[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก


บทความทั่วไป
สถานที่สำคัญ

พฤหัสบดี ที่ 20 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2556


สถานที่สำคัญและเป็นยังแหล่งท่องเที่ยวของตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

สถานที่ รายละเอียด 
วัดโสธรวรารามวรวิหาร เดิมชื่อ " วัดหงษ์ " ตั้งอยู่ที่ ถนนศรีโสธร สร้างขี้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นสถานที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อพระพุทธโสธร" ซึ่งเป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง หลวงพ่อพระพุทธโสธร พระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย และต่างประเทศ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งออกแบบพิเศษเฉพาะรัชกาลที่ 9 มี ลักษณะเป็นอาคารมีหลังคาแบบจตุรมุขอย่างปราสาทไทย กว้าง 44.50 เมตร ยาว 123.50 เมตร ส่วนกลางพระอุโบสถมียอดมณฑปสูง 85 เมตร ยอดมณฑปมีลักษณะ เป็นฉัตร 5 ชั้น ความสูง 4.90 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม มูลค่า 44 ล้านบาท เป็นพระอุโบสถที่มี ขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดในโลก
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ที่ถนนสวนสมเด็จฯ หน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ 90 ไร่ จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2523 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุ ครบ 80 พรรษา
วัดจีน
ประชาสโมสร
(วัดเล่งฮกยี่)
ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ เป็นเก๋งจีน ภายในวัดมีรูปปั้นขนาดใหญ่ของจตุโลกบาล และเทวรูปจีนอ้วยโห้ ซึ่งแต่งกายชุดนักรบ นอกจากนี้มีวิหารศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อาทิ วิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม วิหารว่องอ้วนตี่ วิหารตี่ซังอ๋อง และสระนทีสรรค์ เป็นต้น
วัดอุภัย
ภาติการาม
(วัดซำปอกง)
ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ เป็นวัดเก๋งจีน แต่พระพุทธรูปแบบไทย ซึ่งจำลองจากพระโตวัดพนัญเชิงและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระว่า “พระไตรรัตนนายก” และทรงพระราชทานเงินบำรุงวัด   200   บาท เมื่อคราวเสด็จทอดพระเนตร วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2450
ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ มีเสาหลักเมืองยอดหัวเมือง และได้ก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2542
วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์   สร้างขึ้นเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ของฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2377   เดิมชื่อ "วัดเมือง" กรมหลวงรักษ์รณเรศร์ เป็นผู้ดำเนินการสร้างตามรับสั่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดให้ใหม่ คือ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์
ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า หรือศาลารัฐบาลมณฑลปราจีน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2449 ตั้งอยู่ที่ถนนนิยมไทย  เป็นอาคารชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เป็นที่ทำการมณฑลปราจีนบุรีเก่า ศาลารัฐบาลแห่งนี้มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองฉะเชิงเทราอย่างสม่ำเสมอ   ได้ถูกไฟไหม้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 และได้ก่อสร้างขึ้นแทนที่เดิม
กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ที่ถนนมรุพงษ์ ซึ่งก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 ก่อด้วยอิฐถือปูน มีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน กำแพงเมืองป้อมปราการนี้ นอกจากจะเป็นเครื่องแสดงขอบเขตเมืองอย่างชัดเจน เป็นครั้งแรกของเมืองฉะเชิงเทราในยุคโบราณแล้ว จากชัยชนะของไทยในสงครามอานามสนามยุทธ ยังเปรียบเสมือนประจักษ์พยานในบทบาทของฉะเชิงเทรา ในฐานะเมืองหน้าด่าน ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องรักษาเมืองหลวงของชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมืองแปดริ้วอีกด้วย
ตลาดบ้านใหม่ ตลาดโบราณริมแม่น้ำบางปะกง อายุกว่า 100 ปี เสน่ห์ของของตลาดเรือนไม้เก่าแก่ และวิถีชีวิตที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย หลังจากนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธรที่วัดโสธรวรารามวรวิหารแล้ว ท่านสามารถเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตลาดบ้านใหม่ ซึ่งเป็นตลาดโบราณริมแม่น้ำ บางปะกง อายุกว่า 100 ปี ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ (ทางไปอำเภอบางน้ำเปรี้ยว) เดิม เคยเป็นแหล่งชุมชนชาวจีน ที่มีความคึกคัก มีการค้าขายสินค้าต่าง ๆ มากมาย ด้วยความมีเสน่ห์ของของตลาดเรือนไม้เก่าแก่ และวิถีชีวิตที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย ซึ่งกองถ่ายทำละคร และภาพยนต์ไทย นิยมมาถ่ายทำ ณ สถานที่แห่งนี้อยู่เป็นประจำ

เข้าชม : 796

บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      สถานที่สำคัญ 20 / มิ.ย. / 2556
      การลงทะเบียน \"คนไทยไม่ทิ้งกัน\" 2 / ก.ย. / 2553
      เลี้ยงไก่ไข่ด้วยอีแวป...ทำไบโอแก๊สลดค่าใช้จ่าย 3 / ธ.ค. / 2551


กศน.ตำบลบางขวัญ  อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา  จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์  :  0946854149   E-mail  :pornnapa9792@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin