[x] ปิดหน้าต่างนี้
   
   กลับหน้าหลัก


บทความทั่วไป
(Best Practice)

พุธ ที่ 3 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2563

บทคัดย่อ

          การจัดทำปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการส่งเสริมอาชีพ เรื่องการส่งเสริมการก้าวสู่อาชีพ “การทำขนมไทย” ตำบลศาลาแดง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ การหาช่องทางการประกอบอาชีพในยามที่ว่างจากการทำนา การเพิ่มมูลค่าผลผลิต การนำเสนอข้อมูลโดยการสร้างเว็บไซต์ในการเผยแพร่ข้อมูล

          ผลการจัดทำการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการส่งแสริมอาชีพเรื่องการส่งเสริมการก้าวสู่วิสาหกิจชุมชน “การทำขนมไทย” ตำบลศาลาแดง พบว่าสามารถนำความรู้ที่ได้ฝึกอาชีพ นำไปหารายได้เสริมได้ และถือว่าเป็นการเพิ่มผลผลิตใหม่ ที่ประชาชนตำบลศาลาแดงสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม การสร้างมูลค่าสินค้าให้มีราคาสูงขึ้น การจำหน่ายได้ทุกสถานที่ ทุกโอกาส สามารถนำไปเป็นของฝาก สะดวกต่อการซื้อบริโภค

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

          การจัดทำรายงานการส่งเสริมการก้าวสู่อาชีพ การทำขนมไทย ตำบลศาลาแดง เป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการส่งเสริมอาชีพ กศน.ตำบลศาลาแดง สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ครูผู้รับผิดชอบพื้นที่ตำบลศาลาแดง ถือว่าเป็นภาระหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาอาชีพประชาชนให้มีความยั่งยืน มีรายได้เสริม ให้กับตนเอง ครอบครัวอย่างทั่วถึง เพื่อให้ได้สรุปรายงานเป็นข้อมูลในการส่งเสริมอาชีพ กศน.ตำบลศาลาแดงได้เป็นที่รู้จัก และเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป

 

                                                                               นางสาวอรนุช  แสนเสนาะ

                                                                               ครู กศน.ตำบลศาลาแดง

 

 

 

 

 

 

 

 

Best Practice กศน.ตำบลศาลาแดง

1. ชื่อผลงาน : การส่งเสริมการก้าวสู่อาชีพ “การทำขนมไทย”

 2. หน่วยงาน / สถานศึกษา  :    กศน.ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

                                      ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางน้ำเปรี้ยว

                                      สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย                                                      จังหวัดฉะเชิงเทรา

3. ความสอดคล้อง

          สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้น ปีพ.ศ. 2563 ของสำนักงาน กศน. : ภารกิจต่อเนื่อง

          1. ด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้

                   1.3 การศึกษาต่อเนื่อง

                   1) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทางหรือการบริการ รวมถึงการเน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาประเทศตลอดจน สร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีหนึ่งอาชีพเด่น รวมทั้งให้มีการกำกับ ติดตามและรายงาน ผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

 

ความเป็นมา

          สำนักงาน กศน. ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับการศึกษา และการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ให้พัฒนาหลักสูตรที่หลากหลายและทันสมัย สามารถให้บริการได้อย่างกว้างขวางเพื่อเตรียมเข้าสู่ยุค ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)

การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมากเพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข็มแข่งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ ให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ ที่มั่นคง โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

2

 

 

          ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน และเป็นขนมที่มีความเกี่ยวข้องกับคนไทยมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การประกอบอาชีพธุรกิจขนมไทย เป็นอาชีพอิสระในการทำมาหากินและสร้างรายได้ให้กับตนเอง กศน.ตำบลศาลาแดงจึงได้จัดทำหลักสูตรการทำขนมไทยขึ้น เพื่อใช้สำหรับจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่สนใจ

 

4.วัตถุประสงค์

          1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำขนมไทย

          2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพและเสริมสร้างรายได้ 

5. เป้าหมาย

          เชิงปริมาณ

ประชาชนทั่วไป  ตำบลศาลาแดง  จำนวน 15 คน

 

          เชิงคุณภาพ

                   ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการทำขนมไทย อย่างถูกต้องและสามารถสามารถนำมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพและเสริมสร้างรายได้

6. วิธีกาดำเนินงาน

          กศน.ตำบลศาลาแดง นำหลักการบริหารคุณภาพวงจร เดมิ่ง (PDCA) มาใช้ในการจัดการเพื่อพัฒนากลุ่มการทำขนมไทย ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

P-Plan

          6.1 กศน.ตำบลศาลาแดง ได้นำหลักปรัชญาคิดเป็น มาศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้บริโภค

          6.2 มีการวางแผนร่วมกันเพื่อเพิ่มและพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์

          6.3 มีการแสวงหาความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย

D-Do

          6.4 มีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนารสชาติและรูปแบบของสินค้าสม่ำเสมอ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

C-check

          6.5 มีการตรวจสอบประเมินผลเพื่อให้ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

          6.6 มีการตรวจสอบกลุ่มของลูกค้าและวิเคราะห์ขยายเป้าหมายทางการตลาด

A-Action

          6.7 ปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ผลิตภัณฑ์ และการขยายสมาชิกภายในกลุ่ม

 

3

 

 

7. ผลการดำเนินงาน หรือประโยชน์

          7.1 กลุ่มอาชีพการทำขนมไทย มีการพัฒนาสูตร มีการส่งเสริมการขาย มีการพัฒนาการเรียนรู้ฝีมือของตนเองเพิ่มขึ้น มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพให้มีรายได้ในครัวเรือนหรือเป็นการลดภาระค่าใช้จ่าทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัว

          7.2 มีการสร้างแรงจูงใจในการสร้างกลุ่มอาชีพให้เป็นที่สามารถเป็นแบบอย่างและก่อให้เกิดมีกลุ่มอาชีพอื่นที่เข้มแข็งในตำบลศาลาแดงและสร้างโอกาสให้ผู้เรียนเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ

 

8. ผลสำเร็จ

          ความสำเร็จจาการทำขนมไทย ครั้งนี้พบว่าผู้เรียนมีความสนใจ ครูผู้สอนมีการวางแผนกระบวนการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน เพราะวิทยากรผู้สอนมีผู้นำชุมชน มีความรู้ความ สามารถให้ความรู้แก่ลูกบ้านและประชาชนทั่วไปได้เป็นอย่างดี มีความพร้อมที่จะจัดการบริหารกลุ่มให้เข้มแข็งเกิดความพร้อมที่จะจัดการบริหารกลุ่มให้เข้มแข็งเกิดความพร้อมในการพัฒนาฝีมือ และใช้กระบวนการวางแผนแบบ PDCA มาบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้อีกด้วย

 

9. บทเรียนที่ได้

          9.1 ควรใช้ผลจากการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ครั้งนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

          9.2 ควรนำแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ขยายผลกับประชาชนในตำบลศาลาแดงที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มส่งเสริมอาชีพ

 

10. ข้อเสนอแนะ

          10.1 ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสะดวก ง่ายต่อการนำไปใช้ และสามารถควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

          10.2 ควรพัฒนาผู้เรียนในเรื่องช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยการเรียนรู้ จาก กศน.ตำบล และศูนย์ดิจิทัลชุมชน เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

 

 

                    


เข้าชม : 2016

บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      (Best Practice) 3 / มิ.ย. / 2563
      เลี้ยงไก่ไข่ด้วยอีแวป...ทำไบโอแก๊สลดค่าใช้จ่าย 3 / ธ.ค. / 2551
      ชื่อโครงการ 10 / ก.ค. / 2551


กศน.ตำบลศาลาแดง   อำเภอบางน้ำเปรี้ยว  จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์087-5198801 E-mail : yingaoy29@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin