[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก


บทความทั่วไป
Best Practice

จันทร์ ที่ 3 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2565

                                                                                                                         BEST PRACTICE

เรื่อง วิสาหกิจชุมชนตำบลคลองอุดมชลจร

1.      ความเป็นมาของโครงการ

          จากนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ภารกิจต่อเนื่อง การศึกษาต่อเนื่อง 1. จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทำในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทาง หรือการบริการ รวมถึงการเน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีหนึ่งอาชีพเด่น หนึ่งศูนย์ฝึกอาชีพ รวมทั้งให้  มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง กศน.ตำบลคลองอุดมชลจร จึงได้นำการกลุ่มอาชีพการทำผลิตภัณฑ์จากข้างไรซ์เบอร์รี่ เพื่อให้สินค้าที่ทำของกลุ่มเป็นสินค้าพรีเมี่ยมของตำบล  ใน 5 เรื่องดังนี้   

          จุดเด่น

         1.  การใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง หลักความรู้อันเกิดจากความสามารถประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดในการประดิษฐ์คิดค้นของคนในท้องถิ่น โดยเป็นผลมาจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบานการเรียนรู้ เลือกสรร พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต กศน.ตำบลคลองอุดมชลจร ได้หาวิทยากรที่มีความสามารถที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความสามรถในเรื่องของการแปรรูปข้าว มาเป็นวิทยากรในการเรียนการสอนในการฝึกอาชีพที่ทำจากผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องไรซ์เบอร์

          จุดด้อย

          1.  การใช้วัสดุในท้องถิ่น  ตำบลคลองอุดมชลจรเป็นตำบลที่มีกลุ่มที่ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ น้อยกว่าความต้องการ เนื่องจากผู้ที่มีความสามารถในการทำปลูกข้าวที่มีคุณภาพน้อย

          2. การตลาดสิ้นค้าผ่าน OOCC สินค้าของกลุ่มที่เปิดการขายผ่าน OOCC ยังไม่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการขายสินค้า จึงต้องมีการพัฒนาส่งเสริมการขายเพิ่มเติมให้กับกลุ่มต่อไป

          3.  แบรนด์ กศน. กลุ่มข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ เป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาสังคมและชุมชนอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ในการทำโล้โก้สินค้า ส่วนการทำโล้โก้ของ กศน.กลุ่มกำลังดำเนินการจัดทำโล้โก้

1.      ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

          มีกระบวนการดำเนินงาน ที่สามารถจับกลุ่มในการจัดทำผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ที่เหนียวแน่น

ความสำเร็จที่เป็นจุดเด่นของโครงการ

           ครู

           นางสาววริยา  ชนะชัย ครู กศน.ตำบลคลองอุดมชลจร ให้ความสนใจในการฝึกอาชีพกับประชาชนในตำบลหาวิชาที่ประชาชนมีความสนใจ และอาชีพที่หลากหลายที่สามารถนำมาสร้างรายได้ให้กับประชาชนในขุมชนที่สนใจในการหาอาชีพเพิ่มเติมที่สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยการนำผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่มาแปรรูปเป็นขนมต่าง ๆ  กลุ่ม กลุ่มข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่

          โดย นางนงลักษณ์  สุกงาม  เป็นผู้นำกลุ่มในการจัดทำผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ ที่มีความสามรถในการสอนและวิธีการคิดที่จะมาพัฒนาเป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดีเหมาะกับยุคสมัยของคนรักสุขภาพ เป็นผู้นำที่เผยแพร่องค์ความรู้ ในเรื่องการจัดทำผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดี และสมาชิกในกลุ่ม คือ นางสาววันดี  ศรีสุนทร สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการแปรรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่ นำไปขยายผล จนสามารถเข้าไปร่วมโครงการอาหารเพื่อสุขภาพประจำตำบลคลองอุดมชลจร

   ภาคีเครือข่าย

-  องค์การบริหารส่วนตำบลคลองอุดมชลจร เข้าสนับสนุนเรื่องของสถานที่ในการจัดกิจกรรม

-  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

 


เข้าชม : 227

บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      Best Practice 3 / ต.ค. / 2565


กศน.ตำบลคลองอุดมชลจร   อำเภอเมือง  จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์  :  086-9065928    E-mail  : tai_kea2518@hotmail.co.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin