[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

 

 

รู้จักเรา กศน.อำเภอบ้านโพธิ์

1) ข้อมูลทั่วไป

·        ประวัติความเป็นมาอำเภอบ้านโพธิ์

          การตั้งชุมชนของคนในสมัยโบราณมักเลือกทำเลอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่ออพยพมาตั้งบ้านเรือนหลาย ๆ ครัวเรือนมากขึ้น ก็เกิดเป็นหมู่บ้าน แล้วจึงสร้างวัด หรือ ศาสนสถานเอาไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ถ้าหากจะคะเนว่าชุมชนใดมีอายุเท่าใด  หลัก ฐานที่พอจะเป็นที่เชื่อถือได้ก็คือ วัด หมู่บ้านสนามจันทร์เกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานบ่งบอกได้เลย แต่ถ้าดูจากการสร้างวัดสนามจันทร์ ซึ่งตั้งเมื่อ พ.ศ.2400 บ้านสนามจันทร์มีอายุถึง   150 ปี ในปี พ.ศ.2446 ตำบลบ้านโพธิ์ในปัจจุบัน มีชื่อว่าตำบลสนามจันทร์ ดังรายงานการตรวจราชการมณฑลปราจีน ของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์  กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรื่องการยุบอำเภอหัวไทร ไปรวมกับอำเภอบางคล้า และจัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์ ความว่า

         “ถ้าดูตามลำน้ำที่ว่าการอำเภอหัวไทรกับอำเภอบางคล้าห่างกันทางราว 1 ชั่วโมง เห็นด้วยเกล้าฯว่าควรจะยกเลิกอำเภอหัวไทรเสีย คงย้ายไปตั้งตำบลสนามจันทร์ ที่จะเรียกนามอำเภอสนามจันทร์ ใต้เมืองฉะเชิงเทรา”
            สรุป ได้ว่าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล มณฑลปราจีน เป็นผู้จัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์ โดยแยกออกมาจากอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2447  ใช้ชื่อว่า  อำเภอสนามจันทร์ ตามชื่อหมู่บ้าน และตำบลที่ตั้งอำเภอ ซึ่งเป็นชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งอำเภอ คือ  “บ้านสนามจันทร์” ที่ว่าการอำเภอสนามจันทร์หลักแรก เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงด้วยจาก     นายอำเภอคนแรก คือ ขุนประจำจันทเขตต์ (ชวน)

            เหตุที่ชื่อบ้านสนามจันทร์ มีประวัติเล่ากันว่า สมัยที่ท้องที่ยังเป็นป่าอยู่ มีเสือชุกชุม มีพระยา             3ท่าน  ออกมาตั้งจั่นดักเสือที่หนองน้ำแห่งหนึ่ง ราษฎรจึงเรียกหนองน้ำนั้นว่า “หนองสามพระยา” และเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านสนามจั่น เรียกขานกันนานเข้าจึงเพี้ยนเป็นบ้านสนามจันทร์  ส่วนหนองสามพระยาได้ตื้นเขินเป็นพื้นนา  ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลบ้านโพธิ์

            ระหว่าง พ.ศ.2447 – พ.ศ.2449  มีการปรับแก้ไขเขตของหมู่บ้าน และตำบลตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ รศ.116 (พ.ศ.2440)  มาตรา 22 แนวทางการกำหนด เขตตำบล ดังนี้ “หลายหมู่บ้านรวมกันราว 10 หมู่บ้าน ให้จัดเป็นตำบล 1 ให้ ผู้ว่าราชการเมืองปักหมายเขตตำบลนั้นให้ทราบได้โดยชัดเจนว่าเพียงใด ถ้าที่หมายเขตไม่มีลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง หรือ สิ่งใด เป็นสำคัญได้ ก็ให้ผู้ว่าราชการเมืองจัดให้มีหลักปักหมายเขตอันจะถาวรอยู่ไปได้ยืนนาน”

            หมายความว่า การกำหนดเขตตำบลให้ใช้ ลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง เป็นแนวเขต  ตำบลสนามจันทร์เมื่อก่อนนี้เข้าใจว่ามีพื้นที่อยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ จึงถูกแบ่งเขตออกจากกัน  โดยมีแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นแบ่งเขต  พื้นที่ ทางฝั่งขวายังคงใช้ชื่อตำบลสนามจันทร์เหมือนเดิม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีเนื้อที่มากกว่า ส่วนทางฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอตั้งชื่อใหม่ว่า ตำบลบ้านโพธิ์ มีหลักฐาน คือ โฉนดที่ดินที่ออกให้ราษฎรเมื่อ รศ.125 (พ.ศ.2449) เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลบ้านโพธิ์แล้ว

            เหตุที่ตั้งชื่อว่า บ้านโพธิ์ เนื่องจากถิ่นนี้มีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่ทั่วไป เมื่อก่อนวัดสนามจันทร์ก็มีต้นโพธิ์ใหญ่หลายต้น ชาวบ้านมีความเคารพเพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จึงเอาผ้าเหลืองห่มต้นโพธิ์ ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้ตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อ พ.ศ.2454 และ ทรงสถาปนาพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เป็นค่ายหลวงสำหรับประชุมและซ้อมรบ แบบเสือป่า เพื่อเป็นกำลังร่วมป้องกันประเทศ และเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรมอยู่เนือง ๆ ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าชื่อ อำเภอไปพ้องกับชื่อพระราชวังสนามจันทร์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเขาดิน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2457 สมัยขุนเหี้ยมใจหาญ  (พงษ์ บุรุษชาติ) เป็นนายอำเภอเขาดินอยู่ชายแดนติดต่อกับอำเภอบางปะกง เป็นเนินหินแกรนิต สูงประมาณ 15 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดเขาดิน ภายในวัดมีมณฑปร้างเก่าแก่มาก เข้าใจว่าเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท เหตุที่เอาเขาดินมาตั้งเป็นชื่ออำเภอแทนสนามจันทร์ คงเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เคยเสด็จประพาสวัดเขาดิน  เมื่อ พ.ศ.2402 ซึ่งถือเป็นความปีติและเป็นสิริมงคล จึงเอาชื่อเขาดินมาเป็นชื่ออำเภอ ต่อมาปรากฏว่าเขาดินอยู่ในเขตอำเภอบางปะกง จึงเปลี่ยนชื่ออำเภออีกครั้งหนึ่ง จากเขาดินมาเป็น อำเภอบ้านโพธิ์  ตามชื่อของตำบล เมื่อ พ.ศ.2460 (ตามรายงานกิจการจังหวัดประจำปี 2401 - 2502) อำเภอ บ้านโพธิ์มีแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติไหลผ่าน พื้นที่เกือบทั้งหมดของอำเภอบ้านโพธิ์เป็นที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนา มีสวนบ้างเล็กน้อย บริเวณริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง พื้นดินมีลักษณะเป็นดินเหนียวโดยทั่วไป ในสมัยขุนเจนประจำกิจ (ชื้น) เป็นนายอำเภอ

            อาคารที่ว่าการอำเภอหลังแรกหลังคามุงจาก หลังต่อมาปลูกสร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง หันหน้าสู่แม่น้ำบางปะกง ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ หลังที่ 3 ขยับเข้ามาสร้างริมถนนเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น แบบสมัยใหม่ ปัจจุบันได้รื้อหลังเก่า และก่อสร้างหลังใหม่ในที่เดิม ซึ่งจะทำการเปิดที่ว่าการหลังใหม่  ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2547 พร้อมทั้งเฉลิมฉลองในวาระที่อำเภอมีอายุครบ 100 ปีด้วยตั้งแต่ตั้งอำเภอมา มีนายอำเภอปกครองรวม 41 คน โจรผู้ร้ายที่ว่าชุมชุมก็หมดไป ชาวอำเภอบ้านโพธิ์  มีความเป็นอยู่ที่สงบสุข เรียบง่าย แม้ในปัจจุบันการทำมาหากินเปลี่ยนไปจากเดิม สภาพสังคมเปลี่ยนไป แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยน คือ ความสำนึกรักบ้านเกิด และความกตัญญูต่อแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้บ้านโพธิ์มีความยั่งยืนตลอดไป

·  ขนาดพื้นที่

217.593 ตารางกิโลเมตร

 
·  ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

อำเภอบ้านโพธิ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด ตัวอำเภอห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 14 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ         ติดกับ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ทิศใต้            ติดกับ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา, อำเภอพานทอง

และอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

ทิศตะวันออก    ติดกับ อำเภอบางคล้า และอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา

ทิศตะวันตก     ติดกับ อำเภอบางปะกง และอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

·  ลัลักษณะทางกายภาพของพื้นที่

อำเภอบ้านโพธิ์ สามารถแบ่งสภาพการพัฒนาตามกายภาพของพื้นที่ เป็นพื้นที่ทางทิศตะวันตกและ     ทิศใต้ของจังหวัด ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดชลบุรี มีสภาพเป็นที่ลุ่ม ได้แก่ พื้นที่อำเภอบ้านโพธิ์ ด้านทิศตะวันตก ได้รับการเจริญเติบโตของกรุงเทพมหานคร และโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งตะวันออก พื้นที่ส่วนนี้มีแนวโน้มจะกลายเป็นย่านอุตสาหกรรม ชุมชนเมือง การบริการและที่อยู่อาศัย และอยู่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ จะเป็นตัวเร่งขยายความเจริญเติบโตของบ้านเมืองฉะเชิงเทรา

ลักษณะภูมิประเทศ
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นบริเวณที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะเป็นพื้นที่ราบเรียบ ดินอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพื่อการชลประทานอย่างเพียงพอ เขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำจะครอบคลุมพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกงและสาขานี้จะมีชื่อเรียก อีกอย่างว่า “ที่ราบฉนวนไทย” ซึ่งถือได้ว่าเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะที่ราบลุ่มผืนนี้   เป็นแหล่งผลิตข้าวเพื่อการค้าที่สำคัญของภาคตะวันออกของประเทศไทย
·  โครงสร้างพื้นฐาน

 การไฟฟ้า การไฟฟ้าของอำเภอบ้านโพธิ์ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 แห่ง

 การประปาการประปาส่วนภูมิภาคของอำเภอบ้านโพธิ์ ดำเนินการโดยการประปาส่วนภูมิภาค           สาขาบ้านโพธิ์

·  กการคมนาคมติดต่อสื่อสาร

          1. ถนนสายหลัก 4 สาย มีถนนสายรองสัญจรระหว่างหมู่บ้าน 73 หมู่บ้าน

          2. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอบ้านโพธิ์ 1 แห่ง มีสถานีย่อยทุกหมู่บ้าน

3. หอกระจายข่าว 30 แห่ง       

 

·       การขนส่งสาธารณะ

1. รถยนต์โดยสารประจำทางสายฉะเชิงเทรา – บางปะกง

             2. รถยนต์โดยสารประจำทางสายฉะเชิงเทรา – ชลบุรี

            3. รถยนต์และจักรยานยนต์รับจ้าง

·        การโทรคมนาคม

          ในปัจจุบันการโทรคมนาคมติดต่อสื่อสารมีการติดต่อสื่อสารทางไปรษณีย์ ระบบ Internet  มือถือ และจานดาวเทียมดังนี้

                   1. กิจการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง

                   2. กิจการโทรศัพท์มีชุมสายโทรศัพท์ 2 แห่ง

                   3. ระบบ Internet และจานดาวเทียม

                  4. ระบบสัญญามือถือไร้สาย และโทรศัพท์ระบบนำสาย

  2)  สภาพทางสังคม - ประชากร          

 

·  ตตารางแสดงข้อมูลจำนวนครัวเรือน , จำนวนประชากร

ลำดับที่

ตำบล

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

1

ตำบลบ้านโพธิ์

1,420

1,459

2,879

1,351

2

ตำบลเกาะไร่

2,250

2,223

4,473

1,140

3

ตำบลคลองขุด

1,104

1,164

2,268

632

4

ตำบลคลองบ้านโพธิ์

942

971

1,913

533

5

ตำบลคลองประเวศ

1,697

1,825

3,522

1,919

6

ตำบลดอนทราย

1,424

1,589

3,013

1,010

7

ตำบลเทพราช

2,945

3,145

6,090

1,859

8

ตำบลท่าพลับ   

619

671

1,290

445

9

ตำบลหนองตีนนก

1,426

1,587

3,013

996

10

ตำบลหนองบัว

1,141

1,179

2,320

709

11

ตำบลบางซ่อน

714

738

1,452

393

12

ตำบลบางกรูด

944

1,001

1,945

795

13

ตำบลแหลมประดู่

1,670

1,732

3,402

981

14

ตำบลลาดขวาง            

1,955

2,174

4,129

3,196

15

ตำบลสนามจันทร์

1,140

1,234

2,374

1,035

16

ตำบลแสนภูดาษ

2,257

2,421

4,678

3,150

17

ตำบลสิบเอ็ดศอก

1,868

2,040

3,908

1,105

 รวม

25,516

27,154

52,669

21,250

* ข้อมูล ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2561 อ้างอิงจาก สำนักงานทะเบียนอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

   

ตา   ตารางแสดงข้อมูลกลุ่มอายุ

ลำดับที่

ช่วงอายุ

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

1

0 – 14 ปี

4,223

3,979

8,202

2

15 – 39 ปี

8,981

8,913

17,894

3

40 – 59 ปี

7,984

8,617

16,601

4

60 – 69 ปี

2,488

2,936

5,424

5

70 – 79 ปี

1,160

1,618

2,778

6

80 – 89 ปี

569

873

1,442

7

90 ปีขึ้นไป

111

218

329

รวม

25,516

27,154

52,669

   

·  ตารางแสดงข้อมูลศาสนา

ลำดับที่

ศาสนา

จำนวน (คน)

คิดเป็นร้อยละ

ศาสนสถาน (แห่ง)

1

พุทธ

48,021

91.18

วัด   28 แห่ง

 

2

คริสต์

1,515

2.88

สถานที่ประกอบพิธี 1 แห่ง

ตำบลหนองตีนนก

 

3

อิสลาม

3,133

5.95

มัสยิด 4 แห่ง ตำบลเกาะไร่

มัสยิดยัมอี้ยะตุ้ลอิสลาม, มัสยิตอัลฮาดี

มัสยิดอัลวะต้อนียะห์, มัสยิดดารุลอาบีดีน

รวม

52,669

100

 

   3) สภาพทางเศรษฐกิจ                                  

1. โครงสร้างฐานอาชีพของชุมชน

อาชีพหลัก ได้แก่อาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ข้าว มะพร้าว ไก่กระทง ไก่ไข่ เพาะลูกกุ้ง ลูกปลาน้ำจืด เลี้ยงกุ้งก้ามกราม กุ้งขาว เลี้ยงปลานิล ปลากะพง และอาชีพรับจ้างโรงงานอุตสาหกรรม รับจ้างรายวัน  

          2. ผลผลิตหรือสินค้า / บริการ ที่สำคัญของตำบล ได้แก่  

- หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จักสานตะกร้าก้านมะพร้าว เย็บหมวกใบจาก เย็บผ้าในชุมชน ทำไข่เค็ม ผลไม้แช่อิ่ม น้ำพริก ขนมเปี๊ยะ กระยาสารท ขนมหวาน เย็บตับจาก

- ด้านการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว ทำลูกประคบสมุนไพร ทำปลาส้ม 

- ด้านการประมงริมน้ำ ตกปลา ตกกุ้งแม่น้ำ ดักปูทะเล จับกุ้งเคยมาทำกะปิ ลงแห 

- ด้านการท่องเที่ยวและบริการ ร้านอาหารริมแม่น้ำ ล่องเรือตกปลา นวดแผนไทย โฮมสเตย์

         3. รายได้เฉลี่ย ของประชากร    123,549.26 บาท/คน/ปี

        4 ) ข้อมูลด้านการศึกษา                                         

ลำดับที่

ระดับการศึกษา

ชาย

หญิง

รวม

1

ผู้ไม่รู้หนังสือ

128

151

279

2

ต่ำกว่าระดับประถมศึกษา

1,583

1,213

2,796

3

ระดับประถมศึกษา

3,543

4,875

8,418

4

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

16,580

13,334

29,914

5

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.

2,611

3,688

6,299

6

สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย

1,071

3,893

4,964

รวม

25,516

27,154

52,669

5) ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

·       ด้านการรู้หนังสือ  
          ประชาชนส่วนใหญ่สามารถอ่านออก เขียนได้ สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือมักเป็นผู้สูงอายุที่เริ่มมีพัฒนาการล่าช้าเดินทางไปไหนมาไหนไม่สะดวก และไม่ต้องการที่จะเรียนหนังสือแล้ว ควรส่งเสริมให้กิจกรรมงานประดิษฐ์งานฝีมือที่ทำได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก และเห็นผลที่ชัดเจน กิจกรรมกระตุ้นด้านร่างกายจิตใจใช้สื่อในการเรียนรู้ต้องมีความเหมาะสม
·       ด้านการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สายสามัญ และ ปวช.)  
          ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในรอบปีโดยไม่ได้ทิ้งช่วงเวลาพักการเกษตร เช่นการทำนา 1 ปีทำได้ถึงสามครั้งก็จะครบรอบปีพอดี และในส่วนที่รับจ้างตามโรงงานต่างๆ ในช่วงวัดหยุดก็จะมีค่าแรงเพิ่มขึ้นกว่าวันทำงานปกติ เป็นสาเหตุทำให้เวลาที่จะให้ความสนใจในเรื่องของการศึกษาลดน้อยลง และส่งผลให้การขับเคลื่อนทางด้านการศึกษาเป็นไปอย่างล่าช้าในส่วนของการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีมีน้อยและขาดงบประมาณ
·       ด้านอาชีพ  
          อาชีพหลักของประชาชนคือเกษตรกรรม และรับจ้าง ในส่วนความต้องการอาชีพเสริมรายได้เสริมยังอยู่ในกลุ่มของสตรีที่รับภารเลี้ยงลูก ดูแลบ้าน และกลุ่มผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จะให้ความสนใจกิจกรรมด้านอาชีพ ก็จะเป็นอีกทางเลือกที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนได้
·       ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต 
          การพัฒนาทักษะชีวิตในด้านต่างๆ มีความจำเป็นและสำคัญควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพราะประชาชนยังขาดความใส่ใจในการดูแลตนเอง ชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
·       ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน 

          ประชาชนเริ่มตระหนักถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน ในเรื่องสิ่งแวดล้อม มลพิษ และความปลอดภัยในการเดินทางสัญจร มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการสร้างจิตสาธารณะในเชิงอนุรักษ์ และเฝ้าระวังในด้านสิ่งแวดล้อมแม่น้ำคูคลอง มลพิษ การจราจร และหาแนวทางในการดำเนินการแก้ปัญหาและหาทางป้องกัน
·       ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  
          ประชาชนยังขาดความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน   รวมถึงการได้เรียนรู้จากแหล่งที่เป็นต้นแบบ 
·       ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย 
          ประชาชนที่รักการอ่าน มีเป็นส่วนน้อย เนื่องจากประชาชนมุ่งในการทำมาหากินโดยใช้แรงงาน จึงไม่ใส่ใจในการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เท่าที่ควร

 1.2   ข้อมูลพื้นฐาน กศน.อำเภอบ้านโพธิ์

 ข้อมูลสถานศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโพธิ์ (กศน.อำเภอบ้านโพธิ์)   ตั้งอยู่ที่อาคารพาณิชย์ 2 ชั้นครึ่ง เลขที่ 127/31 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24140 

เบอร์โทรศัพท์ : 038-588202, 038-587249        เบอร์โทรสาร : -

website : http://ccs.nfe.go.th/banpho/        E-mail : nfe.banpho@gmail.com

สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ

 
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

ก่อตั้งจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโพธิ์ได้จัดตั้งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2536ตามประกาศกระทรวงศึกษาการ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/และกิ่งอำเภอ ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2536 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโพธิ์เป็นหนึ่ง ใน 789 อำเภอที่ได้รับการตั้งเริ่มแรกอยู่ร่วมกับอาคารของห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านโพธิ์ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2544 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโพธิ์ ได้ย้ายมาอยู่ ที่อาคารบ้านพักนายอำเภอ หลังเก่าซึ่งเป็นอาคารเอกเทศอยู่ในบริเวณ ที่ว่าการอำเภอบ้านโพธิ์ ติดริมแม่น้ำบางปะกง เป็นศูนย์กลางหน่วยราชการและติดตลาดประจำอำเภอ ในเขตเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ ซึ่งมีศูนย์เด็กก่อนปฐมวัย โรงเรียนวัดสนามจันทร์และโรงเรียนวิทยาราษฎร์รังสรรค์ วัดสนามจันทร์ ในบริเวณโดยรอบ เมื่อกระทรวงศึกษาได้เปลี่ยนโครงสร้างใหม่เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2546 ศูนย์บริการการศึกษา นอกโรงเรียนอำเภอบ้านโพธิ์ก็ได้เปลี่ยนไปสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อพระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้    เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2551 ได้เปลี่ยนชื่อจากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโพธิ์   เป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโพธิ์ จนถึงปัจจุบันศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโพธิ์ ได้ผ่านการประเมินโดย สมศ.     ครั้งที่ 1 ในปี 2552 ครั้งที่ 2 ในปี 2557 ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านโพธิ์ แต่เนื่องจากสถานที่คับแคบและบุคลากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นจึงขอเช่าอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นครึ่ง ในตลาดใหม่อำเภอบ้านโพธิ์เป็นสำนักงานและ กศน.ตำบลบ้านโพธิ์         

ข้อมูลด้านการบริหาร ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

ดำรงตำแหน่ง

รวมระยะเวลา

1

นายอามีน เฉลิมทรัพย์

หัวหน้า

ศบอ.บ้านโพธิ์

พ.ศ.2536 - พ.ศ.2539

4 ปี

2

นายเอกจิต เพียรจัด

ผอ.ศบอ.บ้านโพธิ์

พ.ศ.2539 - พ.ศ.2548

9 ปี

3

นายบรรลือศักดิ์ สิตตานนท์

ผอ.กศน.อำเภอ

บ้านโพธิ์

พ.ศ.2548 - พ.ศ.2550

3 ปี

4

นางสาวทองสุก ถาวรวงศ์

ผอ.กศน.อำเภอ

บ้านโพธิ์

พ.ศ.2550

ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2553

3 ปี

5

นายสมชาย จันทราภิรมย์

ผอ.กศน.อำเภอ

บ้านโพธิ์

10 พฤศจิกายน พ.ศ.2553

ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2554

1 ปี

21 วัน

6

นายบรรลือศักดิ์ สิตตานนท์

ผอ.กศน.อำเภอ

บ้านโพธิ์

1 ธันวาคม พ.ศ.2554

ถึง เมษายน พ.ศ.2556

1 ปี

5 เดือน

7

นางกัญญา    โมลาศน์

ผอ.กศน.อำเภอ

บ้านโพธิ์

พฤษภาคม พ.ศ.2556

ถึง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

10 เดือน

8

นางรุ่งอรุณ    บุตรสิงห์

ผอ.กศน.อำเภอ

บ้านโพธิ์

17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

 ถึง ปัจจุบัน

 

ข้อมูลนักศึกษาระดับอำเภอ

 ข้อมูลผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 o   ภาคเรียนที่ 1/2561 

 

ระดับการศึกษา

จำนวนนักศึกษา (คน)

จำนวนผู้จบการศึกษา

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

ประถมศึกษา

4

5

9

-

-

-

มัธยมศึกษาตอนต้น

83

59

142

7

3

10

มัธยมศึกษาตอนปลาย

106

90

196

10

13

23

รวม

193

154

347

17

16

33

 o   ภาคเรียนที่ 2/2561 

 

ระดับการศึกษา

จำนวนนักศึกษา (คน)

จำนวนผู้จบการศึกษา

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

ประถมศึกษา

5

3

8

-

-

-

มัธยมศึกษาตอนต้น

82

53

135

-

-

-

มัธยมศึกษาตอนปลาย

95

84

179

-

-

-

รวม

182

140

322

-

-

-

 ข้อมูล ข้อมูลคนพิการในอำเภอ

ที่

ตำบล

จำนวนคนพิการ (คน)

จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(คน)

จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(คน)

หมายเหตุ

1

ตำบลบ้านโพธิ์

52

 

 

 

2

ตำบลเกาะไร่

145

5

1

 

3

ตำบลคลองขุด

85

 

 

 

4

ตำบลคลองบ้านโพธิ์

79

 

 

 

5

ตำบลคลองประเวศ

74

1

 

 

6

ตำบลดอนทราย

72

 

 

 

7

ตำบลเทพราช

131

 

 

 

8

ตำบลท่าพลับ   

36

3

 

 

9

ตำบลหนองตีนนก

102

2

 

 

10

ตำบลหนองบัว

61

 

 

 

11

ตำบลบางซ่อน

89

 

 

 

12

ตำบลบางกรูด

48

 

 

 

13

ตำบลแหลมประดู่

83

 

 

 

14

ตำบลลาดขวาง            

50

 

 

 

15

ตำบลสนามจันทร์

55

 

 

 

16

ตำบลแสนภูดาษ

58

 

 

 

17

ตำบลสิบเอ็ดศอก

131

 

 

 

รวม

1,351

11

1

 

 อ้างอิงจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านโพธิ์ ข้อมูล ณ ธันวาคม 2561


 
เขตพื้นที่

- มีเขตพื้นที่บริการมี 17 ตำบลและ  73 หมู่บ้านได้แก่

 

 ตำบล

 ชื่อหมู่บ้าน

 หมู่ที่

 

 ตำบลบ้านโพธิ์

หมู่บ้านสนามจันทร์

1

หมู่บ้านคลองหลอดยอหมู่บ้าน

2

หมู่บ้านคลองชวดแค

3

หมู่บ้านตลาดทด

4

 ตำบลเกาะไร่

 

 

 

หมู่บ้านคลองแขวงกลั่น

1

หมู่บ้านคลองจรเข้น้อยหมู่บ้าน

2

หมู่บ้านคลองแขวงกลั่น

3

หมู่บ้านคลองเกาะไร่

4

หมู่บ้านคลองเกาะไร่

5

 ตำบลคลองขุด

 

 

 

หมู่บ้านวังอู่

1

หมู่บ้านไผ่แถว

2

หมู่บ้านชวดสนามเถื่อน

3

หมู่บ้านลาดบัว

4

 ตำบลคลองบ้านโพธิ์

 

 

 

หมู่บ้านปากคลองบ้านโพธิ์

1

หมู่บ้านคอนชะคราม

2

หมู่บ้านปากคลองต้นหมัน

3

หมู่บ้านท่าไฟไหม้

4

 ตำบลคลองประเวศ

หมู่บ้านคลองประเวศ

1

หมู่บ้านคลองลัดยายหรั่ง

2

หมู่บ้านคลองขุนพิทักษ์

3

 ตำบลดอนทราย

 

หมู่บ้านทางหลวง

1

หมู่บ้านดอนสะแก

2

หมู่บ้านดอนทราย

3

หมู่บ้านทด

4

 ตำบลเทพราช

หมู่บ้านปากคลองขุนพิทักษ์

1

หมู่บ้านปากลัดยายมุด

2

หมู่บ้านคลองแขวงกลั่น

3

หมู่บ้านคลองแขวงกลั่น

4

หมู่บ้านคลองพระยาสมุทร

5

หมู่บ้านตลาดคลองสวน

6

 ตำบลท่าพลับ

หมู่บ้านบางกรูด

1

หมู่บ้านตลาดโรงสีล่าง

2

หมู่บ้านวัดเกาะชัน

3

หมู่บ้านก้นกรอก

4

 ตำบลหนองตีนนก

หมู่บ้านข้างวัดอินทราราม

1

หมู่บ้านคู้เตาอิฐ

2

หมู่บ้านโรงหลวง

3

หมู่บ้านชวดล่างหัวไผ่

4

หมู่บ้านตลาดหนองตีนนก

5

 

 ตำบลหนองบัว 

 

หมู่บ้านหนองบัว

1

หมู่บ้านสามขา

2

หมู่บ้านดอนสีนนท์

3

หมู่บ้านทุ่งช้าง

4

 ตำบลบางซ่อน

หมู่บ้านชวดลำภู

1

หมู่บ้านคลองยายคำ

2

หมู่บ้านจากแดง

3

 ตำบลบางกรูด

หมู่บ้านอู่ตะเภา

1

หมู่บ้านบางชายสอ

2

หมู่บ้านท่าถั่ว

3

 ตำบลแหลมประดู่

หมู่บ้านดอนศาลเจ้า

1

หมู่บ้านเนินเรียบ

2

หมู่บ้านหนองหอย

3

หมู่บ้านแหลมประดู่

4

หมู่บ้านวังอู่

5

หมู่บ้านหนองกระสังข์

6

 ตำบลลาดขวาง

หมู่บ้านจากขาด

1

หมู่บ้านลาดขวาง

2

หมู่บ้านหัวเนิน

3

หมู่บ้านตลาดแสนภูดาษ

4

ตำบลสนามจันทร์

หมู่บ้านปากคลองท่าถั่ว

1

หมู่บ้านหนองน้ำกิน

2

หมู่บ้านคลองตาแย้ม

3

หมู่บ้านคลองบางกนก

4

 

หมู่บ้านคลองสวนอ้อย

5

หมู่บ้านหัวสวน

6

 ตำบลแสนภูดาษ

หมู่บ้านด่านเก่า

1

หมู่บ้านนอก

2

หมู่บ้านหมู่ใหญ่

3

 ตำบลสิบเอ็ดศอก

หมู่บ้านหนองตับปอ

1

หมู่บ้านดอนอ้ายแขม

2

หมู่บ้านหนองหน้าบ้าน

3

หมู่บ้านดอนควายโทน

4

หมู่บ้านหนองแบน

5

ข้อมูลบุคลากร

 ที่ 

 ประเภทบุคลากร

 รายละเอียด

 ชื่อ

 ตำแหน่ง

 การศึกษา

1

ผู้บริหาร

นางรุ่งอรุณ บุตรสิงห์

ผู้อำนวยการ

ปริญญาโท

2

ข้าราชการครู

นางอัมพัน แสงอุทัย

ครู(ชำนาญการพิเศษ)

ปริญญาตรี

3

ข้าราชการครู

นางสาวชุลีพร นุรารักษ์

ครู

ปริญญาตรี

4

ข้าราชการพลเรือน

นางสาวมยุรี เข็มทอง

บรรณารักษ์ปฏิบัติการ

ปริญญาตรี

5

พนักงานราชการ

นายเชาว์ สิงหนนท์

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

6

พนักงานราชการ

นายภานุวัฒน์ ใจสม

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

7

พนักงานราชการ

นางสาวหนึ่งนุช สุขโชค

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

8

พนักงานราชการ

นางสาวลลดา กีรติบวรชัย

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

9

พนักงานราชการ

นายวัชรชัย มั่นหมาย

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

10

พนักงานราชการ

นางสาวพิชญาภัค ศรีรักษ์

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

 

       

11

พนักงานราชการ

นางสาวปทิตตา ตันวิมลกุล

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

12

พนักงานราชการ

นางสุธาทิพย์ เทียนงาม

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

13

พนักงานราชการ

นางสาวคนธรส เมฆฉ่ำ

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

14

พนักงานราชการ

นายอำนวย สมพงค์

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

15

พนักงานราชการ

นางสาวธิดารัตน์ สื่อสวัสดิ์วณิชย์

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

16

พนักงานราชการ

นางสาวปรานี สุวรรณภูมิ

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

17

พนักงานราชการ

นางสาวศิริวรรณ์ ศรีเมือง

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

18

พนักงานราชการ

น.ส.ปรัศนียาภรณ์ มีหนองใหญ่

ครู กศน.ตำบล

ปริญญาตรี

19

ครูอัตราจ้าง

นางสาวสุดใจ พูลเจริญ

ครูสอนผู้พิการ

ปริญญาตรี


แหล่งเรียนรู้และเครือข่าย

 

·     แหล่งเรียนรู้กศน.ตำบลและศรช. 
 

 ลำดับที่

 ชื่อกศน.ตำบล / ศรช.

 ที่ตั้ง

 ผู้รับผิดชอบ 

 

1

กศน.ตำบลบ้านโพธิ์

ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านโพธิ์ หมู่ 1

นายภานุวัฒน์ ใจสม

2

กศน.ตำบลเกาะไร่

อาคาร กศน.ตำบลเกาะไร่ หมู่ 5

นางสาวปทิตตา ตันวิมลกุล

3

กศน.ตำบลคลองขุด

ห้องในอาคารโรงเรียนวัดพนมพนาวาส หมู่ 3

นางสุธาทิพย์ เทียนงาม

4

กศน.ตำบลคลองบ้านโพธิ์

ห้องในอาคารประชาคม หมู่ 1

นางสาวพิชญาภัค ศรีรักษ์

5

กศน.ตำบลคลองประเวศ

อาคารเอนกประสงค์ อบต. หมู่ 2

น.ส.ปรัศนียาภรณ์ มีหนองใหญ่

6

กศน.ตำบลดอนทราย

อาคารศูนย์ซ่อมสร้าง อบต. หมู่ 4

นายเชาว์ สิงหนนท์

7

กศน.ตำบลเทพราช

ห้องในอาคารโรงเรียนประสาทวิทยา หมู่ 1

นางสาวลลดา กีรติบวรชัย

8

กศน.ตำบลท่าพลับ

ห้องในอาคารโรงเรียนวัดประศาสนโสภณ 

นายภานุวัฒน์ ใจสม

9

กศน.ตำบลหนองตีนนก

ห้องในอาคาร รพ.สต.หนองตีนนก หมู่ 4

นางสาวคนธรส เมฆฉ่ำ

10

กศน.ตำบลหนองบัว

ห้องในอาคารโรงเรียนวัดดอนสีนนท์ หมู่ 3

นางสาวพิชญาภัค ศรีรักษ์

11

กศน.ตำบลบางซ่อน

ห้องในอาคาร รพ.สต.บางซ่อน หมู่ 3

นางสาวศิริวรรณ์ ศรีเมือง

12

กศน.ตำบลบางกรูด

อาคาร กศน.ตำบลบางกรูด หมู่ 2

นางสาวปรานี สุวรรณภูมิ

13

กศน.ตำบลแหลมประดู่

ห้องในอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่ 4

นางสาวทิพย์วิมล สุริวงศ์

14

กศน.ตำบลลาดขวาง

โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดลาดขวาง หมู่ 2

นายวัชรชัย มั่นหมาย

15

กศน.ตำบลสนามจันทร์

ห้องในศาลาวัดกระทุ่ม หมู่ 1

นางสาวธิดารัตน์ สื่อสวัสดิ์วณิชย์

16

กศน.ตำบลแสนภูดาษ

อาคารอเนกประสงค์ หมู่ 2

นายอำนวย สมพงค์

17

กศน.ตำบลสิบเอ็ดศอก

ห้องในอาคารเรียนโรงเรียนวัดสามกอ หมู่ 2

นางสาวหนึ่งนุช สุขโชค

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 

 

 ลำดับที่

 ตำบล

 ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น

ความรู้ ความสามารถประสบการณ์

 ที่อยู่

1

บ้านโพธิ์

นางอาภรณ์ จารุภูมิ

โภชนาการ/ ศิลปะประดิษฐ์

 

42 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโพธิ์

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

2

เกาะไร่

นางทัศนีย์ อภิสิทธิ์

ศิลปะหัตกกรม

 

58 หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะไร่

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

3

คลองขุด

นางวันนา มีพัฒน์

การทำขนมไทย / ขนมเค้ก      การขยายพันธ์ต้นไม้

 

22/4 หมู่ที่ 2

ตำบลคลองขุด

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

4

คลองบ้านโพธิ์

นายธงชัย นาคมี

การทำกะปิกุ้งเคย

 

 

 
8 หมู่ที่ 4 บ้านท่าไฟไหม้ ตำบลคลองบ้านโพธิ์ 
อำเภอบ้านโพธิ์

 

 
 

จังหวัดฉะเชิงเทรา

5

คลองประเวศ

นายสมศักดิ์ ม่วงศรี

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

20 หมู่ที่ 2

ตำบลคลองประเวศ

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

6

ดอนทราย

นายสุนทร สุขโขใจ

การถ่ายทอดการเพาะไส้เดือนเพื่อการเกษตร

 

5/4 หมู่ที่ 2

ตำบลดอนทราย

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

7

เทพราช

นายขวัญชัย รักษาพันธ์

เศรษฐกิจพอเพียง

 

85 หมู่ที่ 2 ตำบลเทพราช

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

8

ท่าพลับ

นายอุดม    ขจรฤทธิ์

การทำเกษตรปลอดสารพิษ

 

3 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าพลับ

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

9

หนองตีนนก

นางลินดา ชมเล็ก

การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

51/3 หมู่ที่ 4

ตำบลหนองตีนนก

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

10

หนองบัว

นาง มณี หมอกเจริญ

จักสาน

 

55/2 หมู่ที่ 3  

ตำบลหนองบัว

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

11

บางซ่อน

นางทองหลาง

สนรักษา

สมุนไพร

 

25 / 1 หมู่ที่ 1

ตำบลบางซ่อน

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

12

บางกรูด

นางเสาวณี 

สุวรรณรัตน์

งานศิลปะประดิษฐ์ 

ดอกไม้ดิน และผ้าด้นมือ

 

86 หมู่ที่ 3 ตำบลบางกรูด

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

13

แหลมประดู่

นางชิ้น เจียมตน

การปลูกข้าวแบบอินทรีย์

 

19/1 หมู่ที่ 3 ตำบลแหลมประดู่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

14

ลาดขวาง

นางโชติกา ช่องท้วม

ขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์

 

59/296 หมู่ที่ 4

ตำบลลาดขวาง  บ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

15

สนามจันทร์

นางคิน พุ่มประเสริฐ

ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน

การเย็บจากมุงหลังคา

 

20 /1 หมู่ที่ 6

ตำบลสนามจันทร์

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

16

แสนภูดาษ

นาวาโทเสวก ทัศนา

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทำบัญชี

ครัวเรือน

หมู่ที่ 2 ตำบลแสนภูดาษ

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

17

สิบเอ็ดศอก

นางชลิตา ไทยแก่น

การปลูกพืชเกษตร

แบบอินทรีย์

 

36 หมู่ที่ 1

ตำบลสิบเอ็ดศอก

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

 · บ้านหนังสือชุมชน

ลำดับที่

 ชื่อบ้าน

 ที่ตั้ง 

ชื่อเจ้าของบ้าน

1

บ้านสนามจันทร์

สถานีตำรวจภูธรบ้านโพธิ์ เลขที่ 148

หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

พ.ต.อ.ชาติ งานพิทักษ์

081-8605502

2

บ้านสนามจันทร์

ชั้น 3 โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ หมู่ที่ 1

ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางอภินยา อภิวงศ์โสกุล

038-587222

3

บ้านตลาดทด

ร้านค้า เลขที่ 48/1 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านโพธิ์

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางบุญนะ อุดมเดช

085-0891711

4

บ้านคลองเกาะไร่

ร้านค้า หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะไร่

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางสาวนันทพร แซ่ตัน

092-9869116

5

บ้านเกาะไร่

มัสยิดอัลฮาดี หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะไร่

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

อิหม่าม กฤษ ปานตระกูล

081-3416889

6

บ้านไผ่แถว

ร้านค้า เลขที่ 10/1 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองขุด

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายประกิจ พาณิช

-

7

บ้านไผ่แถว

บ้านประชาชน เลขที่ 21 หมู่ที่ 2

ตำบลคลองขุด อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางประชุม รำสำอางค์

-

8

บ้านลาดบัว

ร้านค้า เลขที่ 59/5 หมู่ที่ 4 ตำบลคลองขุด

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางนวรัตน์ จันทรวงค์

094 9948237

9

บ้านดอนชะคราม

ร้านค้า เลขที่ 7/1 หมู่ที่ 2

ตำบลคลองบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายรังสรรค์ จิรวัฒน์

081-4102140

10

บ้านท่าไฟไหม้

ร้านอาหารแพแมนยู เลขที่ 7/1 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายมนู ชาวนา

089-9882049

11

บ้านคลองขุนพิทักษ์

ร้านโชคดี 43/2 หมู่ที่ 3

ตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายสุรัติ   โพธิ์ทอง

087-6953874

12

บ้านคลองลัดยายหรั่ง

กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ 2

ตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายสมศักดิ์ ม่วงศรี

087-5093783

13

บ้านดอนทราย

(ซอยกลาง)

13/1 หมู่ที่ 3 ตำบลดอนทราย

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางแวว คุ้มเสร็จ

-

14

บ้านทางหลวง

หมู่ที่ 1 ตำบลดอนทราย

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายชำนาญ ศรีเจริญ

081-4929298

15

บ้านปากลัด

ยายมุด

วัดเทพราชปวราราม หมู่ที่ 2 ตำบลเทพราช

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางสาวสิรินทร์พร กีรติบวรชัย

087-1641291

16

บ้านปากคลอง

ขุนพิทักษ์

บ้านประชาชน เลขที่ 57 หมู่ที่ 1

ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายไพฑูรย์ ปุญญประยูร

087-7412699

17

บ้านก้นกรอก

บ้านประชาชน เลขที่ 3 หมู่ที่ 4

ตำบลท่าพลับ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายอุดม ขจรฤทธิ์

089-8898913

18

บ้านตลาด

บางกรูด

รพ.สต.ท่าพลับ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าพลับ

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายประจิตร   ภู่สะอาด      

081-7825873

19

บ้านตลาด

หนองตีนนก

ร้านค้า เลขที่14/2 หมู่ที่ 5

ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางยุพิน บุญสุข

083-4974203

20

บ้านชวดล่าง

หัวไผ่

รพ.สต.หนองตีนนก หมู่ที่ 4

ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางรุ่งทิวา   ปั่นประเสริฐ

089-7488499

21

บ้านทุ่งช้าง

ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางสุนีย์ ทองใบ

094-9413148

22

บ้านดอนสีนนท์

ร้านค้า เลขที่ 61/7 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองบัว

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายเอกชัย นุชสุข

086-1383010

23

บ้านจากแดง

รพ.สต.บางซ่อน 79 หมู่ที่ 3 ตำบลบางซ่อน

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางอำพร เนตรแก้ว

081-2958263

24

บ้านคลองยายคำ

ร้านค้า หมู่ที่ 2 ตำบลบางซ่อน

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางสมพร แซ้แต่

081-8634699

25

บ้านบางชายสอ

ร้านค้าสหกรณ์ หมู่ที่ 2 ตำบลบางกรูด

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางสาวเบญญาภา มาลัยลอย

082-2118687

26

บ้านท่าถั่ว

ร้านมีสุขคาเฟ่ หมู่ที่ 3 ตำบลบางกรูด

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางสาวนิสา คงสาคร

081-9964196

27

บ้านแหลมประดู่

รพ.สต.แหลมประดู่ หมู่ที่ 4

ตำบลแหลมประดู่ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายอนันท์ บุญช่วย

081-4112175

28

บ้านหนองปลาดุก

ร้านค้า เลขที่ 12/2 หมู่ที่ 3

ตำบลแหลมประดู่ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางฉัตรชนก ชูแดง

083-6067677

29

บ้านลาดขวาง

ร้านค้า เลขที่ 31/5 หมู่ที่ 2 ตำบลลาดขวาง

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางกิ่งแก้ว   สวัสดี

087-4838467

30

บ้านหัวเนิน

 

ศูนย์ชุมชนบ้านเอื้ออาทรฉะเชิงเทรา

หมู่ที่ 3 ตำบลลาดขวาง อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายวิทวัส เชื้อสุวรรณ์

063-5947431

31

บ้านปากคลองท่าถั่ว

ร้านค้า เลขที่ 18/2 หมู่ที่ 1

ตำบลสนามจันทร์ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางสาวบุญรับ เดชาขจรสุข

088-2054867

32

บ้านหัวสวน

ร้านเสริมสวยตาลซาลอน หมู่ที่ 6

ตำบลสนามจันทร์ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางสาวนงลักษณ์ ชัยพานิช

092-0953109

33

บ้านหมู่ใหม่

ร้านค้า เลขที่ 28/2 หมู่ที่ 3

ตำบลแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายวุฒิพงษ์ จันทรเดช

081-5555843

34

บ้านด่านเก่า

ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เลขที่ 65 หมู่ที่ 1 ตำบลแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นายชาญ พุ่มพวง

089-9382665

35

บ้านหนองหน้าบ้าน

ร้านค้า เลขที่ 44/5 หมู่ที่ 3

ตำบลสิบเอ็ดศอก อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางบุญเรือน บุญถนอม

086-9733658

36

บ้านหนองแบน

บ้านประชาชน เลขที่ 71/5 หมู่ที่ 5

ตำบลสิบเอ็ดศอก อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140

นางจำรัส วิรัชกุลวาณิชย์

081-3087964

 

 

 

 
·       แหล่งเรียนรู้อื่น

 ลำดับที่

 ตำบล

 ชื่อแหล่งเรียนรู้

 ประเภทแหล่งเรียนรู้

 ที่ตั้ง

1

บ้านโพธิ์

ศูนย์อาเซียนศึกษา

สถานที่

ห้องสมุดประชาชน

อำเภอบ้านโพธิ์

หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโพธิ์

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

แหล่งเรียนรู้วิหาร

เจ้าท้าวเวสสุวรรณ

 

สถานที่

61 ตำบลบ้านโพธิ์

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

2

เกาะไร่

แหล่งเรียนรู้

เกษตรแบบผสมผสาน

 

สถานที่

หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะไร่

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

3

คลองขุด

แหล่งเรียนรู้

สลัดเนตรฟาร์ม

 

สถานที่

49 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองขุด

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

แหล่งเรียนรู้

วัดพนมพนาวาส

 

สถานที่

หมู่ที่ 3 ตำบลคลองขุด

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

4

คลองบ้านโพธิ์

แหล่งเรียนรู้

การปลูกบอนไซ

 

สถานที่

สวนหนึ่งไทรอินดี้ หมู่ที่ 1

ตำบลคลองบ้านโพธิ์ 

อำเภอบ้านโพธิ์ 

จังหวัดฉะเชิงเทรา

อุทยานหลวงปู่ทวด

 

สถานที่

95 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองบ้านโพธิ์

อำเภอบ้านโพธิ์ 

จังหวัดฉะเชิงเทรา

5

คลองประเวศ

ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลคลองประเวศ

สถานที่

หมู่ที่ 2 ตำบลคลองประเวศ

อำเภอบ้านโพธิ์ 

จังหวัดฉะเชิงเทรา

6

ดอนทราย

การทำเกษตรผสมผสานในครัวเรือน

 

สถานที่

1/15 หมู่ที่ 1 ตำบลดอนทราย

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

แหล่งเรียนรู้

การเพาะเลี้ยงไส้เดือน

 

สถานที่

5/4 หมู่ที่ 2 ตำบลดอนทราย

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

7

เทพราช

ศูนย์การเรียนรู้เทพราชบอนสีเฉลิมพระเกียรติ ฯ

สถานที่

14/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเทพราช

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

8

ท่าพลับ

ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลท่าพลับ

 

สถานที่

หมู่ที่ 4 ตำบลท่าพลับ

อำเภอบ้านโพธิ์ 

จังหวัดฉะเชิงเทรา

9

หนองตีนนก

ศูนย์สาธิตและการอนุรักษ์พันธ์ไก่พื้นเมืองและการขยายพันธุ์ปลา

สถานที่

51/3 หมู่ที่ 4

ตำบลหนองตีนนก

อำเภอบ้านโพธิ์

จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

แหล่งเรียนรู้ เกษตรอินทรีย์

สถานที่

14/2 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองตีนนกอำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา 

10

หนองบัว

แหล่งเรียนรู้
เกษตรแบบผสมผสาน

สถานที่

หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว
อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา 

11

บางซ่อน

แหล่งเรียนรู้การปลูกผักเบอร์ 8

(ผักปลอดสารพิษ)

สถานที่

หมู่ที่ 3 ตำบลบางซ่อน
อำเภอบ้านโพธิ์ 
จังหวัดฉะเชิงเทรา

12

บางกรูด

 

แหล่งเรียนรู้การปลูกผัก

เกษตรอินทรีย์

สถานที่

หมู่ที่ 1 ตำบลบางกรูด
อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

แหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา

สถานที่

หมู่ที่ 2 ตำบลบางกรูด
อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

13

แหลมประดู่

แหล่งเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองกระสังข์
(การปลูกข้าวมะลิอินทรีย์)

สถานที่

19/1 หมู่ที่ 3
ตำบลแหลมประดู่
อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

แหล่งเรียนรู้กลุ่มจักสาน
ตะกร้าทางมะพร้าว

สถานที่

26 หมู่ที่ 4 ตำบลแหลมประดู่อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

14

ลาดขวาง

ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรม

สถานที่

หมู่ที่ 2 ตำบลลาดขวาง
อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

แหล่งเรียนรู้ การทำขนมเปี๊ยะสมุนไพร

สถานที่

 

59/296 หมู่ที่ 3 ตำบลลาดขวาง
อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

15

สนามจันทร์

แหล่งเรียนรู้ การทำผลิตภัณฑ์

ในครัวเรือน

สถานที่

 

20 /1 หมู่ที่ 6
ตำบลสนามจันทร์
อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

16

แสนภูดาษ

แหล่งเรียนรู้ การเพาะเห็ด

ขอนขาว

สถานที่

ฟาร์มเห็ดตายาย หมู่ที่ 1
ตำบลแสนภูดาษ
อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

แสนภูดาษ

แหล่งเรียนรู้ การทำกะปิ

สถานที่

25/1 หมู่ที่ 2 ตำบลแสนภูดาษอำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

17

สิบเอ็ดศอก

ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์

วิถีชุมชนตำบลสิบเอ็ดศอก

สถานที่

36 หมู่ที่ 1
ตำบลสิบเอ็ดศอก
อำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

 

ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาของประชาชนที่จำแนกตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย

 

กลุ่มเป้าหมาย

ปัญหาและต้องการ

แนวทางการแก้ไข

กลุ่มคนที่ไม่รู้หนังสือ

กลุ่มภาวะ

การลืมหนังสือ

- ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ จะประสบปัญหาเรื่องความจำ สายตา

 

- สนับสนุน ส่งเสริมการรู้หนังสือในรูปแบบกิจกรรม เสริมความจำ บริการการอ่านที่เอื้อต่อการเรียนรู้

 

กลุ่มวัยเด็ก

 

ช่วงอายุ 1 – 14 ปี ส่วนใหญ่ยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง เรียนการศึกษาภาคบังคับ ปัญหาที่พบคือ เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ บางคนครอบครัวไม่ได้ดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด จึงทำให้เด็กเหล่านี้หลงผิดไปได้ง่าย เพราะเป็นวัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็น ติดเพื่อน ทำให้เรียนไม่จบเป็นปัญหาต่อเนื่อง

- จัดทำกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน เช่น ความรู้เรื่องยาเสพติด ความรู้เรื่องแนวทางการดำเนินชีวิต ความรู้เรื่องครอบครัว

- การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

กลุ่มเด็กและเยาวชน

(วัยเรียน)

 

เยาวชนช่วงอายุ 15 – 25 ปี ประสบปัญหาการเรียนไม่จบการศึกษาในระบบโรงเรียนด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาท้องในวัยเรียน ปัญหาติดเพื่อน ปัญหาติดเกม เป็นต้น

- กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ไม่มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง ไม่ให้ความสำคัญกับการมาเรียน กศน. จึงทำให้การเรียนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

- ส่งเสริมสนับสนุน แนะแนว จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามความพร้อมและคุณสมบัติของผู้เรียนในแต่ละระดับ

- จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในเรื่องต่าง ๆ ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของหลักสูตรและสถานศึกษา

- จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เสริมให้กับผู้เรียนตามหลักสูตร ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต มีจิตอาสา ช่วยเหลือสังคม เช่น กิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน วัด โรงเรียน การปลูกป่า เป็นต้น เป็นกิจกรรมเสริมจากการเรียนการสอน

กลุ่มประชากรวัยแรงงานระหว่างอายุ 25-59 ปี

 

- กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มวัยทำงาน ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเรื่องการไม่มีเวลาพัฒนาตนเองในด้านการศึกษาเพราะต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

- ส่งเสริมสนับสนุน แนะแนว จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามความพร้อมและคุณสมบัติของผู้เรียนในแต่ละระดับ

- ส่งเสริมสนับสนุนจัดการศึกษาตามเนื่อง ได้แก่ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมชุมชน และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อไปส่งเสริมอาชีพ ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว และกิจกรรมที่สร้างเสริมทักษะต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดการพัฒนาตนเอง ชุมชน

- บริการการศึกษาตามอัธยาศัย จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือการมอบหมายกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง ให้ผู้เรียนไปศึกษาด้วยตนเองจากอินเทอร์เน็ต การอ่านหนังสือ การไปถามผู้รู้ หรือการไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้แก่กลุ่มเป้าหมายประชาชนในชุมชน โดยบ้านหนังสือชุมชน อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน เพื่อให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน

กลุ่มผู้สูง

อายุ 60 ปี

ขึ้นไป

 

- ผู้สูงอายุขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง

- ผู้สูงอายุขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว

- การส่งเสริมกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุขาดความต่อเนื่อง

- จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านการดูแลสุขภาพอนามัย การออกกำลังกาย

- จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้ และมีกิจกรรมทำอาจจะทำเป็นกลุ่มหรือเป็นบุคคล เช่น การจักสาน การทำอาหารขนม อาหารเพื่อสุขภาพ ฯ

กลุ่มผู้พิการ

 

- ปัญหาด้านร่างกายที่พิการ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนคนปกติ

- ปัญหาด้านสติปัญญา ไม่สามารถเรียนรู้ได้เหมือนคนปกติ

- การยอมรับทางสังคมในเรื่องการศึกษายังมีไม่มากเท่าที่ควรเพราะครอบครัวคิดว่าพิการไม่ต้องเรียน

- คนพิการขาดความมั่นใจในการเรียน ในการใช้ชีวิตในสังคม ทำให้คนพิการชอบเก็บตัวเงียบอยู่ในบ้าน

- ส่งเสริมสนับสนุน แนะแนว จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามความพร้อมและคุณสมบัติของผู้เรียนในแต่ละระดับ

- จัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง และกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย ที่สอดคล้องกับความต้องการและประเภทของความพิการ

 
การวิเคราะห์สภาพเวดล้อม กศน.อำเภอ (SWOT Analysis )

1.      การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน

1.1 จุดแข็งของ กศน.อำเภอ (Strengths – S)
1) สถานที่ตั้งของ กศน.อำเภอ อยู่ในแหล่งชุมชน การคมนาคมสะดวก และปลอดภัย
2) กศน.ตำบล ตั้งอยู่ในพื้นที่ ทำให้การจัดกิจกรรมในพื้นที่ทำได้ง่าย
3) มี กศน.ตำบล ที่ได้รับงบก่อสร้าง และมีความพร้อมในการจัดกิจกรรม
4) มีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนตามที่สำนักงาน กศน.กำหนด
5) มีห้องสมุดประชาชนที่ร่วมจัดการศึกษาและเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน
6) มีคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การประเมินผล
7) มีบุคลากรจัดการศึกษาทั้ง ข้าราชการครู/ พลเรือน พนักงานราชการ ลูกจ้าง
8) บุคลากรของ กศน.อำเภอ มีความรู้ความสามารถที่หลากหลายในการจัดกิจกรรมทุกประเภท
9) ครู กศน.ตำบล มีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อและเทคโนโลยีด้านการจัดการศึกษา
10) มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการงานต่าง เช่น โปรแกรม ITw,    e-filing, e-budget, LINE
11) มีคำสั่งแต่งตั้ง และคำสั่งมอบหมายงาน Job description ที่ชัดเจน
12) มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นปัจจุบันสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
13) มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั่วถึง เท่าเทียม และเสมอภาค
14) ผู้เรียนจบหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กำหนด15) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน เช่น ข้อมูล ITw , ข้อมูลแหล่งเรียนรู้,          ภูมิปัญญาท้องถิ่น
16) ผู้เรียน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม กศน.
17) สถานศึกษามีงบประมาณเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการบริหารจัดการในองค์กร
18) สถานศึกษามีการบริหารจัดการโดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA)
19) จัดการศึกษา กศน. (พื้นฐาน/ต่อเนื่อง/อัธยาศัย) ได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและครบทุกงาน
 

1.2 จุดอ่อนของ กศน.อำเภอ (Weaknesses – W)

1) อาคารที่ตั้ง กศน.อำเภอ ไม่มีบริเวณในการจัดกิจกรรม

2) อาคาร กศน.ตำบล ไม่เป็นเอกเทศ และอยู่ร่วม/อาศัยอาคารของภาคีเครือข่าย จึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนบ่อย

3) อาคารสถานที่ของ กศน.ตำบล บางแห่งไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น คับแคบ ไม่มีไฟฟ้า และน้ำประปาใช้

4) ไม่มีบุคลากรตามตำแหน่งโครงสร้างขององค์กร เช่น เจ้าหน้าที่การเงิน/งานพัสดุ/งานสารบรรณ/งานแผนและงานตามนโยบาย

5) อัตรา ครู กศน.ตำบลมีไม่ครบทุกตำบล

6) มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่การปฏิบัติงาน และ เข้า – ออก ของครู กศน.ตำบลบ่อย

7) บุคลากรขาดความกระตือรือร้น และความรับผิดชอบตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง

8) ครูผู้สอนขาดทักษะและประสบการณ์ในการจัดกระบวนการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

9) ครูบรรจุใหม่ยังไม่สามารถจัดกิจกรรมในพื้นที่ได้เนื่องจากขาดประสบการณ์

10) ครูขาดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย

11) การส่งเสริมสนับสนุน/การสื่อสาร ข้อมูลระหว่างหัวหน้างานกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ขาดความต่อเนื่องและความชัดเจน

12) ครู กศน.ตำบล ต้องรับผิดชอบการเรียนการสอนทุกระดับจึงไม่สามารถจัดการเรียนการสอนตามนโยบายของสถานศึกษา (การแยกพบกลุ่มแต่ละระดับ)

13) ครูมีภาระงานที่มากเกินไป ทั้งงานในสำนักงาน งานในพื้นที่ งานนโยบาย งานเร่งด่วนและงานของภาคีเครือข่ายทั้งที่มี MOU และไม่มี MOU

14) โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีรายวิชาเยอะ ทำให้ครูมีภาระงานสอนมาก

15) ไม่มีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องและหลักสูตรการศึกษาตามอัธยาศัย

16) จำนวนชั่วโมงกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (กพช.) มากสำหรับผู้เรียนที่ประกอบอาชีพในสถานประกอบการ

17) กศน.ตำบล บางแห่งไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ครบตามงบประมาณ และกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด

18) งานนโยบายเร่งด่วนทำให้ต้องปรับเปลี่ยนแผนในการจัดกิจกรรมบ่อย

19) ผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องและพัฒนาอาชีพยังไม่สามารถนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพหรือทำเป็นอาชีพเสริมตามเป้าหมายที่กำหนด

20) การรายงานข้อมูลสารสนเทศ (DMIS) ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง

21) สื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนไม่เพียงพอ

22) ระบบ wifi ใน กศน.ตำบล ไม่เสถียรเมื่อมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

23) อุปกรณ์ในการจัดการศึกษาต่อเนื่องไม่สอดคล้องและเพียงพอกับกิจกรรมที่จัด

24) ครูไม่ได้อยู่ประจำที่ กศน.ตำบล เพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้ทุกวัน

25) ไม่มีศูนย์ Advice center ศูนย์แนะแนวการศึกษา และไม่มีบุคลากรที่ทำหน้าที่แนะแนว

26) อัตราการจบของนักศึกษาขั้นพื้นฐานน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน

27) ไม่มีงบประมาณสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ที่เป็นเครือข่ายของ กศน.

 

ข้อเสนอแนะของ สมศ.

29) ผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานควรได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มสาระที่มีผลการเรียนต่ำ

30) สถานศึกษาต้องมีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้ไม่รู้หนังสือ

31) สถานศึกษาความมีการจัดการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

32) สร้างความตระหนักให้ครูและบุคลากรทุกคนในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

2.1 โอกาส (Opportunities – O)

1) นโยบายเรียนฟรี 15 ปีเอื้อต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่อง

2) รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง)

3) รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการขายและกระจายสินค้าผลผลิตทางการเกษตร ตลาดประชารัฐ

4) เป็นแหล่งผลิตอาหารทางการเกษตร ประมง และปศุสัตว์ เช่น การปลูกข้าว การเลี้ยงไก่ไข่      การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ

5) พื้นที่อำเภอบ้านโพธิ์เป็นศูนย์กลางในการคมนาคม การเดินทาง การขนส่งสินค้าสู่ภาคตะวันออก มุ่งสู่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC

6) ภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรม กศน.ด้านสถานที่ องค์ความรู้ วิทยากร ปราชญ์ชาวบ้าน และแหล่งเรียนรู้

7) มีแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ

8) มีระบบโครงข่ายโทรคมนาคมครอบคลุมในพื้นที่ สัญญาณของระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพ

9) มีวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นในพื้นที่ที่สืบทอดต่อกันมาของชุมชน เช่น แห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำประเพณีทำบุญกลางทุ่งไถ่ชีวิตโคกระบือ 

 

2.2 อุปสรรค/ความเสี่ยง (Threats - T)

1) นโยบายการทำ MOU ร่วมกับหน่วยงานอื่นทำให้ภาระงานของครูเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่ของครู กศน.ตำบล

2) มีสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจัดการศึกษาในระดับ ปวช.

3) สำนักงาน กศน.จัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและจัดหาสื่อการอ่านน้อยไม่เพียงพอ

4) ระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ไม่มีรถประจำทางทำให้การสัญจรในพื้นที่ไม่สะดวก

5) แหล่งเรียนรู้บางแห่งมีการเก็บค่าใช้จ่ายเกินกว่าระเบียบราชการกำหนด

6) การติดตั้งสัญญาณเน็ตประชารัฐไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

7) จำนวนประชากรในพื้นที่น้อย และประกอบอาชีพในสถานประกอบการทำให้การร่วมกลุ่มจัดกิจกรรมยาก

8) การโยกย้ายถิ่นฐานของประชากร ทำให้เกิดสังคมพหุวัฒนธรรม

9) การรวมกลุ่มอาชีพของคนในพื้นที่ไม่มีความเข้มแข็งเป็นการร่วมกลุ่มกันชั่วคราว



เข้าชม : 2956
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโพธิ์  หมู่ 1 ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 24140  โทรศัพท์: 038-588202 http://ccs.nfe.go.th/bannpho
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี