การเก็บเกี่ยวและจักกก
1. การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
ในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อเก็บเกี่ยวกก อาจจะใช้เคียว หรือ มีดบาง ก็ได้ ส่วนการจักกกนั้นจะใช้ มีดเล็ก
2.การตัดกก
ุ ในการตัดกก ควรเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ให้พร้อม ในการเลือกตัดกกนั้น ควรดูว่ากกมีลักษณะที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป โดยสังเกตที่ดอกกกจะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล
3.การคัดขนาดกก
ในการคัดขนาดกกนั้นจะทำการคัดแยกกกที่มีขนาดเท่ากันมากองรวมกันไว้ตามขนาดด่างๆ โดยการกำยอดกกไว้แล้วสลัดให้กกที่สั้นกว่าหลุด ออกมาแล้วเก็บรวบรวมกกที่สลัดหลุดออกมารวมกันใหม่ แล้วสลัดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด ซึ่งจะได้กกขนาดต่างกัน หลังจากนั้นจึงตัดยอดกกส่วนที่เป็นดอกทิ้งไป เหลือไว้เฉพาะส่วนของลำต้น เตรียมนำไปจักกก
4. การจักกก
ในการจักกก จะนำลำต้นกกที่ผ่านการคัดขนาดแล้ว มาจักเป็นเส้นเล็กๆ โดยใช้มีดขนาดเล็ก ซึ่งกกต้นหนึ่งจะจักออกได้ประมาณ 3-5 เส้น ขึ้นอยู่กับความต้องการความละเอียดของผืนเสื่อ โดยจะตัดใส้ในสีขาวของกกออก เมื่อได้ขนาดเท่ากับหนึ่งกำมือจะนำมามัดรวมกันโดยใช้ไม้ตอกหรือยางรัด
5. การตากกก
เมื่อจักกกจนหมดตามจำนวนกกที่ตัดมาแล้ว มัดกกขนาดเท่ากำมือโดยใช้ไม้ตอกหรือยางรัด นำมาตากแดดให้แห้ง โดยคลี่กกออกให้เป็นลักษณะรูปใบพัด ตากในบริเวณที่แดดจัดๆ แล้วกลับกกขึ้นให้แห้งทั่วถึง ตากไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อแห้งสนิทแล้วจึงนำไปจัดเก็บต่อไป
6. การจัดเก็บกก
เมื่อตากกกจนแห้งสนิทดีแล้ว นำกกขนาดเดียวกันประมาณ 8-12 มัด มากองรวมกันแล้วใช้เชือกหรือไม้ตอกมัดเป็นมัดใหญ่ โดยกองหนึ่งอาจมัดได้ 4-5 ช่วง จนกระทั่งหมดจำนวนกก แล้วจึงนำไปจัดเก็บไว้บริเวณที่แห้ง ไม่มีความชื้น พร้อมที่จะนำไปใช้ทอเสื่อหรือย้อมสีกกต่อไป
1. เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
น้ำ สีย้อมกก ไฟและปิ๊บน้ำ กกตากแห้ง
ก่อไฟและนำปิ๊บใส่น้ำ ต้มน้ำให้เดือดจัด ในการย้อมแต่ครั้ง จะใช้เวลา 5 นาทีและควบคุมปริมาณของส่วนผสมให้คงที่ดังนี้
1) น้ำเปล่า 2ลิตร 2) สีย้อมกก 1 ช้อนโต๊ะ
เทสีย้อมกก ประมาณ ช้อนชา ลงในน้ำที่เดือดจัด และใส่เกลือลงประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อให้กกมีสีสดและเป็นเงางาม
นำกกที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว ลงไปย้อมในน้ำที่เดือดจัด โดยการม้วนกกให้เป็นวงกลม ค่อยๆ ขดลงในปิ๊บน้ำ ใช้ไม้กดให้กกจมน้ำให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีนำกกขึ้นจากปิ๊บน้ำ ให้ระมัดระวังน้ำเดือด และสีกระเด็นใส่
แช่กกที่ผ่านการย้อมสีแล้วลงในน้ำสะอาด ประมาณ 5 นาที
นำกกที่ผ่านการแช่น้ำแล้วไปตากแดด หรือผึ่งลม ให้แห้งสนิท แล้วนำไปมัดรวมกันโดยแยกสีและขนาดให้ นำไปเก็บไว้ในที่แห้งไม่มีความชื้น พร้อมที่จะนำไปทอเสื่อต่อไป
การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
1) ด้ายหรือเส้นเอ็น 2) ไม้ส่กก 3) ฟืม 4) โครงกี่(กี่น้อยนาหนังพัฒน์)
1.เตรียมความพร้อมของ โครงกี่ โดยการสำรวจความพร้อมของต่างๆ ว่ามีไม้แต่ละส่วนครบหรือไม่ ในที่นี้ใช้กี่น้อยนาหนังพัฒน์ ซึ่งเป็นโครงกี่ที่ประยุกต์ขึ้นมาใช้เฉพาะของโรงเรียน มีคุณสมบัติคือ ขนาดเล็ก กะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก ถอดประกอบได้ และสามารถนั่งทอคนเดียวได้
2. นำด้ายมาร้อยเข้ากับฟืมและโครงกี่ (การร้อยเส้นด้ายขึ้นอยู่กับลวดลายเสื่อที่วางแผนไว้) โดยนำเส้นกกมาวัดขนาดความกว้างของว่าจะร้อยด้ายกว้างเท่าใด ซึ่งจะวัดห่างจากปลายกกด้านละประมาณ 1 คืบ
3) นำกกสีต่างๆ ที่ผ่านการย้อมสีหรือกกแห้งสีธรรมชาติ (ขึ้นอยู่กับลวดลายที่วางแผนไว้) ไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที พอกกนิ่มนำขึ้นจากน้ำ
4) นำกกมาวางไว้ด้านที่คนทอถนัด ซึ่งในที่นี้ใช้คนทอเพียงคนเดียว
ิ
3) สอดไม้ส่งกกตามลวดลายที่วางไว้จนสุดความกว้างของด้าย แล้วสอดเส้นกกใส่ปลายไม้ดึงกลับคืน ทำลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยสลับต้น-ปลายกก จนกระทั่งเต็มผืน ตัดตกแต่งริมกกให้สวยงาม
เข้าชม : 3601 |