[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 
   กลับหน้าหลัก


บทความทั่วไป
การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

พฤหัสบดี ที่ 2 เดือน มกราคม พ.ศ.2557



 วัสดุอุปกรณ์
1. วัสดุเพาะ ได้แก่ ตอซังข้าว ปลายฟางข้าว หรือฟางข้าว เปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลัง ชานอ้อย หรือก้อนเห็ดที่หมดอายุแล้วเป็นต้น
2. อาหารเสริม ได้แก่ ไส้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวาสับตากแห้ง ต้นกล้วย มูลสัตว์สลายตัวแห้งแล้ว เช่น มูลวัว มูลหมู มูลควาย เป็นต้น
3. แบบไม้ สำหรับทำกองเห็ด มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านบนกว้าง 25 เซนติเมตร ด้านล่าง 30 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร โดยด้านบนแคบกว่าด้านล่างเล็กน้อยไม่มีฝาและไม่มีก้น สำหรับขนาดดัดแปลงให้ใกล้เคียงตามนี้ก็ได้
4. บัวรดน้ำ ถังใส่น้ำ สายยาง จอบ
5. ผ้าพลาสติกคลุมแปลง
6. เชื้อเห็ดฟาง ควรเป็นเชื้อที่มีเส้นใยขาวหนาแน่น เดินต่อเนื่องในอาหารผสมจากปากถุงถึงก้นถุง มีบางส่วนปรากฏเป็นสีน้ำตาลของเส้นใย หรือเริ่มจับกันเป็นตุ่มเล็กๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด มีกลิ่นหอมของเห็ด ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ปะปน เช่น ราเขียว ราดำ เป็นต้น เชื้อไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
7. พื้นที่เพาะ ต้องน้ำไม่ท่วม ไม่มีมด ปลวก หรือสารเคมีตกค้าง ไม่เป็นพื้นทราย ปูนหรือที่ทิ้งขยะ ไม่เคยเป็นที่เพาะเห็ดมาก่อนยิ่งดี แต่ถ้าจำเป็นควรไถ่ตากดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลงก่อน หลังจากนั้นพรวนและปรับดิน ก่อนเพาะเชื้อเห็ด
8. น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด มีคุณสมบัติเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย ไม่เป็นกรด ไม่มีสารเคมีเจือปน ไม่เป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย ควรแช่วัสดุเพาะและอาหารให้อิ่มตัว ระยะเวลาขึ้นอยู่กับชนิดและวัสดุ เช่น ต้นซังแช่ประมาณ 24 ชั่วโมง ถ้าใช้ปลายฟาง 4 – 5 ชั่วโมง ส่วนอาหารเสริมลดน้ำให้เปียกพออิ่มตัวก็ใช้ได้

ขั้นตอนการเพาะ 
ก่อนอื่นต้องปรับดินให้เรียบเสียก่อน เวลาเพาะและการวางแนวกอง ควรเพาะช่วงเช้า เพื่อจะได้สะสมความร้อนในแปลงเพาะ ควรวางแนวหนาประมาณ 10 เซนติเมตร หรือ 1 ฝ่ามือ นำอาหารเสริมที่แช่น้ำ เช่น ขี้ฝ้าย , ไส้นุ่น โรยบนฟางข้าวแต่ถ้าเป็นมูลสัตว์แห้งไม่ต้องแช่น้ำ สามารถโรยบนฟางข้าวได้เลย เฉพาะบริเวณรอบๆ กอง บริเวณห่างจากขอบไม้แบบเข้ามา 1 ฝ่ามือ แล้วโรยเชื้อเห็ดทับลงบนอาหารเสริมปกติ เชื้อเห็ดควรขยี้ให้กระจายตัวก่อนโรยเชื้อเห็ด เป็นเสร็จ
ชั้นที่ 1 จะทำชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ทำในทำนองเดียวกัน แต่ชั้นที่ 3 ปิดทับหลังกองด้วยฟางข้าวบางๆ เมื่อทำกองเสร็จรดน้ำบนกองให้โชกยกแบบไม้ออก เพื่อนำไปเพาะกองต่อไป แต่ละกองควรห่างกันประมาณ 15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ และทำกองต่อไป ระหว่างกองโรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดฟาง
ปกติ จะทำกองขนานกันไป 10 – 20 กอง หลังจากนั้นใช้ฟางแห้งคลุมทับพลาสติกอีกที หรือก่อนคลุมพลาสติกอาจจะทำโครงไม้เหนือกองเห็ด เพื่อไม่ให้พลาสติกติดหลังกอง แล้วมัดด้วยฟางอีกชั้นหนึ่ง
ปกติ การเพาะแบบนี้ แทบไม่ต้องรดน้ำ เพราะความชื้นมากพอจนถึงเก็บดอกเห็ด แต่ถ้าเพาะเห็ดไปได้ 3 – 4 วัน ถ้ากองเห็ดแห้งเกนไป ควรรดน้ำเบาๆ ให้ชื้น แต่ถ้ากองไหนชื้นเกินไปต้องเปิดพลาสติกออก ให้ความชื้นระเหยออกไป หลังจากดอกเห็ดเริ่มเป็นตุ่มเล็กๆ ห้ามรดน้ำเด็ดขาด เพราะถ้ารดน้ำเห็ดจะฝ่อไปในที่สุด เมื่อดอกเห็ดโตพอจะเก็บได้ ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้นเบาๆ ดอกเห็ดจะหลุดออกมา สามารถเก็บได้ถึง 2 – 3 วันก็หมดแล้ว ปกติสามารถเก็บเห็ดได้นับจากวันเพาะประมาณ 8 – 10 วัน
เข้าชม : 9195

บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      การทำเจลล้างมือ 7 / เม.ย. / 2563
      การทำผ้าปิดจมูก 7 / เม.ย. / 2563
      การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และการทำมะนาวนอกฤดู 9 / มิ.ย. / 2558
      ข้าวเกษตรอินทรีย์ 2 / ม.ค. / 2557
      การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย 2 / ม.ค. / 2557




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้ง ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

กศน.ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 24160
โทรศัพท์ 094-5475673,087-8323595,087-7806338  E-mail : khuyaimi2013@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin