1. โครงสร้างพื้นฐานอาชีพของชุมชน
ปัจจุบันฐานะทางเศรษฐกิจของคนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างดี เนื่องจากราคาที่ดินมีมูลค่าที่สูงขึ้น จนเกิดค่านิยมขายที่ดินเพื่อนำเงินมาลงทุนทำธุรกิจ จนเกิดอาชีพใหม่ๆ ที่สร้างกำไร กระแสสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงในด้านการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างมากของคนในชุมชน เช่นการมีการคมนาคมขนส่งทางน้ำ ทางบก การเกิดอุตสาหกรรมการผลิต การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรเข้ามาใช้งาน ปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำนามาทำการเพาะเลี้ยงกุ้งและปลา ซึ่งทำให้มีรายได้ดีกว่าเดิมประกอบกับการใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีโรงงานขนาดใหญ่เกิดขึ้นในเขตอำเภอบ้านโพธิ์ประมาณ 35 โรง ทำให้มีรายได้สูงขึ้น ลดปัญหาการว่างงานที่มีอยู่เดิม
- อาชีพเกษตรกรรม เพาะพันธุ์กุ้ง เลี้ยงกุ้ง ทำนา เลี้ยงปลา และเลี้ยงไก่ไข่
- อาชีพ รับจ้างโรงงาน ห้างร้าน บริษัท เอกชน ภาครัฐ และรับจ้างทั่วไปรายวัน
- อาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/บริการ
2. ผลผลิตหรือสินค้า/บริการ
ที่สำคัญของตำบล เพาะพันธุ์กุ้ง กุ้ง ปลากะพง ข้าว ไข่ไก่ กล้วย มะละกอ ขนมเปี๊ย
๓. ร้านโรงงาน/ร้านค้าในชุมชน
- โรงเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน ๓๕ โรง
- โรงเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน ๒ โรง
- สหกรณ์ร้านค้าชุมชน จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าขายของชำ จำนวน ๓๑ ร้าน
- ร้านขายอาหารตามสั่ง จำนวน ๒๕ ร้าน
แหล่งเรียนรู้ในชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษาประเภทบุคคล ประเภทสถานที่และองค์กร ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ประเภทกิจกรรมทางสังคม วัฒนธรรม และต้นทุนงบประมาณ