                                                           แบบวิเคราะห์โครงงาน

ชื่อโครงงาน ........................................

ชื่อนักศึกษา ...................... ระดับ................ภาคเรียนที่ ............ กศน.อำเภอ.................................

คำชี้แจง  ให้ครู กศน.พิจารณาแบบเสนอโครงงานของ นักศึกษาในแต่ละขั้นตอนของการเขียนเพื่อเสนอโครงงาน ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในช่อง”รายการ” และเขียนความคิดเห็นของท่าน  ลงในช่อง ” ความคิดเห็น”

                                               รายการ

                                  ความคิดเห็น

1.องค์ประกอบแบบเสนอโครงงาน มีครบ12 หัวข้อ หรือไม่ 

 

2.ชื่อโครงงาน เขียนกระชับชัดเจนและสามารถสื่อความหมายหรือไม่

 

 

3.หลักการและเหตุผลหรือความสำคัญของโครงงาน

เขียนแสดงถึงสภาพและความต้องการของตนเองและชุมชน ปัญหาที่เกิด วิธีการแก้ปัญหา สภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น และประโยชน์ที่จะได้รับ หรือไม่

 

 

4.วัตถุประสงค์

เขียนถึงความต้องการที่จะทำโครงงานชัดเจนหรือไม่

การเขียนวัตถุประสงค์ ถ้ามีหลายวัตถุประสงค์ เขียนเป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญหรือไม่

 

 

 

5.เป้าหมาย

ระบุว่าผลงานที่ได้ คืออะไร มีปริมาณเท่าใดและคุณภาพเป็นอย่างไรหรือไม่

มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือไม่

มีความชัดเจนของการกำหนดกลุ่มเป้าหมายหรือไม่

มีการระบุขอบเขตพื้นที่ดำเนินการหรือไม่

มีการระบุจำนวนหน่วยนับหรือไม่

มีความเป็นไปได้หรือไม่

 

 

6.วิธีดำเนินการ

มีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานชัดเจนหรือไม่

การกำหนดเวลาปฏิบัติงานหรือไม่

ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่

ความสอดคล้องกับเป้าหมายหรือไม่

ความเป็นไปได้หรือไม่

 

7. สถานที่ดำเนินโครงงาน มีความเหมาะสม

 

 8. ระยะเวลาการดำเนินโครงงาน

-                   ระบุ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดดำเนินโครงงาน

 

9. งบประมาณในการดำเนินโครงงาน

ระบุรายละเอียด รายจ่ายที่จะต้องใช้ในการทำโครงงานทั้งหมด ซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เป็นต้น

 

10.การติดตามและประเมินผล

ระบุการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงงานทุกระยะ คือก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ

ระบุถึงวิธีการ เครื่องมือ ระยะเวลา ในการติดตามและประเมินผล

 

 

 11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ระบุถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงงานเป็นทั้งผลที่ได้รับโดยตรงหรือผลกระทบ

- ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับสอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรือไม่

 

12. ผู้รับผิดชอบโครงงาน

ระบุผู้เรียนที่เป็นเจ้าของโครงงานชัดเจนอาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม

 

 

13. ที่ปรึกษา

ระบุที่ปรึกษาในการทำโครงงานชัดเจนหรือไม่ เช่นเป็นครูผู้สอน วิทยากรสอนเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

2.3) ปฏิบัติงาน เมื่อผู้เรียนได้รับอนุมัติให้ทำโครงงานแล้ว ให้ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้จนสำเร็จได้ผลงาน/ชิ้นงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ในระหว่างปฏิบัติงานผู้เรียนจะต้องบันทึกผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงงานต่อผู้สอนตามข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และครูผู้สอนจะต้องลงลายมือชื่อและให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะไว้เป็นหลักฐาน ในแบบบันทึกผลการปฏิบัติงานโครงงาน

 

ตัวอย่างแบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

โครงงาน…………………

ที่

กิจกรรม

ผลการปฏิบัติงาน

ปัญหา/อุปสรรคและการแก้ไข

ครูรับทราบ วัน/เดือน/ปี

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของครู

           
           
           
           

 

 

ขั้นตอนที่ 3 การเขียนรายงานโครงงาน

การเขียนรายงานโครงงานมีองค์ประกอบ ดังนี้ที่      กิจกรรม ผลการปฏิบัติงาน          ปัญหา/อุปสรรค และการแก้ไข     ครูรับทราบ วัน/เดือน/ปี ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของครู

          1) ส่วนนำ ประกอบด้วย ปก คำนำ และสารบัญ
2) ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย

2.1) หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงงาน

 2.2)วิธีดำเนินงาน

ตอนที่ 1 การเตรียมการ

- การศึกษาค้นคว้า จากเอกสาร แบบเรียน ตำรา แหล่ง เรียนรู้ การสำรวจชุมชน และผู้รู้ ฯลฯ

-การเตรียมวัสดุอุปกรณ์

- บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน รายละเอียดเกี่ยวกับ จำนวนผู้ปฏิบัติงาน ความรู้ความสามารถ การแบ่งบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

ตอนที่ 2 การดำเนินงานได้แก่ขั้นตอนการทำโครงงานแต่ละขั้นตอน และวิธีการตรวจสอบความถูกต้อง

ตอนที่ 3 งบประมาณ แสดงค่าใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรม และค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของโครงงาน

ตอนที่ 4 ผลการดำเนินงาน เขียนสรุปว่าผลงาน/ชิ้นงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นต่อผลงานหรือชิ้นงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อผู้ที่ต้องการทำโครงงานลักษณะนี้ต่อไป

3) ภาคผนวก

– โครงงาน

7. การประเมินโครงงาน

แนวทางการประเมินโครงงานโดยกำหนดกรอบในการประเมินแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 เอกสารเสนอโครงงาน
ส่วนที่ 2 กระบวนการทำงาน
ส่วนที่ 3 ผลงาน/ชิ้นงานและเอกสารรายงานโครงงาน

มีรายละเอียดดังนี้

รายการประเมิน

คะแนนเต็ม(ร้อยละ)

ส่วนที่ 1 เอกสารเสนอโครงงานประเมินความชัดเจน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในประเด็นต่อไปนี้

1) ชื่อโครงงาน

2)หลักการและเหตุผล
3)วัตถุประสงค์
4)เป้าหมาย
5) วิธีดำเนินการ

6) สถานที่ดำเนินโครงงาน

7) ระยะเวลาดำเนินโครงงาน

8) งบประมาณ

9) การติดตามและประเมินผล
10) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

11) ผู้รับผิดชอบโครงงาน
12) ที่ปรึกษาโครงงาน

20%

ส่วนที่ 2 กระบวนการทำงาน

ประเมินความเหมาะสมและประสิทธิภาพ ในประเด็นต่อไปนี้

-การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด
-การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม(กรณีเป็นงานกลุ่ม

การขอคำแนะนำและปรึกษาที่ปรึกษาโครงงาน

การบันทึกผลการปฏิบัติงานโครงงาน
-การนำเสนอความก้าวหน้า
-การติดตามและประเมินผล

40%

ส่วนที่ 3 ผลงาน/ชิ้นงานและเอกสารรายงานโครงงานมีประเด็นในการประเมิน ดังนี้

1.ผลงาน/ชิ้นงาน
เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
คุณภาพของผลงาน/ชิ้นงาน
ประโยชน์

2. เอกสารรายงานโครงงาน
ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
ความถูกต้องตามหลักวิชาการ
-การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม

40%



 

ตัวอย่างแบบประเมินส่วนที่ 1เอกสารโครงงาน

แบบประเมินเอกสารโครงงาน

ชื่อโครงงาน ........................................

ชื่อนักศึกษา ...................... ระดับ................ภาคเรียนที่ ............ กศน.อำเภอ.................................

คำชี้แจง  ให้ครู กศน.พิจารณาเอกสารโครงงานของ นักศึกษาในแต่ละขั้นตอนของการเขียนเพื่อเสนอโครงงาน ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในช่อง”รายการ” และประเมินโดยให้คะแนนเป็นรายข้อ และคะแนนรวม

ซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้

คะแนน หมายถึง    การปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก

3 คะแนน หมายถึง    การปฏิบัติอยู่ในระดับดี

2 คะแนน หมายถึง     การปฏิบัติอยู่ในระดับพอใช้

 1 คะแนน หมายถึง     การปฏิบัติอยู่ในระดับต้องปรับปรุง

 

 

 

 

รายการ

 คะแนน                  

 

   4

   3

2

1

 

1.

องค์ประกอบแบบเสนอโครงงานมีครบ12 หัวข้อ

 

 

 

 

 

2.

ชื่อโครงงาน เขียนกระชับชัดเจนและสามารถสื่อความหมาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.



 

หลักการและเหตุผลหรือความสำคัญของโครงงาน

เขียนแสดงถึงสภาพและความต้องการของตนเองและชุมชน ปัญหาที่เกิด วิธีการแก้ปัญหา สภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น และประโยชน์ที่จะได้รับ

 

 

 

 

 

 

4.

 



 

 

วัตถุประสงค์ การเขียนวัตถุประสงค์เขียนชัดเจน วัตถุประสงค์ที่มีหลายวัตถุประสงค์ เขียนเป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ

 

 

 

 

 

5

เป้าหมาย

ระบุว่าผลงานที่ได้ โดยระบุปริมาณและคุณภาพ

ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

ความชัดเจนของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

การระบุขอบเขตพื้นที่ดำเนินการ

การระบุจำนวนหน่วยนับ

ความเป็นไปได้หรือ

 

 

 

 

 

6

วิธีดำเนินการ

กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานชัดเจน

กำหนดเวลาปฏิบัติงาน

สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

สอดคล้องกับเป้าหมาย

มีความเป็นไปได้

 

 

 

 

 

 

 

7

สถานที่ดำเนินโครงงาน มีความเหมาะสม

 

 

 

 

 

 

 

8

 

ระยะเวลาการดำเนินโครงงาน  ระบุ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดดำเนินโครงงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

9

 

งบประมาณในการดำเนินโครงงานระบุรายละเอียด รายจ่ายที่จะต้องใช้ในการทำโครงงานทั้งหมด ซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10

การติดตามและประเมินผล

ระบุการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงงานทุกระยะ คือก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ

ระบุถึงวิธีการ เครื่องมือ ระยะเวลา ในการติดตามและประเมินผล

 

 

 

 

 

 

 

 

11

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ระบุถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงงานเป็นทั้งผลที่ได้รับโดยตรงหรือผลกระทบ

- ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับสอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด

 

 

 

 

 

 

12

ผู้รับผิดชอบโครงงานระบุผู้เรียนที่เป็นเจ้าของโครงงานชัดเจนอาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม

 

 

 

 

 

 

13

 

ที่ปรึกษา ระบุที่ปรึกษาในการทำโครงงานชัดเจน เช่นครูผู้สอน วิทยากรสอนเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

 

 

 

 

 

                                                                 รวมคะแนน

 

 

                         

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

ตัวอย่างแบบประเมินส่วนที่ 2

กระบวนการทำงาน

ระดับการศึกษา ........................... ภาคเรียนที่ ......................

กศน. ตำบล.........................กศน.อำเภอ ......................................... กศน. จังหวัด..................................

ชื่อโครงงาน .........................................................................................................

ชื่อผู้ทำโครงงาน .........................................................................................................

คำชี้แจง ให้พิจารณากระบวนการทำงานโครงงาน ของผู้เรียน แล้วทำเครื่องหมาย   ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน ซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้

คะแนน หมายถึง   การปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก

3 คะแนน หมายถึง    การปฏิบัติอยู่ในระดับดี

2 คะแนน หมายถึง     การปฏิบัติอยู่ในระดับพอใช้

 1 คะแนน หมายถึง  การปฏิบัติอยู่ในระดับต้องปรับปรุง

ที่

                        รายการ

                       คะแนน

                 ข้อเสนอแนะ

 

4

 

3

 

 2

 

     1

1

การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนด

 

 

 

 

 

2

การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม(กรณีเป็นงานกลุ่ม)

 

 

 

 

 

 

3

การขอคำแนะนำปรึกษาจากที่ปรึกษาโครงงาน

 

 

 

 

 

4

การบันทึกผลการปฏิบัติงานโครงงาน

 

 

 

 

 

5

การนำเสนอความก้าวหน้า

 

 

 

 

 

6

การติดตามและประเมินผล

 

 

 

 

 

                            รวม

 

 

 

 

 

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

 

 

 

ตัวอย่างแบบประเมินส่วนที่ 3

ผลงาน/ชิ้นงานโครงงาน

ระดับการศึกษา ........................... ภาคเรียนที่ ......................

กศน. ตำบล.........................กศน.อำเภอ .........................................

กศน. จังหวัด..................................

ชื่อโครงงาน .........................................................................................................

ชื่อผู้ทำโครงงาน ...................................................................................................

คำชี้แจง ให้พิจารณาผลงาน/ชิ้นงานโครงงานแล้วทำเครื่องหมาย   ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้

คะแนน หมายถึง   ผลงานอยู่ในระดับดีมาก

3 คะแนน หมายถึง   ผลงานอยู่ในระดับดี

2 คะแนน หมายถึง   ผลงานอยู่ในระดับพอใช้

 1 คะแนน หมายถึง   ผลงานอยู่ในระดับต้องปรับปรุง

 

ที่

                        รายการ

คะแนน

                 ข้อเสนอแนะ

 

4

 

3

 

   2

 

     1

1

เป็นไปตามวัตถุประสงค์กำหนด

 

 

 

 

 

2

เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

 

 

 

 

 

3

มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 

 

 

 

 

4

คุณภาพของผลงาน/ชิ้นงาน ความสมบูรณ์ ประณีต สวยงาม

 

 

 

 

 

5

นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

 

 

 

 

 

                            รวม

 

 

 

 

 

 

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

 

 

 

 

 

ตัวอย่างแบบประเมินส่วนที่  เอกสารรายงานโครงงาน

ระดับการศึกษา ........................... ภาคเรียนที่ ......................

กศน. ตำบล.........................กศน.อำเภอ .........................................

กศน. จังหวัด..................................

ชื่อโครงงาน .........................................................................................................

ชื่อผู้ทำโครงงาน .........................................................................................................

คำชี้แจง ให้พิจารณาคุณภาพเอกสารโครงงานโดยพิจารณา ดังนี้ 1)ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ2) ความถูกต้องตามหลักวิชาการ3)การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่มแล้วทำเครื่องหมาย   ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน

ซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้

คะแนน หมายถึง คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

3 คะแนน หมายถึง   คุณภาพอยู่ในระดับดี

2 คะแนน หมายถึง   คุณภาพอยู่ในระดับพอใช้

 1 คะแนน หมายถึง   คุณภาพอยู่ในระดับต้องปรับปรุง

 

ที่

                        รายการ

             คะแนน

                 ข้อเสนอแนะ

 

4

 

3

 

   2

 

   1

1

ส่วนนำ

 

 

 

 

 

1.ปก

 

 

 

 

 

2 คำนำ

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

 

 

 

 

2

 ส่วนเนื้อหา

 

 

 

 

 

 

หลักการและเหตุผล

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์

 

 

 

 

 

เป้าหมาย

 

 

 

 

 

วิธีดำเนินการ

 

 

 

 

 

งบประมาณที่ใช้

 

 

 

 

 

ระยะเวลาดำเนินการ

 

 

 

 

 

การติดตามและประเมินผล

 

 

 

 

 

8  ผลการดำเนินงาน

 

 

 

 

 

3

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

                            รวม

 

 

 

 

 

ลงชื่อ................................................

(........................................................)

ครู กศน. ตำบล..............................

7. บทบาทของผู้เรียนในการเรียนโครงงาน

              การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้การจัดการเรียนการสอนวิชาเลือกแต่ละระดับการศึกษา จะต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย หน่วยกิต

                แต่ในทุกสาระการเรียนรู้ทั้ง สาระการเรียนรู้ คือ 1) สาระทักษะการเรียนรู้ 2) สาระความรู้พื้นฐาน 3)สาระการประกอบอาชีพ 4) สาระทักษะการดำเนินชีวิต และ 5) สาระการพัฒนาสังคม  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการทำโครงงานได้  โดยเลือกทำโครงงานตามความสามารถอาจจะเป็นโครงงานขนาดเล็กใช้เวลาเรียนตั้งแต่ 3- 10 ชั่วโมง หรือโครงงานขนาดกลาง ใช้เวลาเรียน 10 ชั่วโมงขึ้นไป การทำโครงงานอาจทำเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่มก็ได้ โดยผู้เรียนดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำโครงงานดังนี้

1.      การศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาสาระในรายวิชาแล้ว อาจเลือกเนื้อหาที่

ต้องการนำมาพัฒนาตนเอง หรือต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ก็จะหาข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเลือกหัวข้อโครงงาน โดยศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หรืออาจใช้วิธีการสำรวจข้อมูล ศึกษาเอกสาร รวบรวมจากข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  แล้วจดบันทึกไว้ ขั้นตอนนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การแสวงหาความรู้ การรวบรวมข้อมูล จะทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง  และถ้าเป็นการทำงานโครงงานแบบเป็นกลุ่ม ก็จะเป็นการฝึกให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่นอีกด้วย

แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะศึกษาหาข้อมูลได้ เช่น

1)     สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิทยุ โทรทัศน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2)     สื่อบุคคล เช่น ผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรธรรมชาติ  ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการแพทย์ทางเลือก และ ด้านอาชีพต่าง ๆ เป็นต้น

3)     สื่อสถานที่ เช่น สถานประกอบการ โบราณสถาน  วิสาหกิจชุมชน ห้องสมุดประชน สถานที่จัดนิทรรศการต่าง ๆ

การศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ หากผู้เรียนสนใจหัวข้อใดให้บันทึกข้อมูลด้านต่าง ๆ ไว้ 2-3 เรื่อง เพื่อศึกษาอย่างละเอียด เช่น

1)     สภาพ/ปัญหา ของสิ่งที่ศึกษามีลักษณะอย่างไร เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัวและสังคมอย่างไร

2)     การศึกษาในข้อ 1) เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร

3)     ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ มีอะไรบ้าง

4)     แนวโน้มของเรื่องที่ศึกษามีความเป็นไปได้หรือไม่

2.     วิเคราะห์ข้อมูลประกอบการตัดสินเลือกโครงงาน

เมื่อผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลและบันทึกข้อมูลแล้ว ให้นำข้อมูลที่บันทึกไว้มาพิจารณา

ร่วมกัน เพื่อตัดสินใจเลือกโครงงานตามหัวข้อที่กำหนด โดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ด้าน ดังนี้

1)     ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง คือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับความพร้อมของตนเองในด้านความสนใจและ

ความถนัด ความรู้และประสบการณ์เดิม ความพร้อมด้านงบประมาณ ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ ความพร้อมด้านแรงงาน และความพร้อมด้านเวลา เป็นต้น

2)     ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมเช่น ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม  การสนับสนุนจาก

บุคคลหรือหน่วยงาน แหล่งวัสดุอุปกรณ์  แหล่งวิทยาการ  แหล่งเรียนรู้  และ สถานที่ทำกิจกรรมโครงงาน  เป็นต้น               

3)     ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ด้านวิชาการ เช่น ความรู้ความเข้าใจ

เกี่ยวกับการทำโครงงาน และขั้นตอนในการปฏิบัติโครงงานการเลือกทำโครงงาน ควรเลือกโครงงานที่ผู้เรียนสนใจและถนัดเพราะจะช่วยทำให้การทำโครงงานประสบความสำเร็จ

3.     ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อเตรียมวางแผนการทำงานและเขียน

โครงงานผู้เรียนเลือกโครงงานได้แล้ว ก่อนจะวางแผนการทำงานและเขียนโครงงาน ผู้เรียนจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำโครงงานเพิ่มเติม เพื่อให้มีความรู้มากพอที่จะนำมาทำโครงงานได้ การศึกษาข้อมูลในขั้นนี้จะต้องศึกษาอย่างะเอียด ยิ่งหาข้อมูลมากเท่าไรก็จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้มากขึ้น และจะทำให้การวางแผนการทำงานชัดเจนและมีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำโครงงาน

4.     การวางแผนทำงาน/เขียนโครงงานผู้เรียนศึกษาข้อมูลจนเข้าใจ

5.     ชัดเจนและมีข้อมูลความรู้มากเพียงพอแล้ว  ให้ผู้เรียนนำข้อมูล

เหล่านั้นมาประกอบการเขียนโครงงาน ตามแบบการเขียนโครงงาน แล้วนำเสนอครูผู้สอน เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ และนำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติต่อไป

6.     ปฏิบัติงานตามโครงงานเมื่อได้รับอนุมัติให้ทำโครงงานเสร็จ

เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาศึกษาโครงงานอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานตามโครงงาน จะช่วยให้เข้าใจขั้นตอนการทำงานมากยิ่งขึ้นและสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง โครงงานเสร็จตามเวลาที่กำหนด และมีคุณภาพ

                    การเตรียมทำโครงงานผู้เรียนต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างละเอียด ผู้เรียนต้องร่วมกันวางแผนพร้อมทั้งกำหนดเวลาที่จะต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนทุกขั้นตอน

                   ขณะปฏิบัติงานต้องบันทึกการทำงานและมีการตรวจสอบการทำงานทุกขั้นตอน และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานก็ประเมินการทำงานแต่ละขั้นตอนอีกครั้งหากขั้นตอนใดมีปัญหาข้อผิดพลาดจะได้แก้ไขปรับปรุงงานให้มีคุณภาพตามที่กำหนดไว้

7.     การประเมินโครงงานการประเมินโครงงาน เป็นการประเมิน

เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเสร็จสิ้นโครงงานว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงงานหรือไม่ มีขั้นตอนใดที่ต้องปรับปรุง การประเมินผลโครงงานแบ่งเป็น ระยะ ดังนี้

1)     การประเมินก่อนดำเนินโครงงาน เป็นการตรวจสอบความ

พร้อมของปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานตามที่วางแผนไว้

2)     การประเมินระหว่างดำเนินโครงงาน เป็นการประเมินระหว่างที่

ดำเนินการปฏิบัติงานเพื่อทราบความก้าวหน้าและแนวโน้มขอโครงงานที่ทำอยู่ว่าจะประสบความสำเร็จเพียงใด มีอุปสรรคและปัญหาอะไรหรือไม่ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไข

3)     การประเมินเมื่อเสร็จสิ้นโครงงาน เป็นการประเมินเพื่อหาข้อ

สรุปว่าการปฏิบัติโครงงานประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด การประเมินผลในขั้นนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่นร่วมกันอภิปรายและสรุปผลการทำโครงงาน  ใช้แบบประเมินโครงงาน  นำเสนอผลงานโครงงานและร่วมกันแสดงความคิดเห็นเป็นต้น

8.     บทบาทของครูในการสอนโครงงาน

การจัดการเรียนการสอนโครงงานให้บรรลุผล ครูผู้สอนควรมีบทบาทดังนี้

1)     ศึกษาหลักสูตร

2)     การจัดทำแผนการสอน

3)     การสำรวจแหล่งทรัพยากร

4)     การเตรียมแหล่งข้อมูล

5)     การจัดเตรียมสื่อการสอน

6)     การประเมินผล 

 

 

1.      ศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับหลักการ

จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา  วิเคราะห์หลักสูตร เพื่อวางแผนการสอน

โดยจัดแบ่งเนื้อหา กำหนดเวลา กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดการวัดผลและประเมินผล พร้อมทั้งวิธีเรียนวิธีสอน ดังนี้

1)     เนื้อหาง่ายให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง

2)     เนื้อหายากครูเป็นผู้สอน

3)     เนื้อหายากมากให้เรียนโดยการสอนเสริม

4)     เนื้อหาที่ลึกซึ้ง ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการทำโครงงาน

2.     จัดทำแผนการสอน จัดทำแผนการสอนรายสัปดาห์ ใน ภาคเรียน

18 สัปดาห์ โดยคำนึงถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ละแผนการสอน สื่อประกอบการสอน เช่นรายการโทรทัศน์ ETVการให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนจากครู สอนเสริม เรียนรู้จากการทำโครงงาน การเรียนจากภูมิปัญญา การเรียนจากแหล่งเรียนรู้ และการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง และการใช้เวลาการพบกลุ่ม

3.     สำรวจแหล่งทรัพยากร  เช่น แหล่งความรู้ในชุมชน สถานที่ในการ

ฝึกปฏิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับให้คำแนะนำคำปรึกษาแก่ผู้เรียน  เพราะในการจัดการเรียนการสอนที่กำหนดให้ผู้เรียนทำโครงงานนั้นเป็นการฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานที่ผู้เรียนที่สนใจ  ครูควรทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา คอยแนะนำแหล่งข้อมูล แหล่งศึกษาค้นคว้า ครูจะต้องคอยช่วยเหลือและประสานงานสถานที่ที่ผู้เรียนจะไปศึกษาหรือปฏิบัติงานโครงงาน ดังนั้นถ้าครูสำรวจแหล่งทรัพยากรเตรียมไว้ก่อนสอนก็จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนราบรื่น

4.     การเตรียมแหล่งข้อมูลเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

การศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลด้วยตนเองเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เรียนทุกคนควรได้รับการฝึกฝนเนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีภาระการงาน มีเวลาจำกัดในการศึกษาค้นคว้านอกเวลาเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ครูผู้สอนอาจช่วยรวบรวมสื่อต่าง ๆ เช่นเอกสารสิ่งพิมพ์ สื่อวีดิทัศน์ ตัวอย่างโครงงาน ไว้ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

5.     การจัดเตรียมสื่อการสอน เช่น ใบความรู้ ใบงาน  แบบทดสอบ ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ฯลฯ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอน

6.     การประเมินผล เป็นการตรวจสอบและวินิจฉัยการทำโครงงานของผู้เรียน เช่นการวางแผนปฏิบัติงานโครงงาน  การดำเนินโครงงาน และภายหลังจากการทำงานเสร็จแล้ว โดยประเมินในภาพรวบ การประเมินมี ส่วน ดังนี้

1)     ประเมินส่วนที่ 1เอกสารโครงงาน

2) ประเมินส่วนที่ กระบวนการทำงาน

3) ประเมินส่วนที่ ผลงานโครงงาน

       3.1)  ผลงาน/ชิ้นงานโครงงาน

3.2) เอกสารรายงานโครงงาน

 

.........................................................................................................

 

เอกสารอ้างอิง

1. กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน,(2541).คู่มือการจัดทำโครงงาน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2530.กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

2. กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน,(2543).แนวทางการจัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบ:ผู้เรียนสำคัญที่สุด.กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

3. ทิศนา แขมมณี การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:โมเดล cippaกรุงเทพฯ วารสารหลักสูตรและการสอนสัมพันธ์ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ ฉบับที่ 2. 2541

4. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย,(2553).แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:รังสีการพิมพ์.



เข้าชม : 1234
 
กศน.ตำบลทุ่งพระยา เลขที่  166  หมู่ที่  11  ตำบลทุ่งพระยา  อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160
โทรศัพท์  065-9938807 0854473007    E-mail : nfe.tpy@gmail.com 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin